งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การอำนวยความเป็นธรรมทางอาญาของพนักงานฝ่ายปกครอง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การอำนวยความเป็นธรรมทางอาญาของพนักงานฝ่ายปกครอง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การอำนวยความเป็นธรรมทางอาญาของพนักงานฝ่ายปกครอง
นายทศพล เผื่อนอุดม (จพง.ปค.ชำนาญการพิเศษ) หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบการสอบสวนคดีอาญา

2 คดีอาญา หมายถึง คดีที่เกี่ยวกับความผิดและมีโทษซึ่งกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นๆ เช่น พระราชบัญญัติต่างๆ ที่มีโทษทางอาญา  เช่นความผิดตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืน พระราชบัญญัติจราจรทางบก เป็นต้น ซึ่งโทษทางอาญานั้นมีอยู่ ๕  ประการด้วยกัน คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน (ม.๑๘)

3 ประเภทของคดีอาญา นั้นแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
(๑) คดีอาญาแผ่นดินหรือคดีอาญาที่ยอมความไม่ได้ เช่น คดีฆ่าคนตายหรือคดีลักทรัพย์ และคดีอาญา (๒) คดีอาญาที่เกี่ยวกับความผิดต่อส่วนตัว หรือคดีอาญาที่สามารถยอมความกันได้ เช่น คดียักยอกทรัพย์ เป็นต้น

4 คดีแพ่ง คดีแพ่ง คือ คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่ง เช่น การฟ้องให้ผู้กู้ชำระเงินตามสัญญากู้ หรือการฟ้องให้ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหาย เป็นต้น จะเห็นได้ว่า วัตถุประสงค์ของการฟ้องคดีแพ่งมุ่งให้จำเลยชำระเงิน หรือ ชดใช้ค่าเสียหาย มิได้มุ่งจะให้จำเลยต้องถูกลงโทษ เช่น จำคุก ตามกฎหมายอาญา คดีแพ่ง นอกจากเป็นเรื่องพิพาทกันดังกล่าวแล้ว อาจเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลเพื่อรับรองคุ้มครองสิทธิของตน เช่น การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยการครอบครองปรปักษ์ซึ่งถือเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท

5 กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
คือ กระบวนการนับแต่มีการกระทำความผิดอาญาเพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ โดยผ่ากระบวนการหา/ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากองค์กรต่าง ๆ ตั้งแต่การสอบสวน การฟ้องร้อง การพิจารณา/พิพากษา ตลอดจนการบังคับโทษภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

6 องค์กรต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
ก. พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ = บังคับใช้กฎหมาย , จับกุมผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย ข. พนักงานสอบสวน (ฝ่ายปกครอง/ตำรวจ/กคพ/ปปช/ปปง/ปปส) = รวบรวมพยานหลักฐาน สรุปสำนวน ส่งตัวผู้ต้องหาให้อัยการ ค. อัยการ = ฟ้องคดี ดำเนินคดีว่าความในชั้นศาล ง. ศาล = พิจารณาพิพากษาคดี จ. ราชทัณฑ์ = ควบคุมตัวจำเลยตามพิพากษา

7 การทบทวนกลุ่มอำนาจหน้าที่ด้านอำนวยความเป็นธรรมทางอาญาของพนักงานฝ่ายปกครอง
(๑) อำนาจในการสืบสวน ตรวจค้น จับกุมผู้กระทำความผิดกฎหมายในเขตอำนาจรับผิดชอบของพนักงานฝ่ายปกครอง ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๑๖) (๑๗) มาตรา ๑๗ มาตรา ๗๘ และมาตรา ๘๐ และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗

8 (๒) อำนาจในการไกล่เกลี่ยทางอาญาของนายอำเภอหรือปลัดอำเภอที่นายอำเภอมอบหมาย กรณีความผิดอันยอมความได้ มิใช่เป็นความรับผิดเกี่ยวกับเพศ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ มาตรา ๖๑/๓ (๓) อำนาจการชันสูตรพลิกศพคดีวิสามัญฆาตกรรม ของพนักงานฝ่ายปกครอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๐ วรรคสาม

9 (๔) อำนาจในการสอบสวนคดีอาญาของพนักงาน ฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่ และปลัดอำเภอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๑๑) (๑๖) มาตรา ๑๘ มาตรา ๒๑ มาตรา ๑๔๐ ซึ่งบทบาทในการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครองนั้นแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มคือ

10 (๔.๑) กลุ่มงานสอบสวนที่พนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้ปฏิบัติงานหลัก (line function)หรือผู้รับผิดชอบในคดีอาญาบางประเภทที่เป็นความผิดทางปกครองหรือความผิดเล็กน้อยไม่ใช่อาชญากรรมร้ายแรงมีอัตราโทษไม่สูง (mala prohibita) เพื่อแบ่งเบาภาระการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจเพื่อให้การทำหน้าที่สอบสวนคดีอาญาที่เป็นคดีอาชญากรรมร้ายแรงและคดีที่มีอัตราโทษสูงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (mala in se) เช่น - การสอบสวนตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเปรียบเทียบและการสอบสวนคดีละเมิดข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๗ - การสอบสวนตามกฎกระทรวงกำหนดการสอบสวนความผิดอาญาบางประเภทในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร โดยพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง พ.ศ. ๒๕๕๔ ตามกฎหมาย ๑๙ ฉบับ

11 (๔.๒) กลุ่มงานสอบสวนที่พนักงานฝ่ายปกครองเข้าไปร่วมตรวจสอบถ่วงดุล (check & balance) ตามนโยบายของรัฐบาล เช่น - การร่วมสอบสวนกรณีที่ข้าราชการส่วนภูมิภาค ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ฯลฯ ต้องหาคดีอาญาตามข้อบังคับ มท ที่ ๑/๒๕๐๙ ลงวันที่ ๑ ก.พ. ๒๕๐๙ ข้อ ๑๓ - การเข้าควบคุมการสอบสวนหรือร่วมสอบสวนตามนโยบายของรัฐบาลในคดีเกี่ยวกับป่าไม้และทรัพยากรของชาติอื่น ๆ ตาม นส.มท ๐๒๐๗/ว ๙๘๑ ลว. ๒๖ ก.ค.๒๕๓๒

12 - กรณีราษฎรขอความเป็นธรรม ตาม นส.มท ๐๓๐๗.๑/ว ๓๗๒๙ ลว. ๙ พ.ค. ๒๕๔๗
- คดีวิสามัญฆาตกรรม ตาม นส.มท ๐๓๐๗.๑/ว ๑๐๘ ลงวันที่ ๔ ม.ค. ๒๕๕๑ ตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยระเบียบการดำเนินคดีอาญา พ.ศ.๒๕๒๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๑๒.๔ และ ข้อ ๑๒.๕

13 - อำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดในการพิจารณาสำนวนคดีฆาตกรรม ซึ่งผู้ตายถูกเจ้าหน้าที่ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ฆ่าตายหรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๓ วรรคท้าย และหนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ อส ๐๐๒๓/๑๓๗๒๐ ลงวันที่ ๒๖ ก.ย. ๒๕๕๐ และหนังสือ มท ที่ ๑๙๘๕๐/๒๕๐๑ ลงวันที่ ๑๒ ธ.ค. ๒๕๐๑

14 (๕) อำนาจในการพิจารณาสำนวนชันสูตรพลิกศพในกรณีที่ความตายมิได้เป็นผลแห่งการกระทำผิดอาญาของผู้ว่าราชการจังหวัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๖ (๖) อำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองพยานในอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครอง ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๕๑

15 (๗) อำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดในการคำความเห็นแย้งคำสั่งไม่ฟ้อง ถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์ ถอนฎีกาของพนักงานอัยการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๕

16 จบการบรรยาย -สวัสดี-


ดาวน์โหลด ppt การอำนวยความเป็นธรรมทางอาญาของพนักงานฝ่ายปกครอง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google