งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
ดร.รัถยานภิศ พละศึก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

2 การจัดการความเครียด โภชนาการ การจัดการสิ่งแวดล้อม การออกกำลังกาย

3 ภาวะสุขภาพ (Health) การส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion)
“ภาวะที่มนุษย์มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม” การส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion) “กระบวนการส่งเสริมให้ประชาชนเพิ่มสมรรถนะ ในการควบคุมและปรับปรุงสุขภาพของตนเอง ให้บรรลุซึ่งสุขภาพอันสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม”

4 วัตถุประสงค์ของการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
1. มีสุขภาพอนามัยที่พึงประสงค์ สามารถดูแลตนเองได้ 2. ส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม 3. ส่งเสริมผู้สูงอายุได้มีโอกาสแสดงศักยภาพ

5 การจัดการความเครียด ในผู้สูงอายุ

6

7

8 สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ ความไม่รู้สังขารทั้งหลายเป็นสมุทัยความรู้เท่าทันสังขารเป็นนิโรธ ปัญญาผู้รู้เท่าทันสังขาร และเป็นผู้ดับสังขารนี้ได้เป็นมรรค คุรุธรรมล้ำเลิศวิศาล อุบายธรรมของหลวงปู่จาม มหาปุญโญ

9 ข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับผู้สูงอายุไทย
ปี พ.ศ. จำนวนประชากร ทั่วประเทศ (ล้านคน) จำนวนประชากร ผู้สูงอายุ (ล้านคน) 2540 2541 2542 2543 2544 2545 2548 2553 60.6 61.2 61.8 62.4 62.9 63.1 65.1 67.2 5.092 (8.4%) 5.285 (8.6%) 5.499 (8.9%) 5.733 (9.2%) 5.845 (9.3%) 5.845(9.7%) 6.617(10.17%) 7.639(11.36%)

10 นักชราวิทยาแบ่งช่วงสูงอายุออกเป็น 4 ช่วง
1. ช่วงไม่ค่อยแก่ (the young – old) 2. ช่วงแก่ปานกลาง (the middle-aged old) 3. ช่วงแก่จริง (the old-old) 4. ช่วงแก่จริงๆ (the very old-old)

11 ช่วงไม่ค่อยแก่ (the young – old)
ช่วงนี้อายุประมาณ ปี เป็นช่วงที่คนต้อง ประสบกับความเปลี่ยนแปลงของชีวิตที่เป็นภาวะวิกฤต หลายด้าน เช่น การเกษียณอายุ การจากไปของมิตร สนิท คู่ครอง โดยทั่วๆ ไปช่วงนี้บุคคลยังเป็นคนที่ แข็งแรง แต่อาจต้องพึ่งพิงผู้อื่นบ้าง สำหรับบุคคลที่มี การศึกษา รู้จักปรับตัวยังเข้าร่วมกับกิจกรรมต่างๆ ทาง สังคมทั้งในครอบครัว และ นอกครอบครัว

12 2. ช่วงแก่ปานกลาง (the middle-aged old)
อายุประมาณตั้งแต่ ปี เป็นช่วงที่คนเริ่ม เจ็บป่วย เข้าร่วมกิจกรรมของสังคมน้อยลง คือ ไม่ค่อย ยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมของครอบครัวและสังคมมากนักอีก ต่อไป

13 3. ช่วงแก่จริง(the old-old)
อายุประมาณ 80 – 90 ปี ผู้มีอายุยืนถึงนี้ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมยากขึ้น เพราะสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับคนอายุถึงขั้นนี้ต้องมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ไม่วุ่นวาย ระยะนี้ต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากกว่าในวัยที่ผ่านมา เริ่มย้อนนึกถึงอดีตมากขึ้น

14 4. ช่วงแก่จริงๆ (the very old-old)
อายุประมาณ ปี ผู้มีอายุยืนถึงระดับนี้มีจำนวนค่อนข้างน้อย เป็นระยะที่มักมีปัญหาทางสุขภาพ ผู้สูงอายุในวัยนี้ควรทำกิจกรรมที่ไม่ต้องมีการแข่งขัน ควรทำกิจกรรมอะไรๆ ที่พออกพอใจและอยากทำในชีวิต

15 อวัยวะรับความรู้สึก 1. ตา-การมองเห็น : กล้ามเนื้อควบคุมรูปร่างแก้วตา อ่อนกำลังทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน 2. หู-การได้ยิน : ประสาทหูจะค่อยๆ เสื่อม ได้ยิน เสียงต่ำดีกว่า เสียงสูง 3. ลิ้น-การรับรส : ปลายประสาทที่ลิ้นลดจำนวนลงทำ ให้การรู้รส เค็ม หวาน เผ็ด น้อยลง 4. จมูก-การรับกลิ่น : การรับกลิ่นก็มีความไวน้อยลงด้วย

16 ระบบย่อยอาหาร การเคี้ยวอาหารหย่อนสมรรถภาพ เนื่องจากปัญหาฟันเสื่อม (ถ้าไม่ได้รับการรักษา) มีการเสื่อมของเยื่อบุระบบทางเดินอาหาร ทำให้การหลังน้ำย่อยลด การหย่อยอาหารและการดูดซึ่งน้อยลงไปด้วย

17 การขับถ่ายของเสีย มีการเสื่อมของระบบขับถ่ายปัสสาวะ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือดซึ่งมาสู่ไตน้อยลง ทำให้ไตทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ ขับถ่ายของเสียได้ไม่เต็มที่ อาจทำให้ท้องผูก

18 ปอด เนื้อปอดยืดหดตัวเองได้น้อย ทำให้การหายใจเสื่อมลง การถ่ายเทของอากาศในปอดน้อยลง ทำให้โรคติดเชื้อเกิดขึ้นในปอดง่าย เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคแพ้อากาศ โรคหวัด โรคระบบทางลมหายใจ

19 การทรงตัว ประสาทต่างๆ ที่เกี่ยวกับข้องกับการทรงตัวของร่างกายหย่อนประสิทธิภาพ ทำให้ผู้สูงอายุวิงเวียนได้ง่าย ประกอบกับกล้ามเนื้ออ่อนกำลังและข้อต่อเคลื่อนไหวไม่ได้เต็มที่ ทำให้เสียการทรงตัวเกิดอุบัติเหตุง่าย เช่น หกล้ม ตกบันได

20 ภูมิต้านทานโรค ยิ่งสูงอายุมากภูมิคุ้มกันเชื้อโรคก็ยิ่งหย่อน
ประสิทธิภาพ จึงทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสรับเชื้อ และเกิดโรคติดเชื้อได้ง่าย

21 การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
เป็นวัยระยะสุดท้ายคือ เป็นช่วงชีวิตขาลงที่เริ่มเห็นสิ่งต่างๆที่ทำมาตั้งแต่ วัยหนุ่มสาว - เห็นลูกหลานเติบโต มีงานทำ แต่งงาน - เป็นตัวอย่างให้คนรุ่นลูกหลาน - สุขภาพเสื่อมถอย กลัวความตาย - บางครั้งก็ผิดหวังเสียใจกับลูกหลาน

22 การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
จุดวิกฤติอยู่ระหว่าง - ความพึงพอใจในชีวิตที่ผ่านมา เมื่อมองไปที่ผลงาน สำเร็จที่เกิดขึ้นตามความมุ่งหมายที่วางไว้ อิ่มเอิบ เป็นสุข สงบ - ความรู้สึกว่าชีวิตนี้ไร้จุดหมาย ไม่มีความหวัง ไร้คุณค่า เศร้าหมอง

23 ปัญหาสุขภาพจิต สุขภาพจิตดีเป็นอย่างไร ?
1. มีญาติสนิทมิตรสหาย รักใคร่นับถือ 2. รู้จักปรับตัวเอง แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ 3. รู้จักพึงพอใจกับสภาวะของตนเอง

24 สาเหตุของการมีสุขภาพจิตเสื่อมในผู้สูงอายุ
ปัญหาเรื่องสุขภาพ หู ตา เสื่อมลง การตัดสินใจ ความหลงลืม ปัญหาเรื่องการเงินหรือสถานภาพทางเศรษฐกิจ ปัญหาทางสังคม

25 แนวทางแก้ไขและสร้างเสริมสุขภาพจิตให้ดี
ยอมรับความจริงของชีวิต ฝึกควบคุมอารมณ์ให้มีสติ มองคนในแง่ดี แก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ฝึกตัวเองเป็นคนอดทน มั่นคง ยุติธรรม ทำตนให้เกิดประโยชน์ หาความสงบสุขจากธรรมมะ

26 ปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
การนอน ซึมเศร้า สมองเสื่อม

27 นอนหลับ-นอนไม่หลับ ไม่หลับหรือหลับไม่พอทำให้การระบายของเสียออกจาก
การนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด คนที่นอน ไม่หลับหรือหลับไม่พอทำให้การระบายของเสียออกจาก ร่างกายไม่ดีนักปัญหาการหลับของผู้สูงอายุมี 3 ลักษณะ คือ

28 การหลับของผู้สูงอายุ
1. นอนไม่หลับ 2. หลับมากเกินไป 3. ความผิดปกติในการนอนแบบอื่น เช่น ฝันร้ายบ่อยๆ พูดขณะหลับ (ละเมอ) ลุกขึ้นเดินทั้งหลับ และอื่นๆ

29 สาเหตุของการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุไม่มีกิจกรรมที่ทำให้ต้องใช้กำลังกาย การงีบหลับในตอนกลางวันบ่อย ๆ มีปัญหาทางจิตใจ การวิตกกังวล การเคร่งเครียด มีปัญหาโรคทางกายเกี่ยวโยงมา เช่นโรคเรื้อรังทางระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคทางข้อ ต้องลุกขึ้นปัสสาวะบ่อย ๆ อาจเกิดจากการดื่มน้ำก่อนนอน โรคต่อมลูกหมากโต

30 แนวทางแก้ไข หัดและพยายามเข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาเดิม
จัดห้องนอนให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ไม่หนาวไม่ร้อนเกินไป ใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ และชำระร่างกายให้สะอาด พยายามอย่าให้มีเสียงรบกวนขณะนอนหลับ ความหิวทำให้นอนไม่หลับ อิ่มเกินไปก็ทำให้หลับยาก ธรรมดาคนเรามักนอนหลังอาหารเย็น 3 – 4 ชั่วโมงไปแล้ว ป้องกันอย่าให้มีปัญหาทางจิตใจหรือการงานที่ต้องครุ่นคิด ก่อนเข้านอนไม่ควรถกเถียงปัญหาหนัก ๆ

31 แนวทางแก้ไข อย่าทำห้องนอนให้เป็นห้องทำงาน หรือห้องนอนเป็นห้องดูทีวี
ถ้าเข้านอนแล้ว นอนไม่หลับ ให้ลุกขึ้นทำกิจกรรมเบา ๆที่ชอบ เช่นการอ่านหนังสืองานฝีมือ จนรู้สึกง่วงแล้วเข้านอนใหม่ งด ละเว้นการงีบนอนตอนกลางวันหือนั่งหลับกลางวัน พยายามละเว้นเครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นทุกชนิด เช่น น้ำชา กาแฟเครื่องดื่มชูกำลังทุกชนิด จงออกกำลังกายเพื่อสุขภาพทุกวันหรือวันเว้นวัน เช่นการเดิน ถีบจักรยาน การว่ายน้ำ การเล่นกีฬาที่เหมาะสมกับวัย

32 แนวทางแก้ไข การกินยานอนหลับหรือกดประสาทจะก่อให้เกิดการติดเป็นนิสัยซึงจะเป็นโทษมากกว่าคุณ ยกเว้นเป็นยาที่แพทย์สั่งตามโรคที่เป็นประจำตัว

33 ลักษณะทางอารมณ์และจิตใจที่น่ารู้บางประการ
อารมณ์เหงา อารมณ์เหงาและว้าเหว่เป็นอารมณ์ที่มักเกิดร่วมกัน ในหนังสือใช้ คำว่า “อารมณ์เหง่า” เพียงคำเดียว อารมณ์เหงาเกิดกับคนวันสูงอายุได้ง่ายคนสูงอายุเหงา มากกว่าคนวัยอื่น ทั้งนี้เพราะ มีเวลาว่างจากอาชีพและ ภารกิจต่างๆ มากกว่าคนวัยต่างๆ

34 สาเหตุของอารมณ์เหงา 1. สาเหตุของอารมณ์เหงาที่เกิดกับคนทุกวัยโดยทั่วไป
1. ขาดความรู้สึกเป็นกันเองหรือคุ้นเคยกับคนอื่น ๆ 2. รู้สึกว่าตนเองไม่มีกลุ่ม ไม่มีพวก 3. รู้สึกว่าตนเองขาดความผูกพันกับงาน

35 2. สาเหตุของอารมณ์เหงาที่เกิดกับคนสูงอายุ
1. สุขภาพโดยทั่วไปเริ่มไม่ดี 2. ขาดกิจกรรมที่ตนชอบ 3. สายตาไม่ดี 4. หูไม่ดี 5. ต้องขังตัวเองอยู่แต่ในบ้าน 6. สูญเสียเพื่อนและญาติสนิท คู่ครอง บุตรสัตว์เลี้ยง

36 ภาวะซึมเศร้า เป็นความเจ็บป่วยทางจิตใจชนิดหนึ่ง ซึ่งจะทำให้รู้สึกไม่มีความสุข ซึมเศร้า จิตใจหม่นหมอง เบื่อหน่าย แยกตัว ชอบอยู่เงียบ ๆ คนเดียว ท้อแท้ บางครั้งมีความรู้สึกสิ้นหวัง เบื่อชีวิตคิดอยากตายหรือฆ่าตัวตายมีรายงานการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุพบว่า ร้อยละ มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า

37 สาเหตุที่ทำให้เศร้า สาเหตุทางร่างกาย เช่น ภาวะสมองเสื่อม หลอดเลือดสมองอุดตัน โรคพาร์กินสัน โรคต่อมธัยรอยด์ มะเร็งของตับอ่อน เป็นต้น ยาบางชนิด เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูง ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ยาขับปัสสาวะ ยารักษามะเร็ง เป็นต้น สาเหตุทางจิตใจมีการขาดหรือลดน้อยลงของสารสื่อประสาทบางชนิดในสมอง ภาวะความสูญเสีย หรือภาวะที่ทำให้เกิดความเสียใจ ไม่สบายใจ

38 ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าเศร้า
เซ็ง เศร้าหรือเสียใจ หงุดหงิดโดยไม่มีเหตุผล รู้สึกเบื่อหน่ายสิ่งต่าง ๆ ที่เคยชอบหรือเคยทำ เบื่ออาหารหรือกินมากขึ้น น้ำหนักเพิ่มหรือลด นอนไม่หลับ หรือหลับมากเกินไป รู้สึกอ่อนเพลีย ล้า ไม่มีแรงโดยไม่มีสาเหตุ

39 ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าเศร้า
รู้สึกหมดหวัง มองตนเองไม่มีค่า หรือคอยตำหนิกล่าวโทษตัวเอง สมาธิไม่ดี ขี้ลืม หรือไม่มั่นใจ ไม่กล้าตัดสินใจ รู้สึกกระวนกระวายใจ นั่งไม่ติด ทุรนทุรายโดยไม่มีสาเหตุ เบื่อหน่ายหรือเบื่อชีวิต หรือคิดอยากตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย

40 เศร้าแล้วทำอย่างไร ควรรีบมาพบจิตแพทย์ เพราะโรคนี้รักษาให้ดีขึ้น หรือหายได้หากไม่รักษาระยะการป่วยก็ยาวนานขึ้น โอกาสที่ป่วยซ้ำหรือกำเริบอีกจะมีสูง

41 ข้อเสนอแนะ โรคนี้รักษาให้ดีขึ้น และหายได้
โปรดระลึกไว้เสมอว่าภาวะซึมเศร้าไม่ได้เกิดจากคิดขึ้นมาเอง ไม่ได้ เกิดจากความอ่อนแอ หรือเกิดจากการไม่อดทน ไม่ต่อสู้ หรือเกิดจากความเซ็ง ภาวะซึมเศร้า เป็นการป่วยจริง ๆ ทางจิตใจที่ต้องการการเยียวยา รักษาจากจิตแพทย์

42 สร้างกำลังใจให้ผู้สูงวัยอย่างไรดี
ลูกหลานควรปฏิบัติดังนี้ 1.ให้ความเคารพยกย่องโดย ขอคำปรึกษาหรือขอความคิดเห็น เชื่อฟังคำแนะนำที่ผู้สูงอายุให้ ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในเรื่องของการตัดสินใจ 2. ใส่ใจในกิจวัตรประจำวันเช่นอาหาร การพักผ่อน ให้ความช่วยเหลือในกิจกรรมที่ทำไม่ได้ พูดคุยถามไถ่ทุกข์สุขสม่ำเสมอ

43 เป็นเพื่อนคุย รับฟัง ให้เล่าเรื่องราวและประสบการณ์ในอดีต
เมื่อฟังแล้วถามอย่างสนใจ ส่งเสริมให้ร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยด้วยการพาไปพบแพทย์เมื่อเจ็บป่วยหรือพาไปตรวจร่างกายประจำปี กรณีที่ไม่อยู่ร่วมกัน ควรหมั่นมาเยี่ยมเยียนไปมาหาสู่ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสำคัญ

44 ผู้สูงอายเข้าใจตนเอง รับรู้ความเสื่อมต่างๆ และรู้จักปรับตัวต่อ
ความเข้าในเรื่องความเสื่อมตามวัยของผู้สูงอายุ ทำให้ ผู้สูงอายเข้าใจตนเอง รับรู้ความเสื่อมต่างๆ และรู้จักปรับตัวต่อ ความเสื่อมเหล่านั้น เช่น 1. ความเชื่องช้าของผู้สูงอายุเกิดจากการเสื่อมของ กล้ามเนื้อ ข้อต่อ กระดูก 2. การเลือกกิจกรรมให้เหมาะกับสมรรถภาพของร่างกาย 3. พยายามดำรงความเป็นหนุ่มสาว 4. ยอมรัยความเสื่อของส่วนต่างๆ ของร่างกาย และ ปรับปรุงให้ใช้ได้ดีตามที่เครื่องมือและความรู้ทางการแพทย์

45 ความมีอายุยืนยาว มีการศึกษากันมากว่า มีปัจจัยใดบ้างที่บุคคลจะ
มีการศึกษากันมากว่า มีปัจจัยใดบ้างที่บุคคลจะ มีชีวิตได้ยืนยาว พบว่ามีปัจจัยมากมาย ได้แก่ อาหาร ยา อากาศ ที่อยู่อาศัย การดำเนินชีวิตในวันที่ผ่านมา การรักษาจิตใจไม่ให้ขุ่นมัวมีกังกล ไม่ซึมเศร้า การรู้จักออกกำลังกาย การปรับตัวที่เหมาะสมกับ บุคลิกภาพและชีวิตของตนและคนอื่นๆ

46 ศึกษาปัจจัยที่ทำให้บุคคลอายุยืนยาว ซึ่งสรุปผลออกมาได้
สำนักงานสถิติแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ได้ทำการทำ ศึกษาปัจจัยที่ทำให้บุคคลอายุยืนยาว ซึ่งสรุปผลออกมาได้ หลายข้อที่สำคัญ เช่น 1. เป็นเพศหญิง 2. มีบรรพบุรุษอายุยืน 3. ไม่ทำอะไรรีบร้อน เร่งรัด 4. ยังกระฉับกระเฉงว่องไว คล่องแคล่ว แม้เข้าสู่วัยสูงอายุ

47 6. มีอาชีพที่มีเกียรติ หรือที่ตนรู้สึกภาคภูมิใจ
5. มีการศึกษาสูง 6. มีอาชีพที่มีเกียรติ หรือที่ตนรู้สึกภาคภูมิใจ 7. ยังทำงานหารายได้หรือมีรายได้ยามสูงอายุ 8. เป็นพระหรือชี 9. มีคู่สมรสอยู่ด้วย 10. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 11. ดื่มพอประมาณและงดสูบบุหรี่

48 13. กิจกรรมที่ทำให้ได้ใช้กำลังกายพอสมควร 14. ไม่อ้วนเกินไป
12. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาวะสงคราม อุบัติเหตุ และทุพภิกขภัย 13. กิจกรรมที่ทำให้ได้ใช้กำลังกายพอสมควร 14. ไม่อ้วนเกินไป 15. ญาติใกล้ชิดไม่เป็นโรคหัวใจ มะเร็ง หอบหืด ไทรอยด์ 16. อาศัยอยู่ในชนบท 17. ตรวจร่างกายสม่ำเสมอ

49 มีพุทธพจน์ที่กล่าวเกี่ยวกับเรื่องการรักษาชีวิตให้ยืนยาว คือ
1. สปฺปายการี : ทำใดๆ ให้เป็นที่สบายเกื้อกุลแก่สุขภาพ 2. สปฺปาเย มตฺตญฺญู : แม้ด้วยความสบายนั้นยังต้องรู้จัก ประมาณ ทำแต่พอดี 3. ปริณฺตโภชี : บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย 4. กาลจารี : ปฏิบัติตนให้เหมาะเรื่องเวลา คือ ทำพอดีแก่เวลา จัดสรรระบบเวลา ในการทำสิ่งต่างๆ อย่างพอเหมาะ 5. พรฺหมฺจารี : ประพฤติพรหมจรรย์ตามควร

50 แนวทางสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
1. ดูแลเอาใจใส่เสริมสร้างและส่งเสริมสุขภาพให้ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บทุกรูปแบบ 2. มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอกลางแจ้ง 3. มีความรู้เรื่องการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ครบห้าหมู่ ถูกสุขอนามัย สดๆใหม่ๆ กินแค่อิ่มไม่ฟุ่มเฟือย 4. เลิกสูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ละอบายมุขทั้งหลาย 5. อยู่ในที่อากาศปลอดโปร่งสดชื่นเย็นสบาย ไร้ควันพิษ

51 6. ฝึกคิดอย่างถูกต้อง มีเหตุผล เป็นสาระ หมายถึงการ คิดที่นำความสุขมาสู่ตนเองและผู้อื่น มองปัญหา ในทางที่ดี เห็นส่วนที่เป็นประโยชน์และนำมาใช้ 7. ยอมรับและปรับตัวตามความเสื่อมของร่างกาย 8. ปรับชีวิตการเป็นอยู่ให้พอเพียง หลังการเกษียณจากงาน รายได้ลดลง มีงานอดิเรกทำ 9. ปรับตัวเข้ากับการสูญเสียเพื่อนฝูงและคู่ครองได้ ยังคงมี ความสัมพันธ์ติดต่อกับเพื่อนฝูงรุ่นราวคราวเดียวกัน

52 10. ยังมีความสนใจห่วงใยบุคคลอื่น ไม่ใช่แค่ตัวเอง
11. ไม่คิดผูกพันหรือคาดหวังในสิ่งที่ไม่เป็นจริง เช่น หวัง ให้ลูกหลานประสบความสำเร็จเพื่อชดเชยความ บกพร่องของตนเอง 12. เรียนรู้คุณค่าของเวลาในปัจจุบัน 13. ภาคภูมิใจที่มีชีวิตยืนยาว 14. พึงพอใจในความสูงอายุของตนเองและอยากอยู่ต่อไป เรื่อยๆ

53 15. ทำตัวเป็นที่เคารพนับถือของสังคมรู้สึกมีคุณค่า มี ประโยชน์ มีความหมาย
16. มีมนุษยสัมพันธ์ดี ช่วยเหลือกันมีความรัก เมตตา กรุณาโดยบริสุทธิ์ใจ 17. มีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี 18. จิตใจแจ่มใสปราศจากความวิตกกังกล 19. ศรัทธาและปฏิบัติบูชาทางศาสนาอย่างสม่ำเสมอ 20. ฝึกสมาธิด้วยการหายใจยาวเข้าออก

54 ธรรมของจริง ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นธรรมของจริง
ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นธรรมของจริง เป็นธรรมดาอย่างนี้ ไม่มีอาการไป ไม่มีอาการมา ตั้งฟ้า ตั้งแผ่นดิน ตั้งสัตว์โลกมา ก็เป็นอย่างนี้ เพราะใครมาเกิดก็ถือเอา เกิด แก่ เจ็บ ตายอันนี้กันทุกคน ทุกตัวสัตว์ เพราะใครมารู้ว่าธรรมของจริงเหล่านี้ มีอยู่ในปัจจุบันทุกขณะ ก็พอจะรู้และเข้าใจได้


ดาวน์โหลด ppt การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google