บทที่ 2 วัฒนธรรม CULTURE
ความหมายของวัฒนธรรม ในความหมายของนักสังคมศาสตร์จะหมายถึงระบบความคิด ค่านิยม ความรู้ บรรทัดฐาน และเทคโนโลยี ที่มีอยู่ร่วมกันในสังคม ๆ หนึ่ง วัฒนธรรมจึงมีความแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม วัฒนธรรมไม่ได้เกิดขึ้นในตัวเราเองเหมือนการจาม การหายใจ แต่เป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้จากครอบครัว เพื่อน ชุมชน หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ทุก ๆ สิ่งที่เราสัมผัสหรือติดต่อด้วย
ลักษณะพื้นฐานของวัฒนธรรม 1. เป็นความคิดร่วม 2. เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องเรียนรู้ 3. มีพื้นฐานมาจากการใช้สัญลักษณ์ร่วมกัน 4. เป็นองค์รวมของความรู้ และภูมิปัญญา 5. กระบวนการที่มนุษย์กำหนดนิยามความหมายให้กับชีวิตและสิ่งต่าง ๆ 6. เป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงเสมอ 7. Reproductionได่แก่ enculture กับ diffusion
องค์ประกอบของวัฒนธรรม 1. สัญลักษณ์ 2. ภาษา 3. ค่านิยม 4. บรรทัดฐาน 5. เทคโนโลยีและวัฒนธรรมทางวัตถุ
1. สัญลักษณ์ Symbol หมายถึง สิ่งหนึ่งซึ่งนำมาใช้แสดงความหมายแทนอีกสิ่งหนึ่ง ทั้งนี้สัญลักษณ์ไม่จำเป็นต้องมีความคล้ายคลึง หรือมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่นำไปแทน เช่น “โดม” “พระเกี้ยว” “บางมด” “หอไอเฟล” ระบบสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่ง คือ (Sign) สัญญานไฟ เขียวแดง ห้องน้ำหญิงชาย คำต่าง ๆ
2. ภาษา ภาษาจะมีลักษณะเด่นกว่าระบบสัญลักษณ์อื่น ๆ เพราะมีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น การใช้คำ “เก้าอี้” “ดอกกุหลาบ” “ปลา” และทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้โดยละเอียด ทั้งในเรื่องรูปธรรมและนามธรรม นักสังคมศาสตร์ถือว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้มนุษย์สามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าให้เกิดขึ้น ซึ่งทำให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์ ภาษายังมีอิทธิพลต่อการรับรู้และพฤติกรรมของเราด้วย
3. ค่านิยม หมายถึง ความคิดร่วมกันของคนในสังคม อันเกี่ยวกับการให้ความสำคัญและคุณค่ากับสิ่งใด หรือไม่ให้ความสำคัญและคุณค่ากับสิ่งใด ค่านิยม เป็นผลผลิตของสังคม สมาชิกได้มันมาโดยการเรียนรู้จากสังคมของเขา แต่ละสังคมก็จะมีค่านิยมแตกต่างกันออกไปขึ้นกับวิวัฒนาการของสังคมนั้น
4. บรรทัดฐาน 1.วิถีประชา 2.จารีต 3.กฎหมาย เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม หมายถึง กฎแห่งการกระทำและความคาดหวังของสังคมต่อพฤติกรรม ว่าเราควรปฏิบัติ หรือไม่ควรปฏิบัติอย่างไรในสถานการณ์ต่าง ๆ บรรทัดฐาน แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1.วิถีประชา 2.จารีต 3.กฎหมาย
5. เทคโนโลยีและวัฒนธรรมทางวัตถุ หมายถึง การนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิต และรูปแบบการดำเนินชีวิต เทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของมนุษย์มาก ขณะเดียวกันผลผลิตที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีก็มักจะสะท้อนระบบความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และบรรทัดฐานของสังคมด้วย
Relativism มนุษย์ในสังคมโลกประกอบไปด้วยกลุ่มต่าง ๆ แต่ละกลุ่มก็จะมีวัฒนธรรมเฉพาะของกลุ่มตัวเอง ซึ่งเป็นตัวกำหนดคุณค่า ความถูกต้องดีงาม ความจริงของแต่ละสังคม ดังนั้นจึงไม่มีความจริงแท้หรือความดีงามแท้อยู่จริง และเราไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่าวัฒนธรรมของสังคมใดดีกว่าอีกสังคมหนึ่ง