บทที่ 6 การใช้สีสำหรับเว็บไซต์ บทที่ 6 การใช้สีสำหรับเว็บไซต์ สื่อชุดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์วังอักษร ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี แม่สี ทั้งสามสีประกอบด้วย สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง ทั้งสามสีสามารถผสมกันจนเกิดเป็นสีอื่นๆได้
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี การผสมสี สีที่เป็นกลาง สีอ่อน สีเข้ม และโทนสี ความกลมกลืนของสี
การผสมสี การผสมสีแบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ การผสมสีแบบบวก สีจำพวกที่มีความสว่าง เช่น แดงน้ำเงินเขียว เช่น จอโปรเจคเตอร์ ทีวี จอคอมพิวเตอร์ การผสมสีแบบลบ สีจำพวกที่มีความสว่างน้อย เช่น แดงแกมม่วง น้ำเงินแกมเขียว เช่น สีน้ำที่ใช้วาดรูป ดินสอสี สีเทียน รูปพิมพ์ 4 สี เป็นต้น
สีที่เป็นกลาง คือสีที่ไม่ได้รับอิทธิพลใดๆ จากสีอื่น คือ สีเทา เป็นสีที่จืด ไม่สดใส
สีอ่อน สีเข้ม และโทนสี โดยปกติ สีต่างๆ นั้นจะมีหลายระดับ เรียกว่าเฉดสี โดยเฉดสีเหล่านั้นเกิดจากการผสมของสีบริสุทธิ์กับสีดำ ขาว และเทา ในระดับที่ต่างกัน ทำให้เกิดเป็นเฉดสีต่างๆ เมื่อผสมกับสีขาวจะได้สีอ่อน เมื่อผสมกันสีดำจะได้สีเข้ม เมื่อผสมกับสีเทาจะได้เป็นโทนสีระดับต่างๆกัน
ความกลมกลืนของสี หมายถึงความเป็นระเบียบของสี ทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงความเป็นระเบียบ โดยแบ่งเนื้อหาต่างๆออกให้เป็นโทนสีเดียวกัน เพื่อให้อ่านได้ง่าย และ แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ได้ตามสีที่เราจัดเรียบไว้
รูปแบบชุดสีพื้นฐาน ชุดสีร้อน สีแดง ส้ม เหลือง ใช้กับเว็บจำพวก อาหาร ร้านอาหาร ชุดสีเย็น น้ำเงิน ฟ้า เขียว ใช้กับเว็บจำพวก เทคโนโลยี ชุดสีแบบเดียวกัน จะใช้สีเดียวทั้งเว็บแต่แบ่งระดับความเข้มต่างกันไป ชุดสีแบบสามเส้า ประกอบไปด้วยสีที่มีความตัดกันอย่างชัดเจน ชุดสีที่คล้ายคลึงกัน เช่น สีเหลืองกับเขียวอ่อน แดงกับน้ำตาลอ่อน ชุดสีตรงข้าม เป็นสีที่ตัดกันอย่างชัดเจนมากที่สุด เช่น ฟ้าแดง ขาวดำ ชุดสีตรงข้ามข้างเคียง เป็นการเลือกใช้สีที่ตัดกันแต่ตำแหน่งของสีอยู่ใกล้กัน ชุดตรงข้ามข้างเคียงทั้ง 2 ด้าน เป็นสีจำพวกออกแกมต่างๆ เช่น แดงแกมม่วง
ข้อคิดเกี่ยวกับการใช้สีในเว็บไซต์ ใช้สีอย่างสม่ำเสมอ ใช้สีอย่างเหมาะสม ใช้สีเพื่อสื่อความหมาย ผลทางจิตวิทยาที่มีต่อสี
ประโยชน์ของสีในเว็บไซต์ 1. สีสามารถชักนำสายตาผู้อ่านไปยังทุกบริเวณในหน้าเว็บเพจ การเลือกเฉดสีและตำแหน่งของสี สามารถนำทางให้ผู้อ่านติดตามเนื้อหาในบริเวณต่าง ๆ ตามที่กำหนด วิธีนี้มีประโยชน์ เมื่อต้องการให้ผู้อ่านสนใจในบริเวณใดเป็นพิเศษ เช่น ข้อมูลใหม่, โปรโมชั่นพิเศษ หรือบริเวณที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจ 2. สีสามารถเชื่อมโยงบริเวณที่ออกแบบเข้าด้วยกัน ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าบริเวณที่มีสีเดียวกันมีความสำคัญเท่ากัน โดยเป็นการเชื่อมโยงแบบนี้เป็นการช่วยจัดกลุ่มข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ไม่ชัดเจนเข้าด้วยกัน 3. สีสามารถใช้แบ่งแยกบริเวณที่แตกต่างกันออกจากกัน 4. สีสามารถใช้ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน โดยที่ผู้อ่านส่วนใหญ่มักจะสนใจบริเวณของสีที่มีลักษณะเด่น การเลือกใช้สีอย่างรอบคอบนอกจากจะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้อ่านแล้ว ยังสามารถทำให้ผู้อ่านอยู่ในเว็บไซต์ได้นานยิ่งขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับการเลือกใช้สีที่ไม่เหมาะสม ก็จะเป็นการไล่ให้ผู้ชมไปเว็บอื่นที่ออกแบบดีกว่า 5. สีสามารถสร้างอารมณ์และลักษณะโดยรวมของเว็บเพจและกระตุ้นความรู้สึก ตอบสนองของผู้ชมได้ 6. สีช่วยสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้กับข้อความต่าง ๆ เช่น ใช้สีที่แตกต่างกันระหว่างหัวข้อเรื่องกับตัวเรื่อง หรือใช้ในการสร้างความแตกต่างให้กับข้อความบางส่วน เช่น คำเตือนใช้ตัวอักษรสีแดง เป็นต้น 7. สีสามารถช่วยส่งเสริมเอกลักษณ์ขององค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ ด้วยการเลือกใช้ สีที่เหมาะสมกับเอกลักษณ์ขององค์กร