ความขัดแย้งทางการเมืองไทย ผศ.ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต www.ballchanchai.com
ประวัติ ปัจจุบัน ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต อดีต ผู้อำนวยการหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง) วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้อำนวยการโครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการท้องถิ่น) วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
การศึกษา รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศิลปศาสตรบัณฑิต (การท่องเที่ยว) มหาวิทยาลัยรังสิต
ระดับความขัดแย้งทางการเมืองไทย ระดับประเทศ ประชาชนเกิดความแตกแยกทางความคิด เกิดการแบ่งข้างทางการเมือง เช่น เหลือง VS แดง / กปปส. VS นปช. เกิดเป็นคู่ขัดแย้งกับรัฐ มองรัฐเป็นปฏิปักษ์ แสดงออกด้วยการต่อต้านรัฐบาล เช่น พธม. VS รบ.ทักษิณ, รบ.สมัคร, สมชาย / นปช. VS รบ.อภิสิทธิ์ / กปปส VS รบ.ยิ่งลักษณ์ ระดับองค์การ หน่วยงานต่างๆ เกิดการรวมกลุ่มภายในแบ่งแยกเป็นหมู่เป็นพวกตามความเชื่อและอุดมการณ์ทาง การเมือง เช่น เหลือง / แดง / ขาว / หลากสี (สลิ่ม) ระดับปัจเจกบุคคล ความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล ทำให้แต่ไม่สามารถยอมรับ หรืออดทนต่อความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมืองได้ เช่น ความคิดเห็นบนสื่อสังคมออนไลน์ facebook / lines/ panthip
มูลเหตุความขัดแย้งทางการเมืองไทย ปัจจัยภายในประเทศ ผู้นำและชนชั้นนำทางการเมือง : พฤติกรรมการใช้อำนาจ และการชี้นำทางการเมือง หรือการกล่อมเกลา ทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ เช่น นโยบายทางการเมือง การพูดโน้มน้าว คู่ขัดแย้งทางการเมือง : การแสดงออกของฝ่ายสูญเสียผลประโยชน์ หรือสูญเสียอำนาจในการเข้าถึง ทรัพยากร เช่น การปลุกระดมหรือการรุกเร้าให้เกิดการรวมกลุ่มเข้าไปทวงคืนอำนาจทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมืองแบบอำนาจนิยมในสังคม : การยอมรับผู้มีอำนาจ ผู้อุปถัมภ์ ผู้ให้ความช่วยเหลือ โดยปราศจากการไตร่ตรองถึงความชอบธรรมของการใช้อำนาจ ความล้มเหลวของระบบตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ : การปล่อยปละละเลยต่อการมีส่วนร่วมทางการ เมือง เมินเฉย ละเลยถึงสิทธิและหน้าที่พลเมือง พอใจกับการเป็นผู้ตามหรือผู้รับมากกว่าเข้าไปเป็นตัวแสดง ในการผลักดันหรือติดตามกระบวนการนโยบายสาธารณะ ปัจจัยภายนอกประเทศ การแทรกแซงทางการเมืองของต่างชาติ : ทั้งในทางตรงผ่านนโยบายการต่างประเทศ และในทางอ้อม ผ่านองค์การระหว่างประเทศ เพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ
โครงสร้างความขัดแย้งทางการเมืองไทย มูลเหตุ ปัจจัยภายในประเทศ ผู้นำและชนชั้นนำทางการเมือง คู่ขัดแย้งทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมืองแบบอำนาจนิยมในสังคม ความล้มเหลวของระบบตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ปัจจัยภายนอกประเทศ การแทรกแซงทางการเมืองของต่างชาติ : ระดับความขัดแย้ง ระดับประเทศ ระดับองค์การ ระดับปัจเจกบุคคล ผลกระทบจากความขัดแย้ง สังคมขาดความสงบสุข เกิดความแตกแยก ง่ายต่อการถูกแทรกแซง และอาจสูญเสียอธิปไตยทางเศรษฐกิจและการเมือง
แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง การสร้างค่านิยมและอุดมการณ์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่ฝังรากลึกในจิตใจ มิใช่ทำเพียงบางด้าน ได้แก่ 1)ปัจเจกบุคคลนิยม (Individualism) 2)เสรีภาพ (Liberty or Freedom) 3)เหตุผล (Reason) 4)ความ เสมอภาค (Equality) 5)ขันติธรรม (Toleration) อดทนต่อความคิดเห็นของผู้อื่น 6)ฉันทานุมัติ (Consent) และ 7)รัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) การค้นหามูลเหตุและความจริงของความขัดแย้งที่แท้จริง การสร้างการยอมรับในความยุติธรรมและกระบวนการยุติธรรม
กรณีศึกษามาเลเซีย แม้เวลาจะผ่านมาเกือบ 20ปีแล้วก็ตาม แต่กลิ่นอายของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมดั้งเดิมของผู้คน หลากหลายที่อยู่ร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพในมาเลเซียยังคงเป็นเสน่ห์ชวนให้ศึกษาค้นคว้าในเชิงลึก โดยเฉพาะปัญหาของพหุสังคมอันเกิดจากการอยู่ร่วมกันของคนหลากหลายเชื้อชาติ ต่างภาษา ต่าง วัฒนธรรม โดยมีประเด็นการเมืองและผลประโยชน์แทรกซึมอยู่ในทุกวงการ ทุกสาขาวิชาชีพอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งปัญหาลักษณะนี้มิได้เกิดขึ้นเฉพาะในมาเลเซียแต่พบเห็นได้ทั่วโลก ตามการพลวัตของ วัฒนธรรมและการย้ายถิ่นฐานของแรงงาน ปัญหาดังกล่าวค่อย ๆ บ่มเพาะความขัดแย้งขึ้นมาจนกระทั่งเกิด จลาจลเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1969 รัฐบาลมาเลเซียในขณะนั้น แก้ปัญหานี้โดยใช้การศึกษาเป็นตัว ประสานเพื่อลดทอนความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น โดยมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การพัฒนาทุนมนุษย์ ทั้งนี้ภาษาคือกุญแจสำคัญ ที่รัฐบาลมาเลเซียใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อสร้างเอกภาพให้เกิดขึ้นในมาเลเซีย สอดคล้องกับวิสัยทัศน์มาเลเซีย 2020 ที่ว่า มาเลเซีย คือ หนึ่งเดียวกัน ข้อมูลจาก วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปีที่ : 8 ฉบับที่ : 3 เลขหน้า : 181-194 ปีพ.ศ. : 2559
กรณีศึกษากัมพูชา ประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของกัมพูชาถือว่าเป็นโศกนาฏกรรม จนนักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อว่า David Chandler ตั้งชื่อหนังสืออันโด่งดังของเขาว่า The Tragedy of Cambodian History สงครามอินโดจีนระหว่างกึ่งที่สองแห่ง ศตวรรษที่ 20 มีผลกระทบเป็นอย่างมากต่อกัมพูชา ต้องขอขอบคุณตำแหน่งในภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ของกัมพูชาที่ ทำให้กัมพูชาหลีกไม่พ้นจากการถูกดึงให้ไปพัวพันกับข้อขัดแย้งซึ่งอยู่ในสงครามของตัวแทนแห่งคู่แข่งที่มีอำนาจอัน ยิ่งใหญ่ระหว่างสงครามเย็น ระหว่างปี ค.ศ. 1955 และ 1993 กัมพูชาได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางการปกครอง มากมายซึ่งไม่มีการปกครองระบบไหนมีสันติสุขเลย ในปี ค.ศ. 1991 กลุ่มที่เป็นคู่แข่งในสงครามกลางเมืองกัมพูชา ได้ลงนามยอมรับสันติภาพในฝรั่งเศส ซึ่งได้ทำให้เกิดหนทางให้กับทูตสันติภาพของสหประชาชาติในปีต่อมาและการ เลือกตั้งแห่งพรรคสันนิบาตแห่งชาติโดยการสนับสนุนของสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1993 เมื่อสิ้นสุดการต่อสู้แบบ กองโจรของกลุ่มเขมรแดงคอมมิวนิสต์ในท้ายปี ค.ศ. 1990 กัมพูชาได้รับสันติสุขและความมั่นคงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี แม้ว่าปัจจุบันนี้จะไม่มีสงครามแล้ว กัมพูชายังไม่สามารถเพลิดเพลินกับสันติภาพได้อย่างเต็ม ความหมายเลย ถึงแม้ว่าความขัดแย้งทางการเมืองจะได้ถูกลดระดับลงไปในระหว่างสองทศวรรษที่ผ่านมาแล้วก็ ตาม แต่การจะมีสันติภาพที่มั่นคงทางการเมืองก็ยังคงเป็นคำถามต่อประชาธิปไตยอยู่ ข้อมูลบางส่วนจาก: วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ : 4 ฉบับที่ : 1 เลขหน้า : 316-323 ปีพ.ศ. : 2559
ขอบคุณครับ