งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แผนที่อากาศและแนวปะทะอากาศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แผนที่อากาศและแนวปะทะอากาศ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แผนที่อากาศและแนวปะทะอากาศ
EARTHSCIENCE

2 Members Nutthanon Reungpongsiri Class M.6/1 No.2 Shinawatra Ngamlamai Class M.6/1 No.5 Srawut Suksom Class M.6/1 No.11 Napassorn Thammaviwatnukoon Class M.6/1 No.12

3 แผนที่อากาศ         แผนที่อากาศ เป็นแผนที่แสดงองค์ประกอบ ทางอุตุนิยมวิทยา ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ข้อมูล ต่างๆ ในแผนที่อากาศได้รับมาจากเครือข่ายสถานี ตรวจอากาศผิวพื้นทั้งหลาย รวบรวมแล้วเขียนขึ้น เป็นตัวเลข รหัส และสัญลักษณ์ต่างๆ ทาง อุตุนิยมวิทยา ข้อมูลที่อยู่ในแผนที่อากาศจะ นำไปใช้ในการคาดหมายการเปลี่ยนแปลงลักษณะ อากาศที่จะเกิดขึ้น

4

5 สัญลักษณ์ทางอุตุนิยมวิทยาบนแผนที่อากาศ
L ศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศต่ำ เป็นบริเวณที่ อากาศร้อนยกตัวทำให้เกิดเมฆ H ศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศสูง เป็นบริเวณที่ อากาศเย็นแห้งแล้ว ฟ้าใส ไม่มีเมฆปกคลุม เส้นไอโซบาร์ (Isobar) เป็นเส้นโค้งที่ลากเชื่อมต่อบริเวณที่ มีความกดอากาศเท่ากัน มีตัวเลขแสดงค่าความกดอากาศ ซึ่งมีหน่วยเป็น เฮคโตปาสคาล (hPa) กำกับไว้ แนวปะทะอากาศ (Front) เส้นอาร์คหนาทึบสีแดงมี เครื่องหมายวงกลม คือ แนวปะทะอากาศร้อน เส้นอาร์ค หนาทึบสีน้ำเงินมีลิ่มสามเหลี่ยม คือ แนวปะทะอากาศเย็น เมืื่อแนวปะทะทั้งสองชนกันจะทำให้เกิดฝนตก

6 ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศภาคพื้น
วงกลม แสดงปริมาณเมฆปกคลุมเหนือสถานี สีขาว: ไม่มีเมฆ สีดำ: เมฆมาก ลูกศร แสดงทิศทางลมที่พัดเข้าหาสถานี ขีดฉากที่ปลายลูกศรแสดง ความเร็วลม ขีดยิ่งมาก ลมยิ่งแรง ความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเล แสดงด้วยตัวเลขขวามือด้านบน เป็นตัวเลขสามหลัก หมายถึง ตัวเลขท้ายสองหลักและทศนิยมหนึ่ง หลัก (107 หมายถึง hPa) แนวโน้มของความกดอากาศเปรียบเทียบกับ 3 ชั่วโมงที่แล้ว แสดง ด้วยตัวเลขทางด้านขวามือมีหน่วยเป็น hPa ค่า + หมายถึงความกด อากาศสูงขึ้น, ค่า - หมายถึงความกดอากาศต่ำลง อุณหภูมิจุดน้ำค้าง แสดงด้วยตัวเลขขวามือด้านล่าง ลักษณะอากาศ แสดงด้่วยสัญลักษณ์อุตุนิยมวิทยาทางด้านขวามือ อุณหภูมิอากาศ แสดงด้วยตัวเลขด้านซ้ายบน

7 สถานีตรวจอากาศภาคพื้น

8 ทุ่นตรวจอากาศในทะเล

9 ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

10 บอลลูนตรวจอากาศ

11 การทำงานของสถานีตรวจอากาศ

12 แนวปะทะอากาศ เมื่อมวลอากาศ 2 มวลเคลื่อนตัวมาพบกันเข้า อากาศของ มวลทั้งสองจะไม่ปนกันทันที แต่จะก่อให้เกิดแนวหรือ ขอบเขตระหว่างมวลอากาศทั้งสอง มวลอากาศเย็นซึ่งมี ความแน่นมากกว่า และหนักมากกว่ามวลอากาศร้อนจะ ผลักดันอากาศร้อนให้ลอยขึ้น ทำให้เกิดเป็นเมฆ ต่าง ๆ เกิดพายุฝนฟ้าคะนองตามที่แนวหรือขอบเขตที่มวลอากาศ ทั้งสองมาพบกัน ซึ่งเรียกแนวนี้ว่า แนวปะทะอากาศ ที่ อาจจะมีเขตกว้าง 20 ถึง 40 กิโลเมตร แนวปะทะอากาศ เป็นสาเหตุใหญ่อันหนึ่ง ที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ของ อากาศ เช่น เมฆ ฝน และพายุได้เสมอ แนวปะทะแบ่ง ออกได้หลายชนิด คือ

13 แนวปะทะของมวลอากาศอุ่น (Warm Front)

14 แนวปะทะของมวลอากาศอุ่น (Warm Front)

15 แนวปะทะของมวลอากาศเย็น (Cold Front)
แนวปะทะของมวลอากาศเย็น (Cold Front) เมื่อมวลอากาศ เย็นเคลื่อนตัวลงมายังบริเวณที่มีละติจูดต่ำ มวลอากาศเย็น จะหนัก จึงมีการเคลื่อนตัวติดกับผิวดิน และจะดันให้มวล อากาศอุ่นที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า ลอยตัวขึ้นตามความ ลาดเอียง ซึ่งมีความลาดชันมากถึง 1:80 ซึ่งปรากฏการณ์ ดังกล่าวตามแนวปะทะอากาศเย็นจะมีสภาพอากาศ แปรปรวนมาก มวลอากาศร้อนถูกดันให้ลอยตัวยกสูงขึ้น เป็นลักษณะการก่อตัวของเมฆ คิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ท้องฟ้าจะมืดครึม เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง อย่างรุนแรง เราเรียกบริเวณดังกล่าวว่า “แนวพายุฝน” (Squall Line)

16 แนวปะทะของมวลอากาศเย็น (Cold Front)

17 แนวปะทะของมวลอากาศซ้อน (Occluded Front)
แนวปะทะของมวลอากาศซ้อน (Occluded Front) เมื่อมวล อากาศเย็นเคลื่อนที่ในแนวทางติดกับแผ่นดิน จะดันให้มวล อากาศอุ่นใกล้กับผิวโลกเคลื่อนที่ไปในแนวเดียวกันกับมวล อากาศเย็น มวลอากาศอุ่นจะถูกมวลอากาศเย็นซ้อนตัวให้ ลอยสูงขึ้น และเนื่องจากมวลอากาศเย็นเคลื่อนตัวได้เร็ว กว่าจึงทำให้มวลอากาศอุ่นช้อนอยู่บนมวลอากาศเย็น เรา เรียกลักษณะดังกล่าวได้อีกแบบว่าแนวปะทะของมวลอากาศ ปิด ลักษณะของปรากฏการณ์ดังกล่าวจะทำให้เกิดเมฆคิวมู โลนิมบัส (Cumulonimbus) และทำให้เกิดฝนตก หรือพายุ ฝนได้เช่นกัน

18 แนวปะทะของมวลอากาศซ้อน (Occluded Front)

19 แนวปะทะมวลอากาศคงที่ (Stationary Front)
แนวปะทะมวลอากาศคงที่ (Stationary Front) นอกจากแนว ปะทะอากาศดังกล่าวมาแล้วนั้นจะมีลักษณะแนวปะทะอากาศ ของมวลอากาศคงที่อีกชนิดหนึ่ง (Stationary Front) ซึ่งเป็น แนวปะทะของมวลอากาศที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของมวล อากาศอุ่นและมวลอากาศเย็นเข้าหากัน และจากสภาพที่ทั้ง สองมวลอากาศมีแรงผลักดันเท่ากัน จึงเกิดภาวะสมดุลของ แนวปะทะอากาศขึ้น แต่จะเกิดในชั่วระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เท่านั้น เมื่อมวลอากาศใดมีแรงผลักดันมากขึ้นจะทำให้ ลักษณะของแนวปะทะอากาศเปลี่ยนไปเป็นแนวปะทะอากาศ แบบอื่น ๆ ทันที

20 แนวปะทะมวลอากาศคงที่ (Stationary Front)


ดาวน์โหลด ppt แผนที่อากาศและแนวปะทะอากาศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google