มรสุม แนวปะทะอากาศ และพายุฝนฟ้าคะนอง
ทิศทางของลมมรสุม
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูง ในซีก โลกใต้บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออก เฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร มรสุมนี้ จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมาก และฝนชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล และเทือกเขา ด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากหมดอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว ประมาณกลางเดือน ตุลาคม จะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย จนถึง กลางเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมนี้มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงบน ซีกโลกเหนือ แถบประเทศมองโกเลียและจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็น และ แห้งจากแหล่งกำเนิดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศ หนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้นำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม การเริ่มต้นและ สิ้นสุดมรสุมทั้งสองชนิดอาจผันแปรไปจากปกติได้ในแต่ละปี
แนวปะทะอากาศ
แนวปะทะของมวลอากาศ แนวอากาศ หรือ แนวปะทะมวลอากาศ เกิดจากสภาวะที่อากาศที่แตกต่างกัน มาก โดยมีอุณหภูมิและความชื้นต่างกันมากมาพบกัน จะไม่ผสมกลมกลืนกัน แต่จะแยกจากกัน โดยที่ส่วนหน้าของมวลอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ลักษณะของมวลอากาศที่อุ่นกว่าจะถูกดันตัวให้ลอยไปอยู่เหนือลิ่มมวลอากาศ เย็น เนื่องจากมวลอากาศอุ่นมีความหนาแน่นน้อยกว่ามวลอากาศเย็น แนวที่ แยกมวลอากาศทั้งสองออกจากกันเราเรียกว่า แนวอากาศ โดยทั่วไปแล้วตาม แนวอากาศหรือแนวปะทะอากาศจะมีลักษณะของความแปรปรวนลมฟ้าอากาศ เกิดขึ้น เราสามารถจำแนกแนวอากาศหรือแนวปะทะอากาศของมวลอากาศได้ 4 ชนิด ดังนี้
แนวปะทะของมวลอากาศอุ่น (Warm Front) เกิดจากการที่มวลอากาศอุ่นเคลื่อนที่เข้ามายังบริเวณที่มีมวลอากาศเย็นกว่า โดยมวลอากาศเย็นจะยังคงตัวบริเวณพื้นดิน มวลอากาศอุ่นจะลอยตัวสูงขึ้น ซึ่ง แนวของอากาศอุ่นจะมีความลาดชันน้อยกว่าแนวอากาศเย็น (รูปที่ 1) ซึ่งจาก ปรากฏการณ์แนวปะทะมวลอากาศอุ่นดังกล่าวนี้ลักษณะอากาศจะอยู่ในสภาวะ ทรงตัว แต่ถ้าลักษณะของมวลอากาศอุ่นมีการลอยตัวขึ้นในแนวดิ่ง (มีความ ลาดชันมาก) จะก่อให้เกิดฝนตกหนักและพายุฝนฟ้าคะนอง สังเกตได้จากการ เกิดเมฆฝนเมฆนิมโบสเตรตัส หรือการเกิดฝนซู่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ฝนไล่ช้าง
Warm Front
แนวปะทะของมวลอากาศเย็น (Cold Front) เมื่อมวลอากาศเย็นเคลื่อนตัวลงมายังบริเวณที่มีละติจูดต่ำ มวลอากาศเย็นจะ หนัก จึงมีการเคลื่อนตัวติดกับผิวดิน และจะดันให้มวลอากาศอุ่นที่มีความ หนาแน่นน้อยกว่า ลอยตัวขึ้นตามความลาดเอียง ซึ่งมีความลาดชันมากถึง 1:80 ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวตามแนวปะทะอากาศเย็นจะมีสภาพอากาศ แปรปรวนมาก มวลอากาศร้อนถูกดันให้ลอยตัวยกสูงขึ้น เป็นลักษณะการก่อ ตัวของเมฆ คิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ท้องฟ้าจะมืดครึ้ม เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างรุนแรง เราเรียกบริเวณดังกล่าวว่า “แนวพายุฝน” (Squall Line)
Cold Front
แนวปะทะมวลอากาศคงที่ (Stationary Front) เป็นแนวปะทะอากาศที่มวลอากาศร้อนและมวลอากาศเย็นเคลื่อนที่มาพบกัน โดยทีไม่มีมวลอากาศใดเคลื่อนที่ไปแทนกัน ลมผิวพื้นในมวลอากาศทั้งสองจะพัดขนานกันหรือเกือบขนานกันหรือพัดออก จากแนวปะทะ ทาให้ไม่มีการเบียดเบียนหรือแทนที่ซึ่งกันและกัน มีลักษณะอากาศจะคล้ายกับบริเวณแนวปะทะอากาศร้อนแต่มีความรุนแรง น้อยกว่า จากสภาพที่ทั้งสองมวลอากาศมีแรงผลักดันเท่ากัน จึงเกิดภาวะสมดุลของแนว ปะทะอากาศขึ้น แต่จะเกิดในชั่วระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น เมื่อมวลอากาศ ใดมีแรงผลักดันมากขึ้นจะทำให้ลักษณะของแนวปะทะอากาศเปลี่ยนไปเป็น แนวปะทะอากาศแบบอื่น ๆ ทันที
แนวปะทะของมวลอากาศซ้อน (Occluded Front)
พายุฝนฟ้าคะนอง พายุฝนฟ้าคะนอง หมายถึง อากาศที่มีฝนตกหนัก มีฟ้าแลบฟ้าร้อง เป็นฝนที่ เกิดจากการพาความร้อน มีลมพัดแรง เกิดอย่างกะทันหันและยุติลงทันทีทันใด พายุฝนฟ้าคะนองเกิดจากการที่อากาศได้รับความร้อนและลอยตัวสูงขึ้นและมี ไอน้ำในปริมาณมากพอ ประกอบกับการลดลงของอุณหภูมิ จึงเกิดการกลั่นตัว ควบแน่นของไอน้ำ และเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง พายุฝนฟ้าคะนองประกอบด้วยเซลล์อากาศจำนวนมาก ในแต่ละเซลล์จะมี อากาศไหลขึ้นและลงหมุนเวียนกัน พายุฝนฟ้าคะนองเกิดมากในเขตร้อน เนื่องจากอากาศชื้นมากและมีอุณหภูมิสูง ทำให้มีสภาวะอากาศไม่ทรงตัว พายุฝนฟ้าคะนองมักเกิดจากเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus)
การพัฒนาตัวของพายุฝนฟ้าคะนอง
ระยะการเกิดเมฆคิวมูลัส (Cumulus Stage) หรือขั้นก่อตัว
ระยะการเกิดพายุ (Mature Stage) ระยะนี้พายุจะเริ่มพัดเกิดกระแสอากาศจมตัวลม เนื่องจากฝนตกลงมาจะ ดึง เอามวลอากาศให้จมตัวลงมาด้วย และมวลอากาศอุ่นก็ยังคงลอยตัวขึ้นเบื้องบน ต่อไป จากผลดังกล่าวทำให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวน และลมกระโชกแรง เนื่องมาจากมวลอากาศในก้อนเมฆมีความแปรผันมาก มีการหมุนเวียนของ กระแสอากาศขึ้นลง เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง รวมทั้งอาจมีลูกเห็บตกด้วยเช่นกัน
ระยะสลายตัว (Dissipating Stage) เป็นระยะสุดท้ายเมื่อศูนย์กลางพายุจมตัวลงใกล้พื้นดิน รูปทรงของเมฆจะ เปลี่ยนจากเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) เป็นเมฆอัลโตส เตรตัส (Altostratus) หรือ เมฆเซอโรคิวมูลัส (Cirrocumulus) ฝนจะเบาบางและหายไปในที่สุด
ชนิดของการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
ปรากฏการณ์ที่เกิดจากพายุฝนฟ้าคะนอง ขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนองจะเกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ลูกเห็บตก มีลม กระโชกแรงเป็นครั้งคราว โดยในรอบ 1 ปี ทั่วโลกมีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นถึง 16 ล้านครั้ง โดยเฉพาะ ในเขตละติจูดสูง และในเมืองที่อากาศร้อนชื้นจะมีจำนวนวันที่มีพายุฝนฟ้า คะนองเกิดได้ถึง 80 - 160 วันต่อปี สำหรับประเทศไทยมักเกิดมากในเดือน เมษายน - พฤษภาคม เป็นช่วงที่เกิด พายุฝนฟ้าคะนองมากที่สุด
ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า
ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่ง เกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนภายในก้อนเมฆ หรือระหว่างก้อนเมฆกับก้อนเมฆ หรือเกิดขึ้นระหว่างก้อน เมฆกับพื้นดิน การเคลื่อนที่ขึ้นลงของกระแสอากาศ ภายในเมฆคิวมูโลนิมบัส ทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าใน แต่ละบริเวณของก้อนเมฆและพื้นดินด้านล่าง เมื่อความ ต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างตำแหน่งทั้งสองที่มีค่าระดับหนึ่ง จะ ก่อให้เกิดสนามไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยมีประจุบวกอยู่ ทางด้านบนของก้อนเมฆ ประจุลบอยู่ทางตอนล่างของก้อน เมฆ พื้นดินบางแห่งมีประจุบวก พื้นดินบางแห่งมีประจุลบ ซึ่งจะเหนี่ยวนำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าได้
การเกิดฟ้าแลบ เกิดขึ้นพร้อมกับฟ้าร้อง แต่มนุษย์เรามองเห็นฟ้าแลบก่อนได้ยินเสียงฟ้าร้อง เนื่องจากแสงเดินทางเร็วกว่าเสียง (แสงมีอัตราเร็ว 300,000 กิโลเมตร/ วินาที ส่วนเสียงมีอัตราเร็ว 330 เมตร/วินาที) ประกายไฟฟ้าของฟ้าแลบ 1 ครั้ง มีปริมาณไฟฟ้าจำนวนสูงถึง 200,000 แอมแปร์ และมีความต่างศักย์ถึง 30 ล้านโวลต์ ฟ้าแลบเกิดจากประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่จากก้อนเมฆสู่ก้อนเมฆ เหตุการณ์นี้ใช้ เวลาน้อยกว่า 1 วินาที และเกิดเป็นแสงของฟ้าแลบ
การเกิดฟ้าร้อง เนื่องจากประกายไฟฟ้าของฟ้าแลบทำให้อากาศในบริเวณนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้น ถึงประมาณ 25,000 องศาเซลเซียส อย่างเฉียบพลัน มีผลทำให้อากาศมีการ ขยายตัวอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้เกิดเสียง "ฟ้าร้อง" เนื่องจากฟ้าร้องและฟ้าแลบเกิดขึ้นพร้อมกัน ดังนั้นเมื่อเรามองเห็นฟ้าแลบ และนับจำนวนวินาทีต่อไปจนกว่าจะได้ยินเสียงฟ้าร้อง เช่น ถ้านับได้ 3 วินาที แสดงว่าฟ้าแลบอยู่ห่างจากเราไปประมาณ 1 กิโลเมตร
การเกิดฟ้าผ่า เป็นปรากฏการควบคู่กันกับฟ้าแลบ และฟ้าร้อง เนื่องจากประจุไฟฟ้าได้มีการ หลุดออกมาจากกลุ่มเมฆฝน และถ่ายเทลงสู่พื้นดิน ต้นไม้ อาคารหรือ สิ่งก่อสร้าง ตลอดจนสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ฟ้าผ่าอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เนื่องจากมีพลังงานไฟฟ้าสูง ความ รุนแรงของกระแสไฟฟ้าจากฟ้าผ่าเพียงพอที่จะจุดหลอดไฟฟ้าขนาด 60 แรง เทียนให้สว่างได้ถึงจำนวน 600,000 ดวง เลยทีเดียว