Safe Anesthesia in One Day Surgery พ.ญ. ณัฏฐิรา ปินทุกาศ กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาล ลำพูน 17 มกราคม 2562
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จตามแผนการรักษาแบบ ODS การเลือกหัตถการหรือการผ่าตัดที่เหมาะสม การคัดเลือกผู้ป่วยมาทำการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ วิธีการทางวิสัญญีที่เหมาะสม ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จตามแผนการรักษาแบบ ODS
การคัดเลือกหัตถการหรือการผ่าตัดที่เหมาะสม ไม่มีการเสียเลือดมาก ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสารน้ำในร่างกายมาก ระดับความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดไม่มาก สามารถควบคุมได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวด การดูแลหลังผ่าตัดไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้เร็ว ระยะเวลาการผ่าตัดไม่เกิน 2 ชั่วโมง การคัดเลือกหัตถการหรือการผ่าตัดที่เหมาะสม
การคัดเลือกผู้ป่วย ผู้ป่วยสมัครใจเข้ารับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ ประเมินโรคประจำตัวของผู้ป่วย, ถ้ามี จะต้องสามารถควบคุมได้และอยู่ในสภาวะคงที่ ไม่มีโรคประจำตัวที่อาจทำให้ต้องใช้เวลาในการเฝ้าระวังการดูแลหลังผ่าตัด/หลังระงับความรู้สึกเป็นเวลานาน เช่น เป็น Obstructive Sleep Apnea ประเมินความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงระหว่างและหลังการผ่าตัด/ระงับความรู้สึก เช่น มีประวัติช่วยหายใจยาก, ประวัติแพ้ยาที่จำเป็นต้องใช้ในการผ่าตัด/ระงับความรู้สึก ประเมินความแข็งแรงและความเสี่ยงของผู้ป่วยโดยใช้เกณฑ์ของ American Society of Anesthesia Physical Status classification ซึ่งมี 6 ระดับ ที่โรงพยาบาลลำพูนอนุญาตให้ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ ODS จะต้องมี ASA classification I, II และ III เท่านั้น ผู้ป่วยสมัครใจเข้ารับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ ผู้ป่วยมีผู้ดูแลรับส่งในวันผ่าตัด และมีผู้ดูแลต่อที่บ้าน
วิธีการทางวิสัญญี
วิธีการทางวิสัญญี วิธีการทางวิสัญญี หัตถการผ่าตัด Monitored Anesthetic Care (MAC) ไส้เลื่อนขาหนีบ, ริดสีดวงทวาร (ทำร่วมกับ LA) Topical Anesthesia ส่องกล้องกระเพาะอาหาร Local Anesthesia (LA) ไส้เลื่อนขาหนีบ, ริดสีดวงทวาร (ทำร่วมกับ MAC, Sedation) Regional Anesthesia (RA) การฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังไม่ค่อยเป็นที่นิยมใน OPD case แนะนำให้ใช้วิธีฉีดยาที่กลุ่มประสาทหรือที่เส้นประสาทเลี้ยงเดี่ยวส่วนปลาย Sedation ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ General Anesthesia (GA) ทุกหัตถการ
ขั้นตอนการส่งผู้ป่วยเพื่อประเมินและเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยมีแผนที่จะเข้ารับการผ่าตัด นัดวันผ่าตัด แพทย์ผ่าตัดซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น ไม่ ส่งตรวจเพิ่มเติมหรือส่งปรึกษาอายุรแพทย์ ปรึกษาทีม ใช่ วิสัญญีแพทย์ประเมินความพร้อมของผู้ป่วย รับไว้รักษาแบบผู้ป่วยใน
วิสัญญีพยาบาล/ พยาบาล ศูนย์ส่องกล้องโทรเยี่ยมไข้ สอบถามอาการทั่วไป ตอบข้อ ซักถามของผู้ป่วย และเตือน ผู้ป่วยถึงนัดหมายในการ รักษากับแพทย์ ก่อนผ่าตัด 1 วัน
หลังจากผ่าตัดเสร็จ ผู้ป่วยที่ใช้บริการวิสัญญีจะได้รับการดูแลต่อในห้องพักฟื้นจนกว่า จะครบเกณฑ์การจำหน่ายผู้ป่วย รับไว้สังเกตอาการต่อเมื่อมีเหตุจำเป็น เช่น มีภาวะแทรกซ้อน ขณะ/หลังผ่าตัด โดยจะย้ายผู้ป่วยไปสังเกตอาการต่อที่หอผู้ป่วย ที่จัดเตรียมไว้ 1 วันหลังผ่าตัด วิสัญญีพยาบาล/พยาบาลศูนย์ส่องกล้องโทร เยี่ยมอาการ 7 วันหลังผ่าตัด พยาบาล COC ติดตามเยี่ยมอาการที่บ้าน 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด ผู้ป่วยมาตรวจตามนัดที่โรงพยาบาลลำพูน
ปัญหาที่มักพบในการเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ไม่ทราบชนิดของยารักษาโรคประจำตัวของผู้ป่วย ไม่สามารถสืบค้นชนิดของยารักษาโรคประจำตัวของผู้ป่วย สืบค้นชนิดของยาได้ แต่ไม่สามารถสื่อสารให้ผู้ป่วยเข้าใจได้ว่าให้งดยาชนิดใดและงดเป็นระยะเวลาเท่าใดก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยขับรถมาโรงพยาบาลพร้อมกับผู้ดูแลซึ่งขับรถไม่เป็น ผู้ป่วยและผู้ดูแลใช้ยานพาหนะสองล้อ ปัญหาที่มักพบในการเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
ตัวอย่างยาบางกลุ่มที่ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องหยุดก่อนผ่าตัด ยาต้านเกร็ดเลือด Aspirin และ Clopidogrel ควรหยุดอย่างน้อย 7 วัน และ Ticlopidine ควรหยุด 10-14 วัน ยาต้านการแข็งตัวของเลือด Coumadin (Warfarin) ควรหยุดอย่างน้อย 5 วัน ยารักษาโรคซึมเศร้า Monoamine Oxidase Inhibitor ควรหยุด 2-3 สัปดาห์ ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงกลุ่ม ACEI เช่น Enalapril หยุดในเช้าวันผ่าตัด ยารักษาโรคเบาหวาน หยุดในเช้าวันผ่าตัด ตัวอย่างยาบางกลุ่มที่ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องหยุดก่อนผ่าตัด
ตัวอย่างบันทึกข้อความการรับประทาน/งดยารักษาโรคประจำตัว ผู้ป่วยไม่ได้นำยามา ถ้ารับยาที่ รพ. ลำพูน จะสืบค้นผ่านระบบ IT ถ้ารับยาจากที่อื่นที่มิใช่ รพ. ลำพูน เภสัชกรเป็นผู้ประสานการสืบค้นยาที่ผู้ป่วยใช้เป็นประจำจากแหล่งที่รักษา เมื่อได้ข้อมูลยา เภสัชกรจะแจ้งให้แพทย์ทราบ แพทย์พิจารณาสั่งงด/ให้ทานต่อ ขึ้นกับชนิดของยา แพทย์เขียนบันทึกข้อความเพื่อให้ผู้ป่วยนำยาที่ใช้รับประทานเป็นประจำไปขอคำแนะนำการใช้ยาก่อนผ่าตัดจาก รพช. หรือ รพ.สต. ที่เกี่ยวข้อง พยาบาลผู้ให้คำแนะนำเซ็นชื่อกำกับ พร้อมให้ผู้ป่วยนำใบบันทึกข้อความนี้กลับมายื่นกับเจ้าหน้าที่ในวันนัดผ่าตัด
ตัวอย่างการลงข้อมูลในระบบ Thai COC ติดตามหลังผ่าตัดครบ 7 วัน หรือ ก่อนนั้นตามดุลพินิจของแพทย์
จากผู้ป่วยในในโรคเดียวกัน การเตรียมและการให้บริการการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยในโครงการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ ไม่ต่าง จากผู้ป่วยในในโรคเดียวกัน