รายวิชา สุนทรียภาพกับชีวิต Aesthetic Appreciation

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

การติดตามและ ประเมินผลโครงการ
นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
อ. สิริพร มีนะนันทน์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
สิทธิในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง
การออกแบบ Design.
KM เพื่อพัฒนาบัณฑิต อุดมคติ วิจารณ์ พานิช สถาบันส่งเสริมการจัดการ ความรู้เพื่อสังคม ( สคส.) th gotoknow.org /thaikm.
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
กระบวนการของการอธิบาย
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
กรณีศึกษาของเยาวชนที่กระทำความผิดคดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา : สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดสระบุรี ผู้วิจัย โยธิน จารุจุฑารัตน์ หลักสูตร ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.
การสร้างความตระหนักในโรงเรียนวิถีพุทธ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล เรื่องการเชื่อมโยง ภาพนิ่ง ด้วยโปรแกรม Powerpoint2007 โดยใช้ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ของนักเรียนระดับชั้น.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
การขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะโดยใช้รางวัล สูงสุดระดับชาติ ตามหลักเกณฑ์ ว 13 / 2556 ดร. ชูชาติ ทรัพย์มาก ที่ปรึกษาด้านการบริหารงานบุคคลและนิติ การ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น.
1. ด้าน หลักสูตร. จุดเน้นกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ คุณภาพผู้เรียน “ คุณภาพผู้เรียน ที่ระบุในจุดเน้นมีอยู่ แล้วในหลักสูตร.
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
โดย... นายวินิจ รักชาติ อดีตผู้อำนวยการ สำนักงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จังหวัด กาญจนบุรี
เก่ง. ความรู้และทักษะ คุณลักษณะที่เน้น ความรู้ ทักษะเชิง วิชาชีพ และศาสตร์ที่ เกี่ยวข้อง.
ชุมชนปลอดภัย.
การออกแบบและเทคโนโลยี
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
นักปรัชญาวิทยาศาสตร์
หลักการของจริยธรรมทางกฎหมาย
สมัยกลาง (EARLY MEDIVAL)
ระดับความเสี่ยง (QQR)
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
One Point Lesson (OPL).....บทเรียนประเด็นเดียว
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
เทคนิคการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
Project Project (โครงงาน) ปริญญานิพนธ์ กิจกรรมซึ่งดำเนินงานตามลำดับ
พื้นฐานการวิจัยและสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมศาสตร์
พื้นฐานการวิจัยและสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมศาสตร์
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
โดย ครูสมจินตนา เทียมวิไล
การบริหารโครงการซอฟต์แวร์
ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จขององค์กรปกครอง
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล วัตถุเสพติดของกลาง (ระยะที่1)
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based Assessment) การรู้เรื่องการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์
ข้อสังเกตโดยรวมของผลงานที่ได้คะแนน ระดับดีมาก - ดี
วิชา พฤติกรรมผู้บริโภค
โดย ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
Kerlinger (๑๙๘๘) กล่าวว่า การวิจัย เป็นรูปแบบหนึ่งของการแสวงหาความรู้ ความจริง ที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
สัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน
การวัดและประเมินผลด้านพุทธิพิสัย (ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของ Benjamin Bloom) รศ. บรรพต พรประเสริฐ.
Legal Culture วัฒนธรรมทางกฎหมาย
ความหมาย ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการศึกษา
มุ่งเน้น การประเมินระดับการดำเนินงาน “หน่วยงานคุณธรรม”
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
วัสดุและเทคนิค ทางการออกแบบ อ.สุวิธธ์ สาดสังข์ ( Material and
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
พฤติกรรมมนุษย์เพื่อการพัฒนาตน
ศาสนาเชน Jainism.
ความช้าเร็ว ที่เกิดของวิปัสสนา
หัวข้อการเรียน ENL 3701 Week 5
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report
ความหมาย และ คำจำกัดความของคำว่า “ รัฐประศาสนศาสตร์ “
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
หน่วยที่ 4 การสร้างเครื่องมือ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

รายวิชา สุนทรียภาพกับชีวิต Aesthetic Appreciation GEH1101 3(3-0-3)

คำอธิบายรายวิชา การสร้างประสบการณ์การรับรู้และเข้าใจด้านศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์และการแสดงของไทย และกลุ่มประชาคมอาเซียน โดยผ่านกระบวนการพื้นฐานทางสุนทรียศาสตร์ เพื่อนำไปสู่ความซาบซึ้งและเห็นคุณประโยชน์ในความงามด้านศิลปกรรมศาสตร์

บทที่ 1 สุนทรียภาพ ความนำ สุนทรียภาพมีความหมายต่างจากสุนทรียศาสตร์ กล่าวคือสุนทรียภาพมุ่งให้ความสนใจเกี่ยวกับการรู้สึกสัมผัสรับรู้ได้ของแต่ละบุคคลต่อความงามของงานศิลปะหรือสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกล่าวถึงศิลปะร่วมสมัยจะพบว่า สุนทรียภาพได้ก้าวข้ามคุณค่าด้านความงามไปสู่คุณค่าอื่นหลายรูปแบบ สุนทรียศาสตร์มุ่งให้ความสำคัญแก่การศึกษาองค์ประกอบของศิลปะตามแขนงวิชาต่าง ๆ ที่เป็นศาสตร์ด้านศิลปะ ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงสุนทรียภาพจึงต้องศึกษาความหมาย แนวคิด ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภูมิหลังเชิงประวัติของสุนทรียภาพ ความหมายของศิลปะ และความงาม เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการพรรณนาประสบการณ์สุนทรียภาพเมื่อได้สัมผัสรับรู้ผลงานศิลปะ

ตอนที่ 1.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสุนทรียภาพ คำว่า สุนทรียภาพ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า aesthetic ที่มีรากคำมาจากภาษากรีก แปลว่า ผัสสะ หรือ อย่างจับใจต่อความงามทางศิลปะ หรือ รับรู้ด้วยอารมณ์ รากคำที่เป็นภาษากรีกนั้น มาจากรากคำเดิมในภาษากรีก ที่แปลว่าฉันรู้สึก สัมผัส รับรู้ได้ สรุป คำว่า สุนทรียภาพ aesthetic / esthetic หมายความว่า การรู้สึกสัมผัสรับรู้ได้ของแต่ละบุคคลต่อความงามในธรรมชาติหรืองานศิลปะ โดยอยู่นอกเหนือเจตจำนงแห่งตน

รุ้งกินน้ำมีเสน่ห์ทางสุนทรียภาพ

สุนทรียภาพ กับ สุนทรียศาสตร์ ต้นกำเนิดแนวความคิดเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์มาจากปรัชญาสาขาหนึ่งเรียกว่า คุณวิทยา หรือ อรรคฆวิทยา (axiology) ปรัชญาสาขานี้ศึกษาว่า มนุษย์จะรู้ความจริงไปเพื่ออะไร หมายความว่าอะไรควรเป็นอุดมคติสำหรับมนุษย์ มนุษย์ควรแสวงหาอะไรที่เป็นสิ่งประเสริฐสุดขณะมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ ปรัชญาสาขาคุณวิทยาจึงสามารถให้คำตอบที่ว่าด้วยคุณค่าและประเภทของคุณค่าที่ประเสริฐสุดแก่ชีวิตของคน สุนทรียศาสตร์เป็นหนึ่งแขนงย่อยของปรัชญาสาขาคุณวิทยา

สุนทรียศาสตร์กับสุนทรียภาพ สุนทรียศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องด้วยศิลปะ ศึกษาศิลปะตามลักษณะของสื่อที่แสดงออก ได้แก่ วรรณกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ดนตรี และ นาฏศิลป์ ศึกษาศิลปะตามลักษณะของการรับสัมผัส ได้แก่ ทัศนศิลป์ (visual art) โสตศิลป์ (aural art) โสตทัศนศิลป์ (audiovisual art) สุนทรียศาสตร์จึงเป็นศาสตร์ที่ช่วยปูทางไปสู่การเกิดประสบการณ์สุนทรียภาพ

เทพีอาโฟรไดท์เปลือยกายย่อตัวอาบน้ำ

ความแตกต่างระหว่างสุนทรียศาสตร์และสุนทรียภาพ สุนทรียศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงคุณค่าและความสำคัญของศิลปะ โดยให้ความสำคัญด้านความงามและการตอบสนองรับรู้ด้วยสัมผัสต่อวัตถุธรรม สุนทรียภาพ หรือ ประสบการณ์สุนทรียภาพ (aesthetic experience) หมายถึง การตอบสนองรับรู้ด้านความงามของวัตถุธรรมที่เป็นงานศิลปะหรือที่เป็นธรรมชาติ บุคคลเกิดสุนทรียภาพผ่านการสัมผัสรับรู้ ที่อยู่นอกเหนือเจตจำนงแห่งตน จนบรรลุสภาวะสูงส่งล้ำเลิศและความงามของศิลปะและธรรมชาติ

คำนิยามของศิลปะและความงาม กลุ่มคำนิยามแผนโบราณ (Traditional definitions) กลุ่มคำนิยามตามแบบแผน (Conventionalist definitions) - กลุ่มคำนิยามตามแบบแผนเชิงสถาบัน - กลุ่มคำนิยามตามแบบแผนเชิงประวัติศาสตร์ กลุ่มคำนิยามเชิงหน้าที่ (Functional definitions) สรุป ศิลปะไม่อาจนิยามความหมายได้ว่าคืออะไร

เมื่อศิลปะไม่มีคำนิยามที่สมบูรณ์ โลกศิลปะนับจากคริสต์ศตวรรษที่ 19 – 20 หันไปหาแนวคิดอย่างอื่นเข้ามาแทน เพื่อบ่งบอกความสำคัญของศิลปะ เช่น การแสดงออก (expression) การสื่อความหมาย (interpretation) การเห็นแจ้ง (intuition) และ ประสบการณ์ (experience) อย่างไรก็ตาม อาจสรุปรวบยอดคำนิยามของศิลปะที่มีมากมาย เพื่อให้เป็นแนวทางสำหรับศึกษาทำความเข้าใจศิลปะ ศิลปะคือ ผลผลิต (output) ของการกระทำเกี่ยวกับการเลือกสรรจัดวางตำแหน่งเรื่องราวหรือสรรพสิ่งอย่างเป็นระเบียบ โดยเจตนาเพื่อแสดงออกซึ่งความงาม ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก หรือ ปัญญา

คำนิยามของความงาม โลกศิลปะสงสัยไม่สิ้นสุด ว่าความงามมีอยู่จริงหรือไม่ ถ้าความงามมีอยู่จริง ความงามต้องอยู่เฉพาะกับศิลปะเท่านั้นหรือ ความงามเป็นสากลหรือไม่ ที่สำคัญที่สุดคือคำถามที่ว่า ความงามคืออะไร ความงามอยู่ที่ตาของผู้เห็น – Beauty is in the eye of the beholder. ความงามไม่มีคำนิยามที่สมบูรณ์ลงตัว

เมื่อความงามไม่มีคำนิยามที่สมบูรณ์ ความงาม และ ศิลปะ ตกอยู่ในสถานะและชะตากรรมเดียวกันคือ ไม่มีคำนิยามให้แก่ตนเองที่สมบูรณ์ จอร์จ แบนครอฟท์ (George Bancroft 1800-1891) นักประวัติศาสตร์ นักการศึกษา ชาวอเมริกัน เสนอความเห็นเกี่ยวกับความงามว่า ความงามโดยตัวมันเองคือฉายาที่สัมผัสรับรู้ได้ของพระผู้เป็นเจ้า (Beauty itself is but the sensible image of the infinite.) หมายความว่า จักรวาลมีความงามเพราะพระผู้เป็นเจ้าทรงสร้าง พระผู้เป็นเจ้าเป็นองค์แห่งความบริบูรณ์

เมื่อความงามไม่มีคำนิยามที่สมบูรณ์ ดังนั้น ความซาบซึ้งความงามจึงต้องกระทำด้วยทัศนะคติสุนทรียะ (aesthetic attitude) อันหมายถึงการปราศจากขอบเขตเจตนาอื่นใดนอกจากความเบิกบานใจอันสุนทร (aesthetic enjoyment) กล่าวโดยสรุป มนุษย์ซาบซึ้งความงามด้วยทัศนคติสุนทรียะ ผ่านการรู้สึกสัมผัสรับรู้และจินตนาการ ทำให้เกิดสุนทรียภาพขึ้นภายในตัวเอง

ตอนที่ 1.2 ศิลปะและประสบการณ์สุนทรียภาพ ศิลปะไม่มีคำนิยามที่ชัดเจนแก่ตัวเอง แต่ศิลปะกลับถูกสร้างสรรค์ขึ้นมามากมาย ดังนั้น จึงเกิดคำถามว่า ศิลปะควรเป็นอย่างไร และ การตัดสินคุณค่าของศิลปะควรทำอย่างไร คลีเมนท์ กรีนเบิร์ก (Clement Greenberg 1909 – 1994) นักวิจารณ์ศิลปะชาวอเมริกัน ผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในโลกศิลปวิจารณ์ ได้เสนอความเห็นไว้ ดังนี้ สื่อศิลปะควรมองหาว่าอะไรทำให้ตนเองมีความพิเศษท่ามกลางสื่อศิลปะประเภทอื่น ๆ และจากนั้นจึงกลั่นตัวเองออกมาเป็นสิ่งใดก็ได้ที่มากกว่าการยืนยันความพิเศษของตนเองว่าเป็นรูปแบบ (as a form)

การตัดสินคุณค่าศิลปะ ศิลปะต้องมีคุณค่า (value) ที่จะต้องถูกพิจารณาตัดสิน คุณค่าอะไรที่ควรได้รับความเห็นว่าเหมาะสมสำหรับมนุษย์ คุณค่าของศิลปะควรตัดสินจากหลักการอะไร ในที่สุดหลักการต่าง ๆ ก็ถูกเสนอออกมามากมาย จนเกิดความปั่นป่วน ปวดเศียรเวียนเกล้า หาข้อยุติลงตัวไม่ได้ ไม่ต่างไปจากการหาคำนิยามของคำว่า ศิลปะ และ ความงาม กลุ่มความเห็นเกี่ยวกับการตัดสินคุณค่าของศิลปะแบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ ตัดสินจากคุณค่าภายนอก และ ตัดสินจากคุณค่าภายใน

การตัดสินศิลปะจากคุณค่าภายนอก (extrinsic value) ผู้ที่เชื่อว่าศิลปะมีคุณค่าภายนอกที่สามารถยืนยันคุณค่าศิลปะ ว่าเป็นคุณค่าของวิถีการแสดงออกด้านจริยธรรม ความดี ความงาม งามตรึงใจ (picturesque) และอารมณ์ความรู้สึก คือ ลีโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy 1828-1910) ตอลสตอยเชื่อว่าคุณค่าศิลปะอยู่ที่การรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น (empathy) เขากล่าวว่าศิลปะเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ โดยผู้สร้างศิลปะได้ส่งผ่านอารมณ์ความรู้สึกของตนในการดำรงชีวิตไปถึงผู้อื่นด้วยสื่อสัญญาณภายนอกที่เห็นได้ในลักษณะใดก็ตาม และผู้อื่นสามารถรับรู้สัมผัสได้ถึงความรู้สึกเหล่านั้น

การตัดสินศิลปะจากคุณค่าภายใน (intrinsic value) กลุ่มที่มีความเห็นว่าศิลปะมีคุณค่าอยู่ภายในตัวเอง (Art is valuable in and of itself.) คือกลุ่มศิลปินที่เชื่อว่า ศิลปะเพื่อศิลปะ (art for art’s sake) ความหมายของแนวความคิดดังกล่าว ศิลปินกลุ่มนี้มีความคิดว่าศิลปะมีความสูงส่งเลิศลอยน่าชื่นชมยำเกรง ซึ่งมีลักษณะตาม นัยยะของคำภาษาอังกฤษว่า “the sublime” บุคคลที่มีความคิดเห็นอย่างโดดเด่นของกลุ่มนี้คือออสการ์ ไวลด์ (Oscar Wilde 1854-1900) นักเขียนชาวไอริช ผู้มีผลงานเขียนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการวรรณกรรมและศิลปะ

ศิลปะเป็นกิจกรรมการสร้างสรรค์ของมนุษย์

องค์ประกอบของสุนทรียภาพ สุนทรียภาพเป็นสากลหรือไม่ อองเดร มาลโร (André Malraux 1901 – 1976) นักเขียน นวนิยาย นักทฤษฎีศิลปะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ชาวฝรั่งเศส อธิบายว่าแนวคิดเกี่ยวกับความงามมีรากเหง้ามาจากกรอบคิดด้านศิลปะยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการล่วงมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 วิทยาการด้านสุนทรียศาสตร์สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 เข้าใจผิดในเรื่องปรากฏการณ์ร่วมสมัยนี้ โดยเห็นว่าเป็นธรรมชาติที่ยั่งยืนของศิลปะ

องค์ประกอบของสุนทรียภาพ หมายความว่า ความงามเป็นเพียงคุณค่าหนึ่งด้านองค์ประกอบของสุนทรียภาพ สุนทรียภาพยังมีองค์ประกอบที่เป็นคุณค่าอื่น ๆ ร่วมอยู่ด้วยตามลักษณะของงานศิลปะหรือสภาพของธรรมชาติ ดังนั้น สุนทรียภาพจึงมิได้มีองค์ประกอบจำเพาะที่ความงามเมื่อต้องกล่าวถึงศิลปะร่วมสมัยปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม กล่าวได้ว่าเมื่อต้องตัดสินด้านสุนทรียภาพ (aesthetic judgment) ของงานศิลปะหรือสภาพของธรรมชาติ (natural environment) ซึ่งต้องใช้ความสามารถด้านการแยกแยะระดับของการสัมผัสรับรู้ ความงามยังคงเป็นองค์ประกอบหนึ่งเพื่อพิจารณาคุณค่าของศิลปะบางประเภท เพราะความงามเป็นคุณค่าที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมทางจิต (effective domain) ของมนุษย์

องค์ประกอบของสุนทรียภาพ ฉะนั้น เมื่อกล่าวว่าผลงานศิลปะชิ้นนั้น ๆ มีความงาม ความหมายคือความงามมิได้เป็นความงามเฉพาะของผู้ตัดสิน แต่ความงามนั้นเป็นความงามอันเดียวกันกับความงามของคนอื่น ๆ ด้วย (sensus communis) เพราะความงามเป็นคุณสมบัติที่ปรากฏอยู่ในผลงานศิลปะที่ถูกตัดสิน มิได้เป็นความงามตามความเห็นเฉพาะของผู้หนึ่งผู้ใด นอกจากนั้น องค์ประกอบของสุนทรียภาพยังอิงอยู่กับคุณค่าอื่น ๆ ด้วย กล่าวคือประกอบด้วยคุณค่าที่มาจากรายละเอียดเฉพาะทางวัฒนธรรม (cultural specifics) ของสังคมแต่ละสังคม คุณค่าที่มาจากการกำหนดขึ้นด้วยอำนาจของชนชั้นกลาง ชนชั้นสูง และผู้ปกครอง (bourgeois-elitist-state regulation) แห่งรัฐ และ คุณค่าที่มาจากการตีความหมายเชิงปัจเจก (individual interpretations)

ความงามมิได้เป็นแก่นกลางของศิลปะ

วัฒนธรรมกำหนดคุณค่าทางสุนทรียภาพ

คุณค่าสุนทรียภาพเกิดจากการตีความเชิงปัจเจก

เกณฑ์อธิบายประสบการณ์สุนทรียภาพ จอห์น ดูอี (John Dewey 1859 – 1952) นักปรัชญา นักจิตวิทยา นักปรัชญาเศรษฐศาสตร์ (georgist) นักปฏิรูปการศึกษา ชาวอเมริกันกล่าวว่า ประสบการณ์หนึ่งอย่างหรือหนึ่งกรณี (an experience) เป็นผลผลิต หรือบางคนอาจกล่าวว่าเป็นผลลัพธ์ (bi-product) ของปฏิสัมพันธ์สะสมต่อเนื่องระหว่างตัวสิ่งมีชีวิตเองกับสิ่งแวดล้อม

เกณฑ์อธิบายประสบการณ์สุนทรียภาพ หมายความว่า ประสบการณ์หนึ่งอย่างนั้นต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเป็นอิสระ แต่ละห้วงแต่ละตอนของการดำเนินไปยังได้หลอมรวมเข้าเป็นเอกภาพเดียวกัน นอกจากนั้นประสบการณ์หนึ่งอย่างนั้นต้องมีความเป็นปัจเจกเอกเทศ (individual and singular) มีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดโดยตัวเอง มีโครงเรื่องของตนเอง มีคุณสมบัติเอกเทศแผ่ซ่านตลอดทั่วทั้งประสบการณ์หนึ่งอย่างนั้นอย่างกอปรไปด้วยปัญญาและอารมณ์ (intellectual and emotional)

เกณฑ์อธิบายประสบการณ์สุนทรียภาพ เกณฑ์อธิบายประสบการณ์ฯ ประกอบด้วย 4 เกณฑ์ ดังนี้ ประวัติผลงานศิลปะ (History of Artwork) หมายถึง การรู้แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นมาของผลงานศิลปะนั้น ๆ เช่น หาข้อมูลจากการตอบคำถามประเภท Wh-questions ผลงานมีความพิเศษอย่างไร มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ศิลปะอย่างไร ทฤษฎีศิลปะ (Art Theory) หมายถึง แนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดประเภทของศิลปะที่นำไปสู่ความเข้าใจรูปแบบและเนื้อหาของผลงานศิลปะ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเกิดประสบการณ์สุนทรียภาพขึ้นในตัวปัจเจกบุคคล

เกณฑ์อธิบายประสบการณ์สุนทรียภาพ คุณค่าด้านสุนทรียภาพ (Aesthetic Qualities) หมายถึง คุณค่าจากองค์ประกอบของสุนทรียภาพด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านที่ตัวผลงานศิลปะ คุณค่าด้านเกณฑ์สุนทรียภาพ (Qualitative Criteria) หมายถึง คุณค่าที่เกิดจากประสบการณ์สุนทรียภาพที่รับรู้อย่างสอดคล้องกับรูปแบบ (form) และ เนื้อหา (content) ของทฤษฎีศิลปะหรือประเภทของศิลปะ

ผลงานภาพจิตรกรรม ชื่อ The Scream

ขอบคุณครับ