หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น สายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เกษร จรัญพรหมสิริ กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี
แนวทางการประเมินค่างานของตำแหน่งและ การกำหนดกรอบอัตรากำลังของระดับตำแหน่งสูงขึ้น ผู้รับผิดชอบ กิจกรรม ระยะเวลา กองการเจ้าหน้าที่ จัดทำประมวลภาระหน้าที่ความรับผิดชอบตามมาตรฐานภาระงานของตำแหน่งและระดับตำแหน่งตามที่ ก.พ.อ. และมหาวิทยาลัยกำหนด (ตามเอกสารประกอบการประชุม ๔.๑) พ.ค. ๒๕๖๐ สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้บริหาร และบุคลากรทุกตำแหน่ง ในการนำประมวลภาระหน้าที่ความรับผิดชอบตามมาตรฐานภาระงานของตำแหน่งและระดับตำแหน่งตามที่ ก.พ.อ. และมหาวิทยาลัยกำหนดไปใช้ในการบริหารงานทรัพยากรบุคคล เช่น การจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน การประเมินค่างานเพื่อขอกำหนดกรอบอัตรากำลังของระดับตำแหน่งสูงขึ้น (ตามเอกสารประกอบการประชุม ๔.๒) การกำหนดกรอบอัตรากำลังใหม่ การพัฒนาบุคลากร เป็นต้น พ.ค. - มิ.ย. ๒๕๖๐
ผู้รับผิดชอบ กิจกรรม ระยะเวลา คณะ/หน่วยงาน พิจารณาภาระงานของหน่วยงาน ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติของบุคลากรทุกตำแหน่ง ตามประมวลภาระหน้าที่ความรับผิดชอบตามมาตรฐานภาระงานของตำแหน่งที่ ก.พ.อ. และมหาวิทยาลัยกำหนด และให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) กรณีที่ตำแหน่งใดมีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติของตำแหน่ง ไม่ตรงตามระดับของตำแหน่ง ให้ผู้บังคับบัญชาทำข้อตกลงการปฏิบัติงานเพิ่มเติม (๒) กรณีที่ตำแหน่งใดมีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติของตำแหน่ง ตรงตามระดับของตำแหน่ง แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติงานตามลักษณะงานที่กำหนดในระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น และผู้บังคับบัญชาพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานฯในระดับตำแหน่งที่สูงขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน ให้ผู้บังคับบัญชาทำข้อตกลงการปฏิบัติงานเพิ่มเติม ในส่วนของการพัฒนางาน (๓) กรณีที่ตำแหน่งใดมีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติของตำแหน่ง ตรงตามระดับของตำแหน่ง และได้มีผลการปฏิบัติงานตามลักษณะงานที่กำหนดในระดับตำแหน่งที่สูงขึ้นมาแล้วอย่างน้อย ๑ ปี และคณะกรรมการประจำคณะ/สำนักพิจารณาแล้วเห็นว่าตำแหน่งนั้นมีหน้าที่และความรับผิดชอบ คุณภาพ และความยุ่งยากของงานในตำแหน่งเพิ่มขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญถึงขนาดที่จะต้องกำหนดตำแหน่งเป็นระดับสูงขึ้น ให้หน่วยงานขอประเมินค่างานของตำแหน่งเพื่อกำหนดกรอบอัตรากำลังของระดับตำแหน่งสูงขึ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. และมหาวิทยาลัยกำหนด โดยต้องแนบผลงานที่ได้ปฏิบัติตามลักษณะงานของระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น เพื่อประกอบการพิจารณาประเมินค่างานด้วย ภายในวันที่ ๓๑ ก.ค. ๒๕๖๐
ผู้รับผิดชอบ กิจกรรม ระยะเวลา กองการเจ้าหน้าที่ ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสาร และเสนออธิการบดีเพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินค่างาน ภายในวันที่ ๑๐ ส.ค. ๒๕๖๐ อธิการบดี พิจารณาแต่งตั้งกรรมการประเมินค่างาน คณะกรรมการประเมินค่างาน ดำเนินการประเมินค่างานของตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. และมหาวิทยาลัยกำหนด ๓๑ ส.ค. ๒๕๖๐ คณะกรรมการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น กลั่นกรองผลการประเมินค่างานและให้ความเห็นชอบก่อนเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อกำหนดกรอบอัตรากำลังของระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น ๑๕ ก.ย. ๒๕๖๐ สภามหาวิทยาลัย พิจารณาผลการประเมินค่างาน และอนุมัติกรอบอัตรากำลังของระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น วันที่ ๓๐ ก.ย. ๒๕๖๐ แจ้งเวียนมติสภามหาวิทยาลัย ๕ ต.ค. ๒๕๖๐
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 1. พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 2. ประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พ.ศ. 2553 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2554 3. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ว่าด้วย การกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พ.ศ. 2559 ฉบับลงวันที่ 22 ธันวาคม 2559 4. ข้อบังคับว่าด้วย การกำหนดกรอบอัตรากำลังของบุคลากร พ.ศ. ๒๕๕๘ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 5. สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
มหาวิทยาลัย ส่วนราชการ กองการเจ้าหน้าที่ บุคลากร ออกข้อบังคับฯ ให้สอดคล้องกับประกาศ ก.พ.อ. จัดให้มีระบบและกลไกส่งเสริมสนับสนุน มหาวิทยาลัย ถือปฏิบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด พัฒนาระบบและกลไกส่งเสริมสนับสนุน การมอบหมายงานตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง การพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะ ทักษะความรู้ความสามารถ การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ส่วนราชการ ปรับปรุงข้อบังคับ และแนวทางการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับประกาศ ก.พ.อ. พัฒนาระบบการบริหารงานบุคคล พัฒนาบุคลากรบุคลากรให้มีสมรรถนะ ทักษะความรู้ความสามารถ กองการเจ้าหน้าที่ ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ประกาศ ข้อบังคับ ประกาศ ก.พ.อ. ปฏิบัติงาน พัฒนางานให้มีผลงานที่มีคุณภาพตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และสะสมผลงานพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะ ทักษะความรู้ความสามารถ บุคลากร
องค์ประกอบการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น กรอบของตำแหน่ง ประเมิน ค่างาน ประเมินบุคคลและผลงาน
สาระสำคัญ หลักเกณฑ์และการกำหนดระดับตำแหน่ง ต้องสอดคล้องกับกรอบของตำแหน่ง และแผนพัฒนากำลังคนที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด การกำหนดระดับตำแหน่งใดให้สูงขึ้น ตำแหน่งนั้นจะต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบ คุณภาพ และความยุ่งยากของงานในตำแหน่งเพิ่มขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ การกำหนดระดับตำแหน่ง ต้องยึดหลักการวิเคราะห์ภารกิจของหน่วยงาน และประเมินค่างานเพื่อวัดคุณภาพของตำแหน่ง
การประเมินค่างานของตำแหน่ง มาตรฐานภาระงาน ก.พ.อ. มาตรฐานการปฏิบัติงาน ม.อบ. ภาระงาน/ผลการปฏิบัติงาน ส่วนราชการ/บุคลากร การประเมินค่างานของตำแหน่ง คณะกรรมการประเมินค่างาน
การกำหนดภาระงานและข้อตกลงการปฏิบัติงานของตำแหน่ง แผนยุทธศาสตร์ การประเมินคุณภาพ ความคาดหวัง ภาระงานของกลุ่มงาน ผลสัมฤทธิ์/ผลลัพธ์ (ตัวชี้วัด KPI) ภาระงานรายบุคคล มาตรฐานภาระงานและระดับของตำแหน่ง ข้อตกลงการปฏิบัติงาน กรอบอัตรากำลัง/ บริหารอัตรากำลัง กรอบอัตรากำลัง ตำแหน่งสูงขึ้น
บุคลากรต้องทำอะไร? ศึกษามาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ทบทวนภาระงาน ลักษณะงาน ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตรงตามระดับตำแหน่ง มีผลงาน/ลักษณะงานของระดับตำแหน่งสูงขึ้นหรือยัง วางแผนการดำเนินงาน ขอรับการประเมินค่างาน กำหนดกรอบอัตรากำลัง คุณสมบัติตามองค์ประกอบการประเมิน
การประเมินค่างานของตำแหน่ง มาตรฐานภาระงาน ก.พ.อ. มาตรฐานการปฏิบัติงาน ม.อบ. ภาระงาน/ผลการปฏิบัติงาน ส่วนราชการ/บุคลากร การประเมินค่างานของตำแหน่ง คณะกรรมการประเมินค่างาน
มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ
ประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ประเภทวิชาการ ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประเภทผู้บริหาร ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีหรือเทียบเท่า ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า ประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ เชี่ยวชาญพิเศษ เชี่ยวชาญ ชำนาญการพิเศษ ชำนาญการ ปฏิบัติการ ประเภททั่วไป ชำนาญงานพิเศษ ชำนาญงาน ปฏิบัติงาน ประเภทตำแหน่ง
มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง สายงาน ชื่อตำแหน่งในสายงาน ระดับ ตำแหน่งประเภท สายงาน ชื่อตำแหน่งในสายงาน ระดับ หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ด้านการปฏิบัติการ ด้านการวางแผน ด้านการประสานงาน ด้านการบริการ คุณวุฒิเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
วัดคุณภาพของตำแหน่งตามลักษณะงาน หน้าที่และความรับผิดชอบ คุณภาพ และ การประเมินค่างาน วัดคุณภาพของตำแหน่งตามลักษณะงาน หน้าที่และความรับผิดชอบ คุณภาพ และ ความยุ่งยากของงาน ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่ต้องการในการปฏิบัติงาน
องค์ประกอบหลักในการประเมินค่างาน ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และระดับชำนาญงานพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ หน้าที่ความรับผิดชอบ ( 30 คะแนน ) ความยุ่งยากของงาน ( 30 คะแนน ) การกำกับตรวจสอบ ( 20 คะแนน ) การตัดสินใจ ( 20 คะแนน ) เกณฑ์การตัดสิน ( ๑๐๐ คะแนน ) ระดับชำนาญงาน และระดับชำนาญการ ; ไม่น้อยกว่า 64 คะแนน ระดับชำนาญงานพิเศษ และระดับชำนาญการพิเศษ ; ไม่น้อยกว่า 84 คะแนน
องค์ประกอบหลักในการประเมินค่างาน ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ ในกรณีตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ ( 20 คะแนน ) ความยุ่งยากของงาน ( 20 คะแนน ) การกำกับตรวจสอบ ( 20 คะแนน ) การตัดสินใจ ( 20 คะแนน ) การบริหารจัดการ ( 20 คะแนน ) เกณฑ์การตัดสิน หัวหน้าหน่วยงานระดับชำนาญการ ; ไม่น้อยกว่า 60 คะแนน หัวหน้าหน่วยงานระดับชำนาญการพิเศษ ; ไม่น้อยกว่า 70 คะแนน หัวหน้าหน่วยงานระดับเชี่ยวชาญ ; ไม่น้อยกว่า 80 คะแนน
การกำหนดระดับตำแหน่งสูงขึ้น การกำหนดกรอบตำแหน่งของส่วน ราชการ ควรมีระดับใด จำนวนเท่าใด ต้องยึด หลักการวิเคราะห์ภารกิจของส่วนราชการ และประเมิน ค่างานเพื่อวัดคุณภาพของตำแหน่งตามลักษณะงาน หน้าที่ และความรับผิดชอบ คุณภาพ และความยุ่งยาก ของงาน ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่ ต้องการในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ให้ใช้หลักเกณฑ์และ วิธีการตามที่ ก.พ.อ. และหรือมหาวิทยาลัยประกาศ กำหนด
การกำหนดระดับตำแหน่ง 1. ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร 1.1) ตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการตามกฎหมาย ระดับสำนักงานอธิการบดี และกอง หรือเทียบเท่า 1.2) ไม่ต้องประเมินค่างาน 2. ตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ/เชี่ยวชาญเฉพาะ 2.1) ตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในกองหรือ หน่วยงานที่เทียบเท่า ซึ่งเป็นส่วนราชการตามกฎหมาย รวมถึงการแบ่งส่วนงานภายในตามมติสภามหาวิทยาลัย 2.2) วิเคราะห์ภารกิจของหน่วยงานและประเมินค่างาน -ภารกิจหลัก งานหลัก -ขั้นตอนการปฏิบัติงาน -ภารกิจที่เพิ่มหรือเปลี่ยนแปลง โดยประเมินตามองค์ประกอบที่ ก.พ.อ.กำหนด
การกำหนดระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญงาน และชำนาญงานพิเศษ ระดับชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ -กำหนดได้ในทุกหน่วยงาน- องค์ประกอบหลักประเมินค่างาน (1) หน้าที่และความรับผิดชอบ (2) ความยุ่งยากของงาน (3) การกำกับตรวจสอบ (4) การตัดสินใจ ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงาน เพิ่ม องค์ประกอบด้าน “การบริหารจัดการ”
การกำหนดระดับตำแหน่ง ระดับเชี่ยวชาญและระดับเชี่ยวชาญพิเศษ -กำหนดได้เฉพาะในหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา องค์ประกอบหลักประเมินค่างาน (1) ความรู้และทักษะที่จำเป็นในงาน -ความรู้และความชำนาญงาน -การบริหารจัดการ -การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ (2) ความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหา -กรอบแนวความคิดในการแก้ปัญหา -อิสระในการคิด -ความท้าทายในงาน
การกำหนดระดับตำแหน่ง ระดับเชี่ยวชาญและระดับเชี่ยวชาญพิเศษ (ต่อ) (3) ด้านภาระงานที่รับผิดชอบ -การวิเคราะห์ข้อมูล -อิสระในการปฏิบัติงาน -ผลกระทบจากการปฏิบัติงาน -ลักษณะงานที่ปฏิบัติของตำแหน่ง ที่มา ข้อ 10 แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ว่าด้วย การกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พ.ศ. 2559
องค์ประกอบคณะกรรมการประเมินค่างาน ให้อธิการบดีแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินค่างาน โดยมี องค์ประกอบ ดังนี้ 1. รองอธิการบดีหรือผู้ที่อธิการบดีมอบหมาย ประธาน กรรมการ 2. ผู้บังคับบัญชาโดยตรงของตำแหน่งที่เสนอขอกำหนด ระดับตำแหน่งสูงขึ้น จำนวนหนึ่งคน กรรมการ 3. ผู้ทรงคุณวุฒิของตำแหน่งที่เสนอขอกำหนดระดับ ตำแหน่งสูงขึ้น โดยเป็นผู้มีความรู้ความสามารถความ ชำนาญ หรือความเชี่ยวชาญ ในวิชาชีพของตำแหน่ง โดยอธิการบดีเป็น ผู้เลือกจำนวนหนึ่งคน กรรมการ 4. ผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้าสำนักงานเลขานุการ โดยอธิการบดีเป็น ผู้เลือกจำนวนหนึ่งคน กรรมการ 5. ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ กรรมการและ เลขานุการ ทั้งนี้ อาจแต่งตั้งบุคลากรสังกัดกองการเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติ หน้าที่เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่ของกรรมการประเมินค่างาน มีอำนาจหน้าที่ในการประเมินค่างานตาม องค์ประกอบและหลักเกณฑ์ตามข้อ 10 แห่ง ข้อบังคับฯ -โดยการกำหนดระดับตำแหน่ง ต้องยึด หลักการวิเคราะห์ภารกิจของหน่วยงานและ ประเมินค่างานเพื่อวัดคุณภาพของตำแหน่งตาม ลักษณะงาน หน้าที่และความรับผิดชอบ คุณภาพ และความยุ่งยากของงาน ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่ต้องการในการ ปฏิบัติงาน แบบประเมิน -ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายข้อบังคับฯ ที่มา ข้อ 11 แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ว่าด้วย การกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พ.ศ. 2559
ขั้นตอนการประเมินค่างาน 1) คณะ/หน่วยงาน : เสนอข้อมูลภาระงาน ของตำแหน่งที่ประสงค์จะขอกำหนดตำแหน่งสูงขึ้น โดย ให้นำเสนอภาระงานของหน่วยงาน/งาน/ตำแหน่ง ความสัมพันธ์ของภาระงานของตำแหน่งและภารกิจของ องค์กร ความยากง่าย ความซับซ้อน ความรับผิดชอบ ตามกฎหมายวิชาชีพ (ถ้ามี) มาตรฐานการปฏิบัติงานของ ตำแหน่งนั้นๆ (ต้องมีผลงานขั้นต่ำของภาระงาน เป้าหมาย) ให้เสนอ ก.บ.บ.พิจารณาให้ความเห็นชอบ ตามแบบฟอร์มที่มหาวิทยาลัยกำหนด 2) คณะกรรมการประจำคณะ/สำนัก : พิจารณาให้ความเห็นชอบ 3) คณะ/สำนัก : ส่งเรื่องไปยังกองการ เจ้าหน้าที่
ขั้นตอนการประเมินค่างาน (ต่อ) ๔) กองการเจ้าหน้าที่ : รับเรื่อง ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสาร และเสนออธิการบดีเพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินค่างาน ๕) อธิการบดี : อนุมัติแต่งตั้งกรรมการประเมินค่างาน ๖) คณะกรรมการประเมินค่างาน : ดำเนินการประเมินค่างาน ๗) คณะกรรมการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น : กลั่นกรองผลการประเมินค่างานและให้ความเห็นชอบก่อนเสนอสภามหาวิทยาลัย ๘) สภามหาวิทยาลัย : อนุมัติผลการประเมินค่างานและกรอบตำแหน่งสูงขึ้น ๙) กองการเจ้าหน้าที่ : แจ้งเวียนมติ ที่มา คณะกรรมการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ครั้งที่ 1/2560 และ ก.บ.บ.ครั้งที่ 5/2560
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น องค์ประกอบการพิจารณา ดังนี้ 1. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง 2. ผลการประเมินค่างาน 3. ผลสัมฤทธิ์ของงานตามตัวชี้วัดของตำแหน่งที่ครองอยู่ 4. ความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งที่จะประเมิน 5. ผลงานที่แสดงความเป็นผู้ชำนาญงาน ชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ 6. จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ 7. การใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุนฯ 8. ความเป็นที่ยอมรับในงานด้านนั้นๆ หรือในวงวิชาการหรือวิชาชีพ ข้อ 1 - 6 ระดับชำนาญงาน ชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ ข้อ 1 – 7 ระดับเชี่ยวชาญ ข้อ 1 – 8 ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น (ต่อ) วิธีปกติ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน - ปวช. 6 ปี - ปวท. 5 ปี เงินเดือนขั้นต่ำ ข้าราชการ 10,190 บาท / -ปวส. 4 ปี พนักงาน 13,250 บาท ระดับชำนาญงาน - 6 ปี เงินเดือนขั้นต่ำ ข้าราชการ 15,410 บาท / พนักงาน 20,040 บาท ระดับชำนาญงานพิเศษ
การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น (ต่อ) ประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับปฏิบัติการ - ป.ตรี 6 ปี - ป.โท 4 ปี เงินเดือนขั้นต่ำ ข้าราชการ 15,050 บาท / -ป.เอก 2 ปี พนักงาน 19,570 บาท ระดับชำนาญการ - 4 ปี เงินเดือนขั้นต่ำ ข้าราชการ 22,140 บาท / พนักงาน 28,790 บาท ระดับชำนาญการพิเศษ
การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น (ต่อ) ประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ (ต่อ) ระดับชำนาญการพิเศษ - 3 ปี เงินเดือน ข้าราชการ 31,400 บาท / พนักงาน 40,820 บาท ระดับเชี่ยวชาญ - 4 ปี เงินเดือน ข้าราชการ 22,140 บาท / พนักงาน 28,790 บาท ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ที่มา กฎ ก.พ.อ.ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ปัจจุบันใช้กฎฉบับลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558) และประกาศมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เรื่องการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของพนักงานมหาวิทยาลัย (ปัจจุบันใช้ประกาศฉบับลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560)
การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น (ต่อ) วิธีพิเศษ เงื่อนไข ได้แก่ การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งแตกต่างไปจากที่กำหนด ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ได้รับการแต่งตั้งต้องได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับที่จะแต่งตั้ง วิธีการ ดำเนินการเหมือนการแต่งตั้งวิธีปกติ ผลงานมีระดับคุณภาพสูงกว่าวิธีปกติ แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินผลงานฯ จำนวน 5 คน
การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น (ต่อ) ประเภทผู้บริหาร ระดับผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า 1. มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตรงตามมาตรฐานตำแหน่งสายงานหลัก เช่น หัวหน้าสำนักงานเลขานุการ (เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป) 2. ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งมาแล้ว ดังต่อไปนี้ 2.1 ประเภทผู้บริหาร ตำแหน่งผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า 2.2 ประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับชำนาญการพิเศษ 3 ปี 2.3 ประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับชำนาญการ 7 ปี 3. มีประสบการณ์ในการบริหาร ระดับผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า 1 ปี หรือ ระดับหัวหน้าภายในกองหรือเทียบเท่า จำนวน 2 งาน มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี 4. ผ่านการอบรมหลักสูตรการบริหารที่ ก.พ.อ.รับรอง 5. อัตราเงินเดือนขั้นต่ำ ข้าราชการ 26,660 บาท/พนักงาน 34,660 บาท
การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น (ต่อ) 1. มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตรงตามมาตรฐานตำแหน่งสายงานบริหารงานทั่วไป 2. ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งมาแล้ว ดังต่อไปนี้ 2.1 ประเภทผู้บริหาร ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีหรือเทียบเท่า 2.2 ประเภทผู้บริหาร ตำแหน่งผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า 1 ปี 2.3 ประเภทผู้บริหาร ตำแหน่งผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า และประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับชำนาญการพิเศษ รวมกัน 4 ปี 2.4 ประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับเชี่ยวชาญ 2.5 ประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับชำนาญการพิเศษ 4 ปี 3. มีประสบการณ์ในการบริหารหน่วยงานมากว่า 1 ปี 4. ผ่านการอบรมหลักสูตรการบริหารที่ ก.พ.อ.รับรอง 5. อัตราเงินเดือนขั้นต่ำ ข้าราชการ 32,850 บาท/พนักงาน 42,710 บาท ระดับผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี
ผลสัมฤทธิ์ของงาน ระดับเชี่ยวชาญและระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ระดับชำนาญงาน และระดับชำนาญงานพิเศษ ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ ผู้ขอกำหนดตำแหน่งต้องมีผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการ องค์ประกอบที่ 1 ผลสัมฤทธิ์ของงานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม (กำหนดคะแนนเต็ม 70 คิดเป็น 56 คะแนน) จำนวน 2 (สอง) รอบการประเมินติดต่อกันก่อนวันยื่น ระดับเชี่ยวชาญและระดับเชี่ยวชาญพิเศษ องค์ประกอบที่ 1 ผลสัมฤทธิ์ของงานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของคะแนนเต็ม (กำหนดคะแนนเต็ม 70 คิดเป็น 63 คะแนน) เอกสาร/หลักฐาน : แบบข้อตกลงที่ให้คะแนน + แบบสรุปผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
ความรู้ความสามารถ และทักษะ หลักเกณฑ์ ก.พ.อ.กำหนด 1) ความรู้ความสามารถที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน 2) ความรู้เรื่องกฎหมายและกฎระเบียบราชการ 3) ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ 4) ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ 5) ทักษะการคำนวณ 6) ทักษะการจัดการข้อมูล ทั้งนี้ ให้สภามหาวิทยาลัยกำหนดระดับความคาดหวัง และสภามหาวิทยาลัยมอบหมายคณะกรรมการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นเป็นผู้ประเมิน วิธีการ – แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการทดสอบฯ กำหนดรูปแบบและวิธีการ โดยได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถ และทักษะของแต่ละด้าน ระดับที่คาดหวังที่มหาวิทยาลัยกำหนด – ตามแต่ละประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง **ผู้ขอกำหนดตำแหน่ง – ต้องผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด โดยมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่าระดับที่คาดหวังที่มหาวิทยาลัยกำหนด พร้อมจัดส่งเอกสารหลักฐานอ้างอิงคือ หนังสือแจ้งผลการทดสอบ
สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งที่ประเมิน สมรรถหลัก 1. บริการที่ดี 2. การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ 3. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 4. ความร่วมแรงร่วมใจ (การทำงานเป็นทีม) 5. การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม ทุกตำแหน่งเหมือนกัน สมรรถเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ -ตามแต่ละประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่งที่กำหนด ซึ่งจะไม่เหมือนกัน อย่างน้อยมี 3 สมรรถนะ สมรรถนะทางการบริหาร (ตำแหน่งผู้บริหาร) 1. สภาวะผู้นำ 2. วิสัยทัศน์ 3. การวางกลยุทธ์ภาครัฐ 4. ศักยภาพเพื่อนำการ ปรับเปลี่ยน 5. การควบคุมตนเอง 6. การสอนงานและการมอบหมายงาน วิธีการ – ประเมินโดยผู้บังคับบัญชา ผู้ขอกำหนดตำแหน่ง –ต้องมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่าระดับที่คาดหวัง เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง : แบบประเมิน
ผลงาน ระดับชำนาญงาน ระดับชำนาญงานพิเศษ ต้องมีคู่มือปฏิบัติงานหลักอย่างน้อยหนึ่งเล่ม ระดับชำนาญงานพิเศษ 1. ต้องมีคู่มือปฏิบัติงานหลักอย่างน้อย 1 เล่ม และ 2. ผลงานเชิงวิเคราะห์ที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนางานในหน้าที่ อย่างน้อย 1 เรื่อง
ผลงานทางวิชาชีพ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ 1. ต้องมีคู่มือปฏิบัติงานหลักอย่างน้อย 1 เล่ม และ 2. ผลงานเชิงวิเคราะห์ หรือสังเคราะห์ หรืองานวิจัย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนางานในหน้าที่ อย่างน้อย 1 เรื่อง ระดับชำนาญการพิเศษ 1. ผลงานเชิงวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนางานของส่วนราชการ อย่างน้อย 1 เรื่อง และ 2. งานวิจัย หรือผลงานลักษณะอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนราชการ อย่างน้อย 1 เรื่อง/รายการ
ผลงานทางวิชาชีพ ระดับเชี่ยวชาญ 1. ผลงานเชิงวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ หรือผลงานลักษณะอื่นซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนางานของมหาวิทยาลัย อย่างน้อย 1 เรื่อง/รายการ และ 2. งานวิจัย ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติหรือนานาชาติ อย่างน้อย 1 เรื่อง
ผลงานทางวิชาชีพ ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ 1. ผลงานเชิงวิเคราะห์หรือสังเคราะห์หรือผลงานลักษณะอื่น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนางานของมหาวิทยาลัย อย่างน้อย 1 เรื่อง/รายการ และ 2. งานวิจัย ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติหรือนานาชาติ อย่างน้อย 1 เรื่อง
เงื่อนไขผลงานทางวิชาชีพ 1. ต้องมิใช่ผลงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาและการฝึกอบรม 2. ต้องมิใช่ผลงานเดิมที่เคยใช้ในการประเมินแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ในระดับที่สูงขึ้นมาแล้ว 3. กรณีที่เป็นผลงานร่วมต้องระบุการมีส่วนร่วมและมีคำรับรองจากผู้มี ส่วนร่วม
จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพ 1. ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตน และไม่ ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น รวมทั้งไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ ในวารสารวิชาการหรือวิชาชีพมากกว่า 1 ฉบับในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็น ผลงานใหม่ 2. ต้องให้เกียรติและอ้างอิงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในผลงานทาง วิชาชีพของตนเองและแสดงหลักฐานของการค้นคว้า 3. ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาชีพจนละเลย หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น และสิทธิมนุษยชน 4. ผลงานทางวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์ ไม่มีอคติมา เกี่ยวข้อง และเสนอผลงานตามความเป็นจริง ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือวิจัย โดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัว หรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น และเสนอผลงาน ตามความเป็นจริง ไม่ขยายข้อค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบยืนในวงวิชาชีพ 5. ต้องนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย
คำนิยามผลงาน คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง เอกสารแสดง เส้นทางการทำงานหลักของตำแหน่งตั้งแต่จุดเริ่มต้นจน สิ้นสุดกระบวนการ โดยระบุขั้นตอนและรายละเอียดของ กระบวนการต่างๆในการปฏิบัติงาน กฎ ระเบียบที่ เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน ตลอดจนแนวทางแก้ไข ปัญหาและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานดังกล่าว ซึ่งต้อง ใช้ประกอบการปฏิบัติงานมาแล้ว และต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน ผลงานเชิงวิเคราะห์ หมายถึง ผลงานที่แสดง การแยกแยะองค์ประกอบต่างๆ ของเรื่องอย่างมีระบบ มี การศึกษาในแต่ละองค์ประกอบ และวามสัมพันธ์ของ องค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่อง นั้นๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่องานของหน่วยงานหรือ สถาบันอุดมศึกษา
คำนิยามผลงาน (ต่อ) ผลงานเชิงสังเคราะห์ หมายถึง ผลงานที่แสดงการ รวบรวมเนื้อหาสาระต่างๆ หรือองค์ประกอบต่างๆเข้าด้วยกัน โดยต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างรูปแบบหรือ โครงสร้างเบื้องต้น เพื่อให้เกิดแนวทางหรือเทคนิควิธีการใหม่ ในเรื่องนั้นๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่องานของหน่วยงานหรือ สถาบันอุดมศึกษา ผลงานวิจัย หมายถึง ผลงานที่เป็นงานศึกษาหรือ ค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยวิธีวิทยาการวิจัยที่เป็นที่ยอมรับ และมี วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลคำตอบหรือข้อสรุป รวมที่เป็นประโยชน์ และนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาหรือแก้ไข ปัญหาในงานของหน่วยงานหรือสถาบันอุดมศึกษา ผลงานในลักษณะอื่น หมายถึง สิ่งประดิษฐ์หรืองาน สร้างสรรค์ หรือผลงานด้านศิลปะ ตกแต่ง ซ่อมบำรุง ซึ่ง มิใช่มีลักษณะเป็นเอกสาร หนังสือ คู่มือ หรืองานวิจัย โดย ผลงานที่เสนอจะต้องประกอบด้วยบทวิเคราะห์ที่อธิบายและ ชี้ให้เห็นว่างานดังกล่าวเป็นประโยชน์ และนำไปสู่การปรับปรุง พัฒนางานหรือแก้ไขปัญหาในงาน ทั้งนี้ ผลงานดังกล่าวต้อง เป็นผลงานที่ผ่านการพิสูจน์หรือมีหลักฐานที่แสดงถึงคุณค่า ผลงานนั้น
หัวข้อการจัดทำผลงาน (ตามที่ ก.บ.บ.ครั้งที่ 5/2556) คู่มือการปฏิบัติงาน บทที่ 1 บทนำ : ความเป็นมา ความจำเป็น ความสำคัญ วัตถุประสงค์ ขอบเขตของการจัดทำคู่มือ บทที่ 2 บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ : บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่ง ลักษณะงานที่ปฏิบัติ โครงสร้างการบริหารจัดการ บทที่ 3 หลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติงานและเงื่อนไข : หลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน วิธีการปฏิบัติงาน เงื่อนไข/ข้อสังเกต/ข้อควรระวัง/สิ่งที่ควรคำนึงในการปฏิบัติงาน แนวคิดหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) บทที่ 4 เทคนิคในการปฏิบัติงาน : แผนกลยุทธ์ในการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน วิธีการให้บริการกับผู้รับบริการที่มีความพึงพอใจ วิธีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน แนวปฏิบัติที่ดีในการปฏิบัติงาน จรรยาบรรณ คุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงาน บทที่ 5 ปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไข และการพัฒนางาน : ปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงาน แนวทางแก้ไขและพัฒนางาน ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมินคุณภาพของคู่มือการปฏิบัติงาน ประเภทผลงาน ระดับคุณภาพ คู่มือปฏิบัติงานหลัก ระดับดี เป็นเอกสารแสดงเส้นทางการทำงานในงานหลักของตำแหน่งตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ โดยระบุขั้นตอนและรายละเอียดของกระบวนการต่างๆ ในการปฏิบัติงาน กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานดังกล่าวซึ่งต้องใช้ประกอบการปฏิบัติงานมาแล้ว และต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือมีการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานหรือสถาบันอุดมศึกษาและสามารถนำไปใช้เป็นแหล่งอ้างอิงหรือนำไปปฏิบัติได้ ระดับดีมาก ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีและต้อง ๑. ก่อให้เกิดความรู้ใหม่หรือเทคนิควิธีการใหม่ ๒. เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน ระดับดีเด่น ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมากและต้อง ๑. มีลักษณะเป็นงานบุกเบิกความรู้ใหม่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ๒. มีการกระตุ้นให้เกิดความคิดและค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง เป็นที่เชื่อถือและยอมรับในวงวิชาชีพ
หัวข้อการจัดทำผลงาน (ต่อ) (ตามที่ ก.บ.บ.ครั้งที่ 5/2556) ผลงานเชิงวิเคราะห์ คำนำ บัญชีตาราง ภาพประกอบ ตอนที่ 1 ความสำคัญและความเป็นมา : ความสำคัญและความเป็นมา วัตถุประสงค์ ประโยชน์ ขอบเขตของการทำงาน รูปแบบของการทำงาน ตอนที่ 2 กระบวนการวิเคราะห์ : บทนำ การรวบรวมเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้อง วิธีการดำเนินการศึกษา ผลการวิเคราะห์ ตอนที่ 3 การสรุป วิพากษ์ และให้ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก ประวัติผู้จัดทำ
หัวข้อการจัดทำผลงาน (ต่อ) (ตามที่ ก.บ.บ.ครั้งที่ 5/2556) ผลงานเชิงสังเคราะห์ คำนำ บัญชีตาราง ภาพประกอบ ตอนที่ 1 ความสำคัญและความเป็นมา : ความสำคัญของงานเชิงสังเคราะห์ ความหมาย ของงานเชิงสังเคราะห์ ตอนที่ 2 กรอบแนวคิดและรูปแบบ : การกำหนดกรอบแนวคิด รูปแบบของโครงร่าง/ โครงเรื่อง/Outline ของเรื่อง ตอนที่ 3 กระบวนการสังเคราะห์ : บทนำ การรวบรวมเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้อง วิธีการ ดำเนินการศึกษา ผลการสังเคราะห์ ตอนที่ 4 การสรุป วิพากษ์ และให้ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก ประวัติผู้จัดทำ
การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินผลงาน โดยวิธีปกติ (1) ระดับชำนาญงาน หรือชำนาญการ - กรรมการจำนวน 3 คน ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง - แต่งตั้งบุคคลภายนอก อย่างน้อย 1 คน และภายในอยู่ต่างสังกัด (2) ระดับชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ หรือเชี่ยวชาญพิเศษ - กรรมการจำนวน 3 คน ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง - แต่งตั้งบุคคลภายนอกตามบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ.กำหนด โดยวิธีพิเศษ - กรรมการตาม (1) และ (2) จำนวน 5 คน
เกณฑ์การตัดสินผลงาน โดยวิธีปกติ โดยวิธีพิเศษ - ผลงานมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าระดับดี ยกเว้น ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ไม่ต่ำกว่าระดับดีมาก - ให้ใช้คะแนนเสียงข้างมาก โดยวิธีพิเศษ - ผลงานมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าระดับดีมาก ยกเว้น ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ไม่ต่ำกว่าระดับดีเด่น - ให้ใช้คะแนนเสียง 4 ใน 5
การปรับปรุงผลงาน ในกรณีที่คณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิมีมติให้ปรับปรุงผลงาน ให้ผู้เสนอขอ กำหนดตำแหน่งสูงขึ้นปรับปรุงผลงานภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่ทราบมติ ยกเว้นกรณีมีเหตุผลและความจำเป็นอาจขอขยาย ระยะเวลาต่อไปได้อีกไม่เกิน 90 วัน ผลงานที่ให้ปรับปรุง หมายถึง การให้ ปรับปรุงผลงานชิ้นเดิมที่ยังไม่เข้าเกณฑ์เฉพาะส่วน ที่ยังไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้องเท่านั้นมิใช่เป็นการทำ ผลงานชิ้นใหม่ หรือส่งผลงานชิ้นใหม่ให้พิจารณา แทน
วันที่มีผลในการดำรงตำแหน่ง ผู้ที่ผ่านการประเมิน : จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งในวันที่ฝ่ายการเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ ภายในรับเรื่องและเอกสารที่ครบถ้วน เว้นแต่ กรณีที่มีการปรับปรุงผลงาน จะได้รับการแต่งตั้งใน วันที่กองการเจ้าหน้าที่ได้รับผลงานฉบับปรับปรุงที่ สมบูรณ์แล้ว และผลงานฉบับปรับปรุงที่สมบูรณ์ แล้วนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรณีการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับ เชี่ยวชาญพิเศษ เมื่อสภามหาวิทยาลัยให้ความ เห็นชอบแล้ว เสนอ ก.พ.อ. พิจารณาให้ ความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
ขั้นตอนวิธีการ ระดับชำนาญงาน ชำนาญการ ชำนาญงานพิเศษ และชำนาญการพิเศษ 1) ผู้เสนอขอ : ยื่นเรื่องพร้อมผลงานและเอกสารประกอบการพิจารณา 2) คณะ/สำนัก : งานบุคคลคณะ/กองการเจ้าหน้าที่ ตรวจสอบคุณสมบัติ กรอบตำแหน่ง ผลงานและเอกสารประกอบการพิจารณาให้ครบถ้วนและถูกต้อง แล้วนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะ/สำนักเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ กรณีที่มีผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนเกินกว่าจำนวนกรอบตำแหน่งที่กำหนดไว้ ให้คณะ/หน่วยงาน : กำหนดเกณฑ์ประเมินในเบื้องต้น และคัดเลือกให้คงเหลือเท่ากับจำนวนกรอบตำแหน่งที่ได้รับอนุมัติ 3) คณะกรรมการประจำคณะ/สำนัก : พิจารณาให้ความเห็นชอบ
ขั้นตอนวิธีการ 4) คณะ/สำนัก : ส่งเรื่องไปยังกองการเจ้าหน้าที่ 5) กองการเจ้าหน้าที่ : รับเรื่อง ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสาร และสรุปเรื่องเสนอคณะกรรมการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น 6) คณะกรรมการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พิจารณา : กลั่นกรองผลการประเมินค่างานและการกำหนดกรอบตำแหน่ง : เห็นชอบ แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงานและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ : ไม่เห็นชอบ ส่งเรื่องคืนพร้อมเหตุผล
ขั้นตอนวิธีการ 7) คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ : ประเมินผลงานฯ 8) คณะกรรมการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น : พิจารณาผลการประเมินผลงานและความเห็น/ข้อเสนอแนะของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ แล้วนำเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา 9) สภามหาวิทยาลัย : พิจารณา : อนุมัติ : ไม่อนุมัติ 10) อธิการบดี : ออกคำสั่งแต่งตั้งกรณีอนุมัติ 11) กองการเจ้าหน้าที่ : แจ้งเวียนคำสั่ง/มติ
การยื่นขอทบทวนผลการพิจารณาผลงาน ผู้เสนอขอ เสนอขอทบทวนผลการพิจารณาต่อสภามหาวิทยาลัยภายใน 90 วัน ตั้งแต่วันที่ทราบมติ สามารถเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาได้ไม่เกิน 2 ครั้งโดยแสดงเหตุผลที่สนับสนุนการขอทบทวนดังกล่าว
การยื่นขอทบทวนผลการพิจารณาผลงาน (ต่อ) ขอทบทวนครั้งที่ 1 สภามหาวิทยาลัยรับเรื่องแล้ว ส่งให้คณะกรรมการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ดำเนินการดังนี้ (1) กรณีที่เห็นว่า คำขอทบทวนขาดข้อเท็จจริง ข้ออ้าง และเหตุผลที่สนับสนุนคำขอ จะไม่รับไว้พิจารณา (2) ในกรณีที่เห็นว่า คำขอทบทวนมีข้อเท็จจริง ข้ออ้าง และเหตุผลที่สนับสนุนคำขอ จะรับไว้พิจารณา ให้ส่งข้อโต้แย้งให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิมพิจารณา
การยื่นขอทบทวนผลการพิจารณาผลงาน (ต่อ) ขอทบทวนครั้งที่ 2 สภามหาวิทยาลัยรับเรื่องแล้ว ส่งให้คณะกรรมการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ดำเนินการดังนี้ (1) กรณีที่เห็นว่า คำขอทบทวนขาดข้อเท็จจริง ข้ออ้าง และไม่มีเหตุผลที่สนับสนุนคำขอเพิ่มเติมจากครั้งที่ 1 ให้มีมติไม่รับพิจารณา (2) กรณีที่เห็นว่า คำขอทบทวนมีข้อเท็จจริง ข้ออ้าง และมีเหตุผลที่สนับสนุนคำของเพิ่มเติมจากครั้งที่ 1 ให้มีมติรับไว้พิจารณา และให้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดใหม่ โดยให้มีจำนวนกรรมการเท่ากับชุดเดิมเพื่อพิจารณา
แบบฟอร์มต่างๆ แบบประเมินค่างาน แบบคำขอกำหนดตำแหน่ง มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง สามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่เวบ ไชต์กองการเจ้าหน้าที่
นิสัยที่คนประสบความสำเร็จระดับโลกมีเหมือนกัน รู้จักตนเอง สร้างเครือข่าย ไม่ต้องรอโชคชะตา มานะอดทน เรียนรู้จากข้อผิดพลาด หาที่ปรึกษาที่ดี http://www.hotcourses.in.th/study-abroad- info/student-life/8-things-that-successful- people-have-in-common/
การฝึกปฏิบัติ 1. การศึกษามาตรฐานภาระงานของ ตำแหน่งและระดับตำแหน่ง 2. ทบทวนภาระงานที่ได้รับมอบหมาย 3. ทบทวนข้อตกลงการปฏิบัติราชการ 4. ประเมินค่างานด้วยตนเอง 5. กำหนดภาระงาน และข้อตกลงการ ปฏิบัติราชการ (ใหม่)
ขอบคุณคะ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ นางพนมศรี เลิศศุภวิทย์นภา นางพนมศรี เลิศศุภวิทย์นภา ตำแหน่งผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ เบอร์โทรศัพท์ (ภายใน): 3034 นางเกษร จรัญพรหมสิริ ตำแหน่งบุคลากรชำนาญการพิเศษ กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี เบอร์โทรศัพท์ (ภายใน): 3050 อีเมล์: kasorn.@ubu.ac.th