งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คำแนะนำกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เรื่อง วิธีการปฏิบัติทางบัญชี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คำแนะนำกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เรื่อง วิธีการปฏิบัติทางบัญชี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คำแนะนำกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เรื่อง วิธีการปฏิบัติทางบัญชี
โครงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย กลุ่มมาตรฐานการบัญชี สำนักมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชี กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ มิถุนายน 2561

2 ภารกิจของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
1. ให้ความรู้ คำแนะนำ ข้อเสนอแนะในการจัดทำบัญชีการใช้จ่ายงบประมาณตามกิจกรรมโครงการ อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ 2. กำกับ ติดตาม ตรวจสอบการจัดทำบัญชีการใช้จ่ายงบประมาณโครงการให้เป็นไปด้วยความถูกต้อง โปร่งใสและตรวจสอบได้ 3. ให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ แนวทางการแก้ไขปัญหา 4. รายงานความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไข ผลการดำเนินงานและการเบิกจ่ายทุกสัปดาห์ ให้สำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่ หน่วยงานส่วนกลางของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์และกรมส่งเสริมการเกษตรทราบ 5. การปฏิบัติหน้าที่ 5.1 ทำแผนการลงพื้นที่ติดตาม ตรวจสอบรายกลุ่มสมาชิกในชุมชนที่ได้รับการสนับสนุน โครงการทุกกลุ่มในพื้นที่ ส่งให้สำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่ 5.2 คณะกรรมการหรือคณะทำงานหรือคณะเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อย่างน้อย 2 ครั้งต่อชุมชน ทุกชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนโครงการ

3 การดำเนินงานตามโครงการ
1. กิจกรรมการฝึกอบรมเกษตรกร จัดทำแผนและหลักสูตรการพัฒนาการเกษตร โดยดำเนินการฝึกอบรมให้เกษตรกรในชุมชน 9101 จำนวนเกษตรกรรวม 1,820,200 ราย เฉลี่ยชุมชนละ 200 ราย จำนวน 3 วัน/หลักสูตร/รุ่น ประกอบด้วย 3 กลุ่มวิชา จำนวน 18 ชั่วโมง ดังนี้ กลุ่มวิชาที่ 1 สร้างการรับรู้ ความเข้าใจร่วมกันในการขับเคลื่อนประเทศ กลุ่มวิชาที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร กลุ่มวิชาที่ การบริหารจัดการองค์กรเกษตรกร 2 กิจกรรมการพัฒนากลุ่มเกษตรกร เกษตรกรรวมกันเป็นกลุ่มเพื่อเสนอโครงการ ซึ่งกลุ่มย่อยต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 2.1) เป็นกลุ่ม/องค์กรเกษตรกรในชุมชนที่ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และไม่เป็นนิติบุคคล ในกรณีที่เป็นกลุ่มธรรมชาติหรือกลุ่มตั้งขึ้นใหม่ต้องได้รับรองจากคณะกรรมการพัฒนาการเกษตรระดับชุมชน 2.2) ประกอบด้วยเกษตรกรสมาชิกกลุ่มละไม่น้อยกว่า 25 ราย และมีคณะกรรมการ ไม่น้อยกว่า 10 ราย ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน เหรัญญิก กรรมการและเลขานุการ โดยสามารถแต่งตั้งคณะทำงานและมอบหมายหน้าที่ให้สมาชิกกลุ่มย่อยในชุมชนดำเนินการต่างๆ ตามความจำเป็น 2.3) ต้องมีเกษตรกรสมาชิกที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรการพัฒนาการเกษตร จำนวนไม่น้อยกว่า 10 ราย 2.4) เกษตรกรสมาชิกต้องเป็นเกษตรกร และ/หรือสมาชิกในครัวเรือนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร กับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2.5) มีความพร้อมในการพัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ

4 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการ (กิจกรรมพัฒนากลุ่มเกษตรกร)
1) กลุ่มย่อยในชุมชน ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามโครงการกำหนด เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 2) การสนับสนุนงบประมาณ ภาครัฐจะสนับสนุนงบประมาณ ไม่เกิน 300,000 บาท ต่อชุมชน (ไม่จำกัดจำนวนโครงการ) 1 กลุ่มย่อยในชุมชนเสนอได้ 1 โครงการ 3) งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ต้องใช้สำหรับการจัดซื้อ วัสดุอุปกรณ์ เท่านั้น ทั้งนี้ ให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการใช้แรงงานในการดำเนินงานตามโครงการ หรือเป็นไปตามมติของกลุ่มย่อยในชุมชนในการบริหารจัดการเพื่อการมีส่วนร่วมให้โครงการประสบความสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

5 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์
ค่าวัสดุอุปกรณ์ คณะกรรมการกลุ่มย่อยในชุมชนดำเนินการแต่งแต่งคณะทำงานจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และคณะทำงานตรวจรับวัสดุอุปกรณ์ เพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์มีคุณภาพและเหมาะสมตามราคา ดังนี้ 1. กลุ่มย่อยในชุมชนต้องมีมติแต่งตั้งคณะทำงานซื้อวัสดุอุปกรณ์อย่างน้อย 2 คน และคณะทำงานตรวจรับวัสดุอุปกรณ์ อย่างน้อย 2 คน ทั้งนี้ คณะทำงานซื้อวัสดุอุปกรณ์และคณะทำงานตรวจรับวัสดุอุปกรณ์จะต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกัน 2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่มีมาตรฐานราคาให้อ้างอิงราคาท้องถิ่น และควรพิจารณาจากแหล่งในชุมชนเป็นลำดับแรก 3. กรณีที่มูลค่าวัสดุอุปกรณ์ ชิ้นที่มีมูลค่าเกิน 10,000 บาท หรือในวงเงินที่คณะกรรมการฯ ระดับอำเภอกำหนด ต้องมีใบสืบราคาสินค้าในท้องถิ่นแนบมาด้วย และต้องมีหลักฐานการจัดซื้อระบุสินค้าที่จัดซื้อ 4. กรณีกลุ่มย่อยในชุมชนซื้อเครื่องจักร/อุปกรณ์ เครื่องมือ ให้คณะกรรมการพัฒนาด้านการเกษตร ระดับอำเภอ ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมกับกิจกรรมและความจำเป็นในการจัดซื้อ 5. ค่าวัสดุอุปกรณ์สามารถถัวจ่ายได้ทุกรายการในกิจกรรมและโครงการเดียวกัน 6. ไม่จัดซื้อปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช กรณีต้องการจัดซื้อสารเคมี เช่น ยูเรีย เพื่อเป็น ส่วนหนึ่งของกระบวนการทำปุ๋ยอินทรีย์ ก็สามารถจัดซื้อได้

6 หลักเกณฑ์การขอสถานที่ดำเนินการ
(1) กรณีเป็นสถานที่สาธารณะต้องมีหนังสืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากหน่วยงาน ที่ดูแล ทั้งนี้ กรณีที่ต้องขอใช้พื้นที่สาธารณะที่อยู่ในความดูแลของอำเภอ ให้ดำเนินโครงการในลักษณะเป็นการขอใช้พื้นที่เป็นการชั่วคราว (โดยไม่มีสิ่งปลูกสร้างหรือไม้ยืนต้นเพราะจะต้องไปดำเนินการตามกฎหมายที่ดิน) เพื่อประโยชน์ของประชาชน ที่อยู่ในพื้นที่ โดยจะต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการหมู่บ้านก่อนที่จะเสนอให้นายอำเภอพิจารณาอนุญาต (2) กรณีเป็นสถานที่ส่วนบุคคล ต้องมีเอกสารยินยอมให้ใช้สถานที่ โดยระบุเป็น ลายลักษณ์อักษรและมีระยะเวลาที่สอดคล้องกับกิจกรรม/โครงการนั้น

7 การหักภาษี ณ ที่จ่าย ค่าวัสดุอุปกรณ์
- กรณีจ่ายเงินให้กับบุคคลธรรมดา ไม่รวมค่าซื้อพืชผลการเกษตรให้กับ ผู้รับรายหนึ่ง ๆ มีจำนวนรวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป ให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 นำส่งด้วยแบบ ภ.ง.ด. 3 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนที่จ่ายเงิน - กรณีจ่ายเงินให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 นำส่งด้วยแบบ ภ.ง.ด. 53 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนที่จ่ายเงิน

8 การดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ระดับชุมชน
1. ขอรับการสนับสนุนโครงการของชุมชน 1.1 จัดเวทีชุมชนเพื่อคัดเลือกและรับรองคณะกรรมการฯ ระดับชุมชน 1.2 เห็นชอบโครงการ/กิจกรรม ตามกรอบกิจกรรม 9 กิจกรรม รวมทุกโครงการในวงเงินไม่เกิน 300,000 บาท ต่อชุมชน 2. รับเงินอุดหนุนตามโครงการฯ จากสำนักงานเกษตรจังหวัด 2.1 คณะกรรมการฯ ระดับชุมชนเปิดบัญชีเงินฝาก ธ.ก.ส. ชื่อบัญชี “โครงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย ชุมชน (ชื่อชุมชน)...อำเภอ...” 2.2 จัดทำบันทึกข้อตกลงขอรับเงินอุดหนุนจากสำนักงานเกษตรจังหวัด 2.3 รับเงินอุดหนุน

9 การดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ระดับชุมชน (ต่อ)
3. กลุ่มสมาชิกในชุมชน กลุ่มละไม่น้อยกว่า 25 ราย ดำเนินการ ดังนี้ 3.1 แต่งตั้งคณะทำงานจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ อย่างน้อย 2 คน 3.2 แต่งตั้งคณะทำงานตรวจรับวัสดุอุปกรณ์ อย่างน้อย 2 คน ทั้งนี้ คณะทำงานข้อ 3.1 และ 3.2 ต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกัน 3.3 มอบหมายผู้ดำเนินการ จำนวน 3 คน เปิดบัญชีเงินฝาก ธ.ก.ส. โดยมีอำนาจในการเบิกจ่ายเงิน 2 ใน 3 ชื่อบัญชี “โครงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย ชุมชน (ชื่อกลุ่มชุมชน)...อำเภอ...” 3.4 มอบหมายผู้ดำเนินการ จำนวน 3 คน ทำสัญญายืมเงินกับคณะกรรมการฯ ระดับชุมชน ทั้งนี้ ผู้ได้รับมอบหมายในการเบิกจ่าย ตาม ข้อ 3.3 ต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกับผู้ทำสัญญายืมเงิน ตามข้อ 3.4

10 การดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ระดับชุมชน (ต่อ)
4. จ่ายเงินอุดหนุนตามโครงการฯ ให้กลุ่มสมาชิกในชุมชน ดำเนินการได้ 2 วิธี ดังนี้ (1) เขียนใบนำฝากเงินของแต่ละกลุ่มย่อยในชุมชน โดยคณะกรรมการฯ อนุมัติการถอนเงินบัญชีเงินฝาก ธ.ก.ส.ชื่อบัญชี “โครงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย ชุมชน (ชื่อชุมชน)..อำเภอ.” เข้าบัญชี เงินฝาก ธ.ก.ส. ชื่อบัญชี “โครงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย (ชื่อกลุ่มสมาชิกในชุมชน)...ตำบล...อำเภอ...” (2) ทำหนังสือขอให้ธนาคารดำเนินการโอนเงิน โดยจัดทำข้อมูลการโอนเงินที่ระบุชื่อบัญชีธนาคาร ของกลุ่มย่อยในชุมชนชน เลขที่บัญชีธนาคาร และจำนวนเงิน ที่จะให้ธนาคารโอนเงินของแต่ละกลุ่ม เป็น File Excel ผ่านระบบการโอนเงิน Auto Credit ของธนาคาร ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาด้านการเกษตรระดับชุมชนต้องโอนเงินทั้งจำนวนของโครงการ ที่ผ่านการอนุมัติ/เห็นชอบ เข้าบัญชีธนาคารของกลุ่มย่อยในชุมชน

11 การดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ระดับชุมชน (ต่อ)
5. คณะกรรมการฯ ระดับชุมชน ติดตามและรายงานผลการดำเนินโครงการของกลุ่มสมาชิกในชุมชน เสนอต่อคณะกรรมการฯ ระดับอำเภอ 6. เมื่อเสร็จสิ้นระยะเวลาดำเนินโครงการ 6.1 รับคืนเงินอุดหนุนเหลือจ่ายจากกลุ่มสมาชิกในชุมชน/รายบุคคล 6.2 ส่งคืนเงินอุดหนุนเหลือจ่ายให้แก่สำนักงานเกษตรจังหวัด ภายใน 10 วัน หลังจากเสร็จสิ้นระยะเวลาดำเนินโครงการ 6.3 รวบรวมเอกสารหลักฐานเบิกจ่ายเงินโครงการของกลุ่มสมาชิก ในชุมชน/รายบุคคล

12 การจัดทำบัญชีและรายงานของคณะกรรมการฯ ระดับชุมชน
กลั่นกรอง คัดเลือก โครงการของชุมชน รับเงินอุดหนุนจาก สนง.เกษตรจังหวัด โดยรับเป็นเช็ค แบบ กย. 2-02 เปิดบัญชีเงินฝาก จัดทำสรุปขอรับการสนับสนุน โครงการของชุมชน เสนอ คกก. ระดับอำเภอ ประเภทออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ชื่อบัญชีโครงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย แจ้ง สนง เกษตรจังหวัด และกลุ่มสมาชิกในชุมชน แบบ บช. 09 แบบ บช. 03 สนง เกษตร แจ้งการโอนเงิน แบบ กย.2-08 จัดทำทะเบียนคุมบัญชีรับ - จ่าย เงินอุดหนุนของคณะกรรมการฯ ระดับชุมชน บันทึกการรับเงินอุดหนุน จาก สนง. เกษตรจังหวัด คณะกรรมการฯ ระดับชุมชน ลงลายมือชื่อรับเงิน ในใบสำคัญรับเงิน (สำนักงานเกษตรจังหวัด) จัดทำบันทึกข้อตกลง การขอรับเงินอุดหนุนจาก สนง.เกษตรจังหวัด

13 แบบ บช. 09 แบบ บช. 10 แบบ บช. 09 แบบ บช. 10 แบบ บช. 09
แบบ บช. 09 แบบ บช. 10 รายงานความก้าวหน้า จ่ายเงินอุดหนุน เมื่อได้รับสัญญายืมเงิน จากกลุ่มสมาชิกในชุมชน บันทึกบัญชีรับ - จ่าย เงินอุดหนุนของ คกก. ระดับชุมชนการจ่ายเงินอุดหนุน ให้กลุ่มสมาชิกในชุมชน จัดทำทะเบียนคุมเงินอุดหนุน บันทึกการจ่ายเงินอุดหนุน เป็นรายกลุ่มสมาชิกในชุมชน รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการเบิกจ่ายงบประมาณ ให้คกก.ระดับอำเภอทราบทุกสัปดาห์ แบบ บช. 09 แบบ บช. 10 แบบ บช. 09 เสร็จสิ้นระยะเวลาดำเนินโครงการ บันทึกบัญชีรับ - จ่าย เงินอุดหนุนของ คกก. ระดับชุมชน การรับคืนเงินอุดหนุน เหลือจ่ายจากกลุ่มสมาชิก ในชุมชน บันทึกทะเบียนคุม เงินอุดหนุน การรับคืนเงินอุดหนุน เหลือจ่ายเป็นรายกลุ่มสมาชิกในชุมชน บันทึกบัญชีรับ - จ่าย เงินอุดหนุนของ คกก. ระดับชุมชน การส่งคืนเงินอุดหนุนเหลือจ่ายให้กับ สนง.เกษตรจังหวัด ภายใน 10 วันหลังจากเสร็จสิ้นระยะเวลาดำเนินโครงการ

14 รูปแบบเอกสาร คณะกรรมการฯ ระดับชุมชน
แบบ กย แบบสรุปการขอรับการสนับสนุนโครงการของชุมชน แบบ กย บันทึกข้อตกลงการขอรับเงินอุดหนุนจากสำนักงานเกษตรจังหวัด แบบ บช. 03 ใบสำคัญรับเงิน (สำนักงานเกษตรจังหวัด) (ใช้สำหรับผู้รับเงิน คือ คณะกรรมการฯ ระดับชุมชน โดยให้ผู้รับเงินเป็นผู้ลงนามในใบสำคัญรับเงิน) แบบ บช. 09 บัญชีรับ - จ่ายเงินอุดหนุนของคณะกรรมการฯ ระดับชุมชน (ใช้รับเงินอุดหนุน จ่ายเงินอุดหนุน และส่งคืนเงินอุดหนุนเหลือจ่าย ให้กับ สนง.เกษตรจังหวัด) แบบ บช. 10 ทะเบียนคุมเงินอุดหนุน (ใช้คุมการจ่ายเงินอุดหนุนและรับคืน เงินอุดหนุน จากกลุ่มสมาชิกในชุมชน)

15

16

17

18

19 บช. 09 19

20

21 ตัวอย่างการบันทึกบัญชี

22 ตัวอย่างการจัดทำบัญชีโครงการฯ ของ คณะกรรมการฯ ระดับชุมชน
คณะกรรมการฯ ระดับชุมชนตัวอย่าง ตำบลโคกภู อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร นำเสนอโครงการของชุมชน เพื่อขอรับเงินอุดหนุนตามโครงการ จำนวน 2 โครงการ รวมเป็นเงิน 300, บาท ตามบันทึกข้อตกลงวันที่ 5 สิงหาคม 2561 ประกอบด้วย กลุ่มสมาชิกในชุมชน หนึ่ง หมู่ 5 ตำบลโคกภู อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร โครงการปลูกพืชผักสวนครัว เป็นเงิน 225, บาท กลุ่มสมาชิกในชุมชน สอง หมู่ 7 ตำบลโคกภู อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร โครงการเลี้ยงปลา เป็นเงิน 75, บาท เมื่อโครงการได้รับการอนุมัติ คณะกรรมการฯ ระดับชุมชน ตัวอย่าง ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงการขอรับเงินอุดหนุนจากสำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนครแล้ว ในการดำเนินโครงการมีรายการเงินเกิดขึ้น ดังนี้ วันที่ 13 สิงหาคม ได้รับเงินอุดหนุนตามโครงการฯ จากสำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร เป็นเช็คธนาคารกรุงไทย เลขที่ จำนวน 300, บาท และนำเช็คเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของคณะกรรมการฯ ระดับชุมชน

23 ตามสัญญายืมเงิน ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2561 โดยถอนเงินจากบัญชี
วันที่ 14 สิงหาคม จ่ายเงินอุดหนุนให้กลุ่มสมาชิกในชุมชน หนึ่ง จำนวน 225, บาท ตามสัญญายืมเงิน ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2561 โดยถอนเงินจากบัญชี เงินฝากธนาคารของคณะกรรมการฯ ระดับชุมชนแล้วนำเงินฝากเข้าบัญชี เงินฝากธนาคารของกลุ่มสมาชิกในชุมชน วันที่ 15 สิงหาคม 2561 จ่ายเงินอุดหนุนให้กลุ่มสมาชิกในชุมชน สอง จำนวน 75, บาท ตามสัญญายืมเงิน ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2561 โดยถอนเงินจากบัญชี เงินฝากธนาคารของคณะกรรมการฯ ระดับชุมชน แล้วนำเงินฝาก เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกลุ่มสมาชิกในชุมชน วันที่ 15 กันยายน รับคืนเงินอุดหนุนเหลือจ่ายจากกลุ่มสมาชิกในชุมชน หนึ่ง จำนวน 5, บาท และดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร จำนวน 5.50 บาท โดยกลุ่มสมาชิกในชุมชนนำเงินเข้าบัญชีเงินฝาก ธนาคารของคณะกรรมการฯ ระดับชุมชน วันที่ 17 กันยายน 2561 ส่งคืนเงินอุดหนุนโครงการเหลือจ่ายที่ได้รับคืนจากกลุ่มสมาชิกในชุมชนหนึ่ง จำนวน 5, บาท และดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร จำนวน 5.50 บาท โดยโอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของคณะกรรมการฯ ระดับชุมชน เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของสำนักงานเกษตรจังหวัด

24 24

25 25

26 การดำเนินงานของกลุ่มสมาชิกในชุมชน
1. ขอรับการสนับสนุนโครงการของชุมชน 1.1 จัดทำโครงการของชุมชน 1.2 เสนอโครงการและเอกสารประกอบต่อคณะกรรมการ ฯ ระดับชุมชน 2. รับเงินอุดหนุนตามโครงการฯ จาก คณะกรรมการฯ ชุมชน 2.1 เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อรองรับเงินอุดหนุน 2.2 จัดทำสัญญายืมเงินจากคณะกรรมการฯ ระดับชุมชน 2.3 รับเงินอุดหนุนจากคณะกรรมการฯ ระดับชุมชน 3. จ่ายเงินอุดหนุนตามโครงการฯ 3.1 จ่ายค่าวัสดุอุปกรณ์ 3.2 แต่งตั้งคณะทำงานจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ และคณะทำงานตรวจรับวัสดุอุปกรณ์

27 การดำเนินงานของกลุ่มสมาชิกในชุมชน
4. คณะกรรมการฯ ระดับชุมชน กำกับ ติดตาม ดูแลและควบคุม การใช้จ่ายเงินโครงการให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงิน 5. เมื่อเสร็จสิ้นระยะเวลาดำเนินโครงการ 5.1 ส่งคืนเงินอุดหนุนเหลือจ่ายให้แก่คณะกรรมการฯ ระดับชุมชนภายใน 5 วัน หลังจากเสร็จสิ้นระยะเวลาดำเนินโครงการ สำหรับดอกเบี้ยรับ เงินฝากธนาคารที่เกิดขึ้นในบัญชีเงินฝากธนาคารของกลุ่มสมาชิกในชุมชนเป็นรายได้แผ่นดินให้นำส่งสำนักงานเกษตรจังหวัด 5.2 ส่งเอกสารหลักฐานเบิกจ่ายเงินโครงการของกลุ่มสมาชิกในชุมชน ทั้งหมดให้แก่ คณะกรรมการฯ ชุมชน ภายใน 7 วัน หลังจากเสร็จสิ้นระยะเวลาดำเนินโครงการ

28 การจัดทำบัญชีและรายงานของกลุ่มสมาชิกในชุมชน
แบบเสนอโครงการ แบบ กย. 2-01 แบบอนุมัติโครงการ แบบ กย. 2-03 จัดทำ โครงการของชุมชน จัดทำโครงการขอรับการสนับสนุนโครงการของชุมชน เสนอ คกก. ระดับชุมชน จัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ใบสืบราคาวัสดุอุปกรณ์บันทึกในทะเบียนคุมวัสดุอุปกรณ์และให้จัดทำทะเบียนคุมวัสดุอุปกรณ์ตามแบบที่ กรมส่งเสริมการเกษตรกำหนด เปิดบัญชีเงินฝาก แบบ กย.2-09 แบบ บช. 11 รับเงินอุดหนุน จากคณะกรรมการฯ ชุมขน ประเภทออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ชื่อบัญชีโครงการ แจ้งคณะกรรมการฯ ระดับชุมชน จัดทำสัญญายืมเงินโครงการ เสริมสร้างเกษตรกรรายย่อย จัดทำบัญชีรับ - จ่าย เงินอุดหนุนของ กลุ่มสมาชิกในชุมชน บันทึกการรับเงินอุดหนุนจากคณะกรรมการฯ ระดับชุมชน แบบ บช. 04 คณะกรรมการฯ ระดับกลุ่มสมาชิกในชุมชน ลงลายมือชื่อรับเงิน ในใบสำคัญรับเงิน (คณะกรรมการ ฯ ระดับชุมชน)

29 แบบ บช. 12  ถอนเงินฝาก แบบ บช. 11 แบบ บช. 13 สืบราคาวัสดุอุปกรณ์
จ่ายเงินอุดหนุน ค่าวัสดุอุปกรณ์ แบบ บช. 12 ถอนเงินฝาก นำเงินสดจ่าย จัดทำใบเบิกเงินให้ร้านค้า ลงลายมือชื่อรับเงิน (กรณีร้านค้าไม่มีใบเสร็จรับเงิน) แบบ บช. 11 บันทึกบัญชีรับ - จ่าย เงินอุดหนุนของกลุ่มสมาชิกในชุมชน การถอน เงินฝาก + จ่ายค่าวัสดุฯ แต่งตั้งคณะทำงาน - จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ อย่างน้อย 2 ราย - ตรวจรับวัสดุอุปกรณ์ อย่างน้อย 2 ราย แบบ บช. 13 จัดทำรายงานการตรวจรับวัสดุ โดยให้คณะทำงานตรวจรับวัสดุอุปกรณ์ลงนาม สืบราคาวัสดุอุปกรณ์ แบบ บช. 07 จัดบัญชีคุมวัสดุอุปกรณ์ตามแบบที่กรมส่งเสริมการเกษตรกำหนด แบบ บช. 08 การหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 1 - ซื้อวัสดุอุปกรณ์จากบุคคลธรรมดา ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ให้ออกหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งตามแบบ ภ.ง.ด. 3 - ซื้อวัสดุอุปกรณ์จากนิติบุคคล ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ให้ออกหนังสือหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งตามแบบ ภ.ง.ด. 53 ทั้งนี้ ให้กลุ่มฯ นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามแบบข้างต้นไปยัง สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ภายใน 7 วัน นับแต่เดือนที่จ่ายเงินได้

30 เสร็จสิ้นระยะเวลาดำเนินโครงการ
รายงานการเบิกจ่าย ส่งให้ คณะกรรมการฯ ระดับชุมชน เมื่อมีรายการเคลื่อนไหว ติดตามการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามแผน ติดตาม การดำเนินโครงการ แบบ บช. 11 กรณีมีเงินเหลือ ส่งเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายเงิน โครงการทั้งหมดของกลุ่มสมาชิกในชุมชน ให้คณะกรรมการฯ ระดับชุมชน ภายใน 7 วัน หลังจากเสร็จสิ้นระยะเวลาดำเนินโครงการ เสร็จสิ้นระยะเวลาดำเนินโครงการ บันทึกบัญชีรับ - จ่ายเงินอุดหนุนของ กลุ่มสมาชิกในชุมชน การส่งคืนเงินอุดหนุน เหลือจ่ายให้ คณะกรรมการฯ ระดับชุมชน ภายใน 5 วัน หลังจากเสร็จสิ้นระยะเวลา ดำเนินโครงการ

31 รูปแบบเอกสารกลุ่มสมาชิกในชุมชน
แบบ กย แบบเสนอโครงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย แบบ กย แบบสรุปผลการพิจารณาอนุมัติโครงการของคณะกรรมการฯ ระดับอำเภอ (คกก. อำเภอ เป็นผู้จัดทำ) แบบ กย แบบการขอใช้สถานที่สาธารณประโยชน์ต่อนายอำเภอ แบบ กย หนังสือยินยอมให้เข้าทำประโยชน์ที่ดิน แบบ กย สัญญายืมเงิน บช. 04 ใบสำคัญรับเงิน (คณะกรรมการฯ ระดับชุมชน) (ใช้สำหรับผู้รับเงิน คือ คณะกรรมการฯ ของกลุ่มสมาชิกในชุมชน โดยให้ผู้รับเงินเป็นผู้ลงนามในใบสำคัญรับเงิน) บช. 11 บัญชีรับ – จ่ายเงินอุดหนุนของกลุ่มสมาชิกชุมชน (ใช้บันทึกการรับ -จ่ายเงินอุดหนุนของกลุ่มสมาชิกในชุมชน) บช. 12 ใบเบิกเงิน (ใช้บันทึกการจ่ายเงินให้กับร้านค้าที่ไม่มีใบเสร็จรับเงิน) บช. 07 ใบสืบราคาวัสดุอุปกรณ์ (ใช้สำหรับสืบราคาวัสดุอุปกรณ์ที่มีราคาเกิน 10,000 บาท) บช. 08 บัญชีคุมวัสดุอุปกรณ์ (ใช้คุมการรับวัสดุอุปกรณ์ และการเบิกวัสดุอุปกรณ์) บช. 13 รายงานการตรวจรับวัสดุและอุปกรณ์ (ใช้บันทึกการตรวจรับวัสดุและอุปกรณ์ที่จัดซื้อ)

32 32

33

34

35

36

37

38

39 39

40

41

42

43 ตัวอย่างการบันทึกบัญชี

44 ตัวอย่างการจัดทำบัญชีโครงการฯ ของกลุ่มสมาชิกในชุมชน
กลุ่มสมาชิกในชุมชน หนึ่ง หมู่ 5 ตำบลโคกภู อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร ได้รับเงินอุดหนุนตามโครงการเสริมสร้างรายได้เกษตรกรรายย่อย เสนอโครงการปลูกพืชผักสวนครัว เป็นเงิน 225, บาท คณะทำงานจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ร่วมประชุมสำรวจความต้องการในการใช้วัสดุอุปกรณ์ และสืบราคาในท้องถิ่นตามร้านค้า มติที่ประชุมคณะทำงานพิจารณาจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ดังนี้ ค่าวัสดุอุปกรณ์จากร้านขายดี (เครื่องสูบน้ำ) 2 เครื่อง ๆ ละ 30, บาท เป็นเงิน 60, บาท ซึ่งได้มีการสืบราคาจากร้านขายดี ราคาเครื่องละ 30, บาท และร้านขายรวย ราคาเครื่องละ 32, บาท ค่าเมล็ดพันธุ์ จำนวน 70, บาท ค่าเตรียมดินและวัสดุปรับปรุงดิน จำนวน 90, บาท เมื่อโครงการได้รับการอนุมัติ กลุ่มสมาชิกในชุมชน หนึ่ง ได้จัดทำสัญญายืมเงินจากคณะกรรมการฯ ระดับชุมชน ตัวอย่าง เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2561 ในการดำเนินโครงการมีรายการเงินเกิดขึ้น ดังนี้ วันที่ 14 สิงหาคม 2561 ได้รับเงินอุดหนุนตามโครงการฯ จำนวน 225, บาท จากคณะกรรมการฯ ระดับชุมชนตัวอย่าง โดย คณะกรรมการฯ ระดับชุมชนนำเงินเข้าบัญชีเงินฝาก ธนาคาร ธ.ก.ส. ของกลุ่มสมาชิกในชุมชนโครงการ

45 วันที่ 15 สิงหาคม 2561 ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของกลุ่มสมาชิกในชุมชนโครงการ
จำนวน 60, บาท แล้วนำเงินสดไปจ่ายค่าวัสดุอุปกรณ์ (เครื่องสูบน้ำ) ให้แก่ร้านขายดี เงินที่เหลือหลังหักภาษี ณ ที่จ่าย จำนวน 600 บาท นำฝากธนาคาร คณะทำงานตรวจรับเครื่องสูบน้ำแล้ว ลงนามรับรองความครบถ้วนและถูกต้องในรายงานการตรวจรับวัสดุอุปกรณ์ วันที่ 27 สิงหาคม 2561 โอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของกลุ่มสมาชิกในชุมชนโครงการ จำนวน 69, บาท ให้ร้านยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นจำนวนเงินหลังหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ จำนวน 700 บาท วันที่ 30 สิงหาคม 2561 ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของกลุ่มสมาชิกในชุมชนโครงการ จำนวน 90, บาทแล้วนำเงินสดไปจ่ายค่าใช้จ่ายในการเตรียมดินและวัสดุปรับปรุงดินให้แก่ร้านยึดมั่นบริการ เงินที่เหลือหลังหักภาษี ณ ที่จ่าย จำนวน 900 บาท นำฝากธนาคาร วันที่ 7 กันยายน 2561 นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 53 จำนวน 2, บาท วันที่ 15 กันยายน 2561 รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร จำนวน 5.50 บาท และส่งคืนเงินอุดหนุนโครงการเหลือจ่าย 5, บาท และดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร จำนวน 5.50 บาท ให้แก่ คณะกรรมการฯ ระดับชุมชนตัวอย่าง รวมจำนวน 5, บาท โดยโอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของกลุ่มสมาชิก ในชุมชนโครงการเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของคณะกรรมการฯ ระดับชุมชนโครงการ

46

47

48

49 กลุ่มมาตรฐานการบัญชี สำนักมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชี
ติดต่อสอบถาม กลุ่มมาตรฐานการบัญชี สำนักมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชี กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ โทร และ ต่อ


ดาวน์โหลด ppt คำแนะนำกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เรื่อง วิธีการปฏิบัติทางบัญชี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google