การฝึกอบรมหลักสูตร การบริหารจัดการโครงการ และการติดตามประเมินผล Project Management Monitoring & Evaluation 31 มีนาคม - 4 เมษายน 2557 ณ โรงแรมโฆษะ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดย ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Center for Civil Society and Non-profit Management Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management วัตถุประสงค์ของการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจในภาพรวมของงานติดตามและ ประเมินผลในโครงการ ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจความสำคัญของงานติดตามและ ประเมินผล เพื่อประสิทธิภาพของการทำงานโครงการที่ดียิ่งขึ้น ผู้เข้ารับอบรมสามารถนำความรู้และความเข้าใจในเรื่องการ ติดตามและประเมินผลไปใช้ในการบริหารจัดการโครงการของ ตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วงจรการติดตาม ประเมินผลโครงการ Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management วงจรการติดตาม ประเมินผลโครงการ Participatory Approachกระบวนการมี ส่วนร่วม Problem Identification กำหนดปัญหา Project Planning กำหนดแผนงาน Project Implementation ดำเนินโครงการ Project Evaluationประเมินผลโครงการ Monitoring การติดตาม Monitoring การติดตาม Monitoring การติดตาม Monitoring การติดตาม
Center for Civil Society and Non-profit Management Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management นิยามการติดตาม (Monitoring) การรวบรวมข้อมูลจากการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเป็น ระยะๆ ของการดำเนินงานโครงการ รวมทั้งการนำข้อมูล มาช่วยให้เกิดการแก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงานให้เป็นไป ตามแผนงานที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ข้อมูลที่ต้องการ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ ดำเนินงาน (Process) และผลการดำเนินงาน (Output) เกี่ยวกับโครงการเพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับ (Feedback system) สำหรับการกำกับ ทบทวน และแก้ปัญหาขณะ ดำเนินโครงการ กระบวนการวัดหรือตรวจสอบที่ทำเป็นประจำ ทำเป็นช่วงๆ
Center for Civil Society and Non-profit Management Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management วัตถุประสงค์ของการติดตาม แก้ไขปัญหาขณะดำเนินงานตามโครงการ ติดตามความครบถ้วนของปัจจัยการปฏิบัติงานตามแผน ติดตามว่าการดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่
Center for Civil Society and Non-profit Management Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management นิยามของการประเมินผล (Evaluation) การประเมินผล เป็นกระบวนการตรวจสอบและตัดสินคุณค่า (value judgment) ของผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการ ดำเนินงานโครงการ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการ ติดตามผลจากการดำเนินงานในแต่ละช่วง กระบวนการรวบรวมและเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ซึ่งช่วย ตัดสินใจที่ดีสำหรับทางเลือกที่เป็นไปได้หลายๆ ทาง (Stufflebeam, 1971) การวิเคราะห์ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการดำเนินงาน ของโครงการ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการติดตาม ผลจากการดำเนินงานในแต่ละช่วงของโครงการ
Center for Civil Society and Non-profit Management Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management ประโยชน์ของการประเมินผล นำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ว่าสามารถบรรลุตามเป้าหมาย และ วัตถุประสงค์ของโครงการที่ตั้งไว้หรือไม่ อย่างไร? นำมาใช้ในการประเมินความสำเร็จของงานหรือโครงการ รู้ปัจจัยที่เป็นปัญหา อุปสรรค หรือสนับสนุนการดำเนินโครงการ สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง
Center for Civil Society and Non-profit Management Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management หลักการสำคัญของการประเมินผล แสวงหาคุณค่าของสิ่งที่ได้ดำเนินการไป นำบทเรียนที่ได้จากการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงงานใน อนาคต คำนึงถึงคน สังคม และสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมทุกด้านที่เกี่ยวข้องและลึกซึ้ง ทำแบบเป็นระบบ มีแผนก่อนการประเมิน ใช้วิธีการที่หลากหลายอย่างเหมาะสม
Center for Civil Society and Non-profit Management Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management วัตถุประสงค์ของการประเมินผล ขึ้นอยู่กับว่าต้องการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์อะไร จึง แบ่งการประเมินออกเป็น 3 แบบ ดังนี้ แบบระหว่างการดำเนินการ เพื่อเป็นบทเรียนในการปรับปรุง งานที่กำลังทำอยู่ หลังการประเมินอาจมีการปรับแผนการ ดำเนินงาน กรอบการทำงาน จุดอ่อน ไม่มากหรืออาจทั้งหมด แบบสิ้นสุดโครงการ เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับโครงการใหม่ แบบหลังสิ้นสุดโครงการไปแล้วระยะหนึ่ง เพื่อประเมินผลตก กระทบ หรือผลที่เกิดขึ้นต่อเนื่องหลังสิ้นสุดโครงการแล้ว ประเมิน Outputs (หลังสิ้นสุดโครงการแล้ว 1-3 ปี) ประเมิน Results/Outcomes (หลังสิ้นสุดโครงการแล้ว 3-5 ปี) ประเมิน Impacts (หลังสิ้นสุดโครงการแล้วนานกว่า 5 ปี)
ความแตกต่าง: การติดตามกับประเมินผล ประเด็นพิจารณา การติดตาม การประเมินผล วัตถุประสงค์ เก็บข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง ระหว่างการดำเนินงาน ติดตามความก้าวหน้าของ แผน/ผล เพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมและ กำหนดวิธีการสนับสนุนที่ เหมาะสม ปรับปรุง/แก้ไขการทำงาน กระตุ้นเตือนผู้รับผิดชอบให้ เร่งรัดการดำเนินงานตามแผน กรอบเวลาและระบบ งบประมาณ ประเมิน/วิเคราะห์ผลจากข้อมูล การดำเนินงานและผลที่เกิดจาก โครงการโดยรวม เปรียบเทียบผลกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ว่าบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ ใช้ข้อมูลมาประเมินความสำเร็จ ของโครงการว่าบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ อย่างไร เพราะอะไร การเรียนรู้ร่วมกันและนำผลหรือ บทเรียนมาใช้ในการดำเนินงาน ระยะต่อไปหรือโครงการต่อไป
ความแตกต่าง: การติดตามกับประเมินผล ประเด็นพิจารณา การติดตาม การประเมินผล ข้อมูล รวบรวมข้อมูลปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลของ โครงการ ข้อมูลจากการติดตามสามารถ นำมาใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งของ การประเมินผลเพื่อตัดสินคุณค่า ของโครงการ ผู้รับผิดชอบ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานและ เจ้าหน้าที่นอกหน่วยงาน ช่วงเวลา ปฏิบัติ เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เช่น ทุกเดือน ทุกสัปดาห์ เป็นต้น เป็นช่วงๆ เช่น ระหว่างดำเนินงาน สิ้นสุดโครงการ และหลังสิ้นสุด โครงการไปแล้วระยะหนึ่ง เป็นต้น วิธีการ เป็นการติดตามงานโดยใช้ แผนเป็นกรอบอ้างอิง ถือเป็น ส่วนสำคัญของการบริหาร จัดการ เป็นการตัดสินคุณค่าของ โครงการโดยเปรียบเทียบกับ เกณฑ์มาตรฐาน ครอบคลุมถึง ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้ใช้ ประโยชน์ ผู้ปฏิบัติ (เน้น) ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ ผู้บริหาร (เน้น)
Center for Civil Society and Non-profit Management Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management การติดตามและการประเมินผล “การติดตาม” และ “การประเมินผล” เป็น กระบวนการที่แตกต่างกัน มีจุดมุ่งหมายต่างกัน แต่ มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เป็นกลไกสำคัญที่ช่วย ให้ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการสามารถกำกับ ทบทวน และดำเนินโครงการให้บรรลุเป้าหมายได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
Center for Civil Society and Non-profit Management Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management การประเมินผลเพื่อเสริมพลัง (Empowerment Evaluation) ความหมาย การแสวงหาข้อเท็จจริงที่ทันต่อสถานการณ์ จากการสะท้อนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาโครงการ/การพัฒนาศักยภาพทีมงาน เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง และสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
Center for Civil Society and Non-profit Management Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management หลักการของการประเมินเสริมพลัง ยกระดับการพัฒนา ให้บรรลุเป้าหมายของโครงการและ แหล่งทุนที่สนับสนุน ความเป็นเจ้าของร่วม หรือสำนึกของความเป็นชุมชน การปรับทัศนคติในการทำงานร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ แตกต่างกัน ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการ ดำเนินงาน
Center for Civil Society and Non-profit Management Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management คุณลักษณะของการประเมินเสริมพลัง มีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกส่วนในโครงการ การพิจารณาข้อค้นพบต่างๆ จากการดำเนินงานร่วมกัน ทั้ง ในด้านความสำเร็จ อุปสรรค การปรับปรุงแก้ไข และสิ่งที่ได้ เรียนรู้ สร้างความตระหนักและความเป็นเจ้าของร่วม เสริมสร้างประสบการณ์ร่วม
การประเมินผลทั่วไป VS การประเมินผลเสริมพลัง ข้อพิจารณา การประเมินผลทั่วไป การประเมินผลเสริมพลัง 1) วัตถุประสงค์ เน้นผลลัพธ์ และความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร เน้นการเรียนรู้ การนำมาปรับใช้ และการจัดการความรู้ 2) กระบวนการ รูปแบบทางการ มีปฎิสัมพันธ์น้อย กระบวนการมีส่วนร่วมและสะท้อนกลับ 3) ผู้เข้าร่วม ผู้ประเมิน /ผู้ถูกประเมิน หรือแหล่งข้อมูล ผู้เกี่ยวข้องในโครงการ 4) การใช้ประโยชน์ แหล่งทุน พัฒนางาน พัฒนาทีม