พระคุณครู : จรรยาบรรณของวิชาชีพ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด1 12คำถาม.
Advertisements

วิชา หลักการตลาด บทที่ 3
แนวทางการสอน เพื่อพัฒนาทักษะเด็กตามรูปแบบการสอน
มาตรฐานครูสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย
พังงา นางสาวอัญชลี ตันวานิช สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
1. ตระหนักในคุณค่าของ คุณธรรมจริยธรรม
องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา
กลุ่ม 6 ผลการประชุมระดมความ คิดเห็น เพื่อกำหนดทิศทางก้าวใหม่ ในการให้บริการ : ฝึกอบรมนักวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการ.
อัตร า บรร จุ ข้าราชการ 44 พนักงาน ราชการ 33 ลูกจ้าง -- รวม 77 อัตราว่าง พนักงานราชการ 3 มาช่วย ราชการ ถูกยืมตัว ลาเรียน ผอ. สำนักงานวิเทศ สัมพันธ์ (1/1)
การสร้างความตระหนักในโรงเรียนวิถีพุทธ
สำนักประสานและติดตามนโยบาย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
๑ ทศวรรษของ สถาบัน. ๑ ) ด้านการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนา บุคลากรด้านการพัฒนามนุษย์ ๒ ) ผลิตและเผยแพร่ความรู้ด้านการ พัฒนามนุษย์ ๓ ) บริการสาธิตและวิจัยโดยศูนย์พัฒนา.
วิสัยทัศน์การจัดการความรู้ กรมชลประทาน กรมชลประทานมุ่งจัดการ ความรู้ สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
คนเป็นทรัพย์สินที่มี ค่ายิ่งของหน่วย อ้างอิง : สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย คน เก่ง คน ดี คน มี ความ สุข เป้าหมายการ พัฒนากำลังพล เพื่อให้ทำงานอย่าง.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
ศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก เทศบาล ตำบลปัว ยินดี ต้อนรับ ยินดี ต้อนรับ.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
รายงานการ ดำเนินงาน ศูนย์แนะแนวต้นแบบประจำสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา รายงานการ ดำเนินงาน ศูนย์แนะแนวต้นแบบประจำสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา.
1 จุดเน้นและแนวทางการสร้าง ภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพ ติดในสถานศึกษา ปี 2557.
ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนอนุบาลนาแกผดุงราชกิจเจริญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครพนม เขต ๑ ตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ.
จำลอง บุญเรืองโรจน์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต ๑วันที่ ๒ มิถุนายน พ. ศ. ๒๕๕๘.
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
องค์ความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติราชการ แบบฟอร์มที่ 1 การจำแนกองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการผลักดันตามประเด็นยุทธศาสตร์ ของส่วนราชการ ชื่อส่วนราชการ : กรมทรัพยากรน้ำบาดาล.
เก่ง. ความรู้และทักษะ คุณลักษณะที่เน้น ความรู้ ทักษะเชิง วิชาชีพ และศาสตร์ที่ เกี่ยวข้อง.
ชุมชนปลอดภัย.
ความเป็นมา การส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
โรงเรียนกับชุมชน.
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
โดย อาจารย์เสาวณีย์ พุ่มท้วม
อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตามแนวทางของการ บริหารงานบุคลากร โรงเรียนราษฎร์วิทยา(ตี่มิ้ง)
หลักการ และ วิธีการ ของ บี.-พี.
เริ่มทำแบบทดสอบ แบบทดสอบก่อนเรียน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เริ่มทำแบบทดสอบ แบบทดสอบก่อนเรียน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
นายดำหริ งิมสันเทียะ ผอ.สพป.อย. 1
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
การขับเคลื่อน ครอบครัวแกนนำคุณธรรม
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
บทที่ 4 หลักทฤษฎีและปฏิบัติการธุรกิจ ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ
การพัฒนาครูและปฐมนิเทศครูผู้ช่วย (บรรจุใหม่)
ความหมาย ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการศึกษา
เราคือ ‘One PPG’ We protect and beautify the world วัตถุประสงค์ของเรา
การทำวิทยฐานะ แนวทางใหม่
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
ลำปาง นายยรรยง พลสันติกุล สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization คือ องค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ.
จรรยาบรรณวิชาชีพครู ETHIC OF PROFESSIONAL TEACHER.
เยาวเรศ ก้านมะลิ 1 อรัญ ซุยกระเดื่อง2
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
การพัฒนาศักยภาพและภาวะการเป็นผู้นำ โดย นางอุไร อิ่นอ้อย
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
ประชุมผู้บริหารสถานศึกษา ครั้งที่ ๓/๒๕๖๑
ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10
(Code of Ethics of Teaching Profession)
คู่มือการใช้เครื่องชี้วัดสำหรับ การประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรฐาน ทางคุณธรรมและจริยธรรม ส่วนมาตรฐานการบริหารงานบุคคล สำนักงาน ก.ถ. สป.
จริยธรรม (Ethics) คืออะไร
1. ตระหนักในคุณค่าของ คุณธรรมจริยธรรม
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
ให้นักศึกษาตอบคำถามในตารางที่2 ในใบกิจกรรม
ใบสำเนางานนำเสนอ:

พระคุณครู : จรรยาบรรณของวิชาชีพ

จุดประสงค์ เพื่อให้มีความรู้เรื่องคุณธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ ทางการศึกษา เพื่อให้สามารถปฏิบัติตนได้ตามแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาตนไปสู่ความเป็นเลิศในวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งและภาคภูมิใจในการประกอบวิชาชีพครู

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษา สามารถนำความรู้เกี่ยวกับคุณธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ทางการศึกษาไปใช้ในการปฏิบัติตนได้อย่างต่อเนื่อง มีแรงจูงใจในการพัฒนาตนไปสู่ความเป็นเลิศในวิชาชีพทางการศึกษา มีความซาบซึ้งและภาคภูมิใจในการประกอบวิชาชีพครู

สาระการเรียนรู้ ความหมายและความสำคัญของครู คุณธรรมของผู้เป็นครู จรรยาบรรณ และแบบแผนพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ การจัดกิจกรรมเทิดพระคุณครู

เพลงแม่พิมพ์ของชาติ แสงเรืองๆ ที่ส่องประเทืองอยู่ทั่วเมืองไทย คือแม่พิมพ์อันน้อยใหญ่ โอ้ครูไทยในแดนแหลมทอง เหนื่อยยากอย่างไร ไม่เคยบ่นไปให้ใคร เขามองครูนั้นยังลำพอง ในเกียรติของตนเสมอมา ที่ทำงานช่างสุดกันดารในป่าดงไพร ถึงจะไกลก็เหมือนใกล้ เร่งรุดไปให้ทันเวลา กลับบ้านไม่ทัน บางวันต้องไปอาศัยหลวงตา ครอบครัวคอยท่า ไม่รู้ว่าไปอยู่ไหน ถึงโรงเรียนก็เจียนจะสายจวนได้เวลา เห็นศิษย์รออยู่พร้อมหน้า ต้องรีบมาทำการสอน ไม่มีเวลาที่จะได้มาหยุดพอพักผ่อน โรงเรียนในดงป่าดอน ให้โหยอ่อนสะท้อนอุรา ชื่อของครู ฟังดูก็หรูชวนชื่นใจ งานที่ทำก็ยิ่งใหญ่ สร้างชาติไทยให้วัฒนา ฐานะของครู ใครๆก็รู้ว่าด้อยหนักหนา ยังสู้ทนอุตส่าห์สั่งสอนศิษย์มาเป็นหลายปี นี่แหละครูที่ให้ความรู้อยู่รอบเมืองไทย หวังสิ่งเดียวคือขอให้ เด็กของไทยในพื้นธานี ได้มีความรู้เพื่อช่วยเชิดชูไทยให้ผ่องศรี ครูก็ภูมิใจที่ สมความเหนื่อยยากตรากตรำมา

เพลงพระคุณที่สาม ครูอาจารย์ที่ท่านประทานความรู้มาให้ อบรมจิตใจให้รู้ผิดชอบชั่วดี ก่อนจะนอนสวดมนต์อ้อนวอนทุกที ขอกุศลบุญบารมีส่งเสริมครูนี้ให้ร่มเย็น        ครูมีบุญคุณจะต้องเทิดทูนเอาไว้เหนือเกล้า ท่านสั่งสอนเราอบรมให้เราไม่เว้น  ท่านอุทิศ ไม่คิดถึงความยากเย็น สอนให้รู้ จัดเจน เฝ้าแนะ เฝ้าเน้น มิได้อำพราง      พระคุณที่สาม งดงามแจ่มใส แต่ว่าใครหนอใครเปรียบเปรยครูไว้ว่าเป็นเรือจ้าง  ถ้าหากจะคิดยิ่งคิดยิ่งเห็นว่าผิดทาง มีใครไหนบ้างแนะนำแนวทางอย่างครู        บุญเคยทำมาตั้งแต่ปางใดเรายกให้ท่าน ตั้งใจกราบกรานเคารพคุณท่านกตัญญู  โรคและภัยอย่ามาแผ้วพานคุณครู ขอกุศลผลบุญค้ำชูให้ครูมีสุขชั่วนิรันดร

ความหมายของคำว่า “ครู” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ “ครู” - ผู้สั่งสอนศิษย์ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ “ครู” หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้าน การเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ “ครู” หมายความว่า บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้าน ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐ และเอกชน

ความสำคัญของครู ครูมีความสำคัญต่อสังคมในการพัฒนาเยาวชน การพัฒนาสังคม การพัฒนาการเมือง การปกครอง การพัฒนาเศรษฐกิจ การส่งเสริมความมั่นคงทางศาสนาและวัฒนธรรมของชาติ

สมญานามที่เน้นความสำคัญของครู - ครูคือนักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา - ครูคือผู้ใช้อาวุธลับของชาติ - ครูคือทหารเอกของชาติ - ครูคือแม่พิมพ์ของชาติ - ครูคือกระจกเงาของศิษย์ - ครูคือดวงประทีปส่องทาง - ครูคือผู้สร้างโลก - ครูคือผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในมือ - ครูคือปูชนียบุคคล - ครูคือวิศวกรสังคม

ความหมายของคุณธรรม - คุณธรรม ตามรูปศัพท์แปลว่า สภาพของคุณงามความดี - พระธรรมปิฎก อธิบายความหมายไว้ว่า คุณธรรมคือธรรมที่เป็นคุณ ความดีงาม สภาพที่เกื้อกูล - พระเทพวิสุทธิเมธี อธิบายว่า คุณธรรม หมายถึง คุณสมบัติฝ่ายดี เป็นที่ตั้งหรือเป็นประโยชน์ แก่สันติภาพหรือสันติสุข

คุณธรรมตามพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชดำรัส ในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๕ ความว่า “...คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำมาปฏิบัติมีอยู่สี่ประการประการแรก คือ การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะ ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม ประการที่สอง คือ การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดีนั้น ประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละ ประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง”

พระราชดำรัสตอบแก่พระบรมวงศานุวงศ์และพสกนิกรที่เข้าเฝ้า ฯ ถวายพระพรชัยมงคล ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ ความว่า “...ประการแรก คือ การที่ทุกคนคิด พูด ทำ ด้วยความเมตตา มุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน ประการที่สอง คือ การที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงาน ประสานประโยชน์กัน ให้งานที่ทำสำเร็จผล ทั้งแก่ตน แก่ผู้อื่น และ กับประเทศชาติ ประการที่สาม คือ การที่ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริต ในกฎกติกา และในระเบียบแบบแผน โดยเท่าเทียมเสมอกัน ประการที่สี่ คือ การที่ต่างคนต่างพยายามทำความคิด ความเห็นของตนให้ถูกต้อง เที่ยงตรง และมั่นคงอยู่ในเหตุในผล หากความคิด จิตใจ และการประพฤติปฏิบัติที่ลงรอยเดียวกันในทางที่ดี ที่เจริญนี้ยังมีพร้อมมูลในกาย ในใจของไทย ก็มั่นใจได้ว่า ประเทศชาติไทยจะดำรงมั่นคงอยู่ตลอดไปได้...”

หลักธรรมของผู้เป็นครูที่ดี - ปิโย หมายถึง น่ารัก - ครุ หมายถึง น่าวางใจ - ภาวนีโย หมายถึง น่าเจริญใจ - วัตตา หมายถึง รู้จักพูดหรือพูดเป็น - วจนักขโม หมายถึง รู้จักฟังหรือฟังเก่ง - คัมภีรัญจะ กะถัง กัตตา หมายถึง แถลงเรื่องลึกซึ้งได้ - โน จัฏฐาเน นิโยชเย หมายถึง ไม่ชักจูงไปในทางที่ผิดหรือนอกเรื่อง

คุณธรรมที่พึงประสงค์ของครูไทยตามแนวทางพุทธศาสนา การปฏิบัติทางสายกลาง ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ อริยมรรค อันมีองค์ ๘ - สัมมาทิฏฐิ การเห็นชอบ - สัมมาสังกัปปะ การดำริชอบ - สัมมาวาจา การพูดจาชอบ - สัมมากัมมันตะ การทำการงานชอบ - สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ - สัมมาวายามะ การเพียรชอบ - สัมมาสติ การระลึกชอบ - สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ

จรรยาบรรณและแบบแผนพฤติกรรมอันพึงประสงค์ ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ จรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษา ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.๒๕๔๘ กำหนดดังนี้

จรรยาบรรณต่อตนเอง ๑. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนา ทางวิทยาการเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ๒. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ๓. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า ๔. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และ นิสัยที่ถูกต้อง ดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็ม ความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ ๕. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

๖. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อ ความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์และ ผู้รับบริการ ๗. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและ เสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่ โดยมิชอบ

จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ๘. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน อย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ จรรยาบรรณต่อสังคม ๙. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการ อนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

แบบแผนพฤติกรรมอันพึงประสงค์ ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ

แบบแผนพฤติกรรมอันพึงประสงค์ตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู จรรยาบรรณต่อตนเอง ๑. ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และ วิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อยู่เสมอ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี - ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตตามประเพณี และ วัฒนธรรมไทย - ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพ ตามเป้าหมายที่กำหนด

- ค้นคว้า แสวงหา และนำเทคนิคด้านวิชาชีพที่พัฒนาและก้าวหน้า พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ต่อ) - ศึกษา หาความรู้ วางแผนพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และสะสมผลงาน อย่างสม่ำเสมอ - ค้นคว้า แสวงหา และนำเทคนิคด้านวิชาชีพที่พัฒนาและก้าวหน้า เป็นที่ยอมรับมาใช้แก่ศิษย์และผู้รับบริการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ที่พึงประสงค์

จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ๒. ครูต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และ เป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของวิชาชีพ - รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ - ยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานในวิชาชีพให้สาธารณชนรับรู้ - อุทิศตนเพื่อความก้าวหน้าของวิชาชีพ - ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต ตามกฎ ระเบียบ และแบบแผนของทางราชการ

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ต่อ) - เลือกใช้หลักวิชาที่ถูกต้อง สร้างสรรค์เทคนิค วิธีการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาวิชาชีพ - ใช้องค์ความรู้หลากหลายในการปฏิบัติหน้าที่ และแลกเปลี่ยน เรียนรู้กับสมาชิกในองค์การ - เข้าร่วมกิจกรรมของวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพอย่างสร้างสรรค์

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ๓. ครูต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่ โดยเสมอหน้า ครูต้องส่งเสริมให้เกิด การเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการตาม บทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ ครูต้องไม่กระทำตน เป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม ของศิษย์และผู้รับบริการ และครูต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - ให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือศิษย์และผู้รับบริการด้วยความเมตตา กรุณาอย่างเต็มกำลังความสามารถและเสมอภาค - สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก เยาวชน และ ผู้ด้อยโอกาส - ตั้งใจ เสียสละ และอุทิศตนในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้ศิษย์และ ผู้รับบริการได้รับการพัฒนาตามความสามารถ ความถนัด และ ความสนใจของแต่ละบุคคล

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ต่อ) - ส่งเสริมให้ศิษย์และผู้รับบริการสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วย ตนเองจากสื่อ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย - ให้ศิษย์และผู้รับบริการ มีส่วนร่วมวางแผนการเรียนรู้ และ เลือกวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเอง - เสริมสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ศิษย์และผู้รับบริการด้วยการ รับฟังความคิดเห็น ยกย่อง ชมเชย และให้กำลังใจ

จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ๔. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่น ในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - เสียสละ เอื้ออาทร และให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ - มีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกัน ผนึกกำลังในการพัฒนา การศึกษา

จรรยาบรรณต่อสังคม ๕. ครูพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อมรักษาผลประโยชน์ ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - ยึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริมการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข - นำภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรม มาเป็นปัจจัยในการจัด การศึกษาให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ต่อ) - จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ศิษย์เกิดการเรียนรู้และสามารถ ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง - เป็นผู้นำในการวางแผนและดำเนินการ เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาเศรษฐกิจ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรม

แบบแผนพฤติกรรมอันพึงประสงค์ ตามจรรยาบรรณวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา จรรยาบรรณต่อตนเอง ๑. ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อยู่เสมอ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี - ศึกษา ค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาวิชาชีพ อยู่เสมอ

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ต่อ) - ศึกษา ค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาวิชาชีพ อยู่เสมอ - ส่งเสริมและพัฒนาครูในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการจัดการเรียนรู้ - สร้างผลงานที่แสดงถึงการพัฒนาความรู้และความคิดในวิชาชีพ จนเป็นที่ยอมรับ - ส่งเสริมการปฏิบัติงานโดยมีแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และ ใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันและ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ๒. ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบ ต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของวิชาชีพ - รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ - ยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานในวิชาชีพให้สาธารณชนรับรู้ - ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต ตามกฎ ระเบียบ และ แบบแผนของทางราชการ - ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ และใช้ความรู้ความสามารถ ในการพัฒนาครูและบุคลากร

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ต่อ) - สนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาครู การเรียนการสอน และการบริหารสถานศึกษา - ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรได้ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย และ นำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ - เข้าร่วม ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของวิชาชีพ หรือ องค์กรวิชาชีพอย่างสร้างสรรค์

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ๓. ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า ผู้บริหารสถานศึกษาต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ แลนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ และผู้บริหารสถานศึกษาต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไมเรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - ปฏิบัติงานหรือให้บริการอย่างมีคุณภาพ โดยคำนึงถึงสิทธิ ขั้นพื้นฐานของผู้รับบริการ - ส่งเสริมให้มีการดำเนินงานเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก เยาวชน และ ผู้ด้อยโอกาส - บริหารงานโดยยึดหลักการบริหารกิจกาบ้านเมืองที่ดี - รับฟังความคิดเห็นที่มีเหตุผลของศิษย์และผู้รับบริการ - ให้ครูและบุคลากร มีส่วนร่วมวางแผนการปฏิบัติงานและเลือกวิธีการ ปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเอง

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ต่อ) - เสริมสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ศิษย์และผู้รับบริการด้วยการ รับฟังความคิดเห็น ยกย่อง ชมเชย และให้กำลังใจอย่าง กัลยาณมิตร - ให้ศิษย์และผู้รับบริการได้มีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิด หรือ วิธีการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพ

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ๔. ผู้บริหารการศึกษาพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - ริเริ่มสร้างสรรค์ในการบริหารเพื่อให้เกิดการพัฒนาทุกด้านต่อผู้ร่วม ประกอบวิชาชีพ - ส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ - เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา - ใช้ระบบคุณธรรมในการพิจารณาผลงานของ ผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ต่อ) - มีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกัน ผนึกกำลังในการพัฒนา การศึกษา - ยอมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ร่วมประกอบ วิชาชีพ

จรรยาบรรณต่อสังคม ๕. ผู้บริหารสถานศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - ยึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริมการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข - ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในทางวิชาการหรือวิชาชีพ แก่ชุมชน

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ต่อ) - ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อให้ศิษย์และ ผู้รับบริการเกิดการเรียนรู้และสามารถดำเนินชีวิตตาม หลักเศรษฐกิจพอเพียง - เป็นผู้นำในการวางแผนและดำเนินการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาเศรษฐกิจ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรม

แบบแผนพฤติกรรมอันพึงประสงค์ ตามจรรยาบรรณวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา จรรยาบรรณต่อตนเอง ๑. ผู้บริหารการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี - ศึกษา ค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาวิชาชีพ อยู่เสมอ

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ต่อ) - ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพ - นำแนวทางหรือรูปแบบใหม่มาใช้ในการปฏิบัติงานจนเกิด ประโยชน์ต่องานในหน้าที่และองค์การ - สามารถใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน - สร้างผลงานที่แสดงถึงการค้นพบและพัฒนาความรู้ ความคิด ในวิชาชีพ - เป็นผู้นำในการจัดทำแผนปฏิบัติการ ให้เหมาะสมกับ สภาพปัจจุบันและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ๒. ผู้บริหารการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบ ต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของวิชาชีพ - รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ - ยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานในวิชาชีพให้สาธารณชนรับรู้ - ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ สุจริต ตามกฎ ระเบียบ และแบบแผนของทางราชการ

- ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ และใช้ความรู้ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ต่อ) - ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ และใช้ความรู้ ความสามารถในการพัฒนาครูและบุคลากร - ให้ความร่วมมือจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนางานที่ตนปฏิบัติ หรืองานที่รับผิดชอบโดยไม่เรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทน ที่ควรได้รับ - สนับสนุน ส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย และ นำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อวิชาชีพ - สร้างสรรค์เทคนิค วิธีการใหม่ทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพ - เข้าร่วม ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของวิชาชีพหรือ องค์กรวิชาชีพอย่างสร้างสรรค์

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ๓. ผู้บริหารการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า ผู้บริหารการศึกษาต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงาม แก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่ อย่างเต็มความสามารถด้วย ความบริสุทธิ์ใจ ผู้บริหารการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และ จิตใจ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจอารมณ์ และสังคม ของศิษย์ และ ผู้รับบริการ และผู้บริหารการศึกษาต้องให้บริการด้วยความจริงใจ และเสมอภาค โดยไม่เรียกรับ หรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - ปฏิบัติงานหรือให้บริการอย่างมีคุณภาพ โดยคำนึงถึงสิทธิ ขั้นพื้นฐานของผู้รับบริการ - ส่งเสริมให้มีการดำเนินงานเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก เยาวชน และ ผู้ด้อยโอกาส - บริหารงานโดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี - รับฟังความคิดเห็นที่มีเหตุผลของผู้รับบริการ

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ต่อ) - ปฏิบัติหน้าที่อย่างมุ่งมั่น ตั้งใจเพื่อให้ผู้รับบริการพัฒนาตนเอง ได้เต็มตามศักยภาพ - ให้ผู้รับบริการได้ร่วมวางแผนการปฏิบัติงานและเลือก วิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเอง - เป็นกัลยาณมิตรกับผู้รับบริการ

จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ๔. ผู้บริหารการศึกษาพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน อย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคี ในหมู่คณะ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - ริเริ่มสร้างสรรค์ในการบริหารเพื่อให้เกิดการพัฒนาทุกด้าน ต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ - ส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ - เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ต่อ) - ใช้ระบบคุณธรรมในการพิจารณาผลงานของผู้ร่วมประกอบ วิชาชีพ - มีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกัน ผนึกกำลัง ในการพัฒนาการศึกษา - ยอมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ร่วมประกอบ

จรรยาบรรณต่อสังคม ๕. ผู้บริหารการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อมรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - ยึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริมการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข - ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในทางวิชาการหรือวิชาชีพ แก่ชุมชน

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ต่อ) - ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรม เพื่อให้ศิษย์และ ผู้รับบริการเกิดการเรียนรู้และสามารถดำเนินชีวิตตาม หลักเศรษฐกิจพอเพียง - เป็นผู้นำในการวางแผนและดำเนินการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาเศรษฐกิจ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรม

แบบแผนพฤติกรรมอันพึงประสงค์ ตามจรรยาบรรณวิชาชีพศึกษานิเทศก์ จรรยาบรรณต่อตนเอง ๑. ศึกษานิเทศก์ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และ วิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และ การเมือง อยู่เสมอ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี - ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพ ตามเป้าหมายที่กำหนด

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ต่อ) - ศึกษาหาความรู้ วางแผนพัฒนาตนเอง พัฒนางานและสะสม ผลงานอย่างสม่ำเสมอ - สร้างผลงานที่แสดงถึงการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ - ค้นหาวิธีการทำงาน การพัฒนาวิชาชีพ และสามารถนำมา ประยุกต์ให้เกิดผลดีต่อผู้รับการนิเทศ - นิเทศโดยยึดผู้รับการนิเทศเป็นสำคัญด้วยกระบวนการเรียนรู้ ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ - พัฒนาวิสัยทัศน์โดยผสมผสานนวัตกรรม เทคโนโลยี และ แนวคิด เพื่อใช้ในการพัฒนาวิชาชีพ

จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ๒. ศึกษานิเทศก์ ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของวิชาชีพ - รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ - ยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานในวิชาชีพให้สาธารณชนรับรู้ - ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต ตามกฎ ระเบียบ และแบบแผนของทางราชการ - เลือกใช้หลักการ วิธีการที่ถูกต้อง ได้ผลดี ทันสมัย และ สอดรับกับผู้รับการนิเทศ

- อุทิศตนเพื่อประโยชน์ของผู้รับการนิเทศและความก้าวหน้า ของวิชาชีพ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ต่อ) - อุทิศตนเพื่อประโยชน์ของผู้รับการนิเทศและความก้าวหน้า ของวิชาชีพ - สร้างสรรค์เทคนิค วิธีการใหม่ ๆ ทางการศึกษาเพื่อพัฒนา วิชาชีพ เป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ - แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกในองค์การหรือวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ใช้ศาสตร์ องค์ความรู้ในการปฏิบัติงาน - เข้าร่วม ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของวิชาชีพหรือ องค์กรวิชาชีพอย่างสร้างสรรค์

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ๓. ศึกษานิเทศก์ ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า ศึกษานิเทศก์ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงาม แก่ศิษย์ และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วย ความบริสุทธิ์ใจ ศึกษานิเทศก์ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ ศึกษานิเทศก์ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์และ ผู้รับบริการ และศึกษานิเทศก์ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - สนับสนุน ส่งเสริมผู้รับการนิเทศให้ประสบความสำเร็จตาม ความถนัด ความสนใจ และศักยภาพของแต่ละคน - ส่งเสริมให้มีการดำเนินงานเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก เยาวชน และ ผู้ด้อยโอกาส - มีข้อมูล แนวทางปฏิบัติที่หลากหลาย ให้ผู้รับการนิเทศนำไปใช้ เป็นตัวอย่าง - รับฟังความคิดเห็นที่มีเหตุผลของผู้รับการนิเทศ - ปฏิบัติหน้าที่อย่างมุ่งมั่น ตั้งใจ เพื่อให้ผู้รับการนิเทศพัฒนา ตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - สนับสนุน ส่งเสริมผู้รับการนิเทศให้ประสบความสำเร็จตาม ความถนัด ความสนใจ และศักยภาพของแต่ละคน - ส่งเสริมให้มีการดำเนินงานเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก เยาวชน และ ผู้ด้อยโอกาส - มีข้อมูล แนวทางปฏิบัติที่หลากหลาย ให้ผู้รับการนิเทศนำไปใช้ เป็นตัวอย่าง - รับฟังความคิดเห็นที่มีเหตุผลของผู้รับการนิเทศ - ปฏิบัติหน้าที่อย่างมุ่งมั่น ตั้งใจ เพื่อให้ผู้รับการนิเทศพัฒนา ตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ต่อ) - ให้ผู้รับการนิเทศได้ร่วมวางแผนพัฒนาตนเองและเลือกวิธีการ ที่เหมาะสมกับตนเอง - เสริมสร้างความภาคภูมิใจให้ผู้รับการนิเทศด้วยการรับฟัง ความคิดเห็น ยกย่อง ชมเชยและให้กำลังใจอย่างกัลยาณมิตร

จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ๔. ศึกษานิเทศก์พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - เสียสละ เอื้ออาทร และให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ - ส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ - เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา - ยอมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ร่วมประกอบ วิชาชีพ - มีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกัน ผนึกกำลังในการพัฒนา การศึกษา

จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ๔. ศึกษานิเทศก์พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - เสียสละ เอื้ออาทร และให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ - ส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ - เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา - ยอมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ร่วมประกอบ วิชาชีพ - มีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกัน ผนึกกำลังในการพัฒนา การศึกษา

จรรยาบรรณต่อสังคม ๕. ศึกษานิเทศก์ พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และ พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - ยึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริมการปกครองระบอบ - ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในทางวิชาการหรือวิชาชีพ แก่ชุมชน

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ต่อ) - ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรม เพื่อให้ศิษย์และ ผู้รับบริการเกิดการเรียนรู้ และสามารถดำเนินชีวิตตาม หลักเศรษฐกิจพอเพียง - เป็นผู้นำในการวางแผนและดำเนินการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาเศรษฐกิจ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรม

การจัดกิจกรรมเทิดพระคุณครู แนวทางและรูปแบบในการจัดกิจกรรมเทิดพระคุณครู - การจัดงานวันครู - การจัดพิธีคารวะครู - การจัดนิทรรศการ - การจัดประกวด - การประกาศยกย่องและเชิดชูเกียรติคุณครู - การจัดทำเอกสารเผยแพร่ - การเผยแพร่และประกาศเกียรติคุณครูในสื่อต่าง ๆ - รูปแบบอื่น ๆ

คำปฏิญาณตน ข้าขอปฏิญาณตนว่า ข้อ ๑ ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู ข้อ ๒ ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ ข้อ ๓ ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็น ประโยชน์แก่สังคม