ไฟป่า(Forest Fire)
(สรุป) สาเหตุของการเกิดไฟป่า ไฟป่าเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ 1. เกิดจากธรรมชาติ คือ 1.1 ฟ้าผ่า เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดไฟป่าในเขตอบอุ่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา พบว่ากว่าครึ่งหนึ่งของไฟป่าที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากฟ้าผ่า ทั้งนี้โดยที่ฟ้าผ่าแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ (1) ฟ้าผ่าแห้ง (Dry or Red Lightning) คือ ฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นในขณะที่ไม่มีฝนตก มักเกิดในช่วงฤดูแล้ง สายฟ้าจะเป็นสีแดง เกิดจากเมฆที่เรียกว่าเมฆฟ้าผ่า ซึ่งเมฆดังกล่าวจะมีแนวการเคลื่อนตัวที่แน่นอนเป็นประจำทุกปี (2) ฟ้าผ่าเปียก (Wet or Blue Lightning) คือ ฟ้าผ่าที่เกิดควบคู่ไปกับการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ประกายไฟที่เกิดจากฟ้าผ่าจึงมักไม่ทำให้เกิดไฟไหม้ หรือ อาจเกิดได้บ้างแต่ไม่ลุกลามไปไกล เนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์และความชื้นของเชื้อเพลิงสูง ฟ้าผ่าในเขตร้อนรวมถึงประเทศไทยมักจะเป็นฟ้าผ่าเปียก จึงแทบจะไม่เป็นสาเหตุของไฟป่าในเขตร้อนนี้เลย
1.2 กิ่งไม้เสียดสีกัน อาจเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ป่าที่มีไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและมีสภาพอากาศแห้งจัด เช่น ในป่าไผ่หรือป่าสน 2. สาเหตุจากมนุษย์ได้แก่ 2.1 เก็บของป่า ส่วนใหญ่การจุดไฟส่วนใหญ่เพื่อให้พื้นป่าโล่ง เดินสะดวก หรือให้แสงสว่างในระหว่างการเดินทางผ่านป่าในเวลากลางคืน หรือจุดเพื่อกระตุ้นการงอกของเห็ด หรือกระตุ้นการแตกใบใหม่ของผักหวานและใบตองตึง หรือจุดเพื่อไล่ตัวมดแดงออกจากรัง รมควันไล่ผึ้ง หรือไล่แมลงต่างๆ ในขณะที่อยู่ในป่า 2.2 เผาไร่ เพื่อกำจัดวัชพืชหรือเศษซากพืชที่เหลืออยู่ภายหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในรอบต่อไป ดยปราศจากการทำแนวกันไฟและปราศจากการควบคุม ไฟจึงลามเข้าป่าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
2.3 แกล้งจุด ในกรณีที่ประชาชนในพื้นที่มีปัญหาความขัดแย้งกับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องที่ทำกินหรือถูกจับกุมจากการกระทำผิดในเรื่องป่าไม้ 2.4 ความประมาท เกิดจากการเข้าไปพักแรมในป่า ก่อกองไฟแล้วลืมดับ หรือทิ้งก้นบุหรี่ลงบนพื้นป่า เป็นต้น 2.5 ล่าสัตว์ โดยใช้วิธีไล่เหล่า คือจุดไฟไล่ให้สัตว์หนีออกจากที่ซ่อน 2.6 เลี้ยงปศุสัตว์ ประชาชนที่เลี้ยงปศุสัตว์แบบปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ มักลักลอบจุดไฟเผาป่าให้โล่งมีสภาพเป็นทุ่งหญ้าเพื่อเป็นแหล่งอาหารสัตว์ 2.7 ความคึกคะนอง บางครั้งการจุดไฟเผาป่าเกิดจากความคึกคะนองของผู้จุด โดยไม่มีวัตถุประสงค์ใดๆ แต่จุดเล่นเพื่อความสนุกสนาน เท่านั้น
(สรุป) การป้องกัน 1.หากไม่จำเป็นไม่ควรจุดไฟในป่า หากจุดไฟต้องควบคุมให้ไฟดับโดยสนิท 2. ทำระบบป้องกันไฟไหม้ป่า โดยใช้แนวคลองส่งน้าและแนวพืชชนิดต่างๆ ปลูกตามแนวคลอง 3. สร้างระบบการควบคุมไฟป่าด้วยแนวป้องกันไฟ ป่าเปียก โดยอาศัยน้าชลประทานและน้ำฝน 4. การสูบน้ำเข้าไปในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะทาได้ แล้วปล่อยน้าลงมาทีละน้อยให้ค่อยๆ ไหลซึมลงดิน ให้กลายเป็น "ป่าเปียก" ซึ่งสามารถป้องกันไฟป่าได้อีกด้วย 5. ช่วยเฝ้าระวังเหตุ และแจ้งเหตุไฟป่า ให้เจ้าหน้าที่ทราบ เพื่อการระงับเหตุด้วยความรวดเร็วลดการสูญเสีย 6. ช่วยบอกต่อถึงผลเสีย และอันตรายจากไฟป่าให้ผู้อื่นทราบ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นเป็นสาเหตุของการเกิดไฟป่า
(สรุป) การเตรียมตัวเมื่อเกิดไฟป่า 1. เมื่อเกิดไฟป่า ควรสวมหน้ากากกันควันไฟ 2. เตรียมพร้อมประเมินสถานการณ์ เพื่อตัดสินใจที่จะอพยพหรืออยู่หลบภัยในที่พัก 3. ควรที่จะอพยพไปในทิศเหนือลม 4. วางแผนที่จะติดต่อสื่อสารถึง เพื่อน ญาติพี่น้อง หรือครอบครัว เผื่อไว้หลายๆ รูปแบบ
ไฟป่าบนภูเขาคาร์เมล ทางตอนเหนือของอิสราเอล พ.ศ. 2553 ไฟป่าบนภูเขาคาร์เมล ทางตอนเหนือของอิสราเอล พ.ศ. 2553
ไฟป่าแถบเทือกเขาบลู เมาน์เทนส์ 21 ตุลาคม 2556 ไฟป่าแถบเทือกเขาบลู เมาน์เทนส์ 21 ตุลาคม 2556
ไฟป่าที่รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา 13 มิถุนายน 2556 ไฟป่าที่รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา 13 มิถุนายน 2556
ไฟป่าที่ อ.สวนผึ้ง 2 มีนาคม 2555 ไฟป่าที่ อ.สวนผึ้ง 2 มีนาคม 2555
ไฟป่าในรัฐแคลิฟอร์เนีย อเมริกา 23 ตุลาคม ไฟป่าในรัฐแคลิฟอร์เนีย อเมริกา 23 ตุลาคม
ไฟป่าที่นครลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา 25 มิถุนายน 2555 ไฟป่าที่นครลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา 25 มิถุนายน 2555
ไฟป่าในรัสเซีย พ.ศ. 2553
นาย พีรฉัตร นวชาติกุล ม. 4/5 เลขที่ 1 น. ส. ชญาดา อยู่โอน ม นาย พีรฉัตร นวชาติกุล ม.4/5 เลขที่ 1 น.ส. ชญาดา อยู่โอน ม.4/5 เลขที่ 34 น.ส.ธมนวรรณ สมใจ ม.4/5 เลขที่ 35 น.ส. นิธินารถ นิพิฐวิทยา ม.4/5 เลขที่ 36 น.ส. เกวลี เวียงนนท์ ม.4/5 เลขที่ 40