ชื่อเรื่อง : แรงจูงใจที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ผู้วิจัย : นางสาวสิริรัตน์ เทียมเสรีวงศ์
ปัญหาการวิจัย การศึกษาเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ ซึ่งต้องส่งเสริมให้ทุกคนมีการศึกษาในระดับสูงขึ้น ทำให้ผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาต้องพิจารณาถึง คุณภาพ ชื่อเสียง บรรยากาศและสภาพแวดล้อมของสถาบัน เพื่อเป็นเหตุผลในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ รวมทั้งความสนใจ การสนับสนุนจากผู้ปกครอง การชักชวนจากเพื่อน และได้รับข้อมูลจากประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาแรงจูงใจที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุน ภารกิจของสถาบันให้ประสบความสำเร็จตามที่กำหนดไว้
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ใน 7 ด้าน คือ ด้านหลักสูตร ด้านการคาดหวังของนักศึกษาและผู้ปกครอง ด้านสวัสดิการและการบริการสำหรับนักศึกษา ด้านภาพลักษณ์ ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน และด้านการประชาสัมพันธ์ 2. เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำแนกตาม เพศ สาขา ที่กำลังศึกษาอยู่ รายได้ต่อเดือนของผู้ปกครอง และอาชีพผู้ปกครอง
ผลการวิเคราะห์ ( N = 277 )
สรุปผลการวิจัย 1. แรงจูงใจที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยรวมมีระดับแรงจูงใจที่ต้องการศึกษาต่อ อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับแรงจูงใจทุกด้าน อยู่ในระดับมาก คือ ด้านความคาดหวังของนักศึกษาและผู้ปกครอง ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านหลักสูตร ด้านภาพลักษณ์ ด้านสวัสดิการและการบริการสำหรับนักศึกษา ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน 2. การเปรียบเทียบแรงจูงใจที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดม ศึกษาของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยรวมและในแต่ ละด้าน จำแนกตาม เพศ สาขาวิชาที่กำลังศึกษาอยู่ รายได้ต่อเดือนของ ผู้ปกครอง อาชีพผู้ปกครอง มีดังนี้
2.1 นักศึกษาที่มีเพศต่างกัน มีแรงจูงใจที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยรวมแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้าน คือ ด้านหลักสูตร ด้านความคาดหวังของนักศึกษาและผู้ปกครอง ด้านสวัสดิการและการบริการสำหรับนักศึกษา ด้านภาพลักษณ์ ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน และด้านการประชาสัมพันธ์ แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2.2 นักศึกษาที่กำลังศึกษาสาขาวิชาต่างกัน มีแรงจูงใจที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความคาดหวัง ของนักศึกษาและผู้ปกครอง ด้านหลักสูตร และด้านอาจารย์ผู้สอน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 นักศึกษาที่ผู้ปกครองมีรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีแรงจูงใจที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยรวมแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้าน แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2.4 นักศึกษาที่ผู้ปกครองมีอาชีพต่างกัน มีแรงจูงใจที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยรวมแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการประชาสัมพันธ์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จบการนำเสนอ