ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก ภายใต้ประกาศกรมประมงฉบับแก้ไขเพิ่มเติมและที่เกี่ยวข้อง
ประกาศกรมประมง มาตรา ๘๑ (๓) ประกาศฉบับเดิม ลงราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๙ ประกาศฉบับใหม่ ฉ.๒ ลงราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๐ - PIPO ๓๒ ศูนย์ - FIP ๑๙ แห่ง - PIPO ๒๘ ศูนย์ - ระยะเวลาการแจ้งเข้าออก ๑๒ ชั่วโมง แต่ไม่น้อยกว่า ๔ ชั่วโมง - ระยะเวลาการแจ้งเข้าออก ๒๔ ชั่วโมง แต่ไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง
เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงต้องนำเรือประมงออกจากท่าเทียบเรือประมงภายในระยะเวลาสามชั่วโมง นับจากเวลาที่บันทึกในระบบสารสนเทศการทำการประมง (Fishing Info) หากไม่นำเรือประมงออกจากท่าเทียบเรือประมงภายในระยะเวลาดังกล่าว ระบบสารสนเทศการทำประมง (Fishing Info) จะเริ่มนับวันทำการประมง จนกว่าจะมีการแจ้งเหตุขัดข้องเพื่อยกเลิกการแจ้งออกท่าเทียบเรือประมง การแจ้งการเข้าท่าเทียบเรือประมง เมื่อเจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงได้ดำเนินการแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก เพื่อนำเรือประมงเข้าเทียบท่าเทียบเรือประมงแล้ว ในกรณีที่มีการขนถ่ายสัตว์นำ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง ต้องผ่านการตรวจเรือประมงจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกตามรายการที่กำหนดก่อน จึงจะนำขึ้นท่าเทียบเรือประมงได้
ประกาศกรมประมง มาตรา ๘๑ (๓) นอกน่านน้ำ ฟอร์มการแจ้งเข้าออกเรือประมง ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก แนบท้ายประกาศ คือ กองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ เวลาในการแจ้งเข้าออก ๑) ในรัฐชายฝั่งที่มีพื้นที่ติดกับประเทศไทย ให้แจ้งก่อนเข้าเทียบท่าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมง ไม่น้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมงฃ ๒) นอกน่านน้ำไทยในรัฐชายฝั่งอื่น หรือในทะเลหลวง ให้แจ้งก่อนเข้าเทียบท่าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมง ไม่น้อยกว่า ๗๒ ชั่วโมง
ประกาศกรมประมง มาตรา ๘๑ (๓) นอกน่านน้ำ (ต่อ) การแจ้งออกต้องส่ง ๑) แผนการจัดให้มีผู้สังเกตการณ์ประจำอยู่บนเรือประมง ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของการลงแรงประมงต่อปี ๒) แนบสำเนาแผนการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรณีจะมีการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลหรือบริเวณ ท่าเทียบเรือประมงของรัฐชายฝั่งอื่น การแจ้งเข้าออก แจ้งได้เฉพาะ ๑) จังหวัดสมุทรปราการ ๒) จังหวัดสมุทรสาคร ๓) จังหวัดระนอง ๔) จังหวัดภูเก็ต ๕) จังหวัดตราด ๖) จังหวัดสงขลา กรณีที่เป็นการแจ้งเข้า สิ่งที่ต้องยื่นเพิ่มเติม คือ อุปกรณ์บันทึกข้อมูลวีดีโอที่ติดตั้งประจำเรือของการออกเรือในเที่ยวนั้น
มาตรา ๘๑ (๕) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาการกลับเข้าท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไป ซึ่งออกไป ทำการประมงพาณิชย์ในทะเลนอกชายฝั่ง ต้องนำเรือกลับเข้าท่าเทียบเรือประมงทุกสามสิบวันนับแต่วันที่ มีการแจ้งออกต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก
ประกาศกรมประมง มาตรา ๘๒ วรรคหนึ่ง
กฎกระทรวง ระบบความปลอดภัย สุขอนามัย และสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือ พ.ศ. ๒๕๕๙ หมวด ๑ ระบบความปลอดภัย ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ประจำเรือ เครื่องชูชีพ และคนประจำเรือสำหรับเรือกลประมง ตามกฎข้อบังคับการตรวจเรือที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย (แบบ ตร. ๒๐-๑ป.)
ข้อ ๑๑ หลักฐานการตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัย
ข้อ ๑๑ หลักฐานการตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัย (ต่อ) เดิม ปี ๕๘ ยังใช้ได้อยู่ ปี ๕๙ ปัจจุบัน
ตัวอย่าง แบบ ตร.๒๐-๑ป
ข้อ ๑๒ หลักฐานการตรวจสุขอนามัยและสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือ หมวด ๒ สุขอนามัยและสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือ ส่วนที่ ๑ เรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึงหกสิบตันกรอส - มีอาหาร น้ำดื่ม ที่มีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะ และมีปริมาณที่เพียงพอ ให้เหมาะสมกับการทำงานและระยะเวลาการใช้ชีวิตบนเรือประมง - ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการพักผ่อนบนเรือประมง - ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มียาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานบนเรือประมง
ข้อ 12 หลักฐานการตรวจสุขอนามัยและสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือ (ต่อ) - ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้คนประจำเรือมีเวลาพักตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล (ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักไม่น้อยกว่า ๑๐ ชั่วโมงในระยะเวลาการทำงาน ๒๔ ชั่วโมง และไม่น้อยกว่า ๗๗ ชั่วโมง ในระยะเวลาการทำงาน ๗ วันและจัดทำหลักฐานเวลาพักไว้ เพื่อให้ พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบ) มีหลักฐานตรวจสอบได้ - ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพของคนประจำเรือโดยแพทย์แผนปัจจุบันและจัดให้มีการตรวจสุขภาพของคนประจำเรือครั้งต่อไปอย่างน้อย ปีละหนึ่งครั้ง (มีหลักฐานตรวจสอบได้)
ข้อ 12 หลักฐานการตรวจสุขอนามัยและสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือ (ต่อ) ส่วนที่ ๒ เรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสขึ้นไป - ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดสุขอนามัยและสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือ ตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๑ - ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีพื้นที่สำหรับการพักผ่อน การรับประทานอาหาร และการสันทนาการ - ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีห้องส้วมอย่างน้อยจำนวนหนึ่งห้องซึ่งมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า หนึ่งตารางเมตร
- แบบ สร. ๓ ของประกาศกรมประมง เรื่อง มาตรฐานด้านสุขอนามัยในการดูแลรักษาสัตว์น้ำ และการเก็บรักษาสัตว์น้ำในเรือประมง และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจและออกหนังสือรับรองมาตรฐาน ด้านสุขอนามัยในการดูแลรักษาสัตว์น้ำ และการเก็บรักษาสัตว์น้ำในเรือประมง พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่มอบหมายการตรวจให้กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล นั้น ไม่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานได้
พระราชบัญญัติ แรงงานทางทะเล พ.ศ. ๒๕๕๘ หมวด ๘ มาตรฐานที่พักอาศัย สิ่งอำนวยความสะดวก อาหาร และโภชนาการบนเรือ - มาตรา ๗๒ ให้เจ้าของเรือจัดให้มีที่พักอาศัยและสถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ห้องนอน (๒) ห้องรับประทานอาหาร (๓) ห้องอาบน้ำ (๔) ห้องสุขา (๕) ห้องนั่งเล่น (๖) ห้องพักผ่อนระหว่างการทำงาน (๗) ห้องพยาบาล (๘) พื้นที่ว่างบนดาดฟ้าเรือ (๙) ห้องทำงานสำหรับฝ่ายช่างกล (๑๐) ห้องทำงานสำหรับฝ่ายเดินเรือ (๑๑) อื่น ๆ ตามที่อธิบดีกรมเจ้าท่าประกาศกำหนด - นอกจากวรรคหนึ่งแล้ว ให้เจ้าของเรือจัดให้มีห้องประกอบศาสนกิจ หากมีความจำเป็นตามข้อกำหนด ทางศาสนาของคนประจำเรือ - มาตรฐานที่พักอาศัยและสถานที่ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมเจ้าท่าประกาศกำหนด (ยังไม่มีประกาศ)
ประกาศกรมประมง มาตรา ๘๘ (๓) เรือขนถ่ายในน่านน้ำ ฟอร์มการแจ้งเข้าออกเรือประมงใหม่ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก เพิ่มเป็น ๓๒ PIPO และ ๑๙ FIP - เรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่มีขนาดต่ำกว่า ๓๐ ตันกรอส ลงมาอยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้แจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงภายหลังจากพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ - การแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง ให้แจ้งภายในระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง แต่ไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมงก่อนการนำเรือเข้าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมง
ประกาศกรมประมง มาตรา ๘๘ (๓) เรือขนถ่ายนอกน่านน้ำ ฟอร์มการแจ้งเข้าออกเรือประมง ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก แนบท้ายประกาศ คือ กองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ เวลาในการแจ้งเข้าออก ๑) ในรัฐชายฝั่งที่มีพื้นที่ติดกับประเทศไทย ให้แจ้งก่อนเข้าเทียบท่าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมง ไม่น้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมง ๒) นอกน่านน้ำไทยในรัฐชายฝั่งอื่น หรือในทะเลหลวง ให้แจ้งก่อนเข้าเทียบท่าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมง ไม่น้อยกว่า ๗๒ ชั่วโมง การแจ้งออกต้อง แนบสำเนาแผนการขนถ่ายสัตว์น้ำ การแจ้งเข้าออก แจ้งได้เฉพาะ ๑) จังหวัดสมุทรปราการ ๒) จังหวัดสมุทรสาคร ๓) จังหวัดระนอง ๔) จังหวัดภูเก็ต ๕) จังหวัดตราด ๖) จังหวัดสงขลา กรณีที่เป็นการแจ้งเข้า สิ่งที่ต้องยื่นเพิ่มเติม คือ อุปกรณ์บันทึกข้อมูลวีดีโอที่ติดตั้งประจำเรือของการออกเรือในเที่ยวนั้น