การศึกษาผลการทำแผล BLEB ด้วยวิธีดูดน้ำออกโดยปราศจากเชื้อ คณะกรรมการวิจัยหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลลำพูน
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การดูแลผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยวิกฤตของโรค ต้องเฝ้าระวังทุกระบบของร่างกาย ผิวหนังเป็นระบบหนึ่งที่เราต้องให้การดูแลรักษาเป็นพิเศษเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น การเกิดแผล Bleb (ตุ่มน้ำ/ตุ่มเลือด) และมีการติดเชื้อลุกลามมากขึ้น
วัตถุประสงค์ ศึกษาผลของการทำแผล bleb (ตุ่มน้ำ/เลือด) ด้วยวิธีดูดน้ำออกโดยปราศจากเชื้อ
สมมติฐานการวิจัย การทำแผล bleb(ตุ่มน้ำ/เลือด) ด้วยวิธีดูดน้ำ ออกโดยปราศจากเชื้อทำให้ระยะเวลาการหาย ของแผลลดลง
ชนิดของการศึกษา วิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experiment)
สถานที่ทำการศึกษา ห้องผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลลำพูน
ประชากรและ กลุ่มตัวอย่าง ประชากร ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีแผล bleb (ตุ่มน้ำ/เลือด) ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก กลุ่มตัวอย่าง เป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยทุกรายที่มีแผล blebที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก จำนวน 20 ราย
ระยะเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูล เดือน มกราคมถึงมีนาคม 2553
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การทำแผล bleb ตัวแปรตาม ได้แก่ ระยะเวลาการหายของแผล bleb
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การเกิดแผล bleb การหายของแผล bleb หลักการสำคัญของการทำความสะอาดแผล bleb
เครื่องมือในการศึกษา รูปแบบการทำแผล bleb ด้วยวิธีดูดน้ำออกโดยปราศจากเชื้อ แบบสังเกตการหายของแผล
การดำเนินการเก็บข้อมูล ระยะที่ 1 เป็นการเตรียมพยาบาลในหอผู้ป่วยหนัก ระยะที่ 2 นำวิธีการทำแผล bleb ไปใช้กับผู้ป่วย ระยะที่ 3 ลงบันทึกในแบบสังเกตการหายของแผล
การดำเนินการเก็บข้อมูล ระยะที่4 รวบรวมสถิติ ระยะที่ 5 นำข้อมูลมาวิเคราะห์และทำแบบรายงานเสนอ
หลักการทำแผล bleb ทำความสะอาดรอบๆแผลด้วย Alcohol 70%
ทำความสะอาดแผลด้วยโพวิดีน ใช้เข็ม No ทำความสะอาดแผลด้วยโพวิดีน ใช้เข็ม No.24- 25 และ Syringe ดูดน้ำ/เลือดออก อย่างปราศจากเชื้อ
ทำความสะอาดแผลหลังดูดน้ำ/เลือดออก ด้วย 0.9% NSS
ปิดแผลด้วยBactigras ตามความกว้างของแผล
ปิดก๊อส 2-3 ชั้นและปิด Opsite Flexifix แผลทิ้งไว้ 3 วัน เปิดแผล ถ้าแผลแห้งเปิดแผลไว้ และถ้าแผลยังมี Dischage ซึม ทำการล้างแผลต่อตามขั้นตอนเดิมปิดแผลจนครบ 7 วัน เปิดแผล ถ้าแห้งเปิดแผลไว้ และถ้าแผลยังมีDischageซึม ทำการล้างแผลต่อ จนกว่าแผลจะหาย
ผลการศึกษา
ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของประชากร จำแนกตามอายุ เพศ ของผู้ป่วย จากตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของประชากร จำแนกตามอายุ เพศ ของผู้ป่วย พบว่ามีอายุมากที่สุด อยู่ในช่วง 70-80 ปี คิดเป็นร้อยละ 50 และเป็นเพศชายมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60
ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของประชากร จำแนกตามรายโรค DM Septic Shock Pneumonia Sepsis CHF Meningitis UGIH ARDS MI Thalamic Hemorrhage 5 4 2 1 25 20 10 จากตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของประชากร จำแนกตามรายโรค ที่พบมากที่สุดคือ DM จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 25 รองลงมาคือ Septic Shock จำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 20
ตารางที่ 3 จำนวนและร้อยละของประชากร จำแนกตามตำแหน่งและระยะเวลาการหายของแผล ตำแหน่งของการเกิดแผล bleb จำนวน (ราย) ระยะเวลาการหายของแผล bleb 3 วัน ระยะเวลาการหายของแผล bleb ภายใน 4-7 วัน ระยะเวลาการหายของแผล bleb มากกว่า 7 วัน สะโพก ขา แขน ข้อมือ หลัง หน้าท้อง ข้อเท้า 8 2 5 1 - 3 รวม 20 10 ร้อยละ 100 40 50 จากตารางที่ 3 จำนวน ร้อยละของประชากร จำแนกตามตำแหน่งและระยะเวลาการหายของแผล พบว่าแผล blebที่ใช้ ระยะเวลาการหายของแผล 3 วัน จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ40 และใช้ระยะเวลาการหายของแผลภายใน 4-7 วัน จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 50 ส่วนใหญ่พบบริเวณสะโพกจำนวน 8 ราย ใน 20 ราย
ตัวอย่างแผลที่ทำการศึกษา แผลก่อนทำ แผลหลังทำ
แผลก่อนทำ แผลหลังทำ
สรุปผลการวิจัย จากการศึกษาแผล bleb ด้วยวิธีดูดน้ำออกโดยปราศจากเชื้อพบว่า แผล blebที่ใช้ระยะเวลาการหายของแผล 3 วัน จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ40 และใช้ระยะเวลาการหายของแผล 4-7 วัน จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 50 รวมแล้วอยู่ในเกณฑ์ที่ตั้งไว้คิดเป็นร้อยละ 90 ดังนั้นจะเห็นได้ว่าร้อยละ 40 ของกลุ่มตัวอย่างมีระยะเวลาการหายของแผลที่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาการหายของแผล bleb ทั่วไป( ) ร้อยละ 50 อยู่ในช่วง 4-7 วัน แสดงให้เห็นว่าประมาณร้อยละ 90 ของการศึกษามีการหายของแผลที่อยู่ในช่วงเวลาปกติ ปรากฎการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าเทคนิคการทำแผลดังกล่าวส่งผลต่อการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่จะทำให้แผลหายช้ากว่ากำหนด
ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา การทำแผล bleb(ตุ่มน้ำ/เลือด) ด้วยวิธีดูดน้ำออกโดยปราศจากเชื้อ ทำให้ลดระยะเวลาการหายของแผล
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ ให้นำผลการวิจัยในครั้งนี้ไปใช้ในทางปฏิบัติเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการแตกหรือฉีกขาดของแผล bleb ที่จะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อเข้าสู่แผล
กิตติกรรมประกาศ การศึกษาครั้งนี้สำเร็จตามวัตถุประสงค์เป็นอย่างดีเนื่องจากได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำพูน หัวหน้ากลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลลำพูน ดร.มุกดา สีตลานุชิต ผศ.สิริรัตน์ จันทรมะโน คณะกรรมการวิจัย
สวัสดีค่ะ สวัสดีค่ะ