สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา
๑. อุบัติการณ์เกิดโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่(๑) ปี พ.ศ.๒๕๖๑ จำนวนตัวอย่างหัวสัตว์เพื่อชันสูตร รวมทั้งสิ้น ๙๘ หัว ส่งตัวอย่างหัวสัตว์เพื่อรับรองสถานะของโรคในพื้นที่ ๑๗ หัว (โครงการเฝ้าระวังฯ) ส่งตัวอย่างหัวสัตว์เพื่อการชันสูตร ๙๑ หัว (สัตว์แสดงอาการผิดปกติ) ให้ผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้า ๓๕ เคส พบไม่ผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า
เสียชีวิต ๐ คน สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าปี ๒๕๖๑ อ.พนมสารคาม ๑๑ เคส อ.ท่าตะเกียบ ๘ เคส อ.บางคล้า ๔ เคส อ.แปลงยาว ๓ เคส อ.ราชสาส์น ๓ เคส อ.บางปะกง ๓เคส อ.บ้านโพธิ์ ๒ เคส อ.สนามชัยเขต ๑ เขต รวม ๓๕ เคส เสียชีวิต ๐ คน
๑. อุบัติการณ์เกิดโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่(๒) ปี พ.ศ.๒๕๖๒ จำนวนตัวอย่างหัวสัตว์เพื่อชันสูตร รวมทั้งสิ้น ๕ หัว ส่งตัวอย่างหัวสัตว์เพื่อรับรองสถานะของโรคในพื้นที่ ๐หัว (โครงการเฝ้าระวังฯ) ส่งตัวอย่างหัวสัตว์เพื่อการชันสูตร ๕ หัว (สัตว์แสดงอาการผิดปกติ) ให้ผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้า ๒ เคส พบไม่ผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า
เสียชีวิต ๐ คน สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าปี ๒๕๖๒ อ.บางปะกง ๑เคส อ.บ้านโพธิ์ ๑ เคส รวม ๒ เคส เสียชีวิต ๐ คน
๒. การสำรวจและขึ้นทะเบียนประชากรสุนัขและแมว ผลดำเนินการสำรวจและขึ้นทะเบียนประชากรสุนัขและแมว (ปี ๒๕๖๑) สัตว์ ผลดำเนินการขึ้นทะเบียน มีเจ้าของ (ตัว) ไม่มีเจ้าของ (ตัว) สุนัข ๒๔,๘๖๖ ๖๙๒ แมว ๓๔,๔๑๗ ๓๐๖ รวม ๕๙,๒๘๓ ๙๙๙ หมายเหตุ ๑.ภารกิจการสำรวจและขึ้นทะเบียนฯ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบ ๒.ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ อยู่ระหว่างดำเนินการ
๓. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ ๓.๑ ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ (ตุลาคม ๒๕๖๐ – กันยายน ๒๕๖๑) รวมทั้งหมด ๑๓๒,๗๕๕ ตัว - มีเจ้าของ ๑๑๐,๗๑๗ ตัว สุนัข ๘๕,๓๕๘ ตัว แมว ๒๔,๑๒๗ ตัว - ไม่มีเจ้าของ ๑๙,๑๒๗ ตัว สุนัข ๑๐,๐๐๖ ตัว แมว ๗๕๘๔ตัว ๓.๒ ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ (ตุลาคม ๒๕๖๑ –มกราคม ๒๕๖๒) รวมทั้งหมด ๑๒๒ ตัว - มีเจ้าของ 6๗ ตัว สุนัข ๓๓ ตัว แมว ๓๔ ตัว - ไม่มีเจ้าของ ๕๕ ตัว สุนัข ๔๘ ตัว แมว ๗ ตัว
๔. การควบคุมจำนวนประชากรสุนัขและแมว ๔.๑ ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ (ตุลาคม ๒๕๖๐ – กันยายน ๒๕๖๑) รวมทั้งหมด ๒,๔๖๐ ตัว สุนัข ๑,๒๖๗ ตัว (ตัวผู้ ๖๖๓ ตัว, ตัวเมีย ๖๐๔ ตัว) แมว ๑,๑๙๓ ตัว (ตัวผู้ ๕๑๖ ตัว, ตัวเมีย 6๗๗ ตัว) ๔.๒ ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ (ตุลาคม ๒๕๖๑ –มกราคม ๒๕๖๒) รวมทั้งหมด ๑๘๘ ตัว - มีเจ้าของ ๙๒ ตัว สุนัข ๔๒ ตัว (ตัวผู้ ๒๐ ตัว, ตัวเมีย ๒๒ ตัว) แมว ๕๐ ตัว (ตัวผู้ ๑๑ ตัว, ตัวเมีย ๙ ตัว) - ไม่มีเจ้าของ ๕๕ ตัว สุนัข ๘๒ ตัว (ตัวผู้ ๒๒ ตัว, ตัวเมีย ๒๖ ตัว) แมว ๑๔ ตัว (ตัวผู้ ๔ ตัว, ตัวเมีย ๑๐ ตัว)
๕. โครงการที่เกี่ยวข้อง(๑) ๕.๑ โครงการความร่วมมือการรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ประจำปี ๒๕๖๒ เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่จะกําจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปภายในปี พ.ศ.๒๕๖๒ กรมปศุสัตว์ กรมควบคุมโรค และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จึงได้ร่วมกันจัดทําโครงการความร่วมมือการ รณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ประจําปี ๒๕๖๒ ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ขึ้นพร้อมกัน ทั้งประเทศ ระหว่างวันที่ ๑ มีนาคม – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๒โดยเน้นกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การสํารวจและขึ้นทะเบียนสุนัข-แมว การผ่าตัดทําหมัน การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่อง โรคพิษสุนัขบ้าและการส่งเสริมให้ประชาชนเลี้ยงสุนัขและแมวอย่างถูกวิธีมีความรับผิดชอบเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและสัตว์
๕. โครงการที่เกี่ยวข้อง(๒) ๕.๒ โครงการฝึกอบรมเพื่อสร้างและพัฒนาศักยภาพอาสาปศุสัตว์ด้านโรคพิษสุนัขบ้าปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัคราชกุมารี เป้าหมายในการฝึกอบรม ๒๒๒ คน (ตัวแทนจาก อปท.ละ ๒ - ๓ คน) แผนการฝึกอบรมในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ๒๕๖๒
๕. โครงการที่เกี่ยวข้อง(๓) ๕.๓ กิจกรรมควบคุมประชากรสัตว์พาหะนำโรคพิษสุนัขบ้า ประจำปีงบประมาณ๒๕๖๒ กรมปศุสัตว์ได้อนุมัติให้จัดกิจกรรมโครงการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ประจําปีงบประมาณ ๒๕๖๒ (ระยะเวลาดำเนินการเดือนธันวาคม ๒๕๖๒ ถึง เดือนกันยายน ๒๕๖๒) เพื่อควบคุมจํานวนประชากรสัตว์พาหะนําโรคพิษสุนัขบ้า มีเป้าหมาย ๒๕,๐๐๐๐ ตัว (จังหวัดฉะเชิงเทรา ๕๒๔ ตัว) เน้นการผ่าตัดทําหมันเพื่อควบคุมประชากรสุนัขและแมวกลุ่มเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคพิษสุนัขบ้า และถือเป็นการเร่งรัดควบคุมโรคในพื้นที่จุดเกิดโรค โดยให้มีการออกหน่วยปศุสัตว์เคลื่อนที่ในวัดทุกแห่งทั่วประเทศ กิจกรรมหลักคือการผ่าตัดทําหมันสุนัขและแมว ทําเครื่องหมายประจําตัวสัตว์ และฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้กับสุนัข-แมวทุกตัวภายในวัด พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนให้ประชาชนได้ตระหนักและไม่นําสัตว์เลี้ยง มาปล่อยทิ้งที่วัดอีก
๖. การบูรณาการร่วมกันระหว่างกรม/ท้องถิ่น/อาสาสมัคร และหน่วยงานในพื้นที่ - สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดแจ้งสาธารณสุขทุกครั้งที่พบการเกิดโรค และปศุสัตว์อำเภอประสานงานสาธารณสุขอำเภอและอปท.ในพื้นที่เพื่อดำเนินการควบคุมโรคต่อไป - กรณีมีผู้ถูกสุนัขหรือแมวที่สงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด และไปพบแพทย์สาธารณสุขพื้นที่จะแจ้งปศุสัตว์พื้นที่เข้าสอบสวนติดตามสัตว์สงสัย - ประชาชนสามารถแจ้งพบสัตว์ต้องสงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้ทาง www.Thairabie.net และ Appication DLD 4.0
จบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ