คำสั่งสร้างฐานข้อมูล

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Datadictionary Prakan Sringam.
Advertisements

BC421 File and Database Lab
UPDATING DATA By SQL (SA&D-9)
เสรี ชิโนดม MS SQLServer 7 เสรี ชิโนดม
ภาษา SQL (Structured Query Language)
12. การบันทึกข้อมูลลงในตาราง
กลุ่มคำสั่ง SQL สามารถแบ่งได้ดังนี้
บทที่ 5 Visual C#.NET กับ ฐานข้อมูล
Security and Integrity
ภาษามาตรฐานสำหรับนิยามข้อมูล และการใช้ข้อมูล
ASP [#15] การใช้งาน ASP กับ Mysql ผ่าน ODBC การทำสมุดเยี่ยม Guestbook
เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง Basic SQL
ASP:ACCESS Database.
MySQL.
ข้อดีของฐานข้อมูล 1. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูล โดยข้อมูลเรื่องเดียวกันอาจมีอยู่หลายแฟ้มข้อมูล ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลได้
Geometric data of PostgreSQL
ส่วนที่ 4 System Design การออกแบบระบบ.
SQL - Structured Query Language
Structured Query Language (SQL)
ภาษามาตรฐานสำหรับนิยามข้อมูล และการใช้ข้อมูล
Chapter 8 : การควบคุมความปลอดภัย (Security Control)
Database Programming Exceed Camp #2 24 October 2005.
สถาปัตยกรรมของระบบฐานข้อมูล
การเชื่อมต่อฐานข้อมูล โดยใช้คอนโทรล SQLDataSource
MySQL Case study about MySQL On XAMPP server Update : August 23,2012
Creating Database With Structure Query Language (SA&D-8)
Software Engineering Project Presentation
SQL Structured Query Language.
SQL เพื่อควบคุมความปลอดภัย (Week 2). การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล ระบบการจัดการข้อมูลโดยส่วนใหญ่จะมีกลไกที่ ทำให้แน่ใจได้ว่าเฉพาะผู้มีสิทธิเท่านั้นที่ สามารถเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูล.
เสรี ชิโนดม MySQL เสรี ชิโนดม
การใช้ PHP ติดต่อฐานข้อมูลMySQL
การใช้ PHP และ MySQLสร้าง”Web-board”
CHAPTER 12 SQL.
ADO.NET (การบริหารและจัดการข้อมูล)
SQL Structured Query Language.
จากรูป ถามถึง Foreign key ของใบจัดสินค้า หากใครเลือกตอบ ในวงกลมสีเขียว ได้คะแนน นอกนั้น หักคะแนน  ส่วนเลขที่ใบ นั้น ถือเป็น.
การเขียนโปรแกรมบนเว็บ PHP กับ MySQL
SQL (Structure Query Language) ตอนที่ 1
PHP: [9] ฐานข้อมูล MYSQL
Database Management SQL Security.
JSP ติดต่อฐานข้อมูล.
MySQL.
Database & DBMS Architecture วรวิทย์ พูลสวัสดิ์. 2 2 ฐานข้อมูล (Database) - Data and its relation - Databases are designed to offer an organized mechanism.
1 Introduction to SQL Leon Chen. 2 3 SQL Environment Catalog  ชุดของแผนผังที่เป็นคำอธิบายของฐานข้อมูล Schema  โครงสร้างที่มีรายละเอียดของวัตถุที่สร้างขึ้นโดยผู้ใช้
ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาชุดคำสั่งประมวลผลข้อมูล
ประเภทของคำสั่งของภาษา SQL
Microsoft Access การใช้งานโปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูล
Database Design & Development
DBMS (Database Management System)
ภาษา SQL (Structured Query Language)
SQL Structured Query Language.
SQL (Structured Query Language)
คำสั่งเงื่อนไขและการใช้คำสั่งจัดการฐานข้อมูล
SQL (MySQL, MariaDB) – Web Programming and Web Database
Integrity Constraints
SQL (Structured Query Language)
สถาปัตยกรรมของระบบฐานข้อมูล
Lecture 5 SQL (Structured Query Language)
Work Shop 2.
SQL [ Standard Query Language ]
SQL (Structured Query Language)
Chapter 9 : ภาษาทางด้านฐานข้อมูลคำสั่ง SQL (SQL Command)
การจัดการฐานข้อมูลด้วยโปรแกรม MS Access 2013
SQL – Web Programming and Web Database
ภาษามาตรฐานสำหรับนิยามข้อมูล และการใช้ข้อมูล
คำสั่ง Create , Insert, Delete, Update
การควบคุมและตรวจสอบภายใน รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
การประชุม โครงการบูรณาการข้อมูลกลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ครั้งที่ 19
เรื่อง การวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูล MySQL Database
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ Relational Database
ใบสำเนางานนำเสนอ:

คำสั่งสร้างฐานข้อมูล ระบบฐานข้อมูล คำสั่งสร้างฐานข้อมูล อ.กฤติเดช จินดาภัทร์

1. คำสั่งสร้างฐานข้อมูล 1. คำสั่งสร้างฐานข้อมูล 1. คำสั่งสร้างฐานข้อมูล คำสั่งสร้างฐานข้อมูล(create database) เป็นคำสั่งสำหรับให้ ผู้บริหารฐานข้อมูลหรือผู้มีสิทธิ์สร้างฐานข้อมูล โดยการกำหนดชื่อฐานข้อมูลแต่ละฐานข้อมูล รูปแบบ CREATEDATABASEdatabase_name; database_name คือ ชื่อฐานข้อมูล

1. คำสั่งสร้างฐานข้อมูล 1. คำสั่งสร้างฐานข้อมูล ตัวอย่าง ต้องการสร้างฐานข้อมูลชื่อ RH_NEGATIVE CREATE DATABASE RH_NEGATIVE;

2. คำสั่งสร้างตาราง คำสั่งสร้างตาราง(create table) เป็นคำสั่งสำหรับสร้างโครงสร้างของตารางตามพจนานุกรม โดยมีการระบุชื่อตารางชื่อแอตทริบิวต์ ชนิดข้อมูล ขนาดข้อมูลและการระบุว่าแอตทริบิวต์ใดเป็นคีย์หลักหรือคีย์นอก รูปแบบ   CREATE TABLE table_name ( Column_name1  data_typecolumn_attribute, Column_name2data_typecolumn_attribute, Primary key (column_name) Foreign key (column_name));

2. คำสั่งสร้างตาราง CREATE TABLE table_name ( Column_name1 data_typecolumn_attribute, Column_name2data_typecolumn_attribute, Primary key (column_name) Foreign key (column_name)); Table_name คือ ชื่อของตารางที่ต้องการสร้าง Column_name1 คือ ชื่อของแอตทริบิวต์ที่ 1 Column_name2 คือ ชื่อของแอตทริบิวต์ที่ 2 data_type คือ ชนิดของข้อมูล column_attribute คือ คุณสมบัติของแอตทริบิวต์

2. คำสั่งสร้างตาราง ตัวอย่าง ต้องการสร้างตาราง MEMBER ตามพจนานุกรมข้อมูล CREATE TABLE MEMBER (M_CODE INT(5) NOT NULL UNIQUE, M_NAME VARCHAR(30) NOT NULL, M_LASTNAME VARCHAR(30) NOT NULL, BLOOD VARCHAR(3) NOT NULL, DOB DATE NOT NULL, WEIGHT SMALLINT(3) NOT NULL, PHONE_NO VARCHAR(11), PRIMARY KEY (M_CODE));

3. คำสั่งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตาราง 3. คำสั่งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตาราง คำสั่งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตาราง (alter table) เป็นคำสั่งสำหรับเปลี่ยนโครงสร้างตาราง เช่น การเพิ่มหรือลบแอตทริบิวต์ หรือการเพิ่มคีย์หลัก หรือคีย์นอก เช่น จากตัวอย่างที่ 2 ถ้ากรณีที่ลืมกำหนดคีย์หลัก สามารถเขียนคำสั่งเพื่อกำหนดเพิ่มเติมภายหลังได้ดังนี้ รูปแบบ ALTER TABLE table_name ADD PRIMARY KEY (column_name);

3. คำสั่งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตาราง 3. คำสั่งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตาราง ตัวอย่าง การเพิ่มคีย์หลักในโครงสร้างตาราง MEMBER ALTER TABLE MEMBER ADD PRIMARY KEY(M_CODE); ในกรณีที่ยังไม่ได้กำหนดคีย์นอกของโครงสร้างตาราง DONOR สามารถเขียนคำสั่งเพื่อกำหนดคีย์นอกได้ดังนี้

3. คำสั่งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตาราง 3. คำสั่งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตาราง ตัวอย่าง การเพิ่มคีย์นอกของโครงสร้างตาราง DONOR ALTER TABLE DONOR ADD FOREIGN KEY(M_CODE) REFERENCES MEMBER; ถ้ากรณีที่ยังไม่ได้กำหนดทั้งคีย์หลักและคีย์นอกในโครงสร้างตาราง DONORสามารถเขียนคำสั่งได้ดังนี้

3. คำสั่งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตาราง 3. คำสั่งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตาราง ตัวอย่าง คำสั่งเพื่อต้องการเพิ่มคีย์หลักและคีย์นอกในโครงสร้างตาราง DONOR ALTER TABLE table_name ADD PRIMARY KEY(DORNOR_ID) ADD FOREIGN KEY(MEMBER_ID) REFERENCES MEMBER; คำสั่งการเปลี่ยนชนิดและขนาดข้อมูล ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงชนิดข้อมูล สามารถเขียนคำสั่งได้ดังนี้ รูปแบบ ALTER TABLE table_name MODIFY(column_name data_type);

4. คำสั่งลบตาราง คำสั่งสำหรับลบตาราง(drop table) สามารถลบโครงสร้างตารางที่ถูกสร้างไว้แล้วได้ โดยข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้จะถูกลบไปด้วย และไม่สามารถใช้คำสั่ง ROLLBACK เพื่อให้ข้อมูลคืนกลับมาได้ โดยใช้คำสั่งดังนี้ รูปแบบ DROP TABLE table_name; ตัวอย่าง ต้องการลบตาราง DONOR DROP TABLE DONOR;

5. คำสั่งสร้างดัชนี คำสั่งสร้างดัชนี (create index) เป็นคำสั่งที่ให้ระบบจัดการฐานข้อมูลสร้างดัชนีขึ้นมา ซึ่งจะมีผลให้การเข้าถึง หรือการสืบค้นข้อมูลกระทำได้เร็วยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับการทำดัชนีของหนังสือ ถ้าหากไม่ได้สร้างดัชนีระบบจัดการฐานข้อมูลจะเข้าถึงข้อมูลตามลำดับ รูปแบบ CREATE INDEX index_name ON table_name (column_name); ตัวอย่าง ต้องการสร้างดัชนีโดยใช้แอตทริบิวต์ M_NAME ในตาราง MEMBER CREATE INDEX name_dex ON MEMBER (M_NAME);

6. คำสั่งลบดัชนี คำสั่งลบดัชนี (drop index) เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับลบดัชนีที่ได้กำหนดขึ้นมา รูปแบบ DROP INDEX index_name;

6. คำสั่งลบดัชนี DROP INDEX name_dex; 6. คำสั่งลบดัชนี     คำสั่งลบดัชนี (drop index) เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับลบดัชนีที่ได้กำหนดขึ้นมา    รูปแบบ             DROP INDEX  index_name; ตัวอย่าง  ต้องการลบดัชนีที่เกิดขึ้นจากคำสั่งในตัวอย่างที่ DROP  INDEX  name_dex;

7. คำสั่งสร้างวิว คำสั่งสร้างวิว (create view) เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับความต้องการที่จะให้แสดงผลอย่างรวดเร็ว เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่นิยมใช้กับระบบจัดการฐานข้อมูลที่ดี เช่น Oracle ซึ่งวิธีการทำงานของคำสั่งวิวจะรวบรวมเอาข้อมูลจากตารางจริงมาจำลองเป็นชื่อใหม่ เก็บข้อมูลเหล่านั้นอยู่ในหน่วยความจำ รอผู้ใช้ใช้คำสั่งสอบถามข้อมูล สามารถใช้คำสั่งได้ดังนี้ รูปแบบ CREATE VIEW view_name AS subquery;

7. คำสั่งสร้างวิว ตัวอย่าง ต้องการสร้างวิวชื่อ MEMBER_DONOR จากตาราง MEMBER และตาราง DONOR ที่มี DOB น้อยกว่า 2005-09-25 สามารถเขียนเป็นคำสั่งได้ดังนี้ CREATE VIEW MEMBER_DONOR AS SELECT MEMBER.*, DONOR.* FROM MEMBER, DONOR WHERE MEMBER.M_CODE = DONOR.M_CODE AND MEMBER.DOB < "2005-09-25"; การเรียกใช้สืบค้นข้อมูลจากผลที่เกิดจากคำสั่งตัวอย่าง สามารถใช้คำสั่ง SELECT * FROM MEMBER_DONOR;

คำสั่งสำหรับจัดการข้อมูล   คำสั่งสำหรับจัดการข้อมูล (data manipulation language) เป็นคำสั่งสำหรับจัดการข้อมูล ประกอบด้วยคำสั่งแทรกข้อมูลเพื่อนำข้อมูลเข้าสู่ตาราง  คำสั่งบันทึกข้อมูลเป็นการนำข้อมูลจากหน่วยความจำไปจัดเก็บในหน่วยความจำรองหรือดิสก์  คำสั่งสอบถามข้อมูลเพื่อให้แสดงผลข้อมูลหรือสารสนเทศ คำสั่งแก้ไขข้อมูลในกรณีข้อมูลไม่ถูกต้อง ไม่เป็นปัจจุบัน และคำสั่งสำหรับลบข้อมูล    ซึ่งคำสั่งสำหรับจัดการข้อมูลต้องใช้หลังจากคำสั่งสำหรับนิยามข้อมูลและสร้างตารางสำเร็จแล้วเท่านั้น

1. คำสั่งแทรกข้อมูล คำสั่งแทรกข้อมูล (insert) เป็นคำสั่งสำหรับนำข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเข้าสู่ตารางที่ถูกสร้างโครงสร้างไว้ก่อนแล้ว คำสั่งแทรกข้อมูล 1 คำสั่งจะนำข้อมูลเข้าสู่ตารางเพียง 1 ระเบียนเท่านั้น รูปแบบ INSERT INTO table_name [(column_name[,column_name…])] VALUES (value[,value…]); MCODE = 1, M_NAME = เฉลิม, M_LASTNAME = อินทกาญจน์, BLOOD = O-, DOB = 2500-03-14, WEIGHT = 64, PHONE_NO = NULL

1. คำสั่งแทรกข้อมูล ตัวอย่าง ต้องการแทรกข้อมูลเข้าสู่ตาราง MEMBER โดยมีข้อมูลดังนี้ MCODE = 1, M_NAME = เฉลิม, M_LASTNAME = อินทกาญจน์, BLOOD = O-, DOB = 2500-03-14, WEIGHT = 64, PHONE_NO = NULL ใช้คำสั่งได้ดังนี้ INSERT INTO MEMBER (M_CODE, M_NAME, M_LASTNAME, BLOOD, DOB, WEIGHT, PHONE_NO) VALUES (1, "เฉลิม", "อินทกาญจน์", "O-", "2500-03-14", 64,NULL);

2. คำสั่งบันทึกข้อมูล                         คำสั่งบันทึก(commit) เป็นคำสั่งสำหรับบันทึกข้อมูลลงหน่วยความจำรองหรือดิสก์ คำสั่งนี้มีใช้เฉพาะระบบจัดการฐานข้อมูลของ Oracle หรือ SQL Server  รูปแบบ                         COMMIT  table_name; คำสั่ง COMMIT  MEMBER;

3. คำสั่งสอบถามข้อมูล คำสั่งสอบถามข้อมูล(select) เป็นคำสั่งที่ต้องการนำข้อมูลที่อยู่ในตารางขึ้นมาแสดง หรืออาจจะสั่งให้คำนวณเพื่อให้ได้สารสนเทศขึ้นมาแสดงก็ได้ เพื่อให้เห็นข้อมูลได้ชัดเจนจึงนำข้อมูลจากตาราง MEMBER และตาราง DONOR มาใช้กับคำสั่งสอบถาม ดังนี้ ตาราง ตารางข้อมูล MEMBER

3. คำสั่งสอบถามข้อมูล

คำสั่งสอบถามข้อมูลเบื้องต้น คำสั่งสอบถามข้อมูลเบื้องต้น  คำสั่งสอบถามข้อมูลเบื้องต้น  เป็นคำสั่งสอบถามเพื่อให้แสดงผลข้อมูลจากตารางเพียงตารางเดียวและจะแสดงข้อมูลทั้งหมด ไม่มีเงื่อนไขมากำหนดจำนวนระเบียนที่จะแสดง แต่อาจจะกำหนดแอตทริบิวต์ที่ต้องการให้แสดงได้ หรือตั้งชื่อสมนามให้กับแอตทริบิวต์ได้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้  รูปแบบ                         SELECT  [DISTINCT]  {*, column_name [alias],…}                                 FROM  table_name;  

คำสั่งสอบถามข้อมูลเบื้องต้น คำสั่งสอบถามข้อมูลเบื้องต้น                          SELECT  [DISTINCT]  {*, column_name [alias],…}                                 FROM  table_name;  ความหมาย                         DISTINCT          เลือกแสดงข้อมูลตามเงื่อนไข ถ้ามีข้อมูลที่ซ้ำกันจะแสดงข้อมูลที่ซ้ำเพียง 1 ข้อมูล                         *                               เป็นการระบุให้แสดงทุกแอตทริบิวต์ของตาราง                         column_name           เป็นการระบุชื่อแอตทริบิวต์ที่ต้องการให้แสดง                         alias                           เป็นการตั้งชื่อใหม่ให้กับแอตทริบิวต์                         table_name                เป็นชื่อของตาราง

คำสั่งแสดงข้อมูลชนิดระบุแอตทริบิวต์ คำสั่งแสดงข้อมูลชนิดระบุแอตทริบิวต์   เป็นคำสั่งที่ให้แสดงแอตทริบิวต์ตามความต้องการบางแอตทริบิวต์ที่สำคัญ ๆ ดังตัวอย่าง SELECT M_NAME, M_LASTNAME, BLOOD FROM MEMBER;

คำสั่งแสดงข้อมูลชนิดระบุแอตทริบิวต์ คำสั่งแสดงข้อมูลชนิดระบุแอตทริบิวต์   เป็นคำสั่งที่ให้แสดงแอตทริบิวต์ตามความต้องการบางแอตทริบิวต์ที่สำคัญ ๆ ดังตัวอย่าง SELECT M_NAME, M_LASTNAME, BLOOD FROM MEMBER;

คำสั่งสอบถามแบบมีเงื่อนไข คำสั่งสอบถามแบบมีเงื่อนไข   เป็นคำสั่งที่ต้องการให้แสดงข้อมูลเพียงบางระเบียนตามความต้องการ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ใช้ โดยมีอนุประโยค WHERE ต่อท้ายด้วยเงื่อนไขโดยนำเอาตัวดำเนินการ(operator)มาเป็นเงื่อนไข ตาราง ตัวดำเนินการและความหมาย

คำสั่งสอบถามแบบมีเงื่อนไข คำสั่งสอบถามแบบมีเงื่อนไข   SELECT M_NAME, M_LASTNAME, BLOOD FROM MEMBER WHERE BLOOD = "A-";

คำสั่งแก้ไขข้อมูล คำสั่งแก้ไขข้อมูล (update) เป็นคำสั่งสำหรับแก้ไขข้อมูลที่มีอยู่แล้ว แต่อาจเป็นข้อมูลที่ผิดพลาด หรือข้อมูลเดิมไม่เป็นปัจจุบัน จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง การใช้คำสั่งเพื่อแก้ไขจะต้องระมัดระวังในการใช้อนุประโยค WHERE เพราะสามารถแก้ไขได้หลาย ๆ ระเบียนต่อคำสั่งถ้าเงื่อนไขเป็นจริง หรือถ้าลืมไม่ใช้อนุประโยค WHERE จะทำให้ข้อมูลทุกระเบียนจะถูกแก้ไขไปด้วย รูปแบบ UPDATE table_name SET column_name = value [, column_name = value, …] [WHERE condition];

คำสั่งแก้ไขข้อมูล UPDATE MEMBER SET PHONE_NO = "0-9868-5654" WHERE M_CODE = 13;

คำสั่งแก้ไขข้อมูล คำสั่งลบข้อมูล คำสั่งลบข้อมูล (delete) เป็นคำสั่งเพื่อใช้ในการลบข้อมูลที่ไม่ต้องการให้มีอยู่ในตาราง การใช้คำสั่งลบมีผลกระทบเหมือนกับคำสั่งแก้ไขข้อมูล คือ คำสั่งหนึ่ง ๆ สามารถลบข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งระเบียน ถ้าหากเขียนคำสั่งอนุประโยค WHERE ผิดพลาดหรือลืมเขียน คำสั่งลบมีรูปแบบคำสั่งดังนี้ รูปแบบ DELETE [FROM ] table_name [WHERE condition]; DELETE FROM MEMBER WHERE M_CODE = 2;

บทสรุป                         ภาษาเอสคิวแอล  เป็นภาษาที่ใช้สำหรับการจัดการฐานข้อมูลประเภทฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ทั้งหมด  แบ่งออกเป็น 3  ประเภท ได้แก่ คำสั่งสำหรับนิยมข้อมูล ได้แก่ คำสั่งสร้างตาราง คำสั่งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตาราง คำสั่งลบตาราง คำสั่งสร้างดัชนี ลบดัชนี เป็นต้น คำสั่งสำหรับการจัดการข้อมูล ได้แก่คำสั่ง แทรกข้อมูล แก้ไข และแสดงข้อมูลตามเงื่อนไขต่าง ๆ และคำสั่งควบคุม ได้แก่ คำสั่งสำหรับกำหนดสิทธิ์การใช้ฐานข้อมูล รวมทั้งสิทธิ์ในการใช้คำสั่งใด ๆ จากตารางใด ๆ เป็นต้น แต่ตัวอย่างที่ได้อธิบายในบทนี้จะเป็นคำสั่งพื้นฐานเพียงส่วนหนึ่งที่นิยมใช้กันเท่านั้น ถ้าต้องการใช้คำสั่งระดับสูง จะต้องศึกษาจากหนังสือเอสคิวแอลโดยเฉพาะซึ่งจะทำให้มีความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น

A&Q Thank You ! www.charprom.com