ประเทศสิงคโปร์ (Singapore).

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ประวัติความเป็นมา ธงประจำชาติ ประเทศอาเซีย แบบทดสอบ ผู้จัดทำ.
Advertisements

การคัดเลือกพื้นที่เพื่อการพัฒนาสถานบริการสาธารณสุข ในชายแดนชนบท
นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
รายงานประเทศอาเซียน จัดทำโดย
การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 10 “ ความร่วมมือในการบริการ สารสนเทศ ” อาจารย์ ดร. นฤมล รักษาสุข.
จัดทำโดย ด. ช. กรธวัช นนทนาคร ม.1/4 เลขที่ 1 ด. ช. ไชยภัทร ธรรมเพียร ม.1/4 เลขที่ 4 เสนอ อ. ฐิตาพร ดวงเกตุ Next.
ชลบุรี ว่าง นายชิดชัย อังคะไวมงคล
โครงงานเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี
องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา
วิชาโครงการ รหัส & ระดับ ปวช. และ ปวส.
การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในไทย
สำนักประสานและติดตามนโยบาย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
1.1 อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุพบ บริเวณใดของโลก แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุนับเป็นแหล่งอารยธรรม เริ่มแรกของอินเดีย อยู่บริเวณดินแดนภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย.
อำเภอควบคุมยาสูบและเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์เข้มแข็ง ปี 2556
สถาบันด้านปัจจัยการ ผลิตทางการเษตร ( ตลาดแรงงาน ) ศ.491 การวิเคราะห์การผลิต และนโยบายการผลิตสินค้าเกษตร รศ. ภราดร ปรีดาศักดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แนวทางการบริหารจัดการเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดย สหกรณ์ นายเชิดชัย พรหมแก้ว ผู้อำนวยการกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร กรมส่งเสริมสหกรณ์ วันที่
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
โดย นายแพทย์ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข “เรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สร้างสรรค์” นโยบายการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย.
สรุป การเมืองการปกครองท้องถิ่น ไทย POL 341 ผศ. ดร. ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.
ของฝากสุรินทร์ : เม็ดบัวอบกรอบมาย, ผ้าไหม , ผักกาด ( Best 3 Souvenirs of Surin)
ศาสนาคริสต์111
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสุโขทัย
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
GEOGRAPHY OF ASIA TAWEESAK KUNYOCHAI อาจารย์สอง Satit UP
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สภาพทั่วไป ประวัติและความเป็นมา ลักษณะภูมิประเทศ ตำนานเมืองแก่งคอย
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
ธงชาติประเทศในอาเซียน
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ยินดีต้อนรับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์) และคณะ ในโอกาสตรวจเยี่ยมจังหวัดตาก วันที่ กรกฎาคม 2558.
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
แนวทาง/เกณฑ์การประเมินโครงการฯ
กลุ่มเกษตรกร.
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ปี 2560 ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
World Time อาจารย์สอง Satit UP
การแสดงเจตจำนงของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
การปรับปรุงพื้นที่ทุรกันดาร 2559 นายแพทย์สงกรานต์ ไหมชุม
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
. ระบบการปกครอง & การเมืองการปกครอง ของประเทศใน S.E.A.
ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว
สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
คำชี้แจง เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
จุดเริ่มต้นสวนสัตว์ไทย
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
การจัดการความรู้ Knowledge Management
การเตรียมตัวสู่ประชาคมอาเซียน
การปกครองท้องถิ่น ในปัจจุบัน
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
“ทิศทางการขับเคลื่อน คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ของสำนักงานคณะกรรมการ
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
Singapore ประเทศสิงคโปร์.
ประเทศบรูไน จัดทำโดย ด.ญ.ธัชพรรณ วรรณภิละ ม.2/8 เลขที่ 11
แบบทดสอบความรู้เรื่อง
นาย พิศณุ นิลกลัด.
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2561
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
ประเทศอาเชียน ประเทศสิงคโปร์.
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)

คำนำ สารบัญ เรื่อง หน้า 1 2-4 5-6 7 8 9-10 รายงานเล่มนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง 10  ประเทศอาเซียน ผู้จัดทำได้พยายามค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลของแต่ละประเทศในอาเซียน  ที่ตั้งอาณาเขต  พื้นที่  ลักษณะภูมิประเทศ  ลักษณะภูมิอากาศ  เมืองหลวง  ประชากร   การเมืองการปกครอง   ศาสนา  ภาษา  เศรษฐกิจ  และสกุลเงิน  ของแต่ละประเทศไว้อย่างละเอียด  ซึ่งรายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต   ผู้จัดทำ เด็กชาย ไชยพัต ไชยลังกา เรื่อง หน้า ประวัติศาสตร์ 1 การเมืองการปกครอง 2-4 บริหาร 5-6 ตุลาการ 7 เศรษฐกิจ 8 สถานการณ์เศรษฐกิจ 9-10

การท่องเที่ยว 11-12 การแต่งกาย 30 การคมนาคม 13-18 ธงชาติ 31-32 การคึกษา 19-21 ตราประจำชาติ 33 ประชากร 22 ดอกไม้ประจำชาติ 34 ศาสนา 23 สกุลเงิน 35 ภาษา 24 อาหารประจำชาติ 36 วัฒนธรรม 25-29 สัตว์ประจำชาติ 37-38

ประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง 1 2 ประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์ก่อนศตวรรษที่ 14 มิได้ถูกบันทึกอย่างชัดเจนและแน่นอนนัก ในช่วงศตวรรษที่ 14 สิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรมัชฌาปาหิตแห่งชวา ต่อมาในต้นศตวรรษที่ 15 ก็อยู่ภายใต้การยึดครองของอาณาจักรสยาม จนถูกประมุขแห่งมะละกาเข้ามาแย่งชิงไป และเมื่อโปรตุเกสเข้ายึดครองมะละกา สิงคโปร์ก็กลายเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกสในราวปี ค.ศ. 1498 และต่อมาอยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอลันดาในช่วงศตวรรษที่ 17 สิงคโปร์เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ปลายสุดแหลมมาลายู เป็นสถานพักสินค้าของพ่อค้าทั่วโลก เดิมชื่อว่า เทมาเส็ก (ทูมาสิค) มีกษัตริย์ปกครอง ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้มีเจ้าผู้ครองนครปาเล็มบังเดินทางแสวงหาดินแดนใหม่เพื่อสร้างเมือง แต่เรือก็อับปางลง พระองค์ได้ว่ายน้ำขึ้นฝั่ง แล้วก็เห็นสัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างลำตัวสีแดงหัวดำหัวคล้ายสิงโตหน้าอกขาว พระองค์จึงถามคนติดตามว่า สัตว์ตัวนั้นคืออะไรคนติดตามก็ตอบว่ามันคือ สิงโต พระองค์จึงเปลี่ยนชื่อเทมาเส็กเสียใหม่ว่า สิงหปุระ ต่อมาสิงหปุระก็ได้ตกเป็นของสุลต่านแห่งมะละก้า   ในโอกาสให้ประชาชนเลือกตั้งสมาชิกบางส่วน (6 คน จาก 22 คน) ได้ ซึ่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาบางส่วนนี้ในปี 1948 พรรคก้าวหน้า (Progressive Party) ของสิงคโปร์ได้ที่นั่งมากที่สุด ต่อมาในปี ค.ศ. 1951 สมาชิกสภาที่มาจากการเลือกตั้งถูกเพิ่มเป็น 9 คน ในจำนวน 25 คน และในปี ค.ศ. 1955 ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแรกสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งมีจำนวน 25 คน ในจำนวน 32 คน ฐานะที่เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศนั้น สิงคโปร์มีอำนาจปกครองกิจการภายในของตนเองแต่ไม่มีอำนาจดูแลกิจการทหารและการต่างประเทศ และยังมีผู้ว่าราชการจากส่วนกลางมาปกครองอยู่ ในสภานิติบัญญัติ (Legislative Council) นั้น อังกฤษเริ่มเปิด

3 4 นับจากปี ค.ศ. 1965 เมืองสิงคโปร์ประกาศตนเป็นประเทศเอกราช มีอำนาจอธิปไตยของตนเอง โดยปกครองในรูปของสาธารณรัฐ หลังจากนั้นสิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวเป็นเวลาถึง 25 ปี ซึ่งก็คือ นาย ลี กวน ยู ทั้งนี้เป็นเพราะพรรคกิจประชา (PAP: People’ Action Party) ซึ่งนาย ลี เป็นผู้ก่อตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 นั้นมีชัยชนะในการเลือกตั้งเกือบทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งทั่วไป หรือการเลือกตั้งซ่อม ทศวรรษ 1990 เป็นจุดเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยนการปกครองสิงคโปร์จากผู้นำกลุ่มเก่า (Old Guards) เป็นผู้นำรุ่นใหม่ (New Guards) นายโก๊ะ จ๊กตง (Goh Chok Tong) ได้รับการคัดเลือกจากพรรคกิจประชาและคณะรัฐมนตรี ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สองของสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 1990 นาย ลี กวน ยู ยังดำรงตำแหน่งอยู่ในรัฐบาลชุดใหม่โดยเป็นรัฐมนตรีอาวุโส และในปี ค.ศ. 1993 สิงคโปร์เริ่มใช้ระบบประธานาธิบดีแบบใหม่ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน   ต่อมาอังกฤษให้ชาวสิงคโปร์มีอำนาจและมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองมากขึ้นในช่วง 10 ปี ก่อนที่สิงคโปร์จะประกาศเป็นสาธารณรัฐนั้น สิงคโปร์จึงอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาล 3 ชุด คือ (1) รัฐบาลของนายเดวิด มาร์แชล (David Marshall) จากปี 1955-1956 (2) รัฐบาลของนายลิม ยิว ฮ๊อค (Lim Yew Hock) จากปี ค.ศ. 1956-1959 และ (3) รัฐบาลของนาย ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) ซึ่งภายใต้รัฐบาลนี้สิงคโปร์มีอำนาจในการปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์แล้ว และนายลี กวน ยูได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ ต่อมาในช่วงปี 1963-1965 รัฐบาลชุดนี้ก็ได้ตัดสินใจเข้าไปรวมอยู่ในสหพันธรัฐมาลายา และอยู่ได้เพียง 2 ปี

5 6 - บริหาร ระบอบการปกครองของสิงคโปร์ คือ ระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายโทนี ตัน เค็ง ยัม เข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 ส่วนนายกรัฐมนตรีคือ นายลี เซียน ลุง ซึ่งรับตำแหน่งต่อจากนายโก๊ะ จ๊กตง และนายลี กวน ยูซึ่งมีฐานะเป็นบิดาของนาย ลี เซียน ลุง สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซียเมื่อปี พ.ศ. 2508 มีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขทางพิธีการ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขทางด้านบริหาร สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมืองมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก เพราะนับแต่ตั้งประเทศเป็นต้นมา มีรัฐบาลที่มาจากพรรคเดียวและเป็นรัฐบาลเสียงข้างมาก และมีการควบคุมสิทธิเสรีภาพของสื่อสารมวลชนและประชาชนในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างค่อนข้างเข้มงวด

7 8 เศรษฐกิจ - ตุลาการ 1.การเพาะปลูก ปลูกยางพารา มะพร้าว ผัก ผลไม้ แต่พื้นที่มีจำกัด 2.อาศัยวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน มีอุตสาหกรรมเบา เช่น ผลิตยางพารา ขนมปัง เครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมหนัก เช่น อู่ต่อเรือ ทำเหล็กกล้า ยางรถยนต์ มีกิจการกลั่นน้ำมันซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและเป็นผู้สร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันรายใหญ่ด้วย 3.การค้าขาย เป็นท่าเรือปลอดภาษี ประเทศต่าง ๆ ส่งสินค้าต่าง ๆ มายังสิงคโปร์เพื่อส่งออก และสิงคโปร์ยังรับสินค้าจากยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เพื่อส่งไปขายต่อยังประเทศเพื่อนบ้าน มีท่าเรือน้ำลึก เหมาะในการจอดเรือส่งสินค้า สถาบันตุลาการของสิงคโปร์อยู่ภายใต้ระบบสาธารณรัฐ อำนาจตุลาการนั้นเป็นอิสระมาก ปราศจากการควบคุมและแทรกแซงจากฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมีการแบ่งศาลเป็น 2 ระดับ คือ ศาลชั้นต้น กับศาลสูงสุด ระบบกฎหมายของสาธารณรัฐสิงคโปร์ ใช้แบบคอมมอนลอว์เนื่องจากGAyนอาณานิคมของ สหราชอาณาจักรมากก่อนจึงได้รับอิทธิพลด้านกฎหมายมาด้วย

9 10 สถานการณ์เศรษฐกิจ สิงคโปร์เป็นประเทศที่เล็กที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติมากเหมือนประเทศอื่น แต่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี เพราะสิงคโปร์พัฒนาเศรษฐกิจด้านการค้า โดยเป็นประเทศพ่อค้าคนกลางในการขายสินค้าเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าปลอดภาษี ทำให้สินค้าที่ผ่านทางสิงคโปร์มีราคาถูก ปัจจุบันสิงคโปร์มีท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ และทันสมัยที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง และยังได้เข้าไปลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชาและพม่า สิงคโปร์มีประชากรน้อยจึงต้องพึงพาแรงงานจากต่างชาติในทุกระดับ สิงค์โปร์เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีฐานะทางเศรษฐกิจและการเงินที่มั่งคั่งที่สุดประเทศนึงในโลก

11 12 การท่องเที่ยว หากแบ่งตามภูมิศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยวภายในประเทศสิงคโปร์ มีดังนี้ 1.ภาคตะวันออก - Katong, Pasir Ris, Changi/Pulau Ubin 2.ภาคตะวันตก - Kent Ridge, Mount Faber, Bukit Timah 3.ภาคเหนือ - Thomson, Lim Chu Kang/Tengah 4.ภาคกลาง - Balestier, Chinatown, แม่น้ำสิงคโป  

13 14 การคมนาคม การขนส่งทางบก สิงคโปร์มีพื้นที่ไม่มาก ประมาณ 900 ตารางกิโลเมตร แต่ถนนที่จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ประมาณ 1,300 กิโลเมตร นอกจากถนนแล้ว ยังมีทางรถไฟอยู่สองสาย มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร ได้มีการสร้างทางรถไฟสายสิงคโปร์ - กรันจิ เมื่อปี พ.ศ. 2446 สมัยรัฐบาลสเตรตส์เซตเทิลเมนต์โดยมีการเดินรถจากสถานีแทงค์โรค ไปยังวู๊ดแลนด์ และมีบริการแพขนานยนต์ ข้ามฟากไปเชื่อมต่อกับทางรถไฟจากแผ่นดินใหญ่ด้วย เส้นทางคมนาคม ที่ตั้งของสิงคโปร์เป็นเส้นทางระหว่างทวีปยุโรป และเอเซียตะวันตก กับภาคพื้นตะวันออกไกล รวมทั้งภาคพื้นแปซิฟิค ทำให้สิงคโปร์เป็นชุมทางของเส้นทางเดินเรือ และสายการบินระหว่างประเทศ และเป็นแหล่งชุมนุมการค้าขาย ปัจจุบันสิงคโปร์ มีท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเอเซีย รองจากโยโกฮามาของญี่ปุ่น และเป็นท่าเรือที่มีการขนส่งสินค้ามาก เป็นอันดับสามของโลก  

15 16 การขนส่งทางน้ำ มีการขนส่งทางน้ำภายในประเทศ ทางน้ำชายฝั่งและทางน้ำระหว่างประเทศ ทางน้ำภายในประเทศ มีใช้อยู่ในวงจำกัด และไม่ค่อยสะดวก เพราะสิงคโปร์เป็นเกาะเล็ก ๆ และมีแนวชายฝั่งสั้น ภายในเกาะเองก็มีแม่น้ำสายสั้น ๆ และไม่ติดต่อถึงกัน รวมทั้งยังตื้นเขินมาก จึงต้องจำกัดเวลา ในการใช้คือ ในช่วงเวลาน้ำขึ้นเท่านั้น ทางน้ำชายฝั่ง เป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งทางน้ำระหว่างประเทศ แต่มีลักษณะเฉพาะของตนเองคือ ใช้เรือเล็ก ท่าเรือเล็ก ๆ ที่มีจำนวนมากมาย เส้นทางเดินเรือสั้น การให้บริการไม่เป็นประจำ เรือที่เดินตามบริเวณชายฝั่ง มีหลายบริษัท และมีบริษัทที่ให้บริการเป็นประจำไปยังท่าเรืออินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออก และตะวันตก และไทย ทางน้ำระหว่างประเทศ รัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานจดทะเบียนเรือของสิงคโปร์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2509 และได้มีการตราพระราชบัญญัติอนุญาตให้มีการจดทะเบียนเรือ ซึ่งเจ้าของอยู่ในต่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยมีความมุ่งหมายจะชักจูงเรือสินค้าต่างชาติ ที่ไปจดทะเบียนเป็นเรือสัญชาติไซบีเรีย และปานามา ให้สนใจโอนสัญชาติเป็นเรือสิงคโปร์ได้ ท่าเรือแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2507 ได้มีการปรัปปรุงท่าเรือสิงคโปร์ ให้สามารถรับเรือคอนเทนเนอร์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ และสามารถอำนวยความสะดวก ให้กับเรือบรรทุกน้ำมันขนาดสองแสนตัน หรือมากกว่า

17 18 การขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ เริ่มมีสายการบินทำการค้าสายแรก เมื่อปี พ.ศ. 2473 เป็นของบริษัทดัทช์อิสท์อินเดีย และในปี พ.ศ. 2478 สายการบินแควนตัส ได้เปิดการบินระหว่างสิงคโปร์ กับออสเตรเลีย ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ท่าอากาศยานสากล เดิมอยู่ที่ปายาเลบาร์ อยู่ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 12 กิโลเมตร มีทางวิ่งยาวประมาณ 4,000 เมตร สามารถรับเครื่องบินพาณิชย์ได้ทุกขนาดและทุกแบบ ปัจจุบันสิงคโปร์มีท่าอากาศยานนานานชาติ ที่จัดส่งทันสมัยมากคือ ท่าอากาศยานนานาชาติชางงี มีขีดความสามารถในการรับเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ และการให้บริการพร้อม ๆ กันถึง 45 เครื่อง มีการสร้างทางวิ่งที่สองบนพื้นที่ ที่ได้จากการถมทะเล สายการบินแห่งชาติ เดิมสิงคโปร์ มีสายการบินร่วมกับมาเลเซียใช้ชื่อว่า มาเลเซีย - สิงคโปร์ แอร์ไลนส์ (Malasia - Singapore Airlines) ต่อมาเมื่อได้แยกประเทศกันแล้ว ก็ได้แยกสายการบินออกจากกันด้วย เมื่อปี พ.ศ. 2515 สายการบินของสิงคโปร์ใช้ชื่อว่า สิงคโปร์แอร์ไลน์ (Singapore Airlines SIA)

19 20 การศึกษา ระบบการศึกษาของสิงคโปร์ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่านักเรียนแต่ละคนนั้นมีความถนัดและความสนใจแตกต่างกันไปในแบบฉบับของตนเอง ดังนั้นเราจึงจัดระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่นเพื่อให้นักเรียนแต่ละคนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ การศึกษาก่อนวัยเรียน การศึกษาก่อนวัยเรียน ได้แก่ การศึกษาในชั้นอนุบาลและการดูแลเด็กโดยศูนย์ดูแลเด็กเล็ก โดยจะรับนักเรียนอายุ 3-6 ปี โรงเรียนอนุบาลในสิงคโปร์จะมีกระทรวงศึกษาธิการควบคุม และมีมูลนิธิของชุมชน หน่วยงานทางศาสนา และองค์กรทางธุรกิจและสังคมทำหน้าที่บริหาร ในหลักสูตรขั้นพื้นฐาน วิชาหลักที่ได้เรียนคือ วิชาภาษาอังกฤษ ภาษาท้องถิ่น (Mother Tongue อันได้แก่ ภาษาจีน มลายู หรือทมิฬ ตามเชื้อชาติของตนเอง) คณิตศาสตร์ และวิชาเสริม อันได้แก่ ดนตรี ศิลปะหัตถกรรม สุขศึกษา และสังคมศึกษา ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์จะเริ่มเรียนกันตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นต้นไป และเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในตัวนักเรียนและทดสอบความถนัดของนักเรียนให้ตรงกับแผนการเรียนในระดับมัธยม

21 22 ประชากร มัธยม ทุกคนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จะต้องทำข้อสอบ Primary School Leaving Examination (PSLE) ให้ผ่านเพื่อจบการศึกษาระดับประถม หลักสูตรการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาของสิงคโปร์ได้รับการยอมรับและนำไปเป็นตัวอย่างการเรียนการสอนจากนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาคณิตศาสตร์ การรับนักเรียนต่างชาตินั้นขึ้นอยู่กับจำนวนที่นั่งว่างในแต่ละโรงเรียน เชื้อชาติ สิงค์โปร์เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในภูมิภาค และเป็นประเทศเล็กที่สุดในภูมิภาค เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 2 ของโลก มีจำนวนประชากรประมาณ 5,543,494 (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2013) ประกอบด้วยชาวจีน (76.5%) ชาวมลายู (13.8%) ชาวอินเดีย (8.1%) และอื่น ๆ (1.6%)

23 24 ศาสนา ศาสนา สิงคโปร์มีภาษาราชการถึง 4 ภาษา คือ อังกฤษ จีนกลาง มลายู และทมิฬ ศิลปวัฒนธรรมก็เป็นลักษณะผสมระหว่างจีน มาเลเซีย และอินเดีย ภาษาประจำชาติ: คือภาษามลายู ในปี ค.ศ. 2010[7] ประเทศสิงคโปร์มีผู้นับถือศาสนา แบ่งได้ดังนี้ ศาสนาพุทธ 33% ศาสนาคริสต์ 18.3% ศาสนาอิสลาม 14.7% ลัทธิเต๋า 10.9% ศาสนาฮินดู 5.1% ศาสนาอื่น ๆ 0.7% และไม่มีศาสนา 17%

วัฒนธรรม 25 26 - เทศกาลตรุษจีน (Chinese New Year)  ประชากรสิงคโปร์มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ อีกทั้งส่วนใหญ่ยังยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิม  ทำให้สิงคโปร์มีวัฒนธรรมหลากหลาย ทั้งทางด้านอาหาร การแต่งกาย ตลอดจนการเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าที่แตกต่างกันไป ชาวจีนส่วนมากบูชาเจ้าแม่กวนอิมธิดาแห่งความสุข กวนอูเทพเจ้าแห่งความยุติธรรม รวมถึงเทพเจ้าจีนองค์อื่นๆ  ขณะที่ชาวฮินดูบูชาเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ เป็นต้น

27 28  -  เทศกาลวิสาขบูชา (Vesak Day) ของชาวพุทธจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เพื่อระลึกถึงการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า  เทศกาล Hari Raya Puasa   เป็นเทศกาลสำคัญของชาวสิงคโปร์เชื้อสายมุสลิม  จัดขึ้นในเดือนตุลาคม (เดือน 10)  ของทุกปีตามปฏิทินอิสลาม  โดยที่ช่วงเช้าชาวมุสลิมจะพร้อมใจกันเข้าสุเหร่าเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา   จากนั้นก็เป็นการเฉลิมฉลองในหมู่เพื่อนฝูงหรือครอบครัว  ซึ่งงานนี้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่ถนนเกย์แลง  ศูนย์รวมชาวมุสลิมในสิงคโปร์หลังการสิ้นสุดพิธีถือศีลอดหรือรอมฏอน (Ramadan) 

29 30 การแต่งกาย  -   เทศกาล Good Friday ของชาวคริสต์ในเดือนเมษายน   จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการสละชีวิตของพระเยซูบนไม้กางเขน  การแต่งกายของชาวมลายูในสิงคโปร์ เสื้อใช้ลวดลายและดอกคล้ายโสร่งของอินโดนีเซีย แบบอาจจะเพี้ยนไปบ้าง ใช้ผ้าพื้น เข้มทำตัวเสื้อ มีลวดลายตามรอบคอ สาบ และปลายแขน ส่วน ชายแต่งชุดสากล สำหรับชาวจีน อินเดีย ยุโรป ก็แต่งตามการแต่งกายของแต่ละชาติ เอกลักษณ์ของ ชาวสิงคโปร์ไม่มีศิลปะเป็นของตนเอง แต่สิ่งที่ประทับใจที่สำคัญคือ ความเรียบร้อย มีระเบียบ และสะอาดที่สุดในโลกในสายตาของชาวโลก           

31 32 ธงชาติ   เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูปดังกล่าวมีรูปดาวห้าแฉก 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า รูปเหล่านี้เป็นสีขาว ธงนี้เริ่มใช้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ซึ่งเป็นปีที่สิงค์โปร์ได้สิทธิปกครองตนเองจากจักรวรรดิอังกฤษ และถือเป็นธงชาติของรัฐเอกราชเมื่อสิงคโปร์ประกาศเอกราชในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1695) ความหมายสำคัญขององค์ประกอบต่างๆ ในธง อันได้แก่ สีแดง หมายถึงภราดรภาพและความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์และความดีงามที่แพร่หลายและคงอยู่ตลอดกาล รูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึงความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น ดาว 5 ดวง หมายถึงอุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค

ตราประจำชาติ ดอกไม้ประจำชาติ 33 34 ตราประจำชาติ ดอกไม้ประจำชาติ กล้วยไม้ในกลุ่ม แวนด้า เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐสิงคโป โล่สีแดงประดับ จันทร์เสี้ยวและกลุ่มดาว ๕ ดวง ข้างซ้ายเป็นสิงโต แทนสิงคโปร์ ข้างขวาเป็นเสือโคร่ง แทนความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ของเกาะกับมาเลเซีย ข้างใต้มีคำขวัญ “Majulah singapura:” ซึ่งมีความหมายว่า “สิงคโปร์จงเจริญ”

สกุลเงิน อาหารประจำชาติ ดอลลาร์สิงคโปร์ 35 36   ลักซา (Laksa) อาหารยอดนิยมของสิงคโปร์ เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ) ลักษณะคล้ายข้าวซอยของไทย             น้ำแกงเข้มข้นด้วยรสชาติของกะทิ กุ้งแห้ง และพริก โรยหน้าด้วยกุ้งต้ม หอยแครง ลักชามีหลายประเภททั้งแบบที่            ใส่กะทิ และไม่ใส่กะทิ  

37 38 สัตว์ประจำชาติ ประเทศสิงคโปร์ เดิมมีชื่อว่าเมืองสิงหปุระ (Singapura) ซึ่งหมายถึงเมืองแห่งสิงโต แต่ไม่มีรายงานการพบสิงโตอยู่ตามธรรมชาติในประเทศสิงคโปร์เลย เนื่องจากเป็นประเทศที่ไม่มีป่าไม้หรือทุ่งหญ้าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสิงโต มีแต่เรื่องเล่าที่ว่ามีผู้เคยพบเห็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายสิงโตอยู่บนดินแดนแห่งนี้เท่านั้น แต่กระนั้นสิงโตก็ยังได้รับเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติสิงคโปร์