การตัดเกรด อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์
ระบบของเกรด 2 เกรด 3 เกรด 5 เกรด 8 เกรด สัญลักษณ์ ระดับ ความหมาย 2 เกรด 3 เกรด 5 เกรด 8 เกรด สัญลักษณ์ ระดับ ความหมาย S (ผ่าน) G (ดี) A 4.0 ดีเยี่ยม (excellent) B B+ 3.5 ดีมาก (very good) 3.0 ดี (good) P (ผ่าน) C C+ 2.5 ค่อนข้างดี (fairly good) 2.0 พอใช้ (fair) D D+ 1.5 อ่อน (poor) 1.0 อ่อนมาก (very poor) U (ไม่ผ่าน) F (ตก) F 0.0 ตก (fail)
การตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม คือ การให้เกรดโดยพิจารณาจากความสามารถของกลุ่ม หรือพิจารณาจากค่ากลางของกลุ่ม ถ้าข้อสอบง่ายหรือกลุ่มมีความสามารถสูงแล้ว ค่ากลางก็สูง ช่วงคะแนนของแต่ละเกรดก็สูงตามไปด้วย เช่น ถ้าค่ากลางของกลุ่มคือ 60% เกรด A อาจตัดที่ 83% ขึ้นไป แต่ถ้าข้อสอบยาก หรือกลุ่มมีความสามารถต่ำแล้ว ค่ากลางก็ต่ำ ช่วงคะแนนของแต่ละเกรดก็ต่ำตามไปด้วย เช่น ถ้าค่ากลางของกลุ่มคือ 50% เกรด A อาจตัดที่ 75% หรือต่ำกว่านี้ก็ได้ ดังนั้น การตัดเกรดแบบอิงกลุ่มจึงยืดหยุ่นตามระดับความสามารถของกลุ่ม
การตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ คือ การให้เกรดโดยพิจารณาเทียบจากเกณฑ์ (criteria) เป็นหลัก ผู้สอบทำคะแนนถึงเกณฑ์ใดก็จะได้เกรดตามเกณฑ์นั้น เช่น กำหนดเกณฑ์ว่าเกรด A จะต้องได้คะแนน 85% ขึ้นไป ดังนั้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนน 85% หรือสูงกว่านั้นจึงจะได้เกรด A ถ้าได้คะแนน 84% ลงมาก็จะได้เกรดต่ำกว่า A เป็นต้น ไม่ว่าข้อสอบจะยากหรือง่ายเพียงใดก็ตาม การให้เกรดจะเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้นี้เสมอ การตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์จะไม่มีการยืดหยุ่นตามระดับความสามารถของกลุ่มแต่อย่างใด โดยปกติผู้สอนจะกำหนดวิธีการตัดเกรดมาล่วงหน้าตั้งแต่ก่อนการเรียนการสอนว่าวิชาที่สอนจะเลือกตัดเกรดแบบอิงกลุ่มหรืออิงเกณฑ์ และผู้สอนควรได้แจ้งให้ผู้เรียนทราบในชั่วโมงแรกที่สอน
ตัวอย่างการตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม การตัดเกรดแบบอิงกลุ่มในโปรแกรมนี้ใช้วิธีการของ Dewey B. Stuit (1954) เริ่มต้นด้วยการเลือกระดับความสามารถของกลุ่มก่อน เพื่อกำหนดคะแนนเริ่มต้นของเกรด A โดยใช ้มัธยฐาน (median) เป็นค่ากลางของกลุ่ม ซึ่งขั้นต่ำของเกรด A คือ median + z(sd) เมื่อ z คือ คะแนนมาตรฐาน, sd คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในกรณีที่ใช้ระบบ 5 เกรด ๆ ในระดับต่อไปก็ห่างจากเกรด A หนึ่งเท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดังนั้นเกรดขั้นต่ำของ B คือ A – sd เกรดขั้นต่ำของ C คือ B – sd และเกรดขั้นต่ำของ D คือ C – sd ในกรณีที่ใช้ระบบ 8 เกรด ๆ ในระดับต่อไปก็ห่างจากเกรด A ครึ่งเท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและห่างเช่นนี้เรื่อยไปจนถึงเกรด F
คะแนนมาตรฐาน (Z) คะแนนมาตรฐาน (standardized score: Z) คือ คะแนนที่คำนวณจากสูตร (X - m) / s เมื่อ X คือ คะแนนใด ๆ และ m, s คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร ตามลำดับ โดย Z มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1 ใช้ Z เป็นขีดจำกัดล่างของเกรด A โดย Z จะมีค่าสอดคล้องกับระดับความสามารถของกลุ่ม
ตาราง ค่าที่เกี่ยวข้องกับระดับความสามารถของกลุ่ม คะแนนจีพีเอ(GPA) ร้อยละของเกรด A B C D F ตามลำดับ ขีดจำกัดล่าง(Z)ของเกรด A 1. ดีเยี่ยม หรือดีเลิศ 2.80 24% 38% 29% 08% 01% 0.7 2. ดีมาก 2.60 18% 36% 32% 12% 02% 0.9 3. ดี 2.40 13% 33% 36% 15% 03% 1.1 4. ค่อนข้างดี 2.20 10% 29% 37% 20% 04% 1.3 5. พอใช้ (ปานกลาง) 2.00 07% 24% 38% 24% 07% 1.5 6. อ่อน 1.80 04% 20% 37% 29% 10% 1.7 7. อ่อนมาก 1.60 03% 15% 36% 32% 14% 1.9
การตัดเกรดแบบอิงกลุ่มชนิด 5 เกรดที่มี median = 60, sd = 15, z = 1.5 สูตรคำนวณ ผลการคำนวณ ช่วงคะแนน ร้อยละ A median + z(sd) 60 + 1.5(15) = 83 83 ขึ้นไป 7% B A – sd 83 – 15 = 68 68 ถึง 82 24% C B – sd 68 – 15 = 53 53 ถึง 67 38% D C – sd 53 – 15 = 38 38 ถึง 52 F ต่ำกว่า D ต่ำกว่า 38
ตัวอย่างการตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ เกณฑ์คงตัว: ขั้นต่ำของเกรด A เป็น 90 หรือ 80 และมีช่วงชั้น (หรือช่วงคะแนน) เท่ากับ 10 เกรด ขั้นต่ำของเกรด A คือ 90 ขั้นต่ำของเกรด A คือ 80 A 90 - 100 80 - 100 B 80 - 89 70 - 79 C 60 - 69 D 50 - 59 F 00 - 59 00 - 49
ตัวอย่างการตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ เกณฑ์ยืดหยุ่น ตัวอย่างการตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ เกณฑ์ยืดหยุ่น หมายถึง ไม่ได้กำหนดเกณฑ์มาล่วงหน้าว่าขั้นต่ำของเกรด A ควรเป็นเท่าใด แต่จะพิจารณาจากความสามารถของกลุ่ม หรือพิจารณาจากความยากง่ายของข้อสอบ โดยถ้าข้อสอบมีลักษณะง่ายแล้ว เกณฑ์ขั้นต่ำของเกรด A ก็สูง และถ้าข้อสอบมีลักษณะยากแล้ว เกณฑ์ขั้นต่ำของเกรด A ก็ต่ำ การตัดเกรดโดยวิธีนี้มักพิจารณาเกณฑ์ขั้นต่ำของเกรด D ประกอบ สิ่งที่ช่วยในการพิจารณาว่าเกรด A หรือ D ควรเป็นเท่าใดนั้นคือ ความถี่ หรือการเกาะกลุ่มของคะแนน และประสบการณ์ในการตัดเกรดของผู้ประเมิน การตัดเกรดโดยใช้เกณฑ์ยืดหยุ่นนี้ช่วงชั้นของคะแนนแต่ละชั้นอาจไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าพิสัยระหว่างเกรด A และ D เป็นเท่าใด