การจัดทำบัญชีตามโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกร ตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง ปี 2558/59 สำนักมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชี กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 14 มกราคม 2559
ภารกิจของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ โดยสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ ดำเนินการ ดังนี้ 1. ก่อนดำเนินโครงการ ให้คำแนะนำแก่ ศบกต. และกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร เกี่ยวกับการจัดทำบัญชี รายงานและเอกสารการรับ - จ่ายเงินโครงการ 2. ระหว่างดำเนินโครงการ กรณี ศบกต. และกลุ่ม/องค์กรเกษตรกรมีปัญหา การจัดทำบัญชี สำนักงานเกษตรจังหวัดประสานความร่วมมือกับ สตส. ในพื้นที่ เพื่อให้คำแนะนำและร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที 3. ดำเนินโครงการเสร็จสิ้น ตรวจสอบบัญชีและเอกสารการเบิกจ่ายเงินโครงการ ของ ศบกต. และกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร เมื่อสำนักงานเกษตรจังหวัดแจ้งต่อ สตส. ในพื้นที่ว่าพร้อมให้ตรวจสอบ โดย สตส. แจ้งผลการตรวจสอบให้ สำนักงานเกษตรจังหวัดทราบภายใน 15 วัน นับถัดจากวันที่ตรวจสอบบัญชีแล้วเสร็จ
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการ 1. ผ่านการเห็นชอบ/อนุมัติโครงการจากคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการ แก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้ง ปี 2558/59 (ผู้แทนกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) 2. ทุกโครงการเน้นการจ้างแรงงานในชุมชนเป็นหลัก โดยต้องมีสัดส่วน การจ้างแรงงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของวงเงินที่ได้รับการสนับสนุน ยกเว้นกรณีจำเป็นและมีเหตุผลที่สมควรต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของงบโครงการ
แนวทางการกำหนดมาตรฐานการจ้างงานและวัสดุอุปกรณ์ ให้คณะกรรมการระดับระดับจังหวัด กำหนดมาตรฐานการจ้างงานและค่าวัสดุอุปกรณ์ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการพิจารณาสนับสนุนให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันของจังหวัด ดังนี้ 1. การจ้างแรงงาน 1.1 ค่าแรงทั่วไป อ้างอิง ตามมาตรฐานแรงงานขั้นต่ำ 1.2 ค่าแรงงานฝีมือ อ้างอิง ตามมาตรฐานสำนักงานแรงงานจังหวัด 1.3 ค่าแรงจ้างเหมาตามชิ้นงาน ให้อ้างอิง จากการจ้างงานที่หน่วยงานเคยมีการจ้างงานไว้ (สำหรับการผลิตศัตรูธรรมชาติ ใช้เกณฑ์อ้างอิงของกรมส่งเสริมการเกษตร) 1.4 ค่าจ้างแรงงานอื่นๆ ที่ไม่มีการกำหนดไว้ ให้พิจารณาจากการจ้างงานในท้องถิ่น โดยให้คณะกรรมการฯ ระดับอำเภอพิจารณา
แนวทางการกำหนดมาตรฐานการจ้างงานและวัสดุอุปกรณ์ (ต่อ) 2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ อาคาร และสิ่งก่อสร้าง 2.1 วัสดุอุปกรณ์สิ่งก่อสร้าง ให้อ้างอิงจากสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดและราคาท้องถิ่น 2.2 ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่มีมาตรฐานราคา ให้อ้างอิงจากราคาท้องถิ่น 2.3 กรณีที่มูลค่าวัสดุอุปกรณ์ชิ้นที่มีมูลค่าเกิน 10,000.00 บาท หรือในวงเงิน ที่คณะกรรมการฯ ระดับจังหวัดกำหนดให้ ต้องมีใบสืบราคาสินค้าในท้องถิ่นแนบมาด้วย ทั้งนี้ การจัดซื้อจะต้องมีหลักฐานการจัดซื้อระบุร้านค้าที่จัดซื้อ
การดำเนินงานของ ศบกต. 1. ขอรับการสนับสนุนโครงการของชุมชน 1.1 จัดเวทีชุมชน 1.2 คัดเลือกโครงการของชุมชนเสนอต่อคณะกรรมการบริหารโครงการ ระดับอำเภอ 2. รับเงินอุดหนุนตามโครงการฯ จากสำนักงานเกษตรจังหวัด 2.1 เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อรองรับเงินอุดหนุน 2.2 จัดทำบันทึกข้อตกลงขอรับเงินอุดหนุนจากสำนักงานเกษตรจังหวัด 2.3 รับเงินอุดหนุน 3. จ่ายเงินอุดหนุนตามโครงการฯ 3.1 ให้กลุ่ม/องค์กรเกษตรกรทำสัญญายืมเงินจาก ศบกต. 3.2 จ่ายเงินอุดหนุนให้กลุ่ม/องค์กรเกษตรกร
การดำเนินงานของ ศบกต. (ต่อ) 4. คณะกรรมการ ศบกต. ติดตามและรายงานผลการดำเนินโครงการของกลุ่ม/องค์กรเกษตรกรเสนอต่อคณะกรรมการบริหารโครงการระดับอำเภอ 5. เสร็จสิ้นระยะเวลาดำเนินโครงการ 5.1 รับคืนเงินอุดหนุนเหลือจ่ายจากกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร 5.2 ส่งคืนเงินอุดหนุนเหลือจ่ายให้แก่สำนักงานเกษตรจังหวัด ภายใน 15 วัน หลังจากเสร็จสิ้นระยะเวลาดำเนินโครงการ สำหรับดอกเบี้ย เงินฝากธนาคารที่เกิดขึ้นให้เป็นรายได้ของ ศบกต. 5.3 รวบรวมเอกสารหลักฐานเบิกจ่ายเงินโครงการของกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร เพื่อการตรวจสอบ
การจัดทำบัญชีและรายงานของ ศบกต. กลั่นกรอง คัดเลือก โครงการของชุมชน รับเงินอุดหนุนจาก สนง.เกษตรจังหวัด โดยรับเป็นเช็ค แบบ พชภ. 03 เปิดบัญชีเงินฝาก จัดทำสรุปขอรับการสนับสนุน โครงการของชุมชน เสนอ คกก. กลั่นกรองระดับอำเภอ ประเภทออมทรัพย์ ชื่อบัญชีโครงการ แจ้ง สนง.เกษตรจังหวัด และกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร แบบ บช. 01 นำเช็คเข้าบัญชี แบบ พชภ. 09 แบบ พชภ. 08 จัดทำบัญชีรับ - จ่าย เงินอุดหนุนของ ศบกต. บันทึกการรับเงินอุดหนุน จาก สนง. เกษตรจังหวัด คณะกรรมการ ศบกต. ลงลายมือชื่อรับเงิน ในใบสำคัญรับเงิน จัดทำบันทึกข้อตกลง การขอรับเงินอุดหนุนจาก สนง.เกษตรจังหวัด
แบบ บช. 01 แบบ บช. 02 แบบ บช. 01 แบบ บช. 02 แบบ บช. 01 แบบ บช. 01 แบบ บช. 02 รายงานการเบิกจ่าย จ่ายเงินอุดหนุน เมื่อได้รับสัญญายืมเงิน จากกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร บันทึกบัญชีรับ - จ่าย เงินอุดหนุนของ ศบกต. การจ่ายเงินอุดหนุน ให้กลุ่ม/องค์กรเกษตรกร จัดทำทะเบียนคุมเงินอุดหนุน บันทึกการจ่ายเงินอุดหนุน เป็นรายกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร ส่งรายงานการเบิกจ่าย ที่รับจากกลุ่ม/องค์กรเกษตรกรให้ สนง. เกษตรอำเภอ ภายใน 3 วัน ติดตามการดำเนิน โครงการของกลุ่ม/ องค์กรเกษตรกร รายงานความก้าวหน้า บันทึกข้อมูลลงในระบบสารสนเทศกรมส่งเสริมการเกษตรทุกสัปดาห์ แบบ บช. 01 แบบ บช. 02 แบบ บช. 01 เสร็จสิ้นระยะเวลาดำเนินโครงการ บันทึกบัญชีรับ - จ่าย เงินอุดหนุนของ ศบกต. การรับคืนเงินอุดหนุน เหลือจ่ายจากกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร บันทึกทะเบียนคุม เงินอุดหนุน การรับคืนเงินอุดหนุน เหลือจ่ายเป็นรายกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร บันทึกบัญชีรับ - จ่าย เงินอุดหนุนของ ศบกต. การส่งคืนเงินอุดหนุนเหลือจ่าย ให้กับสนง.เกษตรจังหวัด บันทึกดอกเบี้ยรับ และจัดทำรายงานการรับ - จ่ายเงิน สำหรับบัญชีเงินฝาก ธ.ก.ส. (แบบ พชภ.10) ส่งให้กรมส่งเสริมการเกษตรทราบ ภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
14
ตัวอย่างการบันทึกบัญชี
ตัวอย่างการจัดทำบัญชีโครงการฯ ของ ศบกต. ศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (ศบกต.) ตัวอย่าง ตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี นำเสนอโครงการของชุมชนเพื่อขอรับเงินอุดหนุนตามโครงการ จำนวน 2 โครงการ รวมเป็นเงิน 1,990,000.00 บาท ประกอบด้วย กลุ่ม/องค์กรเกษตรกร หนึ่ง หมู่ 5 ตำบลหนองกะทุ่ม อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี โครงการปรับปรุงอาคารเก็บพืชผลการเกษตรและก่อสร้างลานตาก จำนวน 1,200,000.00 บาท กลุ่ม/องค์กรเกษตรกร สอง หมู่ 7 ตำบลหนองกะทุ่ม อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี โครงการขุดลอกคลองส่งน้ำ จำนวน 790,000.00 บาท เมื่อโครงการได้รับการอนุมัติ ศบกต. ตัวอย่าง ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงการขอรับเงินอุดหนุน จากสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรีแล้ว ในการดำเนินโครงการมีรายการเงินเกิดขึ้น ดังนี้ วันที่ 1 มีนาคม 2559 ได้รับเงินอุดหนุนตามโครงการฯ จากสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเช็คธนาคารกรุงไทย เลขที่ 1234567 จำนวน 1,990,000.00 บาท และนำเช็คเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร ของ ศบกต. โครงการ
วันที่ 3 มีนาคม 2559 จ่ายเงินอุดหนุนให้กลุ่ม/องค์กรเกษตรกร หนึ่ง จำนวน 1,200,000.00 บาท ตามสัญญายืมเงิน ลงวันที่ 2 มีนาคม 2559 โดยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของ ศบกต. โครงการ แล้วนำเงินฝากเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร วันที่ 4 มีนาคม 2559 จ่ายเงินอุดหนุนให้กลุ่ม/องค์กรเกษตรกร สอง จำนวน 790,000.00 บาท ตามสัญญายืมเงิน ลงวันที่ 3 มีนาคม 2558 โดยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของ ศบกต. โครงการ แล้วนำเงินฝากเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร วันที่ 22 เมษายน 2559 รับคืนเงินอุดหนุนเหลือจ่ายจากกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร หนึ่ง จำนวน 18,000.00 บาท โดยกลุ่ม/องค์กรเกษตรกรนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของ ศบกต. โครงการ วันที่ 25 เมษายน 2559 รับคืนเงินอุดหนุนเหลือจ่ายจากกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร สอง จำนวน 10,000.00 บาท โดยกลุ่ม/องค์กรเกษตรกรนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของ ศบกต. โครงการ วันที่ 29 เมษายน 2559 ส่งคืนเงินอุดหนุนโครงการเหลือจ่ายที่ได้รับคืนจากกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร หนึ่ง จำนวน 18,000.00 บาท กลุ่ม/องค์กรเกษตรกร สอง จำนวน 10,000.00 บาท รวมจำนวน 28,000.00 บาท โดยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของ ศบกต. โครงการ แล้วนำเงินฝากเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของสำนักงานเกษตรจังหวัดโครงการ
19
20
การดำเนินงานของกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร 1. ขอรับการสนับสนุนโครงการของชุมชน 1.1 จัดทำโครงการของชุมชน 1.2 เสนอโครงการและเอกสารประกอบต่อคณะกรรมการ ศบกต. 2. รับเงินอุดหนุนตามโครงการฯ จาก ศบกต. 2.1 เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อรองรับเงินอุดหนุน 2.2 จัดทำสัญญายืมเงินจาก ศบกต. 2.3 รับเงินอุดหนุนจาก ศบกต. 3. จ่ายเงินอุดหนุนตามโครงการฯ 3.1 จ่ายค่าวัสดุอุปกรณ์ 3.2 จ่ายค่าแรงงาน
การดำเนินงานของกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร (ต่อ) 4. คณะกรรมการกลุ่ม/องค์กรเกษตรกรกำกับ ติดตาม ดูแลและควบคุม การใช้จ่ายเงินโครงการให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงิน 5. เสร็จสิ้นระยะเวลาดำเนินโครงการ 5.1 ส่งคืนเงินอุดหนุนเหลือจ่ายให้แก่ ศบกต. ภายใน 10 วัน หลังจากเสร็จสิ้นระยะเวลาดำเนินโครงการ สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารที่เกิดขึ้น ให้เป็นรายได้ของกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร 5.2 ส่งเอกสารหลักฐานเบิกจ่ายเงินโครงการของกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร ทั้งหมดให้แก่ ศบกต. ภายใน 10 วัน หลังจากเสร็จสิ้นระยะเวลาดำเนินโครงการ
การจัดทำบัญชีและรายงานของกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร จัดทำ โครงการของชุมชน แบบ พชภ. 01 แบบ พชภ. 02 จัดทำโครงการขอรับการสนับสนุน โครงการของชุมชน เสนอ คกก. ระดับอำเภอ จัดทำใบปะหน้าขอรับการสนับสนุน พร้อมแนบหลักฐานประกอบ เสนอคณะกรรมการ ศบกต. แบบ พชภ. 11 แบบ บช. 03 เปิดบัญชีเงินฝาก รับเงินอุดหนุน จาก ศบกต. ประเภทออมทรัพย์ ชื่อบัญชีโครงการ แจ้ง ศบกต. ทราบ จัดทำสัญญายืมเงินโครงการจาก ศบกต. จัดทำบัญชีรับ - จ่าย เงินอุดหนุนของกลุ่ม/ องค์กรเกษตกร บันทึกการรับเงินอุดหนุนจาก ศบกต.
เสร็จสิ้นระยะเวลาดำเนินโครงการ ถอนเงินฝาก แบบ บช. 04 แบบ บช. 03 จ่ายเงินอุดหนุน ค่าวัสดุอุปกรณ์ นำเงินสดจ่าย ค่าวัสดุอุปกรณ์ จัดทำใบเบิกเงินให้ร้านค้า ลงลายมือชื่อรับเงิน (ร้านค้าไม่มีใบเสร็จรับเงิน) บันทึกบัญชีรับ - จ่าย เงินอุดหนุนของกลุ่ม/ องค์กรฯ การถอน เงินฝาก + จ่ายค่าวัสดุฯ จ่ายเงินอุดหนุน ค่าแรงงาน แบบ บช. 05 แบบ บช. 06 แบบ บช. 03 สมุดบันทึกค่าแรงงาน บันทึกเป็นรายคน จัดทำใบสรุปการจ่าย ค่าแรงงานประจำงวด บันทึกบัญชีรับ - จ่าย เงินอุดหนุนของกลุ่ม/องค์กรฯ การจ่ายค่าแรงงาน รายงานการเบิกจ่าย ส่งให้ ศบกต. เมื่อมีรายการเคลื่อนไหว คณะกรรมการกลุ่ม/องค์กรกำกับ ติดตามการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามแผน ติดตาม การดำเนินโครงการ แบบ บช. 03 ส่งเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายเงิน โครงการทั้งหมดของกลุ่ม/องค์กร เกษตรกรให้ ศบกต. ภายใน 10 วัน หลังจากเสร็จสิ้นระยะเวลาดำเนินโครงการ เสร็จสิ้นระยะเวลาดำเนินโครงการ บันทึกบัญชีรับ - จ่ายเงินอุดหนุนของ กลุ่ม/องค์กรฯ การส่งคืนเงินอุดหนุน เหลือจ่ายให้ ศบกต. บันทึกดอกเบี้ยรับ เงินฝากธนาคาร (ถ้ามี)
แบบการเขียนเสนอโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชน ต่อนโยบายที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ - สรุปข้อเสนอแนวทางการพัฒนาหรือการแก้ไขปัญหา - ต้องมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ๓. วัตถุประสงค์ - ระบุสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินงานโครงการ - มีความสอดคล้องกับหลักการและเหตุผล กิจกรรมโครงการที่ดำเนินการ ผลที่คาดว่าจะได้รับ - สามารถวัด/ประเมินผลได้ ๔. เป้าหมาย บุคคล สถานที่ หรือชนิดพืช/สินค้าที่ได้รับประโยชน์ ๕. ระยะเวลาการดำเนินงานเพื่อบรรเทาภัยแล้ง ปี 2558/59 ๑. ชื่อโครงการ ประเภทของโครงการ การจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรของชุมชน การผลิตทางการเกษตรและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การปรับปรุงส่งเสริมศักยภาพการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การจัดการเพื่อลดความสูญเสียทางผลผลิตเกษตร ด้านเศรษฐกิจพอเพียง สร้างแหล่งอาหารในชุมชน และฟาร์มชุมชน ด้านการพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ ด้านอาชีพนอกภาคการเกษตร และงานหัตถกรรม ด้านการจ้างงาน ลักษณะโครงการ มีการการก่อสร้างที่ต้องมีการรับรองแบบแปลน มีการก่อสร้าง ที่ไม่ต้องมีการรับรองแบบแปลน ไม่มีการก่อสร้าง ๒. หลักการและเหตุผล - เขียนพรรณนา บรรยายถึง - สถานการณ์ปัญหาและสาเหตุ ผลกระทบที่เกิดขึ้น - ความสำคัญของการดำเนินงาน ระยะเวลาเริ่มต้น - สิ้นสุดโครงการ ๖. กิจกรรมและขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน - ระบุกิจกรรมโดยเรียงลำดับตามระยะเวลาดำเนินงาน ก่อน - หลัง และแสดงปริมาณในแต่ละกิจกรรม ในลักษณะของตาราง - แผนการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์หลังจากสิ้นสุดโครงการ พชภ. 01 25
พชภ.11
ตัวอย่างการบันทึกบัญชี
ตัวอย่างการจัดทำบัญชีโครงการฯ ของกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร กลุ่ม/องค์กรเกษตรกร หนึ่ง หมู่ 5 ตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับเงินอุดหนุนตามโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง ปี 2558/59 เสนอโครงการปรับปรุงอาคารเก็บพืชผลการเกษตรและก่อสร้างลานตาก จำนวน 1,200,000.00 บาท ประกอบด้วย ค่าวัสดุอุปกรณ์ปรับปรุงอาคารเก็บพืชผลการเกษตร จำนวน 500,000.00 บาท ค่าวัสดุก่อสร้างลานตาก ขนาด 800 ตารางเมตร จำนวน 330,000.00 บาท ค่าจ้างแรงงานประเภททั่วไป จำนวน 370,000.00 บาท เมื่อโครงการได้รับการอนุมัติ กลุ่ม/องค์กรเกษตรกร หนึ่ง ได้จัดทำสัญญายืมเงินจาก ศบกต. ตัวอย่าง เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2559 ในการดำเนินโครงการมีรายการเงินเกิดขึ้น ดังนี้ วันที่ 3 มีนาคม 2559 ได้รับเงินอุดหนุนตามโครงการฯ จำนวน 1,200,000.00 บาท จาก ศบกต. ตัวอย่าง โดย ศบกต. นำเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกลุ่ม/องค์กรเกษตรกรโครงการ วันที่ 10 มีนาคม 2559 ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของกลุ่ม/องค์กรเกษตรกรโครงการ จำนวน 495,000.00 บาท แล้วนำเงินสดไปจ่ายค่าวัสดุอุปกรณ์ปรับปรุงอาคารเก็บพืชผลการเกษตร ให้แก่ร้านขายดี
วันที่ 27 มีนาคม 2559 ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของกลุ่ม/องค์กรเกษตรกรโครงการจำนวน 325,000.00 บาท แล้วนำเงินสดไปจ่ายค่าวัสดุก่อสร้างลานตากให้แก่ร้านยอดเยี่ยม วันที่ 4 เมษายน 2559 โอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของกลุ่ม/องค์กรเกษตรกรโครงการ เข้าบัญชีของเกษตรกร/ผู้ใช้แรงงาน ประจำงวดวันที่ 16 มีนาคม 2559 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2559 รวม 16 วัน จำนวนเงิน 183,000.00 บาท วันที่ 18 เมษายน 2559 โอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของกลุ่ม/องค์กรเกษตรกรโครงการเข้าบัญชีของเกษตรกร/ผู้ใช้แรงงาน ประจำงวดวันที่ 1 เมษายน 2559 ถึงวันที่ 15 เมษายน 2559 รวม 15 วัน จำนวนเงิน 179,000.00 บาท วันที่ 22 เมษายน 2559 ส่งคืนเงินอุดหนุนโครงการเหลือจ่ายให้แก่ ศบกต. ตัวอย่าง จำนวน 18,000.00 บาท โดยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของกลุ่ม/องค์กรเกษตรกรโครงการ แล้วนำเงินฝากเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของ ศบกต. โครงการ
38
40