กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร หมายถึง การรวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อร่วมกันพัฒนาความรู้ความสามารถทางการเกษตรที่ก่อให้เกิดการพัฒนาอาชีพการเกษตร เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ที่จะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ พึ่งพาตนเองได้ และ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการประกอบกิจกรรมด้านการเกษตร 1.2 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรร่วมกันแก้ไขปัญหาการผลิต การแปรรูป และการตลาด 1.3 เพื่อเป็นศูนย์กลางรับความรู้ในการถ่ายทอดวิชาการไปสู่เกษตรกร 1.4 เพื่อใช้กระบวนการกลุ่มในการพัฒนาเกษตรกรให้มีความมั่นคง ในการประกอบอาชีพ สามารถพึ่งพาตนเองได้
ชื่อของกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร ให้ขึ้นต้นด้วยคำว่า “กลุ่ม” ตามด้วยชื่อกิจกรรมหรือวัตถุประสงค์ของกลุ่ม เช่น - กลุ่มปลูกผัก - กลุ่มฟื้นฟูอาชีพ
โครงสร้างกลุ่ม 1. สมาชิกของกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร คุณสมบัติสมาชิก 1) ประกอบกิจกรรมการเกษตรในตำบลเดียวกันหรือใกล้เคียง 2) มีปัญหา หรือความต้องการคล้ายคลึงกัน 3) มีความสนใจ และเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มด้วยความสมัครใจ
2. คณะกรรมการกลุ่ม ประกอบด้วยอย่างน้อย 3 คน คือ ประธาน เลขานุการ เหรัญญิก หรือตำแหน่งอื่นๆ ตามมติที่ประชุม บทบาทหน้าที่คณะกรรมการ 1) ร่างระเบียบ กฎ ข้อบังคับกลุ่ม โดยความเห็นชอบของสมาชิก 2) จัดให้สมาชิกมาประชุม แสดงความคิดเห็นและวางแผนร่วมกัน 3) ให้บริการแก่สมาชิกด้านต่างๆ เช่น ข้อมูล ข่าวสาร ปัจจัยการผลิต 4) ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการดำเนินงานของกลุ่ม. 1 แนวทางการดำเนินงานของกลุ่ม 1. มีแผนกิจกรรมการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร สนับสนุนเวทีการดำเนินงานร่วมกัน และจัดทำแผนการดำเนินงาน 2. มีการสะสมทุนของกลุ่ม เช่น การรวมหุ้น จัดหาแหล่งทุน 3. พัฒนาความสามารถของสมาชิก เช่น อบรม ศึกษาดูงาน 4. การประชุมกลุ่ม
ข้อบังคับกลุ่ม เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างสมาชิกและคณะกรรมการ ในการกำหนดวิธีการบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม ได้แก่ การระดมหุ้น การดำเนินกิจกรรม การจัดการเงิน ทุน การรับสมาชิกและการลาออก การเลือกตั้งคณะกรรมการ วาระการอยู่ในตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง เป็นต้น
การจัดตั้งและการขอใบรับรองการจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมอาชีพ 1. การจัดตั้งกลุ่ม อาจเกิดขึ้นภายหลังการจัดเวทีเรียนรู้ หรือปัญหา 2. รวมตัวกัน 10 คนขึ้นไป ยื่นคำร้องต่อเกษตรอำเภอ เอกสารดังนี้ - หนังสือคำขอใบรับรองการจัดตั้งกลุ่มตามแบบฟอร์มกรมฯ - ข้อบังคับหรือข้อตกลง ของกลุ่ม - รายชื่อคณะกรรมการ - บัญชีรายชื่อสมาชิก - แผนงาน/กิจกรรม 3. นสว.ประจำตำบล ตรวจสอบเอกสาร เสนอเกษตรอำเภอ 4. เกษตรอำเภอออกใบรับรองการจัดตั้งกลุ่ม การรายงานการจัดตั้งกลุ่ม อำเภอรายงานจังหวัดตามระบบสารสนเทศ