งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ตอนที่ 2 ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ตอนที่ 2 ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ตอนที่ 2 ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ตอนที่ 2 ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

2 ขอบเขตการบังคับใช้วิ.ปกครอง
2.1 ทบทวนหลักการกระทำทางปกครองต้อง ชอบด้วยกฎหมาย 2.2 การบังคับใช้กับคำสั่งทางปกครอง 2.3 ขอบเขตการใช้วิ.ปกครองในฐานะกฎหมาย กลาง (มาตรา 3) 2.4 ข้อยกเว้นการบังคับใช้วิ.ปกครอง (มาตรา 4)

3 หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย
กรณีศึกษา ความเป็นมาของแนวคิด สาระสำคัญ ความแตกต่างของหลักกฎหมายมหาชนกับหลัก กฎหมายเอกชน หลักการกระทำทางปกครองต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย หลักไม่มีกฎหมายไม่มีอำนาจ

4 กรณีศึกษาเพื่อการแลกเปลี่ยน
นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียน กับผู้แทนเยาวชน แสดงความเป็นห่วง ปัจจุบัน สังคมขาดความเอื้ออาทร และไม่เคารพกฎหมาย 27 เม.ย. 2558

5 กรณีศึกษาเพื่อการแลกเปลี่ยน

6 “ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อ
ป.อาญา มาตรา 113 “ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อ ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ.....” ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกบฏต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ร.ธ.น มาตรา 48 “บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดอำนาจและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดินเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557…. ไม่ว่าก่อนหรือหลัง หากการกระทำนั้นผิดกฎหมายให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง”

7 กรณีศึกษาเพื่อการแลกเปลี่ยน
รณรงค์ไม่เอารัฐประหารถูกจับ รณรงค์ตรวจสอบการทุจริตถูกจับ

8 กรณีศึกษาเพื่อการแลกเปลี่ยน
คสช.ออกประกาศยกเลิกผังเมืองเพื่อเปิดทางอุตสาหกรรมทั่วประเทศ

9 ความเป็นมาของแนวคิด ทำไมต้องปกครองโดยกฎหมาย
ทวิลักษณะของมนุษย์ : เหตุผล กับ อารมณ์ความรู้สึก มีความไม่แน่นอน ทำอะไรตามอำเภอใจ เอกลักษณ์ของกฎหมาย : เหตุผล มีความแน่นอนชัดเจน ตัดอารมณ์ ความรู้สึกออกไป

10 ความเป็นมาของแนวคิด นักปรัชญากรีก ระบอบการปกครองที่ดีที่สุด คือ ราชาปราชญ์/ Philosophy King ระบอบการปกครองที่ดีถัดมา คือ การปกครองโดย กฎหมาย/ The Law ระบอบการปกครองโดยกฎหมายเท่านั้นที่เป็นที่ ปรารถนาของประชาชน

11 ความเป็นมาของแนวคิด ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ประชาชนเป็นเพียงวัตถุแห่งการปกครอง การกำหนดสิทธิหน้าที่มาจากผู้ปกครอง The King can do no wrong ฝ่ายบริหารไม่มีทางทำผิดกฎหมาย “รัฐ ก็คือตัวข้า” หลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส

12 ความเป็นมาของแนวคิด พัฒนาการทางการเมืองมาจากการต่อสู้เรียกร้อง
ผู้ถูกปกครองมีอำนาจมากขึ้นจากการต่อสู้ Magna Carta กษัตริย์ยอมจำกัด อำนาจ Glorious Revolution กษัตริย์ ยอมอยู่ใต้กฎหมายของสภา, ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายของสภา อังกฤษจึงเป็นต้นแบบของประเทศประชาธิปไตยที่ปกครอง โดยกฎหมาย

13 หลักการปกครองโดยกฎหมายในระบบกฎหมายไทย
คำถาม ประเทศไทยเปลี่ยนจากการปกครองโดยคน มาเป็นการปกครองโดยกฎหมายเมื่อใด 2) อะไรคือหลักฐานยืนยันการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว

14 หลักการปกครองโดยกฎหมายในระบบกฎหมายไทย
24 มิถุนายน เปลี่ยนแปลงการปกครอง ร.ธ.น. 10 ธ.ค. 2475 มาตรา 2 อำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม มาตรา 12 ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติใน รัฐธรรมนูญนี้ บุคคลย่อมเสมอกันโดยกฎหมาย

15 หลักกฎหมายเอกชนกับหลักกฎหมายมหาชน
หลักการพื้นฐานของกฎหมายเอกชน หลักเสรีภาพ แดนอำนาจของเอกชน ประชาชนมีเสรีภาพจะทำอะไรก็ได้ ตราบเท่าที่ไม่มีกฎหมาย ห้าม เช่น ในการขอทำบัตรประชาชน ประชาชนมีสิทธิที่จะแจ้ง เจ้าหน้าที่ว่าตนนับถือศาสนาอะไร หรือไม่นับถือศาสนาก็ได้

16 หลักกฎหมายเอกชนกับหลักกฎหมายมหาชน
หลักการพื้นฐานของกฎหมายมหาชน ผูกพันต่อกฎหมาย ในฐานะฐานแห่งอำนาจ เคารพสิทธิเสรีภาพประชาชน ฝ่ายปกครองจะกระทำการกระทบสิทธิประชาชนไม่ได้ เว้นแต่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ เช่น เจ้าหน้าที่รับทำบัตรประชาชน ต้องการให้ประชาชน ระบุศาสนาที่นับถืออย่างชัดเจนได้หรือไม่

17 กรณีศึกษาที่ ๑ พวกชอบตื๊อ น.ศ. ถูกใจเพื่อนร่วมคณะ น.ศ. จึงติดตามตื้อเพื่อ จะขอชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร ขอจีบ ขอเป็นแฟน หรือขอ แต่งงาน โดยตามอยู่นานเพื่อนก็ไม่เปลี่ยนใจและบอกให้ หยุดตามตื้อ แต่น.ศ.เชื่อที่แม่บอกว่าตื้อเท่านั้นที่ครอง โลก จึงยังคงตามตื้อต่อไป เช่นนี้เพื่อนนักศึกษาจะ ดำเนินการทางกฎหมายกับ น.ศ.ได้หรือไม่อย่างไร

18 กรณีศึกษาที่ ๒ พวกชอบดื่ม ชอบคุย น.ศ. กับเพื่อน ๆ ไปเที่ยวดื่มกินกันที่ร้าน Warm Up ขณะที่กำลังคุยกันอย่างออกรสอยู่ ตำรวจนอก เครื่องแบบได้เข้าตรวจสอบความเรียบร้อยและถามชื่อและ ขอตรวจบัตรประจำตัวประชาชน น.ศ. มีสิทธิปฏิเสธ หรือไม่ อย่างไร

19 เนื้อหาของ หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย
หลักการกระทำทางปกครองต้องไม่ขัดต่อกฎหาย ความมาก่อนของกฎหมาย หลักไม่มีกฎหมายไม่มีอำนาจ เงื่อนไขของกฎหมาย

20 หลักการกระทำทางปกครองต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย
ฝ่ายปกครองต้องไม่กระทำการใดที่ขัดต่อกฎหมาย ต้องพิจารณาว่าในขณะที่ฝ่ายปกครองจะใช้อำนาจนั้น มีกฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้อง หากไปขัดกฎหมาย ฉบับใดฉบับหนึ่ง ต้องละเว้นจากการกระทำนั้น หากฝ่ายปกครองฝ่าฝืนย่อมส่งผลให้การกระทำ ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

21 หลักการกระทำทางปกครองต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย
การกระทำทางปกครอง คือ ผลิตผลของการใช้อำนาจ ทางปกครอง ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น ? การกระทำหน้าที่ vs การริเริ่ม โครงการสวัสดิการสังคมต่าง ๆ กฎหมาย อะไรบ้างที่เป็นข้อจำกัดของการกระทำทาง ปกครอง ?

22 กฎหมายที่เป็นข้อจำกัดของการใช้อำนาจทางปกครอง
รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติหรือกฎหมายที่เทียบเท่าพระราชบัญญัติ จารีตประเพณี กฎหมายลำดับรอง ระเบียบภายในฝ่ายปกครอง เฉพาะที่สร้างขึ้นมาเพื่อ คุ้มครองสิทธิประชาชน

23 คำสั่ง, สัญญา, ปฏิบัติการ
พีระมิดของกฎหมาย ร.ธ.น. พ.ร.บ./เทียบเท่า กฎ คำสั่ง, สัญญา, ปฏิบัติการ

24 2.1 การบังคับใช้กับ คำสั่งทางปกครอง
2.1 การบังคับใช้กับ คำสั่งทางปกครอง

25 กิจกรรมทางปกครอง กิจกรรมเชิงควบคุม การรักษาความสงบเรียบร้อย
การดูแลประโยชน์สาธารณะ กิจกรรมเชิงบริการ การจัดให้มีสาธารณูปโภค การบริการประชาชน กิจกรรมเชิงปราบปราม การดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 1. กิจกรรมเชิงควบคุม = ในรูปแบบคำสั่ง กฎ เช่น การออกใบอนุญาตต่างๆ อาจารย์ การออกเกรด การควบคุมคุณภาพการศึกษา การลงโทษนักศึกษาผิดวินัย 2. กิจกรรมเชิงให้บริการ = ในรูปแบบการกระทำกายภาพ/ปฏิบัติการทางปกครอง สัญญาทางปกครอง เช่น การจัดให้มีสาธารณูปโภค การสอน 3. กิจกรรมเชิงปราบปราม ตำรวจทางยุติธรรม police judiciaire ตำรวจ อัยการเป็นฝ่ายปกครอง แต่ใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด ขึ้นตรงต่อสำนักนายกรัฐมนตรี (สั่งขัง ชอบไม่ชอบ สั่งฟ้องไม่ฟ้อง ประกัน) มาตรา ๔ พรบ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (๘) การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

26 รูปแบบการกระทำของฝ่ายปกครอง
กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน ปฏิบัติการทางปกครอง การกระทำทางกฎหมาย ความสัมพันธ์ภายใน ความสัมพันธ์ภายนอก รูปธรรม-เฉพาะราย นามธรรม-ทั่วไป นามธรรม-ทั่วไป รูปธรรม-ทั่วไป รูปธรรม-เฉพาะราย คำสั่งภายใน กฎ ระเบียบภายใน คำสั่งทั่วไป ทางปกครอง ฝ่ายเดียว สองฝ่าย คำสั่งทางปกครอง สัญญาทางปกครอง

27 กิจกรรมทางปกครอง กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน
ฝ่ายปกครองมีฐานะเหนือกว่าเอกชน ใช้อำนาจมหาชนบังคับ กำหนดสิทธิและหน้าที่ของเอกชนโดยไม่ต้องการการยินยอม กฎหมายเอกชน ฝ่ายปกครองมีฐานะเท่าเทียมกับเอกชน หลักความยินยอมในการผูกนิติสัมพันธ์(สัญญาทางแพ่ง)

28 การกระทำที่มุ่งต่อผลทางกฎหมาย การกระทำทางข้อเท็จจริง
การกระทำทางปกครอง ในระบบกฎหมายมหาชน การกระทำที่มุ่งต่อผลทางกฎหมาย (ก่อตั้ง เปลี่ยนแปลง ยกเลิก นิติสัมพันธ์) ปฏิบัติการทางปกครอง การกระทำทางข้อเท็จจริง (ไม่เกิดความเคลื่อนไหวในสิทธิและหน้าที่)

29 การกระทำที่มุ่งต่อผลทางกฎหมาย
การกระทำฝ่ายเดียว ผลภายนอก ผลทั่วไป กฎ ผลเฉพาะ คำสั่ง ไม่เจาะจงบุคคล เจาะจงกรณี คำสั่งทั่วไป ผลภายใน ระเบียบภายใน คำสั่งภายใน การกระทำสองฝ่าย สัญญาทางปกครอง

30 มาตรา 5 วรรคสาม วิ.ปกครอง
“คำสั่งทางปกครอง” หมายความว่า (๑) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้าง นิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การ อนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจด ทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ (๒) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง

31 คำสั่งทางปกครอง ความหมายโดยเนื้อหา (มาตรา 5 วรรคสาม (1) พ.ร.บ.วิ.ปกครอง) ความหมายตามที่องค์กรฝ่ายปกครองบัญญัติไว้ เป็นกรณีในกฎกระทรวง (มาตรา 5 วรรคสาม (2) พ.ร.บ.วิ.ปกครอง)

32 ◊ คำสั่งทางปกครองตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (มาตรา 5 วรรคสาม (2) วิ
◊ คำสั่งทางปกครองตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (มาตรา 5 วรรคสาม (2) วิ.ปกครอง) “(๒) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง” เป็นการบังคับให้เป็นคำสั่งทางปกครอง โดยอำนาจทาง กฎหมาย แม้จะไม่เข้าลักษณะของคำสั่งทางปกครอง ตามความหมายโดยแท้

33 การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาหรือให้สิทธิประโยชน์ของทางราชการ
กฎกระทรวงฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เป็นคำสั่งทางปกครอง การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาหรือให้สิทธิประโยชน์ของทางราชการ สั่งรับหรือไม่รับคำเสนอขาย รับจ้าง แลกเปลี่ยน ให้เช่า ซื้อ เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ อนุมัติสั่งซื้อ จ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขาย ให้เช่าหรือให้สิทธิปย. สั่งยกเลิกกระบวนพิจารณาคำเสนอ สั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน การให้หรือไม่ให้ทุนการศึกษา

34 ◊ คำสั่งทางปกครองโดยเนื้อหา (มาตรา 5 วรรคสาม (1) วิ.ปกครอง)
“(๑) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็น การสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อ สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการ ถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ”

35 ◊ คำสั่งทางปกครองโดยเนื้อหา
การกระทำของเจ้าหน้าที่ เป็นการใช้อำนาจปกครอง เป็นการใช้อำนาจฝ่ายเดียว เป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือมีผลกระทบต่อ สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล มีผลภายนอกฝ่ายปกครอง มีผลเฉพาะบุคคลและเฉพาะกรณี เพื่อที่จะเป็นคำสั่ง ต้องเข้าเกณฑ์ ทุกข้อ

36 1. การกระทำของเจ้าหน้าที่
คำสั่งทางปกครองต้องกระทำโดย « เจ้าหน้าที่ » ที่ กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ ข้อยกเว้น เอกชนอาจได้รับมอบอำนาจปกครองจาก กฎหมาย (พ.ร.บ.) ให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง

37 พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 22 ให้เจ้าพนักงานต่อไปนี้ มีอำนาจออกใบอนุญาต ให้แก่บุคคลที่ได้รับ ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน มีอาวุธ ปืนติดตัวไปได้ตามความที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๑) อธิบดีกรมตำรวจ สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร และ ทั่วราชอาณาจักร (๒) ผู้ว่าราชการจังหวัด เฉพาะภายในเขตจังหวัดของตน และเฉพาะผู้ที่มีถิ่น ที่อยู่ในเขตจังหวัดนั้น

38 พ.ร.บ. สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546
มาตรา 55 สถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีอำนาจให้ ประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรบัณฑิต ในสาขาวิชาที่มี การศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้

39

40 สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)
พ.ร.บ. การขนส่ง ทางบก พ.ศ. 2522

41 2. เป็นการใช้อำนาจปกครอง
≠ การใช้อำนาจนิติบัญญัติ คำสั่งของประธานรัฐสภาในการ ดำเนินการประชุมเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ. การตรากฎหมาย ≠ คำสั่งทางปกครอง

42 ≠ การใช้อำนาจตุลาการ คำพิพากษาของศาล หรือ คำสั่งใดๆในกระบวนการ พิจารณาพิพากษาอรรถคดี ≠ คำสั่งทางปกครอง

43 คำสั่งของประธานศาลฎีกาในฐานะประธานคณะกรรมการ ตุลาการศาลยุติธรรม (ก. ต
คำสั่งของประธานศาลฎีกาในฐานะประธานคณะกรรมการ ตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) เพื่อไล่ผู้พิพากษาที่ทำผิด วินัยร้ายแรงออกจากราชการ โดยอาศัยอำนาจจาก พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 = คำสั่งทางปกครอง แต่ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ม.9 วรรคสอง (2) กำหนดยกเว้นไว้ไม่ให้ศาลปกครองมีอำนาจตรวจสอบการ ดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ

44 ≠ การใช้อำนาจรัฐบาล ทางเนื้อหา ทางฐานอำนาจ ความสัมพันธ์กับรัฐสภา
การกำหนดนโยบาย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทางฐานอำนาจ การกระทำทางรัฐบาล ได้รับอำนาจจากบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญ

45 3. เป็นการใช้อำนาจฝ่ายเดียว
เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจฝ่ายเดียวที่เหนือกว่าวินิจฉัยสั่ง การโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับคำสั่ง โดยอาศัยฐานอำนาจจากกฎหมาย (พ.ร.บ. พ.ร.ก. กฎหมายลำดับรอง)

46 ≠ สัญญา สัญญา การแสดงเจตนาของบุคคลสองฝ่าย มีการทำคำเสนอและคำสนอง แลกเปลี่ยนเจตนาซึ่งกันและกัน เมื่อเจตนาสอดคล้องกันก็เกิดเป็น สัญญา สัญญาทางปกครอง (มาตรา 3 พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครอง) สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทาง ปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และ มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติ

47 คำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสัญญา
คำสั่งทางปกครองที่มีการร้องขอ เช่น ใบอนุญาตต่างๆ คำสั่งทางปกครองที่ต้องการความยินยอมของผู้รับคำสั่ง เช่น คำสั่งบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ

48 4. เป็นการก่อตั้ง เปลี่ยนแปลง ระงับนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือ มีผลกระทบต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล “การสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อ สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการ ถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน” (มาตรา 5 วิ. ปกครอง)

49 การกำหนด การยืนยัน สถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของ บุคคล
การกำหนดกฎเกณฑ์ การสั่งการ การบังคับให้กระทำการ งด เว้นกระทำการ ยอมให้บุคคลอื่นกระทำการ การอนุญาต หรือไม่อนุญาต การอนุมัติหรือไม่อนุมัติ เช่น คำสั่งให้รื้อถอนอาคาร คำสั่งปฏิเสธคำขอใบอนุญาตตั้งสถาน บริการ การกำหนด การยืนยัน สถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของ บุคคล เช่น คำสั่งแต่งตั้งบรรจุข้าราชการ การรับรองวุฒิการศึกษา

50 ไม่เป็นคำสั่งทางปกครอง
การให้ข้อมูล คำแนะนำ การเตือน การขอความร่วมมือให้ กระทำหรือละเว้นการกระทำ เช่น หนังสือเตือนให้คนต่างด้าวไปต่อใบอนุญาต การแจ้งคำสั่ง การเตรียมการหรือการพิจารณาของเจ้าหน้าที่เพื่อออกคำสั่ง เช่น คำสั่งแต่งตั้งคกก.สอบสวนความผิดวินัย

51 การสอบสวนความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ตั้งคณะกรรมการสอบสวน คัดค้านกรรมการหรือกรรมการถอนตัว แจ้งและอธิบายข้อกล่าวหา รวบรวมพยานหลักฐาน แจ้งสรุปพยานหลักฐานและให้โอกาสแก้ข้อกล่าวหา ทำรายงานการสอบสวน สั่งลงโทษทางวินัย

52 5. มีผลกระทบภายนอกฝ่ายปกครอง
≠ คำสั่งภายในฝ่ายปกครอง การสั่งการระหว่างผู้บังคับบัญชาต่อผู้ใต้บังคับบัญชาเกี่ยวกับ การปฏิบัติหน้าที่ ไม่มีผลเป็นการก่อตั้ง เปลี่ยนแปลง หรือ ยกเลิกสิทธิของบุคคลภายนอกฝ่ายปกครอง

53 คำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ที่กระทบต่อสิทธิหน้าที่ใน ฐานะที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นกลไกขององค์กร
เช่น คำสั่งของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ทำรายงาน ทำแผนที่ = คำสั่งภายในฝ่ายปกครอง คำสั่งที่กระทบต่อสิทธิหน้าที่ส่วนบุคคลของผู้ใต้บังคับบัญชา เช่น คำสั่งลงโทษทางวินัย = คำสั่งทางปกครอง

54 กฎ คำสั่งทางปกครอง 6. มีผลเฉพาะบุคคลและเฉพาะกรณี ไม่เจาะจงบุคคล
และไม่เจาะจงกรณี ทั่วไป นามธรรม กฎ เจาะจงบุคคล และเจาะจงกรณี เฉพาะราย รูปธรรม คำสั่งทางปกครอง ไม่เจาะจงบุคคล แต่เจาะจงกรณี ทั่วไป รูปธรรม คำสั่งทั่วไป ทางปกครอง

55 แบบฝึกหัดชิ้นที่ 1 ให้นักศึกษายกตัวอย่างการกระทำทางปกครองที่นักศึกษาเห็น ว่าเป็นคำสั่งทางปกครองมาหนึ่ง ฉบับ แล้วอธิบายตาม องค์ประกอบของคำสั่งทางปกครองว่า การกระทำทางปกครอง ดังกล่าวมีลักษณะครบถ้วนตามองค์ประกอบของคำสั่งทาง ปกครองอย่างไร โดยอ้างอิงมาตราของกฎหมายให้ชัดเจน

56 กฎ “กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือ บทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใด เป็นการเฉพาะ (มาตรา 5 วิ.ปกครอง)

57 กรณีศึกษาที่ 1 ถ้านักศึกษาได้รับเลือกเป็น ส.ส. และ ต้องการออกกฎหมาย เพื่อคุ้มครองสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งจากการศึกษากฎหมาย สิ่งแวดล้อมเปรียบเทียบพบว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้สร้าง ระบบการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA)เป็น เครื่องมือ นักศึกษาต้องการนำระบบนี้มาปรับใช้ในประเทศ ไทย นักศึกษาจะเขียนกฎหมายอย่างไรให้ครอบคลุมกิจกรรม ที่อาจจะกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมทั้งหมดที่ต้องทำ EIA

58

59

60 กรณีศึกษาที่ 1 เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มาตรา 46 เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ มีอำนาจประกาศ กำหนดประเภทและขนาดของโครงการ หรือกิจการที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

61 กรณีศึกษาที่ 1 ประกาศกระทรวงฯ กำหนดชนิดหรือประเภทโครงการ
2524 ตาม พ.ร.บ. ฉบับเดิมประกาศให้โครงการหรือ กิจกรรม 22 ประเภทต้องทำ EIA 2552 แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงฯ จาก 22 ประเภทโครงการเป็น 34 ประเภทที่ต้องทำ EIA 2555 แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงฯ จาก 34 โครงการเป็น 35 โครงการที่ต้องทำ EIA

62 กรณีศึกษาที่ 1 ตัวอย่างโครงการหรือกิจกรรมที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามประกาศกระทรวงปี 2555 การทำเหมืองแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ การพัฒนาปิโตรเลียม (สำรวจโดยวิธีการเจาะสำรวจ / ผลิต) ระบบขนส่งปิโตรเลียมและน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ นิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมหรือ โครงการที่มีลักษณะเดียวกัน หรือ การจัดสรรที่ดินเพื่อการ อุตสาหกรรม

63 กรณีศึกษาที่ 1 โรงไฟฟ้าพลังความร้อน
ทางหลวงหรือถนน ซึ่งมีความหมายตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง ที่ตัดผ่านพื้นที่ที่กำหนด ระบบขนส่งมวลชนที่ใช้ราง ท่าเทียบเรือ การถมที่ดินในทะเล การก่อสร้างหรือขยายสิ่งก่อสร้างบริเวณหรือในทะเล

64 ไม่เจาะจงบุคคล มีการนิยามผู้ที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎเป็น “ประเภท”
คนต่างด้าว นักศึกษา โดยหลัก ไม่อาจทราบจำนวนที่แน่นอนของผู้อยู่ภายใต้ บังคับของกฎ แต่บางครั้งผู้อยู่ภายใต้บังคับของกฎซึ่งมีการนิยามเป็น ประเภทแล้วอาจมีคนเดียว เช่น นายกรมต. ประธานศาลปกครอง ลักษณะของกฎ มีผลบังคับเป็นการทั่วไป ไม่เจาะจงบุคคลและกรณี 1. ไม่เจาะจงบุคคล มีการนิยามผู้ที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎเป็น “ประเภท” ไม่เจาะจงตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่น เพศชาย (รับราชการทหาร) คนต่างด้าว นักศึกษา โดยหลักเราไม่อาจทราบจำนวนที่แน่นอนของผู้อยู่ภายใต้บังคับของกฎ แต่บางครั้งผู้อยู่ภายใต้บังคับของกฎซึ่งมีการนิยามเป็นประเภทแล้วอาจมีคนเดียว เช่น นายกรมต. ประธานศาลปกครอง 2. ไม่เจาะจงกรณี การกระทำที่บังคับหรืออนุญาตให้กระทำมีลักษณะเป็นนามธรรม มีผลซ้ำๆ จนกว่าจะยกเลิก - กฎไม่ได้บังคับหรืออนุญาตให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ในกรณีเฉพาะเรื่องกรณีใดกรณีหนึ่งเท่านั้น แต่บังคับหรืออนุญาตให้กระทำทุกๆครั้งเมื่อปรากฏว่ามีข้อเท็จจริงประการใดประการหนึ่งตามที่กำหนดไว้เกิดขึ้น - การแยกการกระทำที่มีลักษณะเป็นนามธรรมและรูปธรรม = ถ้ากระทำการตามที่ถูกบังคับหรืออนุญาตแล้ว ผู้อยู่ภายใต้บังคับของกฎยังมีหน้าที่ที่จะต้องกระทำการอย่างนั้นในครั้งต่อไปหรือไม่ ถ้ามีข้อเท็จจริงตามที่กำหนดไว้เกิดขึ้น ถ้าต้องทำ นามธรรม ถ้าทำแล้วเป็นอันหมดสิทธิหรือหน้าที่ รูปธรรม ตย. - อาจารย์อนุญาตให้นักศึกษาไม่ต้องแต่งชุดนักศึกษามาเข้าชั้นเรียนในวันที่ฝนตก นามธรรม - ถ้าอนุญาตให้ไม่ต้องแต่งชุดนักศึกษาวันที่ 19 สค รูปธรรม

65 ไม่เจาะจงกรณี กฎเกณฑ์ที่กำหนดมีลักษณะเป็นนามธรรม
ถ้ามีข้อเท็จจริงใดเกิดขึ้นแล้วจะเกิดผลทางกฎหมายขึ้น ตามที่กำหนดไว้ทุกครั้ง (บังคับหรืออนุญาตให้กระทำหรือ งดเว้นการกระทำ) มีผลผูกพันในลักษณะซ้ำซาก เช่น อาคารที่ชำรุดทรุดโทรมจนอาจเป็นอันตรายอาจถูกสั่ง ให้รื้อถอนได้ อาจารย์อนุญาตให้นักศึกษาแต่งชุดไปรเวทในวันที่ฝนตก

66 ความหมายของกฎ ในทางทฤษฎี กฎหมายถึง “รูปแบบหนึ่งของการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองในแดน ของกฎหมายมหาชน ซึ่งมุ่งผลก่อนิติสัมพันธ์ในทาง กฎหมายออกไปภายนอกฝ่ายปกครอง ที่มีลักษณะเป็น นามธรรมและมีผลบังคับใช้เป็นการทั่วไป” นามธรรม คือ มีลักษณะบังคับให้ผู้อยู่ใต้บังคับต้องกระทำ การซ้ำ ๆ ซาก ตราบเท่าที่ไม่จำต้องมีการออกคำสั่งซ้ำ

67 ระดับความชัดเจนของข้อกำหนด
รัฐธรรมนูญ กฎหมายระดับ พ.ร.บ. กฎ คำสั่ง/ปฏิบัติการ/สัญญา

68 ที่มาและภารกิจของกฎ ร.ธ.น. กฎหมายระดับ พ.ร.บ. กฎ
ภารกิจของกฎ คือ บังคับการให้เป็นไปตาม วถปส. ของ กฎหมายระดับพ.ร.บ. กฎ ที่กระทบต่อประชาชนต้องมีที่มาจาก กฎหมายระดับ พ.ร.บ.

69 ที่มาของกฎ แม้กฎจะคล้ายกับกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ แต่ก็ ไม่ใช่กฎหมายเพราะมีที่มาจากฝ่ายบริหาร เป็นเครื่องมือ ของฝ่ายบริหาร ที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของระชา ชน ด้วยเหตุนี้กฎจึงต้องมีฐานความชอบธรรมของอำนาจที่ เชื่อมโยงกับประชาชน ที่มาของกฎจึงต้องมาจากกฎหมาย ระดับ พ.ร.บ. ฝ่ายบริหารไม่อาจกำหนดกฎขึ้นบังคับกับ ประชาชนได้เองโดยปราศจากฐานของกฎหมายระดับ พ.ร.บ.

70 กฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 14 มาตรา 18 มาตรา 21 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายให้ยื่นคำขอตามแบบ อ.1 ท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมด้วยหลักฐานตามที่ระบุ ข้อ 2 ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ 1 ต้องแนบหลักฐานประกอบการขอรับใบอนุญาตดังต่อไปนี้จำนวนสองชุด (1) รายการเครื่องจักร เครื่องมือ พร้อมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบในการผลิตอาหาร ชนิด ขนาด (แรงม้า) และคำรับรองที่จะแสดงให้เชื่อถือได้ว่าอาหารที่ผลิตนั้นจะมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามที่กำหนดและปลอดภัยในการบริโภค (2) แผนที่แสดงที่ตั้งของโรงงาน และสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง

71 ระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการแต่งกายของนักศึกษา พ.ศ. 2549

72 ระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการแต่งกายของนักศึกษา พ. ศ
ระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการแต่งกายของนักศึกษา พ.ศ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 ข้อ 11 “หากนักศึกษาผู้ใดแต่งกายโดยใช้เสรีภาพเกินกว่าขอบเขต อันเหมาะสม อันได้แก่ การแต่งกายล่อแหลมจนเกินควร การแต่ง กายที่เปิดเผยเนื้อตัวร่างกายมากเกินไปจนมีลักษณะไปในทางยั่วยุ ทางเพศ หรือการแต่งกายไม่สุภาพหรือไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ เป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นชุดที่แต่งในโอกาสทั่วไปหรือชุด นักศึกษา นักศึกษาผู้นั้นอาจถูกห้ามไม่ให้ขึ้นอาคารเรียนหรือเข้า ห้องเรียน และหน่วยงานต่างๆ มีสิทธิงดให้บริการได้”

73

74 คำสั่งทางปกครอง เจาะจงบุคคล มีผู้รับคำสั่งคนเดียว
คำสั่งให้นายมักง่าย ระงับการก่อสร้างอาคาร ที่ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 5 ถ. ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ. เชียงใหม่ เนื่องจาก ก่อสร้างโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อาจมีผู้รับคำสั่งหลายคน มีการระบุชื่อ คำสั่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้นักศึกษา A B C และ D พ้นสภาพนักศึกษา การประกาศคะแนนสอบ

75 เจาะจงกรณี คำสั่งทางปกครองเป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างเป็น รูปธรรม มุ่งกำหนดสภาพทางกฎหมายที่เป็นอยู่ในกรณีหนึ่งกรณี ใดเป็นเฉพาะ เมื่อคำสั่งมีผลบังคับใช้แล้วย่อมไม่อาจใช้บังคับในกรณี อื่นได้อีก ไม่มีลักษณะซ้ำซาก แต่ผูกพันจนกว่าจะมีการยกเลิกเพิกถอน (หรือหมดกำหนด ในกรณีมีเงื่อนเวลา) เช่น ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร

76 คำสั่งทั่วไปทางปกครอง
ทั่วไป รูปธรรม มีลักษณะของ “กฎ” (ไม่เจาะจงบุคคล) และ “คำสั่งทางปกครอง” (เจาะจงกรณี) ในคราวเดียวกัน Ex. คำสั่งห้ามชุมนุมประท้วงในวันเวลาที่ผู้ชุมนุมประท้วงนัด หมายไว้ Ex. ประกาศประมูลจ้างเหมาก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ของ อบต.

77

78 คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 825/2549
ประกาศรับสมัครคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญระดับ ๓ เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่แม้ว่า จะมีผลบังคับเป็นการทั่วไปโดยมิได้เจาะจงตัวบุคคลก็ตาม แต่ก็มุ่งหมายให้ใช้บังคับเฉพาะกับกรณีหนึ่งกรณีใดเป็นการ เฉพาะ กล่าวคือ ในครั้งนี้เพียงครั้งเดียว เมื่อใช้กับครั้งนี้แล้วก็ ไม่สามารถนำไปใช้กับครั้งอื่นได้อีก จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง ทั่วไป

79 เงื่อนเวลา = เฉพาะกรณี ?
ห้ามรถยนต์ผ่านเข้าออกถนนระหว่างการซ่อมบำรุง ห้ามนักศึกษาชุมนุมที่อ่างแก้ววันที่ พ.ย. 2556 ประกาศห้ามนักศึกษาใช้รถในเขตมหาวิทยาลัย ประกาศมี ผลบังคับใช้ 3 ปี

80

81 แบบฝึกหัด

82 คำเตือนของ อย. ให้ประชาชนระวังสารพิษในอาหาร กระป๋องยี่ห้อหนึ่ง
มหาวิทยาลัยพายัพอนุมัติปริญญาบัตรให้แก่นักศึกษาที่เรียน ครบหลักสูตร คำสั่งของปลัดกระทรวงการคลังให้บริษัท ก. เป็นผู้ทิ้งงาน ก่อสร้างอาคาร เนื่องจากพัสดุก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน ประกาศประมูลจ้างเหมาก่อสร้างอาคาร ๑ หลัง ด้วยระบบ อิเล็กทรอนิกส์ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๐ ของเทศบาล ตำบลสุขขี

83 ความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนให้ไล่นายสมศักดิ์ ออกจากราชการ
คำสั่งยกเลิกการประกวดราคาซื้อพัสดุของกรมยุโรป กระทรวงต่างประเทศ คำสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้อาจารย์ ก. คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของปลัดกระทรวงมหาดไทย การสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ

84 ผลของการวินิจฉัยว่าเป็นคำสั่งทางปกครอง
โดยหลัก ต้องนำ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทาง ปกครอง พ.ศ มาใช้บังคับ

85 นอกจากคำสั่งทางปกครอง ฝ่ายปกครองต้องนำหลักเกณฑ์ กระบวนการ
ของวิ.ปกครองไปใช้กับ การกระทำทางปกครองรูปแบบอื่น ?

86 กฎ มาตรา 5 วิ.ปกครอง “วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หมายถึง การ เตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มี คำสั่งทางปกครองหรือกฎ แต่ ไม่มีบทบัญญัติใดของวิ.ปกครอง ที่กล่าวถึงกระบวนการในการออกกฎเลย กฎ มีกระบวนการการออกกฎอยู่แล้ว

87 เช่น “การพิจารณาทางปกครอง” = การเตรียมการและการ ดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง “คู่กรณี” = ผู้ยื่นคำขอหรือผู้คัดค้านคำขอ ผู้อยู่ใน บังคับหรือจะอยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง และผู้ ซึ่งได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง เนื่องจากสิทธิของผู้นั้นจะถูกกระทบกระเทือนจากผล ของคำสั่งทางปกครอง

88 ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ. วิ.ปกครอง
โดยหลัก ไม่ต้องนำกระบวนการ ขั้นตอนที่ วิ.ปกครอง บัญญัติไว้มาบังคับใช้กับ การออกกฎ ข้อยกเว้น ในบางกรณีศาลปกครอง เห็นว่าควรนำ วิ.ปกครอง มาบังคับใช้กับกฎด้วย

89 ร้านฟ้ากระจ่างดาว จำหน่ายสารกำจัดศัตรูพืช
ป้าดาวเจ้าของกิจการร้านฟ้ากระจ่างดาว.... ซึ่งเป็นร้านจำหน่ายสารกำจัดศัตรูพืชที่เปิดกิจการมานานแล้ว อยู่มาวันหนึ่ง...เจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรได้เข้าไปตรวจสอบร้านค้าของป้าดาวและพบวัตถุอันตราย 4 รายการที่ห้ามครอบครองตามกฎหมายอยู่ภายในร้าน เจ้าหน้าที่จึงได้ทำการอายัดวัตถุอันตรายดังกล่าวไว้และนำตัวอย่างบางส่วนไปตรวจวิเคราะห์

90 เจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรได้เข้าไปตรวจสอบร้านค้าของป้าดาวและพบวัตถุอันตราย 4 รายการที่ห้ามครอบครองตามกฎหมายอยู่ภายในร้าน งานเข้าเลยจ้า ชื่อการค้า โมบิล 600 ชื่อสามัญ โมโนโครโตฟอส (MONOCROTOPHOS) ชื่อการค้า เอ็มคาริน ชื่อสามัญ พาราไทออนเมทิล (PARATHION-METHYL) ชื่อการค้า ประตูทอง ชื่อสามัญ พาราไทออนเมทิล (PARATHION-METHYL) ชื่อการค้า ซันตานา ชื่อสามัญ พาราไทออนเมทิล (PARATHION-METHYL)

91 พนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีออกหมายเรียกกล่าวหาป้าดาวว่ามีวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ไว้ในครอบครอง ซึ่งต้องห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือมีไว้ในครอบครอง หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535) (มาตรา 43 และมาตรา 74 แห่ง พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535)

92 แล้วเหตุใดจึงกลายมาเป็นว่าป้า ดาวกระทำผิดกฎหมายไปได้ ?
ป้าดาว วัตถุอันตรายทั้งสี่รายการนั้น เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ที่ป้า ดาวได้รับอนุญาตให้มีไว้ใน ครอบครองเพื่อขายได้ ตาม ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2538 แล้วเหตุใดจึงกลายมาเป็นว่าป้า ดาวกระทำผิดกฎหมายไปได้ ? เจ้าหน้าที่ รมต.ว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ออก ประกาศเรื่องบัญชีรายชื่อ วัตถุอันตรายพ.ศ และ พ.ศ ซึ่งยกเลิกรายชื่อวัตถุ อันตรายในบัญชีแนบท้ายประกาศ ฉบับ พ.ศ พร้อมทั้งได้ กำหนดให้วัตถุอันตรายทั้งสี่ รายการเปลี่ยนจากวัตถุอันตราย ชนิดที่ 3 เป็นวัตถุอันตรายชนิด ที่ 4 ซึ่งต้องห้ามมิให้มีไว้ใน ครอบครอง

93 ป้าอายุมากแล้วและ ไม่รู้ภาษาปะกิดนะ MONOCROTOPHOS ???
PARATHION-METHYL ??? บัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายที่แนบท้ายประกาศทั้งสองฉบับที่ออกมาภายหลังใช้ภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ และระบุชื่อ วัตถุอันตรายทั้งสี่ชนิดเป็นภาษาอังกฤษอย่างเดียว โดยไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทยหรือมีภาษาไทยกำกับให้ชัดเจน ทำ ให้ประชาชนทั่วไปรวมทั้งป้าดาวซึ่งมีอายุมากและอ่านภาษาอังกฤษไม่ออก ไม่สามารถอ่านและเข้าใจข้อความจึงไม่ อาจปฏิบัติให้ถูกต้องตามประกาศดังกล่าวได้

94 คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 773/2555
ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้เพิกถอนประกาศของ กระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีวัตถุอันตราย ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่มีความชัดเจนเพียงพอที่ บุคคลจะเข้าใจและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายที่แนบท้ายประกาศระบุชื่อ วัตถุอันตรายเป็นภาษาอังกฤษอย่างเดียว โดยไม่มีคําแปลเป็น ภาษาไทยหรือมีภาษาไทยกํากับให้ชัดเจน

95 คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 773/2555 (ต่อ)
ศาลวางหลักว่ากฎจะต้องมีความชัดเจนและมีการประกาศ เพื่อให้บุคคลในบังคับกระทำหรืองดเว้นการกระทำด้วย โดยในการออกประกาศและคำสั่งใดๆ ควรนำมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ ซึ่ง กำหนดว่า คำสั่งทางปกครองอาจทำเป็นหนังสือหรือวาจาหรือ โดยสื่อความหมายในรูปแบบอื่นก็ได้ แต่ต้องมีข้อความหรือ ความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้มาเทียบเคียงด้วย

96 การนำหลักเกณฑ์ของวิ.ปกครอง มาใช้กับกฎ อาจจะทำได้แต่เพียงบางเรื่อง
ข้อสังเกต การนำหลักเกณฑ์ของวิ.ปกครอง มาใช้กับกฎ อาจจะทำได้แต่เพียงบางเรื่อง กรณีที่หลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่ขัดกับลักษณะของกฎ หรือ ไม่สร้างภาระให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมากจนเกินไป เช่น การรับฟังคู่กรณีก่อนออกกฎ ?

97 คำสั่งทางปกครองทั่วไป
เป็นคำสั่งทางปกครองประเภทหนึ่ง (ที่ไม่เจาะจงบุคคล) โดยหลัก จึงควรนำหลักเกณฑ์ของวิ.ปกครองมาบังคับใช้ แต่ ศาลปกครองวินิจฉัยว่าคำสั่งทาง ปกครองทั่วไปไม่ได้เป็นคำสั่งทางปกครองที่มีผลเป็นการ เฉพาะตามนิยามของวิ.ปกครอง =ไม่ต้องนำ วิ.ปกครองมาบังคับใช้กับคำสั่งทางปกครอง ทั่วไป

98 คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 540/2552
ประกาศหลักเกณฑ์การขอรับการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ารับ การประเมินผลงานตำแหน่งพยาบาลมีลักษณะเป็นคำสั่งทาง ปกครองประเภทคำสั่งทางปกครองที่มีผลเป็นการทั่วไป มิใช่ คำสั่งทางปกครองประเภทคำสั่งทางปกครองที่มีผลเป็นการ เฉพาะตามนัยมาตรา 5 แห่งพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทาง ปกครอง พ.ศ ที่อาจอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีทั้งสามจึง ใช้สิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครองได้ทันทีที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสามรู้ หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี

99 วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ตามมาตรา 5
วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ตามมาตรา 5 การเตรียมการและ การดำเนินการของ เจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มี คำสั่งทางปกครอง การเตรียมการและ การดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มี กฎ การพิจารณาทางปกครอง ???


ดาวน์โหลด ppt ตอนที่ 2 ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google