อาจารย์เศวตาภรณ์ ตั้งวันเจริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ทฤษฎีการเรียนรู้ อาจารย์เศวตาภรณ์ ตั้งวันเจริญ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
ประวัติวิทยากร Certificate of Short Regular program Exchange student ,University of the Ryukyus, JAPAN, (พ.ศ.2550) ศศ.บ.(การจัดการการพัฒนาสังคม) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง วิชาโทสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น (พ.ศ.2550) ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน) วิชาเฉพาะการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น (พ.ศ.2554)
Learning Pyramid
การเรียนรู้ หมายถึงอะไร ราชบัณฑิตยสถาน (2555) ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า เป็นกระบวนการ หรือวิธีการที่บุคคลใช้ในการสร้างความหมายของข้อมูลและสิ่งเร้าต่างๆ ที่รับเข้ามาทางประสาทสัมผัสให้เกิดเป็นความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติ ความรู้สึก และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ซึ่งการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ ทุกเวลา ทุกสถานที่จากประสบการณ์ และการฝึกหัดอบรมบ่มนิสัยทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ
กิจกรรมที่ 1 Concept Attainment ให้แต่ละคนสรุปองค์ความรู้ จากประเด็กหัวข้อที่สุ่มได้รับ
ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 1.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม 2.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ 3.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม 4. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสาน ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนร่วมสมัย 1.ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล 2. ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นผลงาน 3. ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 4. ทฤษฎีพหุปัญญา 5. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
(1) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขของวัตสัน
สามารถสรุปเป็นกฎการเรียนรู้ตามทฤษฎีการวางเงื่อนไขของวัตสันได้ดังนี้ พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้เป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ 2) พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ใด ๆ สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติอย่างเหมาะสม
การนำแนวคิดของทฤษฎีการวางเงื่อนไขของวัตสันไปประยุกต์ใช้ ในการจัดการเรียนรู้สามารถทำได้ดังนี้ 1) ผู้สอนควรสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้เกิดกับผู้เรียนโดยใช้สิ่งเร้าที่เหมาะสมกับภูมิหลังและความต้องการของผู้เรียน ผู้สอนควรยกย่องชมเชย ให้รางวัล หรือให้เพื่อปรบมือให้ จะช่วยผู้เรียนมีความตั้งใจที่จะทำให้ดียิ่งขึ้น ผู้สอนควรยกย่องชมเชย ให้รางวัล หรือให้เพื่อปรบมือให้ จะช่วยผู้เรียนมีความตั้งใจที่จะทำให้ดียิ่งขึ้น ผู้สอนควรปรับวิธีสอนโดยทำให้เข้าใจง่ายขึ้น และให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด เปิดโอกาสให้มาซักถามได้อย่างเป็นกันเอง
(2) ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกเสนอโดย พาฟลอฟ
กฎการเรียนรู้จากทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของของพาฟลอฟ สามารถสรุปได้ดังนี้ 1) พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขหรือกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข 2) กฎแห่งการลดภาวะ ความเข้มข้นของการตอบสนองจะลดลงเรื่อย ๆ หากบุคคลได้รับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขอย่างห่างกันออกไปมากขึ้น 3) กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ลดลง สามารถทำให้เกิดขึ้นได้อีกโดยใช้ สิ่งเร้าตามธรรมชาติ 4) กฎแห่งการถ่ายโยงการเรียนรู้สู่สถานการณ์อื่น กระตุ้นอาจทำให้เกิดการตอบสนองที่เหมือนกันได้ 5) กฎแห่งการจำแนกความแตกต่าง การเรียนรู้จะเกิดจากการจำแนกความแตกต่างและเลือกตอบสนองเฉพาะกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
การให้รางวัล --- การให้สิทธิพิเศษ – จัดกิจกรรมที่ต่อเนื่องสัมพันธ์ง่ายต่อการเชื่อมโยง สิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไขอย่างเดียวนานเกินไปเพราะจะทำให้พฤติกรรมการตอบสนองลดลงเรื่อยๆ
กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) กฎแห่งการใช้และไม่ใช้ (Law of Use and Disuse) กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect)
สามารถการนำแนวคิดของทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ได้อย่างไร สร้างความพร้อม – ฝึกบ่อย—เปิดโอกาสเรียนรู้—สถานการณ์ใหม่--ได้รางวัล
สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน (4) ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบปฏิบัติการ (Operant Conditioning) Skinner สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน ( Antecedent) พฤติกรรม ( Behavior) ผลที่ได้รับ ( Consequence)
การนำแนวคิดของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบปฏิบัติการของสกินเนอร์ไปประยุกต์ใช้ใน การจัดการเรียนรู้สามารถทำได้ดังนี้ 1) ในระหว่างที่มีการเรียนการสอน ผู้สอนควรให้การเสริมแรงแก่ผู้เรียนทันทีจะช่วยเพิ่มอัตราการตอบสนองในการเรียนรู้ให้มากขึ้นเรื่อยๆ 2) การเปลี่ยนรูปแบบการเสริมแรงจะช่วยให้การตอบสนองของผู้เรียนคงทน 3) การลงโทษที่รุนแรงมีผลเสียมากกว่าผลดี ผู้สอนควรใช้วิธีการงดการเสริมแรงเมื่อผู้เรียนมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เมื่อไม่มีการตอบสนองผู้เรียนจะหยุดพฤติกรรมนั้นไปเอง 4) ถ้าต้องการปลูกคุณลักษณะอันพึงประสงค์แก่ผู้เรียน ผู้สอนควรให้การเสริมแรงแก่ผู้เรียนทันที เช่น การให้คะแนน การให้ การให้คำชมเชย การให้เกียรติ การเชิญให้แสดงตัวหน้าชั้น เป็นต้น
ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์ B = D x H เมื่อ B แทน พฤติกรรม (Behavior) D แทน แรงขับ (Drive) H แทน นิสัย (Habit)
1) ความสามารถ (Capacity) ในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกัน 2) การจูงใจ (Motivation) จะช่วยให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้โดยการสร้างแรงขับ (Drive) ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน 3) การเสริมแรง (Reinforcement) จะช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี 4) ความเข้าใจ (Understanding) การเรียนรู้โดยการสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงจะช่วยให้สามารถนำความรู้มาแก้ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น 5) การถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning) การเรียนรู้สิ่งใหม่ที่คล้ายคลึงกับสิ่งที่เคยการเรียนรู้ในอดีต จะทำให้สามารถนำประสบการณ์เดิมมาใช้ในการตอบสนองต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ 6) การลืม (Forgetting) เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ และไม่ได้ใช้สิ่งที่เรียนรู้นั้น จะทำให้เกิดการลืมได้
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม ของโคลเบิร์ก
ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนร่วมสมัย 1 ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนร่วมสมัย 1.ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล
ทฤษฎีพหุปัญญา
กิจกรรมที่ 2 Look in Yourself วิเคราะห์ความถนัดพหุปัญญาของตนเอง
Thank you for you pay attention