งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความปลอดภัยจากไฟฟ้าและเครื่องจักร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความปลอดภัยจากไฟฟ้าและเครื่องจักร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความปลอดภัยจากไฟฟ้าและเครื่องจักร

2 การจัดการความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักร

3 การจัดระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักร และการบำรุงรักษา
การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรที่สำคัญ ได้แก่การทำอุปกรณ์ป้องกันอันตรายสำหรับเครื่องจักรที่เรียกว่า เซฟการ์ด ซึ่งมีหลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะของเครื่องจักร โดยอาจจำแนกออกได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. เครื่องจักรต้นกำลัง (Prime mover machinery) 2. เครื่องจักรส่งกำลัง (Transmission machinery) 3. เครื่องจักรทำการผลิต (Production machinery)

4 การจัดระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักร และการบำรุงรักษา
อันตรายจากเครื่องจักร อันตรายที่พนักงานได้รับจากเครื่องจักร แต่ละประเภทแตกต่างกันออกไป เช่น 1.1 อันตรายจากเครื่องจักรต้นกำลัง 1.2 อันตรายจากเครื่องส่งกำลัง 1.3 อันตรายจากเครื่องจักรทำการผลิต

5 การจัดระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักร และการบำรุงรักษา
2. สาเหตุหลักๆ ของการเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องจักร 2.1 เครื่องจักรไม่มีเซฟการ์ดที่เหมาะสม 2.2 การถอดเซฟการ์ดออกเพื่อซ่อมบำรุง เมื่อซ่อมเสร็จแล้ว ไม่ใส่ เซฟการ์ดกลับเข้าที่เดิม 2.3 การปล่อยปละละเลยให้ส่วนอันตรายของเครื่องจักรอยู่ในที่สูง 2.4 พนักงานขาดทัศนคติความปลอดภัย 2.5 พนักงานขาดการฝึกอบรมการทำงานกับเครื่องจักรอย่าง เหมาะสม และปลอดภัย

6 การจัดระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักร และการบำรุงรักษา
3. การออกแบบเซฟการ์ดป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร หรือเรียกว่า การทำเซฟการ์ดของเครื่องจักร ก็คือ การออกแบบ หรือหามาตรการควบคุมป้องกันอันตราย การออกแบบ การสร้าง การติดตั้ง และการบำรุงรักษาเซฟการ์ดที่ดี จะป้องกันจุดอันตรายของเครื่องจักรได้ ถึงแม้ว่าพนักงานมีความระมัดระวังมากเพียงใดก็ตาม บางครั้งก็อาจพลาดพลั้งได้ ดังนั้น จึงต้องมีการทำเซฟการ์ดของเครื่องจักรให้ถูกต้อง และเหมาะสมที่สุด ลักษณะของเซฟการ์ดที่ดีควรจะมีลักษณะ ดังนี้

7 การจัดระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักร และการบำรุงรักษา
3.1. เป็นการป้องกันอันตรายที่ต้นเหตุ 3.2. เป็นการป้องกันมิให้ส่วนของร่างกายเข้าใกล้เขตอันตราย 3.3. ให้ความสะดวกแก่ผู้ทำงานได้เช่นเดียวกับที่ไม่มีเซฟการ์ดป้องกัน 3.4. เซฟการ์ดที่ดีต้องไม่ขัดขวางการผลิต 3.5. เซฟการ์ดควรเหมาะสมกับงานและเครื่องจักร 3.6. เซฟการ์ดควรมีลักษณะติดมากับเครื่อง 3.7. เซฟการ์ดที่ติดตั้งแล้วควรง่ายต่อการตรวจและการซ่อมบำรุงเครื่องจักร 3.8. เซฟการ์ดควรทนทานต่อการใช้งานปกติได้ดี

8 การจัดระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักร และการบำรุงรักษา
4. การจัดทำเซฟการ์ดตามกลไกการทำงานของเครื่องจักรที่ก่อให้เกิดอันตราย กลไกการทำงานของเครื่องจักรที่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายและจำเป็นต้องมีเซฟการ์ดนั้นอาจแบ่งได้ดังนี้ 4.1. กลไกประเภทที่มีการหมุน 4.2. กลไกประเภทที่มีการตัดหรือเฉือน 4.3 กลไกประเภทที่มีการบีบหรือหนีบ 4.4 กลไกประเภทสกรู 4.5 กลไกประเภทที่มีการพับหรืองอ หรือกดให้เป็นรูปต่างๆ

9 การจัดระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักร และการบำรุงรักษา
5. การทำเซฟการ์ดเพื่อให้เกิดความปลอดภัย มีหลักสำคัญ คือ 5.1. หลักการป้องกัน หรือขัดขวางการสัมผัสจุดอันตรายของ เครื่องจักร 5.2. ควบคุมโดยให้อวัยวะพ้นจากบริเวณอันตราย 5.3. ป้องกันโดยใช้หลักการเครื่องจักรจะไม่ทำงาน ถ้าอวัยวะไม่ออก จากเขตอันตราย 5.4. ป้องกันโดยใช้หลักการปัดอวัยวะให้พ้นเขตอันตรายก่อนทำงาน 5.5. ใช้เครื่องจับชิ้นงานป้อนแทนมือ ใช้รางเท รางเลื่อน หรือจาน หมุน

10 การจัดระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักร และการบำรุงรักษา
6. การบำรุงรักษาเซฟการ์ด ผู้ควบคุมงานหรือผู้มีหน้าที่ซ่อมบำรุงรักษา ต้องถือว่าเซฟการ์ดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักรที่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบ บำรุงรักษา และซ่อมแซมให้มีสภาพเรียบร้อยและพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา อันตรายที่เกิดขึ้นในการบำรุงรักษาเซฟการ์ดนั้นอาจแบ่งได้สองส่วนซึ่งเกี่ยวข้องกัน คือ การบำรุงรักษา หรือซ่อมแซมเครื่องจักรส่วนใดส่วนหนึ่งและการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมเซฟการ์ดโดยตรง ซึ่งกฎเกณฑ์ต่างๆ ในทางปฏิบัติ สามารถใช้ด้วยกันได้ ดังนี้

11 การจัดระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักร และการบำรุงรักษา
6.1 ห้ามถอด ปรับ หรือเคลื่อนย้ายเซฟการ์ดทุกชนิดไม่ว่าจะเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น 6.2 ก่อนที่จะถอด ปรับ หรือซ่อมบำรุงเซฟการ์ด จะต้องหยุดเครื่องจักร 6.3 ต้องไม่เดินเครื่องจักรใดๆจนกว่าจะแน่ใจว่า เซฟการ์ดทุกชิ้นของ เครื่องจักรนั้นได้ติดตั้งเข้าที่ และอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานแล้ว 6.4 เซฟการ์ดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของเซฟการ์ดชำรุด หรือหายไปให้รายงานผู้ควบคุมงานทราบทันที 6.5 ไม่ควรอนุญาตให้พนักงานที่ผูกเนคไท สวมเสื้อผ้าหลวมๆ ใส่นาฬิกา แหวน หรือเครื่องประดับอื่นๆ ทำงานกับเครื่องจักร หรือใกล้ๆเครื่องจักร

12 การจัดระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักร และการบำรุงรักษา
7. หลักความปลอดภัยในการบำรุงรักษา 7.1 ผู้ทำหน้าที่บำรุงรักษาจะต้องแจ้งให้ผู้ใช้เครื่องทราบทุกครั้ง 7.2 ต้องแน่ใจเสมอว่าในระหว่างที่ทำการบำรุงรักษา หรือซ่อมแซมนั้น ต้องไม่มีผู้ใดสามารถเดินเครื่องจักรได้ ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจาก ตนเอง 7.3 ควรใช้ล็อคเฉพาะตัวของตนเองล็อคเครื่องจักรทุกครั้ง 7.4 ในระหว่างที่ทำงานควรแขวนป้ายแสดงให้ผู้อื่นทราบตลอดเวลาว่า กำลังทำงานซ่อมบำรุงอยู่ 7.5 เมื่อเสร็จงาน ต้องปลดล็อคเฉพาะตัวออกด้วยตนเอง 7.6 ถ้าล็อคเฉพาะตัวหาย หรือกุญแจหาย ต้องรายงานทันที

13

14 การจัดระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า

15 ทำความรู้จักกับไฟฟ้าสักเล็กน้อยเราใช้ไฟฟ้าทั้งๆ ที่ไม่เคยเห็นไฟฟ้า จะเคย ก็เพียงแต่เห็นผลที่เกิดจากการทำงานของไฟฟ้า ไฟฟ้าเกิดจากการเคลื่อนที่ของ อิเล็กตรอน โดยไหลผ่านสิ่งที่เรียกว่า"ตัวนำไฟฟ้า" เช่นสายไฟฟ้าเป็นต้น หลักการที่สำคัญคือต้องมีแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ไฟฟ้าจะเคลื่อนที่ออกจาก แหล่งกำเนิดไหลไปตามสายไฟฟ้าอาจผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือไม่ก็ได้และต้อง กลับมาที่แหล่งกำเนิดเดิมอีกครั้งเรียกว่า"ครบวงจร" จึงอาจกล่าวอย่างง่ายๆ ได้ ว่าไฟฟ้าจะไหลครบวงจรได้ทั้งกรณีไฟฟ้าดูด และกรณีไฟฟ้าช็อตทั้ง 2 กรณี เกิดขึ้นได้เพราะไฟฟ้าไหลครบวงจรนั่นเอง

16 รูปที่ 1 แสดงกระแสไฟฟ้าไหลครบวงจรเมื่อเปิดสวิตช์ หลอดไฟสว่าง
กระแสไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้า รูปที่ 1 แสดงกระแสไฟฟ้าไหลครบวงจรเมื่อเปิดสวิตช์ หลอดไฟสว่าง

17 การจัดระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า
1.ชนิดของไฟฟ้า ไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือไฟฟ้าสถิต และไฟฟ้ากระแส 1.1 ไฟฟ้าสถิต เป็นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการขัดสีของวัตถุ เช่น ใช้แท่งอำพันถูกับขนสัตว์ อิเล็กตรอนจากขนสัตว์จะเกาะอยู่ที่แท่งอำพันนั้น ไฟฟ้าสถิตไม่มีการไหลเคลื่อนที่ และไม่อาจนำมาใช้เป็นพลังงานได้ 1.2 ไฟฟ้ากระแส เป็นไฟฟ้าประเภทที่มีกระแสไฟฟ้าไหลไปตามตัวนำ ไฟฟ้ากระแสแบ่งได้เป็น ชนิด คือไฟฟ้ากระแสตรง และไฟฟ้ากระแสสลับ

18 การจัดระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า
2. ลักษณะอันตรายจากไฟฟ้า 2.1 กระแสไฟฟ้าผ่านร่างกายลงสู่ดิน 2.2 ร่างกายต่อเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า 2.3 กระแสไฟฟ้าลัดวงจร

19 รูปที่ 2 กระแสไฟฟ้าผ่านร่างกายลงดิน
2.1 กระแสไฟฟ้าใช้ร่างกายเป็นทางผ่านลงดิน รูปที่ 2 กระแสไฟฟ้าผ่านร่างกายลงดิน

20 รูปที่ 3 กระแสไฟฟ้าผ่านเมื่อร่างกายเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า
2.2 ร่างกายต่อเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า รูปที่ 3 กระแสไฟฟ้าผ่านเมื่อร่างกายเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า

21 รูปที่ 5 วงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดการลัดวงจร
2.3 กระแสไฟฟ้าลัดวงจร รูปที่ 5 วงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดการลัดวงจร

22 การจัดระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า
3. ผลของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกาย อาการที่ปรากฏ เช่น 1) กล้ามเนื้อกระตุกหรือเกิดการหดตัว 2) ระบบประสาทเกิดอาการชะงักงัน หรือเป็นอัมพาตชั่วคราว 3) หัวใจหยุดทำงานทันที 4) หัวใจเกิดอาการเต้นกระตุก หรือเต้นถี่รัว 5) เซลล์ภายในร่างกายเสียหรือตาย 6) เนื้อเยื่อ และเซลล์ต่างๆของร่างกายถูกทำลาย 7) ดวงตาอักเสบจากแสงสว่างที่มีความเข้มสูงจากประกายไฟที่เกิด จากไฟฟ้าลัดวงจร

23 การจัดระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า
4. สาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดจากไฟฟ้า มีดังนี้ 4.1 การติดตั้งผิด 4.2 อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้เกิดชำรุด 4.3 เกิดจากผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า

24 การจัดระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า
5. ปัจจัยที่ทำให้พนักงานได้รับอันตรายจากไฟฟ้า 5.1 ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ผ่านร่างกายจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ แรงเคลื่อนไฟฟ้า 5.2 ระยะเวลาที่สัมผัสกับกระแสไฟฟ้า 5.3 ความต้านทานของร่างกายต่อกระแสไฟฟ้า 5.4 เส้นทาง หรืออวัยวะภายในร่างกายที่กระแสไฟฟ้าผ่าน 5.5 ปริมาณแรงดันไฟฟ้า

25 การจัดระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า
6. การเกิดเพลิงไหม้เนื่องจากไฟฟ้า สาเหตุเกิดจาก 6.1 การเกิดประกายไฟจากการลัดวงจรไฟฟ้าในบริเวณที่มีเชื้อเพลิงไวไฟ 6.2 การลุกไหม้ที่สาย หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าก่อนแล้วลุกลามไปไหม้เชื้อเพลิงที่อยู่ใกล้เคียง โดยเกิดจากการใช้กระแสไฟฟ้าเกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้สำหรับสายไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้า 6.3 การใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเกินกำลัง จนเกิดความร้อนแล้วเกิดลุกไหม้ขึ้น 6.4 อุปกรณ์ไฟฟ้ามีความร้อนสะสมจนถึงจุดติดไฟของสิ่งที่รองรับหรือสัมผัส 6.5 เกิดความร้อนที่จุดต่อสาย เนื่องจากจุดต่อสายหลวม

26 การจัดระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า
7. การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า 7.1 การเรียนรู้ทฤษฎีทางไฟฟ้า 7.2 การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า 7.3 การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า 7.4 การซ่อมบำรุง และตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ไฟฟ้า 7.5 การใช้ป้ายเตือน 7.6 การใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี 7.7 การปฏิบัติตามมาตรฐานทางไฟฟ้า 7.8 การป้องกันอันตรายจากเพลิงไหม้เนื่องจากไฟฟ้า

27 ไฟฟ้าดูด

28 อันตรายจากไฟฟ้าเกิดได้อย่างไร
  ไฟฟ้าก่อให้เกิดอันตรายได้ทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน อันตรายจากไฟฟ้าเกิดได้ 2 สาเหตุคือ ไฟฟ้าช็อต และไฟฟ้าดูด  ทั้งสองอย่างนี้มีสาเหตุของการเกิดที่ต่างกัน และอันตรายที่ได้รับก็ต่างกันด้วย        ไฟฟ้าช็อต (Short Circuit) หรือเรียกอีกอย่างว่าไฟฟ้าลัดวงจร คือ กระแสไฟฟ้าไหลครบวงจร โดยไม่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้า (Load)       ไฟฟ้าดูด (Electric Shock) คือการที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย การเรียกไฟฟ้าดูดจะเป็นการเรียกจากอาการเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย จะเกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อจนไม่สามารถสะบัดให้หลุดออกมาได้ จึงเรียกว่า"ไฟฟ้าดูด" ผลของไฟฟ้าดูดอาจทำให้เสียชีวิตหรือพิการเลยก็เป็นได้       เนื่องจากไฟฟ้าช็อตและไฟฟ้าดูด มีสาเหตุของการเกิดที่แตกต่างกัน วิธีการป้องกันจึงแตกต่างกันด้วย สาเหตุของไฟฟ้าลัดวงจรมีหลายสาเหตุ พอสรุปสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้คือ

29 สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร
- ฉนวนไฟฟ้าชำรุด หรือเสื่อมสภาพ - เกิดแรงดันเกินในสายไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจึงสามารถ ทะลุผ่านฉนวนได้(เนื่องจากฉนวนไฟฟ้ามีความสามารถในการทนแรงดันไฟฟ้า ได้ไม่เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าที่ใช้งาน) - ตัวนำไฟฟ้าในวงจรเดียวกัน แต่ต่างเฟสกัน(คนละเส้น)สัมผัสกัน กรณีนี้ มักเกิดในระบบไฟฟ้าแรงสูงที่สายไฟฟ้าหรือตัวนำใช้เป็นสายเปลือย - มีสิ่งก่อสร้าง ต้นไม้ หรืออื่นๆ ไปสัมผัสสายไฟฟ้า - สายไฟฟ้าขาดลงพื้น

30

31 ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟฟ้าลัดวงจรเกิดได้ทั้งในระบบไฟฟ้าแรงสูงและแรงต่ำ ลักษณะของการเกิดและ ความเสียหายก็จะแตกต่างกันไฟฟ้าลัดวงจรเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ 1. กระแสไฟฟ้าไหลระหว่างสายไฟสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากฉนวนของสายไฟฟ้าชำรุดหรือ จากการสัมผัสกันโดยบังเอิญ ผลจากไฟฟ้าลัดวงจรจะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลมากและทำให้มี ความร้อนสูง นอกจากนี้ยังมีประกายไฟอีกด้วย 2. กระแสไฟฟ้าไหลลงดิน หรือเรียกว่า"ไฟฟ้าลัดวงจรลงดิน" อาจเกิดจากการที่สายไฟฟ้า ขาด หรือหลุดที่จุดต่อแล้วไปสัมผัสกับดิน หรือสัมผัสกับส่วนที่เป็นโลหะ ซึ่งต่ออยู่กับดิน ฉนวนชำรุด หรือเกิดจากที่มีตัวนำเปลือย เช่นบัสบาร์วางอยู่บนฉนวนรอบรับบัสบาร์และฉนวน เกิดชำรุดหรือสกปรก ลักษณะเช่นนี้จะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลลงดิน

32 ความเสียหายจากไฟฟ้าลัดวงจร

33

34 การป้องกันไฟฟ้าดูดและไฟฟ้ารั่ว

35 ผลของไฟฟ้าดูดต่อร่างกายมนุษย์
อันตรายจากไฟฟ้าดูดมีผลต่อมนุษย์แตกต่างกันไปตามขนาดกระแสไฟฟ้า และสุขภาพร่างกายของบุคคลอย่างไรก็ตามได้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกายมนุษย์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าที่ได้แตกต่างกันออกไปตามมาตรฐานการทดสอบตัวอย่างผลของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างการมนุษย์เป็นค่าที่ไม่จำกัดเวลาที่กระแสไหลผ่านร่างกาย (ไม่ได้ใช้เวลาเป็นตัวแปรในการทดลอง) ขนาดและอาการมี ดังนี้

36 ขนาดและอาการ ขนาดกระแส อาการที่เกิดขึ้น 500mA ไม่รู้สึก 1A
รู้สึกกถึงกระแสไฟฟ้า 1-3A  รู้สึกถึงกระแสไฟฟ้า แต่ไม่เจ็บปวด 3-10A รู้สึกถึงความเจ็บปวด สูงกว่า 10A รู้สึกถึงการเกร็งของกล้ามเนื้อ สูงกว่า 30A รู้สึกถึงความขัดข้องของระบบหายใจ   สูงกว่า 75A  รู้สึกถึงความขัดข้องของหัวใจ สูงกว่า250A เกิดความขัดข้องของกล้ามเนื้อหัวใจ

37 ปัจจัยของความรุนแรงจากไฟฟ้าดูด
ปัจจัยของความรุนแรงจากไฟฟ้าดูด  เมื่อบุคคลถูกไฟฟ้าดูด กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย เป็นปัจจัยหนึ่งของ อันตรายเท่านั้น ความจริงแล้วตัวแปรที่สำคัญที่มีผลต่อความรุนแรงมี 3 อย่าง คือ 1. ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านถ้าปริมาณกระแสที่ไหลผ่านร่างกายสูง อันตรายก็จะสูงตามไปด้วย ไฟฟ้าแรงสูงจะทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายมี ปริมาณสูง อันตรายจึงสูงกว่าไฟฟ้าแรงต่ำ 2. ระยะเวลาที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายเป็น เวลานาน อันตรายก็จะสูงตามไปด้วย 3. เส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย เนื่องจากไฟฟ้ามีผลต่อการทำงาน ของร่างกายโดยตรง ดังนั้นอันตรายจากกระแสไฟฟ้าจะสูง ถ้าเส้นทางการไหลของ กระแสไฟฟ้าผ่านหัวใจ

38 การช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ในงานช่วยเหลือผู้ถูกไฟฟ้าดูดติดอยู่อย่าใช้อวัยวะร่างกายของตนเองแตะต้องร่างกายหรือเสื้อผ้าเปียกชื้นของผู้ถูกไฟฟ้าดูดเป็นอันขาด มิฉะนั้นท่านจะถูกไฟฟ้าดูดไปด้วยการช่วยเหลือให้พ้นจากกระแสไฟฟ้ามี ดังนี้ - ตัดกระแสไฟฟ้าโดยปลดสวิตช์ หรือ คัตเอาต์ หรือเต้าเสียบออก - หากตัดกระแสไฟฟ้าไม่ได้ ให้ใช้ไม้แห้ง หรือวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้าเขี่ยสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าออกให้พ้น - ให้ใช้ผ้าหรือเชือกแห้งคล้องแขน ขา หรือลำตัวผู้ถูกไฟดูดชักลากออกไปให้พ้นสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้า หากผู้ถูกไฟดูดสลบหมดสติให้ทำการปฐมพยาบาลให้พื้นก่อน

39 การช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้องต้น

40 การช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ขั้นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการผายปอดแบบปากต่อปาก ขั้นที่ 1 วางผู้เคราะห์ร้ายให้อยู่ในแนวราบ แต่ถ้าอยู่บริเวณพื้นที่ลาดชันวางส่วนที่เป็นกระเพาะอาหารให้อยู่ต่ำกว่าบริเวณหน้าอกเล็กน้อย

41 ขั้นที่ 2 ตรวจบริเวณช่องปากและลำคอว่าไม่มีสิ่งกีดขวางทางเดินหายใจ

42 ขั้นที่ 3 จับศีรษะของผู้เคราะห์ร้ายเอียงไปทางด้านหลังให้มากที่สุด โดย ให้คางเงยขึ้นมาและจัดลำคอให้อยู่ในแนวตรงเพื่อให้ อากาศไหลผ่าน ได้สะดวก

43 ขั้นที่ 4 ปิดจมูกของผู้เคราะห์ร้ายด้วยหัวแม่มือและนิ้วชี้อีกข้างหนึ่งส่วน มืออีกข้างช่วยเปิดปากให้กว้าง จากนั้นประกบปากให้แนบสนิทและเป่า ลมเข้าไป

44 ขั้นที่ 5 หลังจากเป่าลมหายใจเข้าไปแล้วสังเกตการเคลื่อนตัวบริเวณ หน้าอกและสุดลมหายใจเข้าไปลึก ๆ เพื่อทำการเป่าลมหายใจอีกครั้ง ขั้นที่ 6 ถ้าหน้าอกของผู้เคราะห์ร้ายไม่เคลื่อนไหวให้ตรวจดูลำคอและ ทำการผายปอดใหม่

45 ขั้นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการนวดหัวใจ
ขั้นที่ 1 วางผู้เคราะห์ร้ายให้อยู่ในแนวราบไปกับพื้นโต๊ะ โดยศีรษะแหงน ขึ้นลำคอยืดตรง ขั้นที่ 2 ตรวจบริเวณช่องปากและลำคอว่าไม่มีสิ่งกีดขวางทางเดินหายใจ ขั้นที่ 3 คุกเข่าลงบนบริเวณด้านข้างลำตัวของผู้เคราะห์ร้าย จากนั้นวางสัน มือทั้งสองให้ซ้อนทับกันบนหน้าอก เหยียดแขนตรงจากนั้นกดสันมือลง ไปโดยกดทรวงอกผู้ป่วยยุบลงประมาณ 1 นิ้ว เป็นจังหวะ ๆ ประมาณ 60 ครั้งต่อนาที

46

47 หลักปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย
1. เมื่อร่างกายเปียกชื้น เช่น มือ เท้าเปียก ไม่ควรแตะต้องอุปกรณ์ไฟฟ้า- อิเล็กทรอนิกส์ เพราะหากอุปกรณ์ดังกล่าวชำรุด จะถูกกระแสไฟฟ้าดูดและอาจเสียชีวิตได้

48 2 . ถ้าขาดความรู้ด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ควรซ่อมและแก้ไขอุปกรณ์ดังกล่าวด้วยตัวเอง เพราะอาจจะทำให้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด เกิดอันตรายได้

49 3.ก่อนที่จะทำการตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องตัดกระแสไฟฟ้าที่จ่ายไปยังอุปกรณ์นั้น ๆ เช่น ถอดเต้าเสียบ ปลดสวิตช์ เป็นต้น

50 4. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อนสูง เช่น เตารีด เตาไฟฟ้า ควรระมัดระวังอย่าใช้งานใกล้กับสารไวไฟ เมื่อเลิกใช้แล้วให้ถอดเต้าเสียบออก

51 5. ระวังอย่าให้เด็กเล่นเครื่องใช้ไฟฟ้า –อิเล็กทรอนิกส์ และเต้ารับควรใช้แบบที่มีฝาปิดเพื่อป้องกันเด็กนำวัสดุไปเสียบรูเต้ารับซึ่งจะเกิดอันตรายได้

52 6. หากพบผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด ให้ตัดแหล่งจ่ายไฟฟ้าก่อน เช่น ปลดคัทเอาท์ เต้าเสียบออกหรือใช้ผ้าแห้งคล้องผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดออกมา ก่อนทำการปฐมพยาบาล

53 7. ควรจัดให้มีการตรวจสอบกระแสไฟฟ้าภายในบ้านเพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งอาจเกิดอันตรายและอัคคีภัยขึ้นได้ 8. เต้ารับและเต้าเสียบของเครื่องใช้ไฟฟ้า หากพบว่าแตกชำรุดให้รีบเปลี่ยนใหม่โดยเร็ว และหากพบว่าสายไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าเปื่อยชำ รุดก็ให้เปลี่ยนใหม่ด้วย

54 9. เครื่องไฟฟ้า - และอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผิวนอกเป็นโลหะ เช่นตู้เย็น โทรทัศน์ พัดลม อาจมี กระแสไฟฟ้ารั่วไปทีผิวภายนอกดังกล่าวได้ ควรหมั่นตรวจสอบโดยใช้ไขควงเช็คไฟตรวจสอบหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่ว ควรให้ช่างซิอมแซมแก้ไขต่อไป

55 10. ฟิวส์ที่ใช้ตามแผงสวิตช์ต่าง ๆ ต้องติดตั้งขนาดให้ถูกต้องเหมาะสม เพื่อฟิวส์ขาดควรมีการตรวจหาสาเหตุ โดยเบื้องต้นก่อนที่จะเปลี่ยนฟิวส์ใหม่และต้องใส่ฟิวส์ขนาดเดิม ห้ามใช้สายไฟหรือลวดใส่แทนฟิวส์ เพราะเมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรสายไฟหือลวดจะไม่ขาดอาจเกิดอัคคีภัยได้

56 11. การถอดเต้าเสียบ ให้จับที่ตัวเต้าเสียบแล้วดึงออก อย่าดึงที่สายไฟเพราะอาจทำให้สายไฟขาดภายในและเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้ 12. อย่าใช้ผ้าหรือกระดานพลางสายไฟไว้ เพราะอาจเกิดอัคคีภัยได้ 13. อย่าใช้สายไฟฟ้าเสียบที่เต้ารับโดยตรง หรือให้เต้าเสียบที่แตกชำรุด ไปเสียบที่เต้ารับ เพราะอาจเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือพลั้งพลาดถูกกระแสไฟฟ้าดูดได้

57 14. การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า –อิเล็กทรอนิกส์ หลายเครื่องในเวลาเดียวกัน ต้องไม่เสียบเต้าเสียบที่เต้ารับอันเดียวกัน เพราะอาจจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลมากเกินไป ทำให้เกิดความร้อนสะสม เป็นเหตุให้ฉนวนสายไฟฟ้าเสียหายและเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรเกิดอัคคีภัยได้

58

59 15. อย่าเดิน หรือวางสายไฟฟ้าใกล้บริเวณที่มีความร้อนสูง และอย่าให้ของหนักกดทับสายไฟฟ้าเพราะอาจทำให้เกิดฉนวนไฟฟ้าลัดวงจรเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้

60 16. เมื่อพบเห็นสายไฟฟ้าขาดหรือสายไฟที่หย่อนยานตกลงมา อย่าเข้าไปจับต้อง และให้แจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่อยู่ใกล้ทราบ เพื่อจะได้ซ่อมแซมแก้ไขต่อไป 17. ไม่ควรเล่นว่าวในบริเวณที่มีสายไฟแรงสูง 18. ไม่ควรตั้งเสาโทรทัศน์หรือเสาอากาศวิทยุบริเวณที่มีสายไฟฟ้าแรงสูง

61 ไม่ควรซื้อตลับสายไฟที่ใช้เต้ารับ 3 รู แต่ใช้สายไฟ 2 สายและเต้าเสียบที่ไม่มีสายดินเพราะไม่มีประโยชน์ใด ๆ ด้านความปลอดภัยเนื่องจากไม่มีการต่อลงดิน

62 เมื่อเดินสายไฟขวางทางเดิน ต้องใช้ผาครอบป้องกันสายไฟโผล่ออกมา
การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร  ผิด  ถูกต้อง เมื่อเดินสายไฟขวางทางเดิน ต้องใช้ผาครอบป้องกันสายไฟโผล่ออกมา

63 การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร
ห้ามใช้เต้าเสียบและเต้ารับที่แตกเสียหาย ไหม้เกรียมหรือหลวม หลีกเลี่ยงใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าหลายเครื่องในเวลาเดียวกัน เพราะจะทำให้ปริมาณกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินพิกัด(โอเวอร์โหลด) ทำให้เกิดไฟไหม้ได้

64 การต่อเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้าที่ไม่ปลอดภัย
การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร การต่อเชื่อมวงจรไฟฟ้าที่ไม่ปลอดภัย การต่อเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้าที่ไม่ปลอดภัย

65 ขอบคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt ความปลอดภัยจากไฟฟ้าและเครื่องจักร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google