งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การฝึกอบรมหลักสูตร การบริหารจัดการโครงการ และการติดตามประเมินผล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การฝึกอบรมหลักสูตร การบริหารจัดการโครงการ และการติดตามประเมินผล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การฝึกอบรมหลักสูตร การบริหารจัดการโครงการ และการติดตามประเมินผล
Project Management Monitoring & Evaluation 31 มีนาคม - 4 เมษายน 2557 ณ โรงแรมโฆษะ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดย ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2 เครื่องมือในการติดตามและประเมินผล (Monitoring & Evaluation Tools)
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management เครื่องมือในการติดตามและประเมินผล (Monitoring & Evaluation Tools)

3 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management เครื่องมือที่ใช้ในการติดตาม แบบติดตามพื้นที่/กลุ่มเป้าหมาย (Monitoring Report) การทบทวนหลังปฏิบัติการ (After Action Review: AAR) การทบทวนตนเองและวางแผนอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Self-Review and Planning: PSRP) แบบประเมินตนเอง (Self-Assessment) การถอดบทเรียน (Lesson Learned) เรื่องเล่า (Telling Story)

4 ตัวอย่างการติดตามที่นากาย, สปป.ลาว
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management ตัวอย่างการติดตามที่นากาย, สปป.ลาว การติดตามโครงการแบบ Longitudinal Study

5

6

7 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management แนวคิดใหม่ของการประเมินผล ผลการประเมินไม่ใช่ความจริงทั้งหมด เป็นมุมมองของผู้ประเมินเพราะไม่มี ใครมองความจริงและเหตุผลทั้งหมดได้ การตีความจากผลของแต่ละกลุ่มที่เกี่ยวข้องอาจไม่เหมือนกัน จึงควรมีการ บันทึกและทำความเข้าใจให้มากที่สุด การประเมินเป็นกระบวนการทำให้เกิดพลังสำหรับผู้เกี่ยวข้อง ดั้งนั้นการ ประเมินควรทำให้เกิดการปรับปรุง ตัวบ่งชี้ที่เป็นปริมาณมักไม่ได้บอกอะไรลึกซึ้ง แต่ตัวบ่งชี้ที่เป็นคุณภาพจะ สะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ มีแนวโน้มที่จะใช้วิธีการที่มีความยืดหยุ่นและไม่เป็นทางการมากขึ้น เช่น การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม การสังเกต เป็นต้น ให้ความสำคัญกับการจัดการและกระบวนการทำงานมากขึ้น การประเมินแบบเป็นช่วงๆ เป็นทางเลือกหรือเสริมการประเมินแบบสุดท้าย

8 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management การแบ่งช่วงของการประเมินผล การให้คุณค่าของงานแต่ละช่วงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อาจแบ่งได้เป็น การประเมินก่อนเริ่มการดำเนินการ (Pre-Evaluation) การประเมินระหว่างดำเนินการ (Formative Evaluation) การประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการ (Summative Evaluation) การประเมินยืนยันผลโครงการ (Confirmative Evaluation) การประเมินผลกระทบของโครงการ (Impact Evaluation)

9 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management Pre-Evaluation การประเมินก่อนเริ่มดำเนินการ หรือการประเมินก่อนการตกลงใจ ให้มีการดำเนินงาน เพื่อตัดสินใจเลือกโครงการ ตรวจสอบใน ขั้นต้น เพื่อการตัดสินใจทำโครงการที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทน คุ้มค่า หรือให้ได้โครงการที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ส่วนใหญ่เรียกว่า การวิเคราะห์โครงการ (Project Appraisal) แต่อาจเรียกแตกต่างตามสาขาวิชา เช่น ด้านอุตสาหกรรมเรียก Feasibility Study หรือการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ประเมินใน 3 เรื่อง คือ ความเหมาะสมของโครงการ ผลตอบแทนจากการดำเนินโครงการ ผลอื่นที่คาดว่าจะเกิดตามมาจากการดำเนินโครงการนั้น ๆ

10 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management Formative Evaluation การประเมินระหว่างดำเนินการ เป็นการประเมินผล เพื่อการ ปรับปรุงเป็นสำคัญ มักจะใช้ประเมินผลระหว่างวางแผนหรือระหว่างพัฒนาโครงการ ผลที่ได้รับจาก Formative Evaluation จะช่วยตั้งวัตถุประสงค์ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่แท้จริง นอกจากนั้นอาจใช้ในระหว่างดำเนินโครงการ เพื่อตรวจสอบว่า โครงการได้ดำเนินไปตามแผนหรือไม่

11 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management Summative Evaluation การประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการ เป็นการประเมินผลสรุป มักจะใช้ประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ ซึ่งจะประเมินผลสรุปที่ได้ ไปสู่การรายงานว่าโครงการได้บรรลุเป้าหมายหรือไม่อย่างไร ตลอดจนรายงานถึงสถานภาพว่าประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว เพียงไร มีปัญหาหรืออุปสรรคที่ต้องแก้ไขปรับปรุงหรือไม่ เพื่อช่วยให้ผู้บริหารสามารถนำไปตัดสินใจว่าโครงการนั้นควร ดำเนินการต่อหรือไม่ และเพื่อให้ทราบว่าการดำเนินโครงการ บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ การประเมินผลจะมาพร้อมกับการริเริ่มปรับปรุงกระบวนการ ดำเนินงานในองค์กรตามการปฏิบัติที่ดี

12 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management Confirmative Evaluation การประเมินยืนยันผลโครงการ เป็นการกำหนดรูปแบบต่อเนื่อง ของการประเมินผลซึ่งทำต่อจาก Summative Evaluation เพื่อ ระบุสิ่งที่ยังคงมีผลต่อเนื่อง เป็นการประเมินผลรูปแบบใหม่ ทำขึ้นในช่วงที่การดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว และวัดผลสิ่งที่ เกี่ยวข้องกับทักษะและความรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการ ดำเนินโครงการให้นำกลับมาใช้ประโยชน์ในองค์กร เป็นการขยายกระบวนการประเมินผล ที่ไม่ได้มองเพียงแค่ ผลสัมฤทธิ์ของโครงการเท่านั้น แต่ให้ความสำคัญกับผลที่จะ เกิดขึ้นต่อเนื่องจากโครงการ การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสำรวจ ประเมินการปฏิบัติงาน สัมภาษณ์ และแบบสอบถาม

13 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management Impact Evaluation การประเมินผลกระทบของโครงการ เป็นการประเมินเมื่อการ ดำเนินโครงการสิ้นสุดไประยะหนึ่งแล้ว จนถึงระยะที่คาดว่า นอกจากได้ผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์แล้ว ยัง อาจก่อให้เกิดผลพิเศษอื่นตามมา ที่มีผลกระทบต่อสิ่งอื่น ๆ (impact) ทั้งผลดีและผลเสีย (ผลที่เกิดขึ้นแล้วจริงๆ) ประเมินผลที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแนวทางใหม่ ๆ วิธีการ ปฏิบัติ หรือวิถีชีวิตใหม่ ๆ ตลอดจนเกิดการเปลี่ยนแปลงทาง สังคม หรือสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เป็นต้น การศึกษาผลเชิงกระทบนี้กำลังจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต ในด้านการบริหารโครงการ เป็นการศึกษา (เพื่อคาดคะเน) ผลที่ จะเกิดตามมาจากการทำโครงการ ที่เรียกว่า Impact Studies หรือ Impact Analysis

14 ประเภทและการใช้งานการประเมินแต่ละช่วง
ประเมินเป็นช่วง ระหว่างการดำเนินการ ภายใน ในแผน การประเมิน ของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อผู้เกี่ยวข้อง กลางเทอม ระหว่างการดำเนินการ ภายนอก/ภายใน เป็นการเรียนรู้ เป็นการประเมิน การยอมรับ ของผู้เกี่ยวข้องเพื่อผู้ เกี่ยวข้อง ผู้จัดการ/ ผู้ให้ทุน/ภายนอก สุดท้าย หลังโครงการ ภายนอก ในแผนการอื่น ผู้จัดการ/ ผู้ให้ทุนอื่น

15 ตัวอย่าง โมเดลการประเมินผลทั้งกระบวนการ (Overall Evaluation Model)
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management ตัวอย่าง โมเดลการประเมินผลทั้งกระบวนการ (Overall Evaluation Model)

16 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management Ralph Tyler’s Evaluation Model (1949) เป็นการประเมินบนฐานเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ (goal based) เป็นการเปรียบเทียบระหว่างผลการ ดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงกับ เป้าหมายของโครงการ โดยมีความเชื่อพื้นฐานว่าต้องมี การวางแผนที่ดี และมีการปรับแผน มาก่อนหน้านั้นแล้ว ดังนั้นก่อนเก็บข้อมูลต้องมีการ จำแนกเป้าหมาย และข้อมูลที่ ต้องการจะเก็บให้ชัดเจนก่อน

17 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management Scriven’s Goal-Free Evaluation Model (1972) ถกเถียงว่าการมุ่งประเมินเฉพาะ เป้าหมายหรือกิจกรรมโครงการ เหมาะกับการทำงานของนักเทคนิค โดยเชื่อว่า “เป้าหมายเฉพาะของ แต่ละโครงการอาจไม่ได้เขียนไว้” แต่ก็ต้องถูกตรวจสอบและ ประเมินผลด้วย สนใจผลที่เกิดขึ้น (outcomes) มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในขณะที่ model อื่นๆ ให้ความสำคัญกับ กระบวนการตัดสินใจและประเด็น การบริหารจัดการที่สำคัญ สนใจการวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อความ เป็นธรรมและไม่มีอคติกับการ ตัดสินใจ

18 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management Stufflebeam’s CIPP Model (1983) เป็นการประเมินเชิงระบบ พิจารณา ความสามารถในการแสวงหาและ การจัดการปัจจัยนำเข้า กับผลผลิต ที่เกิดขึ้น ประเมินผลใน 4 ด้านคือ บริบท (C) เหตุผลที่กำหนดวัตถุประสงค์ ปัจจัยนำเข้า (I) เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้ ดำเนินงานได้ตามแผน กระบวนการ (P) วิธีปฏิบัติและแก้ปัญหา ผลผลิต (P) เพื่อวัดและแปลความหมาย ของความสำเร็จ เป็นกระบวนการวัดระดับความสำเร็จ โดยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อ ให้ผลการวิเคราะห์มีความเที่ยงตรง น่าเชื่อถือ และสามารถตรวจสอบ ความถูกต้องได้

19 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management Kirkpatrick’s Evaluation Model (1994) การประเมินผลโครงการอย่างเป็น ระบบใน 4 ระดับ คือ ปฏิกิริยา การ เรียนรู้ พฤติกรรม และผลลัพธ์ โดย ข้อมูลการประเมินผลแต่ละระดับจะ เป็นฐานการประเมินผลระดับต่อไป มักใช้ในโครงการฝึกอบรม Reaction ประเมินความรู้สึกของการ มีส่วนร่วมกับโครงการ Learning วัดความรู้ ทัศนคติ และ ทักษะจากการเข้าร่วมโครงการ Behavior การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่สังเกตได้จากการเข้าร่วมโครงการ Results ประเมินการเปลี่ยนแปลงใน ระดับองค์กร ในด้านผลิตภาพ ปรับปรุงคุณภาพ ลดรายจ่าย มี จริยธรรม

20 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management การประเมินผลอย่างไร? การประเมินผลมี 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ เลือกสิ่งที่ต้องการประเมิน (การกำหนดประเด็น) การพัฒนาและใช้กระบวนการเพื่ออธิบายสิ่งที่ต้องการประเมิน ให้ถูกต้อง แม่นยำ (การออกแบบเครื่องมือและเก็บข้อมูล) การสังเคราะห์หลักฐานที่ได้ ไปสู่การตัดสินใจขั้นสุดท้าย (การ วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำระบบสารสนเทศ) การสะท้อนกลับและนำไปใช้ประโยชน์

21 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management ขั้นตอนการประเมินผล การทบทวนวัตถุประสงค์และผล ประเด็นที่จะประเมินผล การออกแบบการประเมิน ทีมงาน เป้าหมายการประเมิน (คน พื้นที่ ขอบเขต) แผนการประเมิน การหาตัวชี้วัด (เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และกระบวนการบริหารจัดการ โครงการ) ตัวชี้วัด (Indicator) สิ่งที่สะท้อนสิ่งที่ต้องการวัด เกณฑ์การประเมิน (Criteria) บ่งบอกถึงระดับการบรรลุของสิ่งที่ต้องการวัด การประเมินผล การสร้างเครื่องมือ การเก็บข้อมูล รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล รายงานผลการประเมิน การนำไปใช้ประโยชน์ สะท้อนกลับข้อมูลสู่ชุมชน ในโครงการ ผลักดันเชิงนโยบาย ปรับปรุง นำไปใช้ในโครงการต่อไป

22 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management ระดับของตัวชี้วัด ระดับของตัวชี้วัดมี 5 ระดับ ได้แก่ ตัวชี้วัดปัจจัยนำเข้า (Inputs) เช่น จำนวนอัตรากำลัง จำนวน งบดำเนินการ ปริมาณวัสดุครุภัณฑ์ และอาคารสถานที่ เป็นต้น ตัวชี้วัดกระบวนการ (Processes) ได้แก่ การจัดทำกิจกรรมใน ขั้นตอนต่างๆ ตัวชี้วัดผลผลิต (Outputs) เช่น สินค้าที่ได้ผลิต และบริการที่ กลุ่มเป้าหมายได้รับ หน่วยงานมีระบบสารสนเทศตามที่กำหนด ไว้ เป็นต้น ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcomes) เช่น ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับ กลุ่มเป้าหมาย และความพึงพอใจของผู้รับบริการ เป็นต้น ตัวชี้วัดผลกระทบ (Impacts) เช่น ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับ กลุ่มสังคม และการขยายผลโดยกลุ่มสังคมเป้าหมาย เป็นต้น

23 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management วิธีสร้างตัวชี้วัด ตัวชี้วัดผลงาน (Key Performances Indicators) ครอบคลุม ผลผลิตและผลลัพธ์ซึ่งเป็นผลงานจากการกระทำ (Results) แต่ ไม่รวมถึงตัวชี้วัดปัจจัยนำเข้า (Inputs) และกระบวนการ (Processes) ซึ่งเป็นตัวกระทำ (Enablers) และไม่รวมถึง ผลกระทบ (Impact) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในระดับนโยบาย (Policy Indicators) วิธีการสร้างตัวชี้วัด การเขียนตัวชี้วัดที่พิสูจน์ได้เชิงรูปธรรมควรมี องค์ประกอบ 2Q+2T+1P คือ ปริมาณ (Quantity) คุณลักษณะ (Quality) เวลา (Time) กลุ่มเป้าหมาย (Target Group) และ สถานที่ (Place)

24 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management วิธีสร้างตัวชี้วัด (ต่อ) การจัดทำตัวชี้วัดต้องให้ตรงประเด็นและเป็นที่เข้าใจได้โดย บุคคลทั่วไป ต้องกำหนดจำนวนตัวชี้วัดให้ได้น้อยที่สุด โดยเลือก ตัวแปรเพียงตัวเดียวจากกลุ่มตัวแปรที่ใช้ทำเป็นตัวชี้วัดหรือตัด ทอนตัวแปรที่คล้ายคลึงกันออกไป และต้องจัดทำตัวชี้วัดด้วย ความประหยัดโดยการใช้ข้อมูลที่ได้มีการจัดเก็บไว้แล้วตามปกติ จากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ ค่าของตัวชี้วัด แสดงเป็นตัวเลขในลักษณะของร้อยละ (percentage) อัตราส่วน (ratio) สัดส่วน (proportion) อัตรา (rate) จำนวน (number) และค่าเฉลี่ย (average or mean)

25 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management การทดสอบคุณลักษณะที่ดีของตัวชี้วัด ความสมเหตุสมผลที่อธิบายได้ (validity) ความมีอยู่ของข้อมูล (availability of data) ความเชื่อถือได้ของข้อมูล (reliability of data) ความเคลื่อนไหวของผลที่เกิดขึ้น (sensitivity) เมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงปริมาณหรือคุณภาพของการดำเนินกิจกรรม

26 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management เครื่องมือเก็บข้อมูลในการประเมินผล แบบสอบถาม (Questionnaires) แบบสำรวจรายการ (Check list) การสังเกต (Observation) ทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ (Individual Interview) ทั้งแบบทางการและไม่ เป็นทางการ การสัมภาษณ์กลุ่ม (Group Interview) ทั้งการสัมภาษณ์กลุ่ม แบบเฉพาะเจาะจง (Focus Group Interview) และการสนทนา กลุ่มย่อย (small group discussion)

27 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management ตัวอย่างคำถามในการประเมินผล กิจกรรม/โครงการมีเป้าหมายอะไรบ้าง? บรรลุเป้าหมายต่างๆ หรือไม่? กิจกรรม/โครงการช่วยปรับปรุงการทำงานของทีมและแต่ละคน ในแง่มุมอะไรบ้าง? ผลที่ได้ช่วยเสริมความมุ่งหมายขององค์กรและทีมอย่างไร? กลุ่มเป้าหมายได้ประโยชน์อะไร? มีผลอื่นๆ ที่ไม่ได้คาดหมายไว้หรือไม่จากผลของกิจกรรมหรือ โครงการ?

28 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management ตัวอย่างคำถามในการประเมินผล (ต่อ) จะใช้ผลนี้ให้เป็นประโยชน์สูงสุดอย่างไร? จะปรับปรุงกิจกรรมหรือโครงการอย่างไร? มีทรัพยากรพอเพียงหรือไม่? อะไรอีกที่ต้องการ? ทรัพยากรที่ใช้ได้รับเพียงพอและเหมาะสมหรือไม่? ถ้าทรัพยากรที่ได้เพียงพอมีอะไรอีกที่ต้องการ? กระบวนการและการเรียนรู้เป็นอย่างไร อะไรของแต่ละคนและ องค์กร? ระบบ feed back สู่การปรับปรุงเป็นอย่างไร?

29 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management ตัวอย่างเครื่องมือติดตามประเมินผล 1. การติดตามในกลุ่ม/พื้นที่เป้าหมาย โครงสร้างและเนื้อหารายงาน วัน/เวลาที่เยี่ยม ชื่อกลุ่ม/ชุมชนเป้าหมายที่ติดตาม ผู้ที่พบและให้ข้อมูล ข้อมูลที่ได้รับ สถานการณ์ของกลุ่ม/ชุมชนปัจจุบัน ความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนงาน ปัญหาและอุปสรรค การแก้ไขของกลุ่ม

30 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management ตัวอย่างเครื่องมือติดตามประเมินผล 2. การวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ (After Action Review: AAR) ฝึกทดลองตั้งคำถาม เพื่อค้นหาคำถามที่เหมาะสมสำหรับ กลุ่มเป้าหมาย ลักษณะของโครงการ กิจกรรม งานที่ต้องทำ AAR ต้องไม่เป็นคำถามที่ยากเกินไป

31 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management ตัวอย่างเครื่องมือติดตามประเมินผล 2. การวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ (After Action Review: AAR) ตัวอย่างคำถาม: ชุดที่ 1 สิ่งที่เรากำหนด/คาดหวังไว้ว่าจะให้เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไรบ้าง ทำไมสิ่งที่เกิดขึ้นจริงจึงแตกต่างไปจากสิ่งที่คาดหวังจะให้เกิด ข้อเสนอแนะต่อคำถามชุดที่ 1 ชุดคำถามนี้ต้องการสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ของโครงการ อาจขอให้หัวหน้าโครงการ/คณะทำงานสรุปรายละเอียด และให้ ผู้เข้าร่วมเพิ่มเติมให้สมบูรณ์

32 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management ตัวอย่างเครื่องมือติดตามประเมินผล 2. การวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ (After Action Review: AAR) ตัวอย่างคำถาม: ชุดที่ 2 สิ่งที่เราทำได้ดีคืออะไร สิ่งที่เราทำได้ไม่ดีคืออะไร ข้อเสนอแนะต่อคำถามชุดที่ 2 ชุดคำถามนี้เป็นการเปิดประเด็นในสิ่งที่ทีมทำงานทำได้ดี/ได้ไม่ดี วิทยากรกระบวนการต้องเริ่มต้นใช้คำถาม “สิ่งที่ทำได้ดี” และอาจ มีคำถามอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น “อะไร/สิ่งใดที่คณะทำงานชอบใน การทำกิจกรรมครั้งนี้” เมื่อได้คำตอบแล้ว ต้องตั้งคำถามต่อว่า “ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น”

33 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management ตัวอย่างเครื่องมือติดตามประเมินผล 2. การวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ (After Action Review: AAR) ตัวอย่างคำถาม: ชุดที่ 3 ในการทำกิจกรรมต่อไป เราจะทำสิ่งใดที่ดีขึ้นหรือแตกต่างไปจากเดิม บ้าง ข้อเสนอแนะต่อคำถามชุดที่ 3 ชุดคำถามนี้ต้องการให้ผู้ร่วมโครงการได้เสนอข้อเสนอแนะที่เจาะจง และปฏิบัติได้ วิทยากรต้องตั้งคำถามให้ระบุรายละเอียดให้ ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ควรมีการบันทึกข้อเสนอแนะที่เจาะจงและปฏิบัติได้ (Specific Actionable Recommendation: SAR) ไว้เป็นส่วนหนึ่งของรายงาน วิทยากรอาจตั้งคำถามเพิ่มเติมอีก เช่น “หากต้องเริ่มทำกิจกรรมใหม่ อีกครั้ง จะทำอะไรแตกต่างจากเดิมบ้าง

34 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management ตัวอย่างเครื่องมือติดตามประเมินผล 3. การทบทวนตนเองและวางแผนอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Self-Review and Planning: PSRP) การทบทวนสิ่งที่ผ่านมา แบ่งออกเป็นกิจกรรมย่อย ดังนี้ ทบทวนวิสัยทัศน์/วัตถุประสงค์โครงการ ทบทวนความก้าวหน้าของกลุ่ม (ตามแผนงาน) การกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จในแต่ละประเด็น การลงคะแนน วิเคราะห์ผลคะแนน อภิปราย/สะท้อนความรู้สึก จัดทำแผนปฏิบัติเพื่อปรับปรุงและพัฒนา

35 ตัวอย่างการทบทวนตนเองและวางแผนอย่างมีส่วนร่วม
ประเด็นในการประเมิน ต้นไม้เล็ก ต้นไม้กำลังเติบโต ต้นไม้กำลังออกดอก/ผล เหตุผลสนับสนุนการให้คะแนน ๑.การบริหาร จัดการโครงการ ๒. การมีส่วน ร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ๓. ผลกระทบต่อ กลุ่มเป้าหมาย ตัวชี้วัด แผนพัฒนาในระยะต่อไป

36 4. แบบติดตามประเมินตนเอง (Self-Assessment)

37 แนวทาง/ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

38 แผนภูมิแสดงผลสรุปการประเมินตนเอง

39 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management ปัญหาที่มักพบจากการติดตามและประเมินผล ข้อมูลไม่ถูกต้อง หรือขัดแย้งกัน (จากวิธีการหรือแหล่งของ ข้อมูล) การต่อต้านการประเมินผล การมอบหมายให้การประเมินของผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้รับผิดชอบเฉพาะ ผู้บริหารหรือแหล่งทุนไม่เห็นความสำคัญ สนับสนุนทรัพยากร ไม่เพียงพอ ให้ความสำคัญต่อการประเมิน กระบวนการ/ความสำเร็จของ การดำเนินงาน

40 Center for Civil Society and Non-profit Management
Khon Kaen University Center for Civil Society and Non-profit Management การพัฒนางานต่อ มีอะไรบ้าง ? ที่ท่านคิดว่า ในองค์กรของท่าน ควรจะ ปรับปรุง ระบบการติดตามและประเมินผล ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร และโครงการ


ดาวน์โหลด ppt การฝึกอบรมหลักสูตร การบริหารจัดการโครงการ และการติดตามประเมินผล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google