สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต Environment, Technology and Life 01999213 สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต Environment, Technology and Life ภาคปลาย ปีการศึกษา 2559
หมู่ 700 เรียนทุกวันจันทร์ พุธ เวลา 14.30-16.00 น. ห้อง ศร.2-303
หมู่ 701 เรียนทุกวันอังคาร พฤหัสบดี เวลา 13.00-14.30 น. ห้อง ศร.2-303
หมู่ 702 เรียนทุกวันศุกร์ เวลา 09.00-12.00 น. ห้อง ศร.2-303
หมู่ 890 เรียนทุกวันจันทร์ พุธ เวลา 18.30-20.00 น. ห้อง ศร.2-303
เค้าโครงรายวิชา 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 4. สิ่งแวดล้อมกับคุณภาพชีวิต 5. กรณีศึกษาในเหตุการณ์ที่สำคัญทางสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์ของรายวิชา เพื่อให้นิสิตได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ผลกระทบของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีต่อคุณภาพชีวิต การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน เกิดทักษะในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิต
การวัดและประเมินผล Midterm 40% (พฤ 23 มี.ค. 60 17.30-19.30 น.) Final 60% (จ 22 พ.ค. 60 17.30-19.30 น.) ตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ (เช่น 80% ได้ A) ประกาศเกณฑ์ให้ทราบหลังสอบ Midterm กำหนดวัน-เวลาและห้องสอบ โปรดติดตามจากประกาศของกองบริหารวิชาการและนิสิตอีกครั้ง
คณาจารย์ อ.พุทธพร ส่องศรี ผู้จัดการรายวิชา ห้องทำงาน SC2-313 ศวท. สาขาวิชาชีวเคมี puta_ku@hotmail.com Facebook : พุทธพร ส่องศรี ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม
อ.ชัยวัฒน์ วามวรรัตน์ ห้องทำงาน SC3-105 ศวท. สาขาวิชาชีวเคมี faascww@ku.ac.th วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อ.วีระพันธุ์ สรีดอกจันทร์ ภ.พืชไร่นา คณะเกษตร กพส. agrwps@ku.ac.th การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
อ.ประภา โซ๊ะสลาม สาขาวิชาชีววิทยา ศวท. faaspps@ku.ac.th สิ่งแวดล้อมกับคุณภาพชีวิต
อ.ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล ภ.โรคพืช คณะเกษตร กพส. crattan99@yahoo.com กรณีศึกษา
ผศ.ศิรประภา เปรมเจริญ สาขาวิชาสัตววิทยา ศวท. faassrp@ku.ac.th กรณีศึกษา: พื้นที่ชุ่มน้ำ
หนังสืออ่านประกอบ สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต
เว็บไซต์ เว็บไซต์รายวิชาอยู่ที่สาขาวิชาชีวเคมี ศวท. biochem.flas.kps.ku.ac.th/01999213 หรือเข้า Google ใช้คีย์เวิร์ด “ชีวเคมี กำแพงแสน”
เพจรายวิชา เพจเฟซบุ๊กรายวิชาอยู่ที่ facebook.com/envibiochemkps
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เวลาเรียน 5 ครั้ง (7.5 ชม.) สิ่งแวดล้อม นิยามและความหมาย สมบัติเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยากับการศึกษาสิ่งแวดล้อม มิติสิ่งแวดล้อม: ทรัพยากร เทคโนโลยี ของเสียและมลพิษ มนุษย์ สิ่งแวดล้อมกับกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ ขยะ มลพิษทางน้ำ
1.1 สิ่งแวดล้อม นิยามและความหมาย สิ่งแวดล้อม = สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ “ตัวเรา” environment ใน Dict. OXFORD
สิ่งแวดล้อม อาจมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดหรือห่างไกล อาจมีชนิด ขนาดและจำนวน มากน้อยต่างกัน อาจมีประโยชน์หรือมีโทษ หรือไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ก็ได้ อาจจับต้องได้เป็นรูปธรรม หรือจับต้องไม่ได้เป็นนามธรรม
สมบัติเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อม 1) สวล.มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวทั้งในระดับ individual, community และ system เช่น ต้นไม้ ป่าชายเลน ระบบป่าไม้ใน จ.เพชรบุรี 2) สวล.ไม่อยู่โดดเดี่ยว เช่น ปลาอยู่ในน้ำ 3) สวล.ต้องการ สวล.อื่นเสมอ เช่น ปลาต้องการน้ำ
4) สวล.มีความสัมพันธ์ต่อกันเป็นลูกโซ่ อาจไม่ซับซ้อน หรือซับซ้อนมาก ทำให้เกิดสมดุลในการอยู่ร่วมกัน 5) สวล.มีความทนทาน เปราะบางต่อการถูกกระทบได้แตกต่างกัน เช่น นกกระจอก กับ นกเงือก หรือ ปลา กับ หอยมือเสือ 6) สวล.เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา เช่น การโตของเมือง หลังไฟป่ามีต้นไม้ขึ้นทดแทน
วีดิทัศน์ 1 เทิดเกล้า จากคำสอนของพ่อ ตอน มหัศจรรย์เล็กน้อย แต่ยิ่งใหญ่ : ร้อยเรื่องรู้ ทุกคน “พูด” ได้ แต่จะมีสักกี่คนที่ “ทำ” ได้ youtu.be/8IxyLPdxmtA 45:01 นาที
1.2 นิเวศวิทยากับการศึกษาสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยาและระบบนิเวศ (ecology and ecosystem) นิเวศวิทยา = the relation of plants and living creatures to each other and to their environment. ระบบนิเวศ = all the plants and living creatures in a particular area considered together with their physical environment.
ประเภทและลักษณะของระบบนิเวศ biosphere = ชีวมณฑล = แหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต(ในโลกอันกว้างใหญ่) habitats = ถิ่นที่อยู่ แบ่งระบบนิเวศเป็น ระบบนิเวศบนบก และ ระบบนิเวศในน้ำ รอยต่อ เรียกว่า ecotone
ระบบนิเวศบนบก แยกระบบย่อยได้ โดยใช้พันธุ์พืชลักษณะเด่น (dominant species) พันธุ์พืชลักษณะเด่น หมายถึง กลุ่มพืชที่มีบทบาทสำคัญต่อหน้าที่และกิจกรรมที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศนั้น ตัวอย่างเช่น ระบบนิเวศป่าดงดิบ ป่าเต็งรัง ทุ่งหญ้า ทะเลทราย การเกษตร ฯลฯ
ระบบนิเวศในน้ำ จำแนกบนพื้นฐานความเค็ม จำแนกได้เป็น น้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม ตัวอย่างเช่น ระบบนิเวศบึงน้ำจืด พรุน้ำจืด ลำธาร ป่าชายเลน พรุน้ำกร่อย หญ้าทะเล ปะการัง ฯลฯ
โครงสร้างของระบบนิเวศ
วีดิทัศน์ 2 สารคดีกบนอกกะลา ตอน ลูกชิด ลูกเล็กในป่าลึก 37:22 นาที ลูกชิด เป็นพืชตระกูลใด พบในระบบนิเวศแบบใด มีกระบวนการผลิตอย่างไร มีแนวทางอนุรักษ์อย่างไร youtu.be/CtfBENmsIvk