งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เมฆ (Cloud)  เกิดจากไอน้ำในอากาศเมื่อกระทบความเย็นบางส่วนจะกลั่นตัวเป็นหยด น้ำเล็ก ๆ  รวมตัวกัน  ซึ่งจะมีรูปร่างลักษณะต่าง ๆ  กัน  บางครั้งจะเห็น รูปร่างเป็นก้อนคล้ายสำลีลอยอยู่ในท้องฟ้าที่ระดับความสูงต่าง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เมฆ (Cloud)  เกิดจากไอน้ำในอากาศเมื่อกระทบความเย็นบางส่วนจะกลั่นตัวเป็นหยด น้ำเล็ก ๆ  รวมตัวกัน  ซึ่งจะมีรูปร่างลักษณะต่าง ๆ  กัน  บางครั้งจะเห็น รูปร่างเป็นก้อนคล้ายสำลีลอยอยู่ในท้องฟ้าที่ระดับความสูงต่าง."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เมฆ (Cloud)  เกิดจากไอน้ำในอากาศเมื่อกระทบความเย็นบางส่วนจะกลั่นตัวเป็นหยด น้ำเล็ก ๆ  รวมตัวกัน  ซึ่งจะมีรูปร่างลักษณะต่าง ๆ  กัน  บางครั้งจะเห็น รูปร่างเป็นก้อนคล้ายสำลีลอยอยู่ในท้องฟ้าที่ระดับความสูงต่าง ๆ กัน  บางครั้งก็มีลักษณะรูปร่างคล้ายขนนก   ส่วนเมฆที่มีขนาดใหญ่เป็น แผ่นหนา สีดำมืด  ภายในก้อนเมฆนั้นเต็มไปด้วยหยดน้ำที่อัดตัวกัน แน่น  จะเรียกว่า  เมฆฝน 

2 เมฆ (Cloud)  แสดงว่าจะมีพายุ ฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น  ถ้าหยดน้ำที่รวมตัว กันเป็นเมฆมีขนาดใหญ่ขึ้นจนอากาศอุ้มไว้ไม่ได้ก็จะตกลง มาเป็นฝน   (rain)

3 แบ่งเมฆออกเป็น  3  ชั้น  1. เมฆชั้นสูง เกิดขึ้นที่ระดับความสูงมากกว่า 6 กิโลเมตร  ในการเรียกชื่อ จะเติมคำว่า “เซอโร” ซึ่งแปลว่า “ชั้นสูง” ไว้ข้างหน้า เช่น เมฆแผ่นชั้นสูง เรียกว่า “เมฆเซอโรสตราตัส” (Cirrostratus) เมฆก้อนชั้นสูงเรียกว่า “เมฆ เซอโรคิวมูลัส” (Cirrocumulus) นอกจากนั้นยังมีเมฆชั้นสูงที่มีรูปร่าง เหมือนขนนก เรียกว่า “เมฆเซอรัส” (Cirrus)

4 เมฆชั้นสูง เมฆเซอโรคิวมูลัส (Cirrocumulus) เมฆสีขาว เป็นผลึกน้ำแข็ง มี ลักษณะเป็นริ้วคลื่นเล็กๆ มัก เกิดขึ้นปกคลุมท้องฟ้าบริเวณ กว้าง

5 เมฆชั้นสูง เมฆเซอโรสตราตัส (Cirrostratus) เมฆแผ่นบาง สีขาว เป็นผลึกน้ำแข็ง ปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง โปร่งแสงต่อแสงอาทิตย์ บางครั้งหัก เหแสง ทำให้เกิดดวงอาทิตย์ทรงกลด และดวงจันทร์ทรงกลด เป็นรูป วงกลม สีคล้ายรุ้ง

6 เมฆชั้นสูง เมฆเซอรัส (Cirrus) เมฆริ้ว สีขาว รูปร่างคล้ายขน นก เป็นผลึกน้ำแข็ง มักเกิดขึ้น ในวันที่มีอากาศดี ท้องฟ้าเป็น สีฟ้าเข้ม

7 แบ่งเมฆออกเป็น  3  ชั้น  2. เมฆชั้นกลาง เกิดขึ้นที่ระดับสูง 2 – 6 กิโลเมตร ในการเรียกชื่อจะเติมคำ ว่า “อัลโต” ซึ่งแปลว่า “ชั้นกลาง” ไว้ข้างหน้า เช่น เมฆแผ่นชั้นกลาง เรียกว่า “เมฆอัลโตสตราตัส” (Altostratus)  เมฆก้อนชั้นกลางคือ “เมฆอัล โตคิวมูลัส” (Altocumulus)

8 เมฆชั้นกลาง เมฆอัลโตคิวมูลัส (Altocumulus) เมฆก้อน สีขาว มีลักษณะ คล้ายฝูงแกะ ลอยเป็นแพ มี ช่องว่างระหว่างก้อนเล็กน้อย

9 เมฆชั้น กลาง เมฆอัลโตสตราตัส (Altostratus) เมฆแผ่นหนา ส่วนมากมักมีสีเทา เนื่องจากบังแสงดวงอาทิตย์ ไม่ให้ลอด ผ่าน และเกิดขึ้นปกคลุมท้องฟ้าเป็น บริเวณกว้างมาก หรือปกคลุมท้องฟ้า ทั้งหมด

10 แบ่งเมฆออกเป็น  3  ชั้น  3. เมฆชั้นต่ำ อยู่สูงจากพื้นดินไม่เกิน 2 กิโลเมตร มี 5 ชนิด ได้แก่ เมฆสต ราตัส เมฆคิวมูลัส เมฆสตราโตคิวมูลัส เมฆนิมโบสตราตัส และเมฆคิวมู โลนิมบัส ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว อย่างไรก็ตามนักอุตุนิยมวิทยาถือว่า เมฆ คิวมูลัสและเมฆคิวมูโลนิมบัส เป็นเมฆก่อตัวในแนวดิ่ง ซึ่งมีฐานเมฆอยู่ใน ระดับเมฆชั้นต่ำ แต่ยอดเมฆอาจอยู่ในระดับของเมฆขั้นกลางและชั้นสูง

11 เมฆชั้นต่ำ เมฆสตราตัส (Stratus) เมฆแผ่นบาง ลอยสูงเหนือพื้นไม่มาก นัก เช่น ลอยปกคลุมยอดเขา  มัก เกิดขึ้นตอนเช้าหรือหลังฝนตก บางครั้งลอยต่ำมีลักษณะคล้ายหมอก

12 เมฆชั้นต่ำ เมฆสตราโตคิวมูลัส (Stratocumulus) เมฆก้อน ลอยติดกันเป็นแพ ไม่มี รูปทรงที่ชัดเจน มีช่องว่างระหว่าง ก้อนเพียงเล็กน้อย มักเกิดขึ้นเวลาที่ อากาศไม่ดี และมีสีเทา เนื่องจากลอย อยู่ในเงาของเมฆชั้นบน

13 เมฆชั้นต่ำ เมฆนิมโบสตราตัส (Nimbostratus) เมฆแผ่นสีเทา เกิดขึ้นเวลาที่อากาศมี เสถียรภาพทำให้เกิดฝนพรำๆ ฝนผ่าน หรือฝนตกแดดออกไม่มีพายุฝนฟ้า คะนอง ฟ้าร้องฟ้าผ่ามักปรากฏให้เห็น สายฝนตกลงมาจากฐานเมฆ

14 แบ่งเมฆออกเป็น  3  ชั้น  เมฆก่อตัวในแนวตั้ง (Clouds of Vertical Development) เกิดขึ้น ที่ระดับความสูง 500 เมตร ถึง 3000 เมตร

15 เมฆก่อตัวในแนวตั้ง เมฆคิวมูลัส (Cumulus) เมฆก้อนปุกปุย สีขาวเป็นรูปกะหล่ำ ก่อตัวในแนวตั้ง เกิดขึ้นจากอากาศไม่ มีเสถียรภาพ ฐานเมฆเป็นสีเทา เนื่องจากมีความหนามากพอที่จะบด บังแสง จนทำให้เกิดเงา มักปรากฏให้ เห็นเวลาอากาศดี ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าเข้ม

16 เมฆก่อตัวในแนวตั้ง เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) เมฆก่อตัวในแนวตั้ง พัฒนามาจากเมฆ คิวมูลัส  มีขนาดใหญ่มาก ปกคลุมพื้นที่ ครอบคลุมทั้งจังหวัด ทำให้เกิดพายุฝนฟ้า คะนอง หากกระแสลมชั้นบนพัดแรง ก็จะ ทำให้ยอดเมฆรูปกะหล่ำ กลายเป็นรูปทั่งตี เหล็ก ต่อยอดออกมาเป็น เมฆเซอโรสต ราตัส หรือเมฆเซอรัส

17 หยาดน้ำฟ้า หยาดน้ำฟ้า (Precipitation) เป็นชื่อเรียกรวมของหยดน้ำและน้ำแข็ง ที่เกิดจาการควบแน่นของไอน้ำแล้วตกลงมาสู่พื้น เช่น ฝน ลูกเห็บ หิมะ เป็นต้น หยาดน้ำฟ้าแตกต่างจากจากหยดน้ำหรือละอองน้ำใน ก้อนเมฆ (Cloud droplets) ตรงที่หยาดน้ำต้องมีขนาดใหญ่และมี น้ำหนักมากพอที่จะชนะแรงต้านอากาศ และตกสู่พื้นโลกได้โดยไม่ ระเหยเป็นไอน้ำเสียก่อน  

18 หยาดน้ำฟ้า ได้แก่ ละอองหมอก (Mist) เป็นหยดน้ำขนาด – 0.05 มิลลิเมตร เกิดจากเมฆสตราตัส ทำให้เรารู้สึกชื้นเมื่อเดินผ่าน มักพบบน ยอดเขาสูง  ฝนละออง (Drizzle) เป็นหยดน้ำขนาดเล็กกว่า 0.5 มิลลิเมตร เกิดจากเมฆสตราตัส พบเห็นบ่อยบนยอดเขาสูง ตกต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายชั่วโมง

19 หยาดน้ำฟ้า ได้แก่ ฝน (Rain) เป็นหยดน้ำมีขนาดประมาณ 0.5 – 5 มิลลิเมตร ฝนส่วนใหญ่ตกลงมาจากเมฆนิมโบสตราตัส และเมฆคิวมูโลนิมบัส 

20 หยาดน้ำฟ้า ได้แก่ หิมะ (Snow) เป็นผลึกน้ำแข็งขนาดประมาณ 1 – 20 มิลลิเมตร ซึ่งเกิดจากไอน้ำจากน้ำเย็นยิ่งยวด ระเหิดกลับเป็นผลึกน้ำแข็ง แล้วตกลงมา (เคยมีหิมะตกที่จังหวัดเชียงราย ในปีที่อากาศหนาว เย็นมาก)

21 หยาดน้ำฟ้า ได้แก่ ลูกเห็บ (Hail) เป็นก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร เกิดขึ้นจากกระแสในอากาศแนวดิ่งภายในเมฆคิวมูโลนิมบัส พัดให้ผลึกน้ำแข็งสะสมตัวจนมีขนาดใหญ่และตกลงมา 

22 ฝนกรด  ฝนกรด (Acid Rain) วัดได้จากการใช้เสกลที่เรียกว่า pH ซึ่งค่ายิ่ง น้อยแสดงความเป็นกรดที่แรงขึ้น น้ำบริสุทธิ์มี pH เท่ากับ 7 น้ำฝน ปกติมีความเป็นกรดเล็กน้อยเพราะว่ามีคาร์บอนไดออกไซด์ละลาย อยู่  ส่วนฝนกรดจะมี pH ต่ำกว่า 5.6 ฝนกรดส่วนมากพบใน บริเวณศูนย์กลางอุตสาหกรรมได้แก่ ทวีปยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น และ จีน   

23 การเกิดของฝนกรด กรดในน้ำฝนเกิดจากการละลายน้ำ ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนตริกอ อกไซด์ ที่มีอยู่ในบรรยากาศ ซึ่ง เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจาก การกระทำของมนุษย์

24 การเกิดของฝนกรด เมื่อฝนตกลงมาจึงละลายก๊าซเหล่านั้น ทำให้น้ำฝนมีค่าความเป็นกรด สูงขึ้น สำหรับธาตุไนโตรเจน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของสิ่งที่มีชีวิต ทั้งหลาย เมื่อตายไปซากพืชและสัตว์จะเน่าสลาย มีก๊าซแอมโมเนียเกิดขึ้น จุลินทรีย์บางกลุ่มจะเปลี่ยนก๊าซแอมโมเนียให้เป็นสารจำพวกไนไตรต์และ ไนเตรต และจุลินทรีย์กลุ่มอื่นก็อาจจะแปลงสารดังกล่าว ย้อนกลับไปเป็น ก๊าซไนโตรเจนในบรรยากาศได้ ส่วนพืชจำพวกถั่วมีความสามารถต่างจาก พืชอื่นคือ ดึงก๊าซไนโตรเจนในบรรยากาศมาใช้ได้โดยตรง แล้วทำให้เกิด ปุ๋ยในดินเพิ่มขึ้น

25 ผลกระทบของฝนกรด พืช ฝนกรดสามารถทำปฎิกิริยากับธาตุอาหารที่สำคัญของ พืช เช่น Calcium, magnesium และ potassium ทำให้พืชไม่ สามารถนำธาตุอาหารไปใช้ได้ และ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ใน บรรยากาศยังไปปิดปากใบพืช ทำให้ความสามารถในการ สังเคราะห์แสงลดลง

26 ผลกระทบของฝนกรด สัตว์ โดยเฉพาะสัตว์น้ำจะได้รับผลกระทบโดยตรง จากการศึกษา พบว่า ความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นของน้ำทำให้สัตว์น้ำไม่สามารถ ดำรงชีวิตอยู่ได้ จากการศึกษาพบว่า จำนวนปลา Trout และ salmon ในประเทศนอร์เวย์ได้ลดจำนวนลงเป็นจำนวนมากและในระยะยาว ยังพบว่าปลาหยุดการผสมพันธุ์อีกด้วย นอกจากนี้สัตว์ที่อยู่ใน ลำดับขั้นที่สูงกว่าก็จะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน

27 ผลกระทบของฝนกรด สิ่งก่อสร้าง ฝนกรดสามารถละลาย Calcium carbonate ใน หินเกิดการผุพัง เช่น ปิรามิดในประเทศอียิปต์ และ ทัชมา ฮาลในประเทศอินเดีย


ดาวน์โหลด ppt เมฆ (Cloud)  เกิดจากไอน้ำในอากาศเมื่อกระทบความเย็นบางส่วนจะกลั่นตัวเป็นหยด น้ำเล็ก ๆ  รวมตัวกัน  ซึ่งจะมีรูปร่างลักษณะต่าง ๆ  กัน  บางครั้งจะเห็น รูปร่างเป็นก้อนคล้ายสำลีลอยอยู่ในท้องฟ้าที่ระดับความสูงต่าง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google