ARC4409 ระบบอาคารอัจฉริยะ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
นิติบุคคลอาคารชุดวันพลัส คอนโด นายน์ทีน 1
Advertisements

ชุมชนของเรา ชุมชนอบอุ่น MANAGEMENT BY P.PROPERTY MANAGEMENT.CO,LTD
เรื่อง เทคโนโลยีบอรดแบนด์ไร้สาย
 เครือข่ายคอมพิวเตอร์  การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและ ความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับ การใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะ.
จัดทำโดย น. ส. ดวงกมล งามอยู่เจริญ เลขที่ 8 น. ส. ณัชชา เชื้อตา เลขที่ 6 เตรียมบริหารธุรกิจปี 1.
การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย จัดทำโดย ด. ช. ธนันทร ดอกเกี๋ยง ม.1/2 เลขที่ 8 ด. ญ. เกศกมล ใจปินตา ม.1/2 เลขที่ 10 เสนอ อาจารย์ อรอุมา.
ประโยชน์และตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
Communication Software
ศูนย์บริการลูกค้า ทีโอที สาขาเลย
กลุ่มบริหารงานทั่วไป
แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับทีม
ซอฟต์แวร์และการเลือกใช้
LOGO แนวคิดเกี่ยวกับระบบ สารสนเทศ นางสาวกนกรัตน์ นพ โสภณ SMET
CSIT-URU อ. กฤษณ์ ชัยวัณณคุปต์ Mathematics and Computer Program, URU บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ Introduction to Information.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
จัดทำโดย นางสาว อุศนันท์หาดรื่น ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ปีการศึกษา 2557.
ผลการดำเนินงาน ปีงบ ๒๕๕๘ ( ร่าง ) แผนปฏิบัติการฯ ปี งบ ๒๕๕๙ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตราด.
ทิศทางการนำระบบบริหาร จัดการคลังข้อสอบ และการทดสอบมาตรฐานฝีมือ แรงงาน ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์สู่หน่วย ปฏิบัติ โดย วรรณี โกมลกวิน ผู้อำนวยการกลุ่มงานกำหนด.
บทที่ 3 นักวิเคราะห์ระบบและการ วิเคราะห์ระบบ. 1. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) 1.1 ความหมายของนักวิเคราะห์ระบบ นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis:
ประเภทของ CRM. OPERATIONAL CRM เป็น CRM ที่ให้การสนับสนุนแก่กระบวนการธุรกิจ ที่เป็น “FRONT OFFICE” ต่างๆ อาทิ การขาย การตลาด และการ ให้บริการ SALES FORCE.
การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ ครูชาญณรงค์ ปานเลิศ โรงเรียนพระบางวิทยา ครูชาญณรงค์
โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
ชุมชนปลอดภัย.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
ระบบบัญชาการในสถานการณ์ Incident Command System: ICS
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer network)
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
บทที่ 7 การวิเคราะห์และพัฒนาระบบ
“ หนึ่งร้อยสิบห้าปีที่ควรเปลี่ยนแปลง ” จากคณะทำงานฝ่ายสื่อสารฯ สชป
อยู่ระหว่างดำเนินการ
การจัดหาพัสดุในส่วนของรายจ่ายลงทุนในภาพรวม ประจำเดือนมิถุนายน 2561
แนวทางการออกแบบโปสเตอร์
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 4 : สื่อกลางส่งข้อมูลและการมัลติเพล็กซ์ (Transmission Media and Multiplexing) Part3 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ.
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
Strategy Map สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร12
ความหมายของเลเซอร์ เลเซอร์ คือการแผ่รังสีของแสงโดยการกระตุ้นด้วยการขยายสัญญาณแสง คำว่า Laser ย่อมาจาก Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation.
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
Scene Design and Lighting Week1-3
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
งาน Road Map ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรปี 2560
บทที่ 3 แฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล
หมวดที่ 6 การจัดซื้อ และจัดจ้าง
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
บทที่ 5 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ณ ห้องประชุม พธ.ทร.(๒) วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙๓๐
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
ฝ่ายการดำเนินงานในโรงแรม
แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
บทที่ 4 การดูแลให้ได้รับการพักผ่อนและความปลอดภัย การจัดการสิ่งแวดล้อม การทำเตียง อ.กรวรรณ สุวรรณสาร.
การเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการน้ำดื่ม คณะแพทยศาสตร์
ระบบทำความเย็น.
SMS News Distribute Service
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
รายวิชา การบริหารการศึกษา
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
Multimedia และระบบความจริงเสมือน Virtual Reality, VR
การวิเคราะห์ข้อมูล การท่องเที่ยว เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัด
กรณีศึกษา : เทคโนโลยีชีวภาพกับสิ่งแวดล้อม
นวัตกรรม ขวดเก็บ Sputum culture
อ. อรนพัฒน์ เหมือนเผ่าพงษ์ สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก
นพ.อภิศักดิ์ วิทยานุกูลลักษณ์ รพ.ธัญญารักษ์เชียงใหม่ กรมการแพทย์
เครื่องโทรศัพท์ติดต่อภายใน intercommunication
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ARC4409 ระบบอาคารอัจฉริยะ Intelligent Building System บรรยายโดย : ดร.อิทธิพล มีผล สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรอาคาร

ขอบเขตการศึกษา ทราบความหมาย ความเป็นมาของอาคารอัจฉริยะ ศึกษาองค์ประกอบของอาคารอัจฉริยะ ประโยชน์ที่ได้จากการเป็นอาคารอัจฉริยะ แนวความคิดในการออกแบบอาคารอัจฉริยะในปัจจุบัน

อาคารอัจฉริยะ คืออะไร อาคารอัจฉริยะ มีชื่อเรียกได้หลายชื่อ ตั้งแต่ ตึกฉลาด (Smart Building) อาคารเทคโนโลยีชั้นสูง (High Tech Building, High Tech Real Estate) แต่ชื่อ ที่ฮิตที่สุด คงเป็น “Intelligent building” ซึ่งคนไทยนำมาแปลเป็นคำว่า อาคารอัจฉริยะ จริงๆแล้วคำว่า “Intelligent” ไม่ถึงขั้นฉลาดเป็นอัจฉริยะ แต่เป็นแค่ ฉลาด-รู้จักคิด เท่านั้น

อาคารอัจฉริยะ คืออะไร ความหมายของอาคารอัจฉริยะมีหลายแง่ แต่คำจำกัดความง่ายๆที่เคยลงในนิตยสาร New York Time มีใจความว่า อาคารตึกฉลาด คือ “อาคารที่มี เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสมองส่วนกลาง มีระบบประสาทที่เป็นสายไฟฟ้าและสายสัญญาณ พร้อมอุปกรณ์ตรวจจับอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Sensors) อยู่ตามบริเวณ ต่างๆ ทั่วอาคาร คอยเป็นหูเป็นตาให้กับระบบคอมพิวเตอร์ที่จะสามารถตรวจสอบ,รายงานและควบคุมอุปกรณ์ของอาคารได้ตลอดเวลา โดยเจ้าของอาคาร และ ผู้ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์จากการควบคุมนี้โดยการสั่งการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆได้จากศูนย์ควบคุมส่วนกลางนั่นเอง นอกจากนั้น คอมพิวเตอร์ และ ระบบ สื่อสารส่วนกลางยังใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้ใช้งานในอาคารนั้นๆอีกด้วย”

อาคารอัจฉริยะ คืออะไร คำจำกัดความอื่นๆ เช่น “อาคารอัจฉริยะคืออาคารที่ได้รับการออกแบบโดยใช้เทคนิคการก่อสร้างที่ก้าวหน้า มีความแตกต่างจาก อาคารธรรมดา ในทุกๆแง่ มีการติดตั้งอุปกรณ์ ที่รับรู้ ข้อมูลต่างๆ ของอาคาร โดยข้อมูลนั้นจะถูกส่งไปยังระบบประมวลกลาง ซึ่งมีความสามารถ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ได้รับ แล้ว สั่งการ ให้ระบบของอาคาร ปรับเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โดยผลที่ต้องการคือผู้ใช้งานอาคารได้รับผลประโยชน์สูงสุด” ซึ่ง จะว่าไปแล้ว อาคารอัจฉริยะ จะต้องทำงานได้คล้ายสิ่งมีชีวิตคือมีการรับรู้และสามารถตอบสนองกับสิ่งเร้าทั้งจากภายในและภายนอก อีกทั้ง สามารถปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ตนเองมีการใช้ชีวิตได้อย่างปรกติสุขนั้นเอง

ระบบอาคารอัจฉริยะ ( Building Automation System ) Intelligent building ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ( Fire Alarm System ) ระบบแลกบัตรเข้าอาคารอัจฉริยะ แลกบัตรผู้มาติดต่อ แลกบัตรเข้าตึก ( Visitor Management System ) อาคารสีเขียว ( Green Building ) ระบบจัดการพลังงานในอาคาร (Energy Management System)

ประวัติความเป็นมาของการพัฒนาอาคารอัจฉริยะ ในราวปลายทศวรรษที่ 70 ได้มีการพัฒนาระบบเครื่องกลและไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย การนำระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาควบคุมการทำงาน ให้เป็นแบบ รวมศูนย์ มีการติดตาม และ ดูแลการทำงานของเครื่องจักรผ่านตัวรับสัญญาณ และ เพิ่มประสิทธิภาพ ของระบบให้สามารถตอบสนองกับสภาพแวดล้อมที่ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น เทคโนโลยีนี้เป็นปัจจัยแรกๆที่ก่อให้เกิดระบบอาคารอัจฉริยะ แนวความคิดในการพัฒนาและออกแบบอาคารให้เป็นอาคารอัจฉริยะมีมาตั้งแต่ราวปีพ.ศ. 2524 (ค.ศ.1981) โดยในทศวรรษที่ 80 เริ่มมีการนำระบบควบคุมแบบอัตโนมัติมาใช้ใน ระบบรักษาความปลอดภัย, ระบบไฟฟ้าแสงสว่างของอาคาร แต่ในสมัยแรกระบบต่างๆมักถูกออกแบบให้ทำงานอย่างอิสระ ขาดการประสานและทำงานร่วมกัน

ตัวอย่างของอาคารที่ได้รับการยอมรับว่ามีระบบที่เป็นอาคารอัจฉริยะในอดีตถึงปัจจุบันมีดังนี้ Lloyd's building General information Location 1, Lime Street City of London Status Complete Constructed 1978-1986 Opening 18 November 1986 Use Office building Height Antenna or spire 95.1 m (312 ft) Roof 88 m (289 ft) Technical details Floor count 14 Elevators 12 Cost GB£75,000,000 (approx. $107,876,055.44 USD) Companies involved Architect(s) Richard Rogers Contractor Bovis

Lloyd's building

Lloyd's building

Lloyd's building

Lloyd's building

ตัวอย่างของอาคารที่ได้รับการยอมรับว่ามีระบบที่เป็นอาคารอัจฉริยะในอดีตถึงปัจจุบันมีดังนี้ NEC Super tower General information Location Minato, Tokyo, Japan Status Complete Constructed 1986 - 1990 Height Roof 180 m (594 ft) Technical details Cost 60 billion yen Floor count 47

NEC Tower

องค์ประกอบของอาคารอัจฉริยะ องค์ประกอบใหญ่ๆของอาคารอัจฉริยะนั้นต้องประกอบด้วยส่วนต่างๆ สี่ส่วนคือ 1. ระบบบริหารอาคาร (Building Management System) 2. งานระบบอาคาร (Building System) 3. ระบบโครงสร้างอาคาร (Building Structure) 4. ส่วนให้บริการลูกค้า (Tenants Service)

ระบบบริหารจัดการอาคาร (Building Management System) แนวคิดของระบบบริหารจัดการอาคาร คือ การนำระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เพื่อรวบรวมข้อมูลตรวจสอบและควบคุมการทำงานของระบบอาคารต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อทำให้เกิดผลดังต่อไปนี้ • สภาพอากาศและระดับแสงสว่างที่เหมาะสมกับผู้อยู่ในอาคาร • สามารถควบคุมการทำงานของอุปกรณ์และระบบต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ • ทำให้เกิดการใช้พลังงานของอุปกรณ์และระบบต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ • ทำให้การบริหารจัดการอาคารมีประสิทธิภาพด้วยข้อมูลที่แม่นยำและทันสมัย

ระบบบริหารจัดการอาคาร (Building Management System) ปัจจัยพิจารณาสำหรับการใช้ระบบบริหารจัดการอาคารการเลือกใช้ระบบบริหารจัดการอาคาร ควรจะพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. ขีดความสามารถในการทำงานของระบบ 2. ความยากง่ายในการใช้งานและการบำรุงรักษา 3. มาตรฐานความน่าเชื่อถือของระบบ 4. การให้บริการหลังการขาย 5. ผลงานอ้างอิงที่ผ่านมา 6. การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ควบคุมระบบ 7. ความยืดหยุ่นของระบบ 8. งบประมาณและความคุ้มค่าในการลงทุนเมื่อสภาพและความต้องการใช้อาคารเปลี่ยนแปลงไป

ระบบบริหารจัดการอาคาร (Building Management System) ระบบบริหารอาคารยังแบ่งออกได้หลายอย่างดังนี้ การบริหารสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริหารงานซ่อมบำรุง (Facility & Maintenance Management)งานส่วนนี้ทำหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆเช่น ระบบปรับอากาศ, ระบบ ระบายอากาศ, ระบบป้องกันเพลิงไหม้, ระบบ รักษา ความปลอดภัย ระบบ สุขาภิบาล และ ระบบอื่นๆ โดยเน้นเกี่ยวกับการวางแผนด้านการซ่อมบำรุง โปรแกรมที่ใช้ในระบบนี้เรียกว่า “โปรแกรมช่วยเหลือการบริหารส่วนสนับสนุน หรือ Computer Aided Facility Management (CAFM)โปรแกรมนี้ ประกอบด้วย ฐานข้อมูล ขนาดใหญ่ ที่เก็บข้อมูล ของอาคารทั้งหมด สามารถ กำหนดแผนการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ ทำแผนการซ่อมแซมด่วนในกรณีฉุกเฉิน เก็บข้อมูลค่าใช้จ่าย ในการ ซ่อมแซม และ ประวัติ การซ่อมบำรุง

โปรแกรมช่วยเหลือการบริหารสนับสนุน (Computer Aided Facility Management) โปรแกรมที่ใช้ดูแล Cooling Tower ภาพที่มา : http://pangja2008.blogspot.com/2008/07/blog-post_09.html

โปรแกรมช่วยเหลือการบริหารสนับสนุน (Computer Aided Facility Management) โปรแกรมที่ใช้ดูแล Chiller Plant ภาพที่มา : http://pangja2008.blogspot.com/2008/07/blog-post_09.html

ระบบบริหารจัดการอาคาร (Building Management System) 1 ระบบควบคุมการใช้พลังงาน (Energy Management) ระบบนี้ทำหน้าที่วางแผนและควบคุมการใช้พลังงานของอาคาร โดยจะบริหารการใช้พลังงานให้ได้ประโยชน์สูงสุดโดยใช้ค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดตัวอย่างที่มีประโยชน์มากสำหรับระบบนี้ในประเทศไทยคือการบริหารการใช้ไฟฟ้าของอาคารเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าใช้ไฟฟ้าสูงสุดของแต่ละเดือน (Demand Charge) 2 ระบบรักษาความปลอดภัย (Security Management) ระบบ รักษาความปลอดภัยใน อาคารอัจฉริยะ จะคอยตรวจตรา และ ตรวจสอบ การเข้า-ออกอาคารของ บุคคลประเภทต่างๆ โดยอุปกรณ์ที่ใช้มีตั้งแต่ ระบบ ควบคุม ทางเข้า-ออก (Access Control) อุปกรณ์ตรวจสอบความร้อน, กล้องวงจรปิด, ระบบตรวจสอบการเคลื่อนไหว เป็นต้นโดยอุปกรณ์ เหล่านี้ จะต่อ สายสัญญาณ เข้าสู่ อุปกรณ์รับผลส่วนกลาง ซึ่งควบคุมด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถกำหนดตำแหน่งของการบุกรุก ที่เกิดขึ้นได้ในทันที 3 ระบบบริหารสายสัญญาณ(Cable Management) ในอาคารอัจฉริยะ นั้นต้องใช้สายสัญญาณเป็นจำนวนมากในการส่งสัญญาณเสียง,ภาพ,ไฟฟ้ากำลัง,รวมทั้งสัญญาณคอมพิวเตอร์ มีผู้กล่าวว่าสายสัญญาณ นั้น เปรียบเสมือน เส้นเลือด และ เส้นประสาทของระบบ อาคารอัจฉริยะ เลยทีเดียว

ระบบอาคาร (Building System ) แม้ว่างานระบบของอาคารอัจฉริยะจะถูกเฝ้าดูและควบคุมจากส่วนกลาง แต่ในระบบย่อยๆนั้นมักจะสามารถควบคุมการทำงานด้วยตนเองอยู่ ด้วยเสมอ ส่วนประกอบของงานระบบอาคารมีดังนี้คือ 1. ระบบควบคุมกลาง (Direct Digital Control หรือ DDC) ระบบนี้จะช่วยตรวจสอบ ดูแลและถ่วงดุลให้ระบบทั้งหมดทำงานอย่างประสานกัน เช่น ระบบเครื่องทำน้ำเย็นหลัก, ระบบเป่าลมเย็น, ระบบไฟฟ้ากำลัง, ระบบลิฟต์, ระบบตรวจจับเพลิงไหม้ ฯลฯ ระบบย่อยๆ เหล่านี้ได้รับการดูแล ให้ทำงานได้อย่าง กลมกลืน และ สามารถตอบสนองกับ สภาพแวดล้อมภายใน และ ภายนอก ที่เปลี่ยนไป ผ่านระบบควบคุมกลาง ระบบนี้ จะทำงานร่วมกับ ระบบบริหารอาคารอย่างใกล้ชิด

ตัวอย่างห้องควบคุมกลาง ภาพที่มา : http://pangja2008.blogspot.com/2008/07/blog-post_09.html

ระบบอาคาร (Building System ) 2 ระบบจ่ายไฟฟ้ากำลัง (Electric Power Supply System) ระบบนี้เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้ากำลังทั้งหมดของอาคาร รวมทั้งระบบจ่ายไฟฟ้าในกรณีฉุกเฉินเช่น ระบบไฟฟ้าจาก เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง,แบตเตอรี่สำรอง, ระบบจ่ายไฟของ คอมพิวเตอร์, ระบบจ่ายไฟฟ้าสำรองของลิฟต์ และระบบป้องกันไฟกระชาก และ ระบบไฟฟ้า ในกรณีเกิดเพลิงไหม้ เป็นต้นระบบนี้จะคอย ควบคุมอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้า ทั้งหมด ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน การเดินสายทั้งหมด ต้องถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ระบบนี้ อาจ รวม ระบบไฟฟ้า แสงสว่าง เข้าไว้ในการควบคุมด้วย

ระบบอาคาร (Building System ) 3 ระบบเตือนเพลิงไหม้ (Fire Service System) ระบบนี้เป็นมักเป็นระบบอัตโนมัติ 100% ทำหน้าที่ส่งสัญญาณเตือนไฟไหม้ จากระบบตรวจจับควัน, ระบบตรวจจับความร้อน รวมทั้ง ควบคุมระบบ จ่ายน้ำดับเพลิง อัตโนมัติ ฯลฯ 4 ระบบระบายอากาศ และระบบปรับอากาศ (Ventilation and Air-conditioning System) ระบบนี้จะควบคุม เครื่องทำน้ำความเย็นกลาง (Chiller plants) เครื่องพัดลมปรับอากาศแยกส่วน(Air handing units) ส่วนปรับลมเย็น (VAV box)ฯลฯ โดยจะเฝ้าดูและคอยควบคุม ระดับของอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม รวมทั้งจ่ายอากาศบริสุทธิ์ที่เหมาะสมกับผู้ที่ใช้งานในอาคาร

Chiller Plant จะเป็นแบบใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานป้อนเข้า โดยระบบทำความเย็นเป็นแบบวงจรอัดไอ (Vapor compression refrigeration cycle) ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก 4 ชุด คือ Evaporator, Compressor, condenser และ expansion valve ตามแผนภาพด้านล่าง ภาพที่มา : http://gotoknow.org/blog/guruchiller/183339

ตัวอย่างChiller Plants ภาพที่มา : http://www.datacenterknowledge.com/archives/2009/10/26/speeding-up-those-chiller-restarts/

Components of a typical chilled water system ภาพที่มา : http://www.reliant.com/en_US/Page/Generic/Public/esc_purchasing_advisor_rotary_screw_chillers_bus_gen.jsp

Air handing Unit Air Handling Unit (AHU) ทำหน้าที่ปรับและหมุนเวียนอากาศ เป็นส่วนหนึ่งของระบบทำความร้อน ระบายอากาศ และปรับอากาศ (heating ventilating and air-conditioning system) ภาพที่มา : http://www.controlpix.com/store/product.php?productid=44&cat=12&page=1

ตัวอย่างVariable Air Volume Box ภาพที่มา : บริษัท เอ เอส แอนด์ ดี อุตสาหกรรม จำกัด

ตัวอย่างVariable Air Volume Box ภาพที่มา : http://pangja2008.blogspot.com/2008/07/blog-post_09.html

ระบบอาคาร (Building System ) 5 ระบบช่องทางติดต่อสื่อสารกับภายนอก (Gate Way) หมายถึงการเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างภายนอกกับภายใน ซึ่งได้แก่ อย่างแรกคือ สายสัญญาณโทรศัพท์ ขององค์การโทรศัพท์ ซึ่งบางส่วนบางพื้นที่ของ กรุงเทพมหานคร ได้รับการปรับปรุง เป็นระบบ ISDN (Integrated Services Digital Network) ส่งสัญญาณเป็น ระบบดิจิตอล ทำให้สามารถส่งภาพ และเสียงด้วยสายสัญญาณชนิดนี้ในเวลาเดียวกัน ในความเร็วสูงอย่างที่สองคือ การใช้สัญญาณดาวเทียม (Satellite) โดยใช้รับและส่งโดยผ่านทางจานดาวเทียม ปัจจุบัน เรามีดาวเทียมไทยคมเป็นความหวังใหม่ ในการติดต่อสื่อสารของไทย ในอนาคต และสุดท้ายคือ ระบบไมโครเวฟ ซึ่งสามารถ ส่งสัญญาณโดยผ่านจานไมโครเวฟ 6 ระบบรักษาความปลอดภัย (Security System) ประกอบด้วยสองส่วนคือ การควบคุมเข้าออก และการบุกรุกจากคนภายนอก

ระบบอาคาร (Building System ) 7 ระบบสายสัญญาณสื่อสารหลัก (Telecommunication Backbone System) ส่วนใหญ่แล้วสายสัญญาณหลักในอาคารอัจฉริยะมักเป็นใยแก้วนำแสง เพื่อให้สามารถรองรับการส่งข้อมูลในปริมาณมาก ที่มีคุณภาพและความเร็วสูง

โครงสร้างอาคาร (Building Structure ) ในการออกแบบอาคารอัจฉริยะนอกจากการพิจารณาระบบวิศวกรรมเครื่องกลแล้ว ต้องคำนึงถึงการออกแบบโครงสร้างให้เหมาะสมอีกด้วยโดยมีส่วนประกอบต่างๆดังนี้ 1 การออกแบบโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นสูง (Structure Design with Flexibility) โครงสร้างของอาคารอัจฉริยะที่ดีควรให้สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ง่ายโดยเฉพาะการเดินท่อเพื่อร้อยสายสัญญาณเพิ่มในภายหลังต้องสามารถทำได้โดยไม่มีความลำบากมากนัก 2 ระบบผนังอาคารภายนอก (External Skin System) ระบบผนังอาคารที่ดีควรตอบสนองและสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเช่นการใช้ที่บังแดดที่สามารถปรับเปลี่ยนการบังแดดตามองศาของดวงอาทิตย์ สามารถทำให้อาคารประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี 3 ระบบพื้นยก (Raised Floor System หรือAccess Floor System) การเดินสายสัญญาณและงานระบบต่างๆในอาคารอัจฉริยะมักจะมีจำนวนมากกว่าอาคารปกติหลายเท่าดังนั้นการใช้พื้นแบบยกสองชั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

ส่วนบริการผู้ใช้งานอาคาร (Tenant Service) เป็นส่วนที่ใกล้ชิดกับผู้ใช้อาคารมากที่สุดและเป็นส่วนที่สามารถสร้างจุดขายทางการตลาดของอาคารได้มากที่สุด โดยมีองค์ประกอบย่อยๆดังนี้ 1 ระบบเสาอากาศโทรทัศน์รวม (Communal Antenna Broadcast Distribution System) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เช่าในการรับสัญญาณโทรทัศน์โดยไม่ต้องติดตั้งระบบของตนเอง 2 ระบบโทรศัพท์ (Private Automatic Branch Exchange) โดยให้ผู้เช่าเลือกได้ว่าจะใช้ระบบตู้สาขาโทรศัพท์เป็นของตนเองหรือใช้บริการจากอาคารก็ได้อาคารต้องจัดเตรียม สายสัญญาณหลัก ให้มีคู่สาย ที่เพียงพอต่อ ความต้องการของ ผู้เช่า หรือ ออกแบบให้ สามารถ ขยายเครือข่ายได้ในกรณีที่จำเป็น

ส่วนบริการผู้ใช้งานอาคาร (Tenant Service) 3 ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Service) ให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่นการสื่อสารในระบบไมโครเวฟ การประชุมผ่านทางจอภาพ (Video Conferencing)สามารถให้ผู้ใช้ติดตั้งระบบการประชุมผ่านจอภาพทางไกลได้โดยอาคารต้องจัดเตรียมระบบส่วนกลางที่สามารถรองรับบริการดังกล่าวไว้ล่วงหน้า 4 ระบบสายสัญญาณอินเตอร์เน็ต (Internet Service) ปัจจุบันการใช้งานอินเตอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำธุรกิจ ถ้า อาคารใด สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้งานในเรื่องนี้ ย่อมเป็น จุดขายของ อาคาร ที่น่าสนใจมาก

ใยแก้วนำแสง (fiber optic) เส้นใยแก้วนำแสงหรือไฟเบอร์ออปติก เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา เส้นใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมาก    เส้นใยแก้วนำ แสงสามารถแบ่งตามความสามารถในการนำแสงออกได้เป็น 2 ชนิด คือ เส้นใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Singlemode Optical Fibers, SM) และชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM)

ใยแก้วนำแสง (fiber optic) ประวัติความเป็นมาของเส้นใยแก้วนำแสง การใช้แสงเป็นสื่อในการนำสัญญาณแล้วส่งไปในตัวกลางต่างๆ นั้น ได้เริ่มขึ้นจากนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ จอห์น ทินดัล ( John Tyndall ) ได้พบว่าแสงสามารถส่งผ่านไปตามลำได้ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2413 และในปี พ.ศ. 2503 ได้มีการทดลองใช้เลเซอร์เป็นครั้งแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 ก็มีนักวิทยาศาสตร์สองคนของสหราชอาณาจักร ชื่อ ฮอคแคม ( G.A Hockham ) และเกา( C.C. Kao ) ได้ทำการศึกษาวิจัยว่าตัวกลางที่ทำด้วยใยแก้วนำแสงสามารถส่งผ่านได้ 1% ของแสงอินพุตด้วยระยะทาง 1 กิโลเมตร และตัวกลางนี้จะเป็นคู่แข่งสำคัญกับสายทองแดงและสายหุ้มฉนวน ( Coaxial Cable )

ใยแก้วนำแสง (fiber optic) ภาพที่มา : ครูสุรชัย สายพิมพ์ โรงเรียนท่าวุ้งวิทยาคาร อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี

ตัวอย่างระบบVideo Conferencing ภาพที่มา : http://host.psu.ac.th/mambohosting/psu/index.php?option=com_content&task=view&id=443&Itemid=0

ตัวอย่างระบบพื้นยก(Raised Floor System) ภาพที่มา : http://numthaveerung.co.th/HPL%20access%20floor.html

ตัวอย่างระบบพื้นยก(Raised Floor System) ภาพที่มา : http://9agust.makewebeasy.com/customize-accessfloor-121478-1.html

ตัวอย่างระบบพื้นยก(Raised Floor System) ภาพที่มา : http://host.psu.ac.th/mambohosting/psu/index.php?option=com_content&task=view&id=443&Itemid=0

ความแตกต่างระหว่าง Intelligent Building กับ Building Automation System

ประโยชน์ที่ได้จากการเป็นอาคารอัจฉริยะ ได้ภาพลักษณ์ ในการเป็นอาคารที่ทันสมัย มีจุดสนใจที่แตกต่าง จากอาคารอื่นๆ 2. สามารถทำให้ผู้ดูแลอาคาร ทำการทดสอบปรับแต่งระบบย่อยต่างๆ ให้สัมพันธ์กัน 3. ช่วยเรื่องการประหยัดพลังงาน

การจัดลำดับการเป็นอาคารอัจฉริยะ ระดับ 0 อาคารไม่มีความฉลาดเลย ระดับ 1 มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยควบคุม การใช้พลังงานของระบบปรับ อากาศ ระบบลิฟต์ ระบบรักษาความปลอดภัย ระดับ 2 เหมือนระดับ 1 เพิ่มการให้บริการส่วนกลาง เช่น ห้องประชุม ระบบทำสำเนาเอกสารกลาง และระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานจากส่วนกลาง ระดับ 3 เหมือนระดับ 2 เพิ่มระบบสื่อสารทางไกลด้านข้อมูลและเสียง และ ระบบโทรศัพท์ที่มีมาตรฐาน ระดับ 4 เหมือนระดับ 3 เพิ่มระบบสำนักงานอัตโนมัติแบบเต็มรูปแบบ เช่น คอมพิวเตอร์ในสำนักงาน ระบบสื่อสารที่ทันสมัย การประชุมทางวีดีโอ ทางไกล ระบบสื่อสารทางไกลความเร็วสูง ระบบอินเตอร์เน็ต

QUIZ 1 จงอธิบายความหมายของคำว่า อาคารอัจฉริยะ จงบอกองค์ประกอบของอาคารอัจฉริยะ แนวคิดของระบบ Building Management System คืออะไร ส่วนประกอบของ Building System มีกี่ส่วนอะไรบ้าง Building Structure มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

เอกสารอ้างอิง วิญญู วานิชศิริโรจน์, วารสาร Arch & Idea ปีที่1 ฉบับที่ 6 ธันวาคม-มกราคม 2542. http://www.geocities.com/u440604/50.gif