งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินบุคคล เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินบุคคล เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินบุคคล เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

2 หัวข้อการบรรยาย การคัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งประเภททั่วไป การประเมินบุคคลและผลงานเพื่อแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญ การพิเศษลงมา การจัดทำผลงานขอประเมินเพื่อเลื่อน ระดับสูงขึ้น

3 การคัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป
หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก ให้ อ.ก.พ. กรม กำหนดวิธีการ วางมาตรฐาน ควบคุมคุณภาพการคัดเลือกบุคคล ให้เหมาะสมกับตำแหน่งและลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ วินิจฉัยปัญหาที่ เกี่ยวข้องกับการคัดเลือก โดย อ.ก.พ. กรมจะดำเนินการเองหรือแต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินการแทนก็ได้ การคัดเลือกเพื่อเลื่อนบุคคลขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นทุกสาย งาน มี 3 วิธี คือ วิธีการสอบ การประเมินผลงาน และการทดลองปฏิบัติงาน (ให้เลือก 1 วิธี) ให้กรมเจ้าสังกัด เลื่อนและแต่งตั้งผู้ผ่านการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ สูงกว่าระดับตำแหน่งที่ผู้นั้นดำรงอยู่ได้ไม่เกิน 1 ระดับ

4 คุณสมบัติบุคคลสำหรับตำแหน่งประเภททั่วไป
ระดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน ระดับอาวุโส 1.มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งครบถ้วนตามที่ ก.พ. กำหนด ในแต่ละสายงาน (ปวช./ปวท./ปวส. หรือคุณวุฒิอื่นตามที่ ก.พ. กำหนด) 1.มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งครบถ้วนตามที่ ก.พ.กำหนดในแต่ละสายงาน 2. เคยดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ดังนี้ - 6 ปี (ปวช.)/ 5 ปี (ปวท.)/ 4 ปี (ปวส.) 3. ปฏิบัติงานในสายงานที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี 4. ระยะเวลาขั้นต่ำในสายงานที่จะแต่งตั้ง/สายงานอื่นที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลตามคุณวุฒิ - 11 ปี (ม.3/มศ.3/ม.6)/ 10 ปี (ม.ปลาย (วช.1))/ 8 ปี (ปวช.)/ 7 ปี (ปวท.)/ 6 ปี (ปวส.) 5. ผ่านการประเมินผลงานตามที่ ก.พ. กำหนด (ว34/2537) 1.มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งครบถ้วนตามที่ ก.พ. กำหนด ในแต่ละสายงาน 2. เคยดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี หรือดำรง ตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบเท่าไม่ต่ำกว่านี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด 3.ปฏิบัติงานในสายงานหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

5 แบบประเมินบุคคลและประเมินผลงาน ตำแหน่งประเภททั่วไป
ตอนที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้นของผู้รับการประเมิน ตอนที่ 2 การตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคล (สำหรับหน่วยงานการ เจ้าหน้าที่) ตอนที่ 3 การประเมินคุณลักษณะเฉพาะบุคคล (สำหรับผู้บังคับบัญชา) การประเมินของผู้บังคับบัญชาระดับหัวหน้างาน/หัวหน้าฝ่าย หรือเทียบเท่า การประเมินของผู้บังคับบัญชาระดับกองหรือเทียบเท่า

6 การประเมินผลงาน (ตาม ว34/2547 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2547)
พิจารณาจากผลการปฏิบัติงานจริง (โดยไม่จำเป็นต้องเขียนผลงานขึ้นใหม่ นอกจากเป็นการสรุปรายละเอียดเกี่ยวกับผลงานในอดีตในช่วงระยะเวลาไม่ น้อยกว่า 2 ปี โดยผลงานนั้นแสดงให้เห็นถึง ทักษะ ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ และผลสัมฤทธิ์ของงาน)

7 การประเมินผลงาน (ต่อ)
การจัดทำผลงานเป็นรูปเล่ม โดยมีรายละเอียด ดังนี้ คำนำ สารบัญ หน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่ง ลักษณะงานที่ปฏิบัติของตำแหน่ง ขั้นตอนการปฏิบัติงาน สรุปปริมาณงานย้อนหลัง 2 ปี (ตามแบบฟอร์มที่กำหนด) ตัวอย่างผลงาน (ตามเนื้องานที่เขียนเสนอ)

8 การประเมินบุคคลและผลงานเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษลงมา
หลักการ ก.พ. มอบอำนาจให้ อ.ก.พ. กรมดำเนินการบริหารจัดการเรื่องการประเมิน บุคคลและผลงานเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ตำแหน่งระดับ ชำนาญการพิเศษลงมา อย่างเป็นระบบ เน้นกระบวนการคัดเลือกคนอย่างโปร่งใส และเป็นธรรม ให้ได้คนที่ เหมาะสม ก่อนที่จะให้ส่งผลงานเพื่อประเมิน ผลงานที่ส่งประเมินจะต้องมีประโยชน์ต่อหน่วยงาน โดยคำนึงถึงคุณภาพ มากกว่าปริมาณ และต้องประกอบด้วย 2 ส่วน - ผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา - แนวคิด วิธีการเพื่อพัฒนางานหรือ ปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น

9 หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคล
การคัดเลือกบุคคลเข้ารับการประเมินผลงาน แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 ตำแหน่งที่ปรับระดับสูงขึ้นได้จากระดับเริ่มต้นของสายงาน (ตำแหน่งในระดับควบ หรือเลื่อนไหล) และมีผู้ครองตำแหน่งอยู่แล้วมอบให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ/ผู้ว่าราชการ จังหวัด เป็นผู้พิจารณา คัดเลือก กรณีที่ 2 ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งในระดับควบหรือเลื่อนไหล และตำแหน่งว่างทุกกรณี มอบให้ อ.ก.พ. กรม /คณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกก่อนเสนอให้ผู้มี อำนาจสั่งบรรจุ / ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาให้ความเห็นชอบ

10 ขั้นตอนการคัดเลือกบุคคล
กรณีการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับควบ/เลื่อนไหลและมีคนครองอยู่ ผู้มีคุณสมบัติส่งเอกสารประกอบการคัดเลือกให้ตามที่กำหนด ให้ กกจ. ดำเนินการ คณะกรรมการคัดเลือกฯ พิจารณานับระยะเวลาเกื้อกูล ขอเกื้อกูล เสนอผู้มีอำนาจ ม.57 ดำเนินการตาม ว5/2542 ผู้มีอำนาจ ม.57 คุณสมบัติครบ พิจารณา มีมูล ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือก มีคนทักท้วง คกก.คัดเลือกฯ พิจารณา ตรวจสอบโดยเร็ว เสนอผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ม.57 แต่งตั้ง ไม่มีมูล ส่งผลงาน คณะกรรมการประเมินผลงาน (พิจารณาผลงาน) ไม่ผ่าน แจ้งมติให้ผู้เสนอผลงานทราบ เสนอผู้มีอำนาจ ม.57 สอบผู้ทักท้วง ผ่าน

11 ขั้นตอนการคัดเลือกบุคคล (ต่อ)
กรณีการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนอกเหนือจากกรณีที่ 1 ไม่ใช่ตำแหน่งในระดับควบ/เลื่อนไหล และตำแหน่งว่างทุกกรณี ประกาศให้ผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนส่งเอกสารประกอบการคัดเลือกตามที่กำหนดให้ กกจ. ดำเนินการ อ.ก.พ.กรม/คณะกรรมการคัดเลือกบุคคลฯ พิจารณา ตรวจสอบโดยเร็ว มีมูล เสนอผู้มีอำนาจ ม.57 ดำเนินการตาม ว5/2542 ผู้มีอำนาจ ม.57 พิจารณาเห็นชอบ มีคนทักท้วง ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือก เสนอผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ม.57 แต่งตั้ง เสนอผู้มีอำนาจ ม.57 สอบผู้ทักท้วง ส่งผลงาน ไม่มีมูล คณะกรรมการประเมินผลงาน (พิจารณาผลงาน) ไม่ผ่าน แจ้งมติให้ผู้เสนอผลงานทราบ ผ่าน

12 คุณสมบัติของบุคคลที่จะเข้ารับการประเมินผลงาน
ระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ 1.มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งครบถ้วนตามที่ ก.พ. กำหนด ในแต่ละสายงาน (ปริญญาตรี/โท/เอก) 1.มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งครบถ้วนตามที่ ก.พ.กำหนดในแต่ละสายงาน 2. เคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ดังนี้ - 6 ปี (ตรี)/ 4 ปี (โท)/ 2 ปี (เอก) 3. ปฏิบัติงานในสายงานที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี 4. ระยะเวลาขั้นต่ำในสายงานที่จะแต่งตั้ง/สายงานอื่นที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลตามคุณวุฒิ ดังนี้ 5. ผ่านการประเมินผลงานตามที่ ก.พ. กำหนด (ว34/2537) 1.มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งครบถ้วนตามที่ ก.พ.กำหนดในแต่ละสายงาน 2. เคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ไม่น้อยกว่า 4 ปี 3. ปฏิบัติงานในสายงานที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี 4. ระยะเวลาขั้นต่ำในสายงานที่จะแต่งตั้ง/สายงานอื่นที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลตามคุณวุฒิ ดังนี้ - 8 ปี (ตรี)/ 6 ปี (โท)/ 4 ปี (เอก) 5. ผ่านการประเมินผลงานตามที่ ก.พ. กำหนด (ว34/2537)

13 เอกสารประกอบการคัดเลือกตามที่ ก.พ. กำหนด
แบบพิจารณาคุณสมบัติของบุคคล แบบประเมินคุณลักษณะของบุคคล ข้อมูลของตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงาน (กอง/สำนัก) หน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง ผลการปฏิบัติงานย้อนหลัง 3 ปี ชื่อผลงานที่จะส่งเข้ารับการประเมิน ข้อเสนอแนวคิด วิธีการเพื่อพัฒนางานหรือปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น ในกรณีที่มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งไม่ครบ จะต้องจัดทำหนังสือรับรองผลการปฏิบัติงาน เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ

14 จำนวนผลงานตามที่ อ.ก.พ. สป.กษ. กำหนด
กรณีแต่งตั้งระดับชำนาญการ จำนวน 2 เรื่อง ผลงานที่เป็นการดำเนินงานที่ผ่านมา จำนวน 1 เรื่อง ข้อเสนอแนวคิด วิธีการเพื่อพัฒนางานหรือปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จำนวน 1 เรื่อง กรณีแต่งตั้งเป็นระดับชำนาญการพิเศษ และขอรับเงินประจำตำแหน่ง จำนวน 3 เรื่อง ผลงานที่เป็นการดำเนินงานที่ผ่านมา จำนวน 2 เรื่อง

15 การจัดทำผลงานขอประเมินเพื่อเลื่อนระดับสูงขึ้น
(ระดับชำนาญการและชำนาญการพิเศษ)

16 ผลงานที่เป็นการดำเนินงานที่ผ่านมา
เป็นการนำเสนอผลสำเร็จของงานที่เกิดจากการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้นั้น ไม่จำเป็นต้องจัดทำผลงานขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในการประเมินโดยเฉพาะ ให้นำเสนอรูปแบบการสรุป วิเคราะห์ถึงผลที่เกิดขึ้น ระบุผลสำเร็จของงาน ประโยชน์ที่เกิดจากผลงานนั้น หรือการนำผลงานไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหางาน ใช้ เสริมยุทธ์ศาสตร์ของหน่วยงาน มิใช่เป็นเพียงการรวบรวมผลงานย้อนหลัง คุณทำอะไร?

17 องค์ประกอบของผลงานที่เป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
ปก คำนำ สารบัญ สารบัญตาราง (ถ้ามี) สารบัญภาพ (ถ้ามี) บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของบัญหา วัตถุประสงค์ของผลงาน ผู้ร่วมดำเนินการ (ถ้ามี) ส่วนของผลงานที่ผู้เสนอเป็นผู้ปฏิบัติ บทที่ 2 ความรู้ทางวิชาการหรือแนวคิด ที่ใช้ในการดำเนินการ บทที่ 3 ผลการดำเนินงาน เนื้อหาสาระและขั้นตอนการดำเนินการ ผลสำเร็จของงาน การนำไปใช้ประโยชน์ ความยุ่งยากในการดำเนินงาน/ปัญหา/ อุปสรรค/ข้อจำกัดในการดำเนินการ บทที่ 4 ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก

18 บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของผลงาน วัตถุประสงค์ของผลงาน
ให้อธิบายความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาที่ต้องเขียนเรื่องนี้คืออะไร มีความสำคัญรวมทั้งความจำเป็นอย่างไร จึงต้องเสนอผลงานเรื่องนี้ และประโยชน์ที่จะได้รับจากการเขียนเรื่องนี้ วัตถุประสงค์ของผลงาน ให้ระบุถึงวัตถุประสงค์ในการจัดทำผลงานเรื่องนี้ (ไม่ใช้วัตถุประสงค์ของโครงการหรือแผนงานนั้น) ระยะเวลาการดำเนินการ ให้ระบุช่วงเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของเรื่อง (ผลงาน) มิใช่ระยะเวลาของการเขียนผลงานเพื่อเสนอคณะกรรมการ ผู้ร่วมดำเนินการ (ถ้ามี) มีใครเป็นผู้ร่วมดำเนินการกับผู้เสนอผลงาน แต่ละคนมีสัดส่วนเท่าใด รวมแล้วต้องเท่ากับ 100 ถ้าไม่มีผู้ร่วมดำเนินการ ใส่รายละเอียดผู้เสนอผลงานร้อยละ 100 ส่วนของผลงานที่ผู้เสนอเป็นผู้ปฏิบัติ ให้ระบุถึงผลงานและในส่วนที่ผู้เสนอเป็นผู้ปฏิบัติ

19 บทที่ 2 ความรู้ทางวิชาการหรือแนวคิดที่ใช้ในการดำเนินการ
ใช้ความรู้ทางวิชาการ แนวคิด ทฤษฎี หรือระเบียบอะไรบ้างใน การดำเนินการ ความรู้หรือแนวคิดใดที่ไม่ เกี่ยวข้องในผลงานไม่ต้องใส่ ตัวอย่าง ในการจัดทำผลงาน (ชื่อเรื่อง) ใช้ความรู้ ทางวิชาการ ดังนี้ 1.....ใส่เฉพาะหัวข้อวิชาการที่เราใช้..... ฯลฯ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 2.1 ให้ยกหัวข้อวิชาการในข้อที่ 1 มาใส่

20 บทที่ 3 ผลการดำเนินงาน เนื้อหาสาระและขั้นตอนการดำเนินการ
ให้สรุปเนื้อหาสาระและขั้นตอนการดำเนินการของเรื่อง (ผลงาน) ที่นำเสนอ ทุกขั้นตอนหรือทุกกิจกรรม จนเกิดผลสำเร็จ ผลสำเร็จของงาน ให้ระบุว่าผลงานที่เสนอมามีผลสำเร็จอย่างไร (เชิงปริมาณ และ/หรือ เชิงคุณภาพ) การนำไปใช้ประโยชน์ ให้ระบุถึงผลงานที่เสนอก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ใครได้รับประโยชน์หรือใครนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์บ้าง ผลงานก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนราชการอย่างไรบ้าง ความยุ่งยากในการดำเนินงาน/ปัญหา/ อุปสรรค/ข้อจำกัดในการดำเนินการ ให้สรุปความยุ่งยาก ซับซ้อน ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ ในส่วนที่ผู้เสนอเป็นผู้ปฏิบัติ

21 ข้อเสนอแนะต้องสอดคล้องกับความยุ่งยากในการดำเนินงาน/ปัญหา/
บทที่ 4 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะต้องสอดคล้องกับความยุ่งยากในการดำเนินงาน/ปัญหา/ อุปสรรค/ข้อจำกัดในการดำเนินการ ตามที่ได้นำเสนอไว้ในบทที่ 3 ว่ามีแนวทางแก้ไขหรือดำเนินการอย่างไร

22 ข้อเสนอแนวคิด วิธีการเพื่อพัฒนางานหรือปรับปรุงงาน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เป็นการนำเสนอแนวคิด วิธีการเพื่อพัฒนางานหรือปรับปรุงงานของหน่วยงานใน เชิงรุก เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรเป็นแนวคิดวิสัยทัศน์ หรือแผนงานที่จะทำในอนาคตเพื่อพัฒนางานใน ตำแหน่งที่จะได้รับการแต่งตั้ง โดยสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง คุณจะทำอะไร?

23 องค์ประกอบของการเขียนข้อเสนอแนวคิด วิธีการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ
ปก คำนำ สารบัญ สารบัญตาราง (ถ้ามี) สารบัญภาพ (ถ้ามี) บทที่ 1 บทนำ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของการนำเสนอ บทที่ 2 บทวิเคราะห์ แนวความคิด ข้อเสนอ บทวิเคราะห์ แนวคิด ข้อเสนอ บทที่ 3 ผลที่คาดว่าจะได้รับ บทที่ 4 ตัวชี้วัดความสำเร็จ บรรณานุกรม ภาคผนวก

24 บทที่ 1 บทนำ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของการนำเสนอ
เป็นการนำเสนอที่มาของปัญหาของเรื่องที่จะนำเสนอ แสดงให้เห็นถึงความรู้พื้นฐานและความเข้าใจในปัญหามาวิเคราะห์แล้วนำไปสู่เรื่องที่จะนำเสนอ ระบุถึงประโยชน์ของเรื่องที่จะนำเสนอ วัตถุประสงค์ของการนำเสนอ แสดงให้ทราบถึงเป้าหมายของผู้นำเสนอว่าต้องการอะไร และนำเสนอเพื่ออะไร?

25 บทที่ 2 บทวิเคราะห์/แนวความคิด/ข้อเสนอ
การแยกแยะปัญหาให้เห็นเป็นเชิงประจักษ์ (การตั้งโจทย์) แนวความคิด วิชาการหรือวิธีการที่เราจะนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาให้งานในหน้าที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (เครื่องมือแยกแยะปัญหา) ข้อเสนอ การกำหนดแนวทางโดยการใช้วิชาการต่างๆ มาใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา (การตอบโจทย์)

26 บทที่ 3 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
บทที่ 4 ตัวชี้วัดความสำเร็จ บอกความสำคัญของเรื่องที่เสนอ แนวคิดมา ถ้าทำตามข้อเสนอแนวคิด แล้ว จะเกิดประโยชน์อะไรบ้าง ให้ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ด้วย ควรเขียนเป็นข้อ ต้องวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม ให้ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และเนื้อหา เช่น ได้คู่มือ.....อย่างน้อย 1 เล่ม / หรือได้แนวทางในการ.... อย่างน้อย 1 แนวทาง

27 จบการนำเสนอ


ดาวน์โหลด ppt หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินบุคคล เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google