การพยาบาลเพื่อสนองความต้องการ ด้านการขับถ่ายอุจจาระ อ.กรวรรณ สุวรรณสาร
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่ายอุจจาระ ความเป็นส่วนตัวขณะขับถ่าย การเติบโตและพัฒนาการ กิจกรรม การเคลื่อนไหวร่างกาย ความเจ็บปวด ยา จิตใจ อาหาร น้ำ รูปแบบการขับถ่าย ท่าที่ใช้ในการขับถ่าย
ปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระที่พบบ่อย ท้องผูก (constipation) อุจจาระอัดแน่น (fecal impaction) ท้องเสีย (diarrhea) กลั้นอุจจาระไม่ได้ (fecal incontinence) ท้องอืด (flatulence)
การส่งเสริมการทำหน้าที่ของระบบขับถ่ายอุจจาระ การส่งเสริมสุขภาพ; อาหาร น้ำ การเคลื่อนไหว ความเป็นส่วนตัวขณะขับถ่าย ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา ท่าที่ใช้ขับถ่าย
การล้วงเอาอุจจาระออก (evacuation) ที่มา (Taylor, Lillis, LeMone, & Lynn, 2008, p. 1577)
การใช้ยา ยาระบาย (cathartics/ laxatives) ยาแก้ท้องเสีย (antidiarrheal agents) ยาแก้ท้องอืด (antiflatulent agents)
การสวนอุจจาระ (enema) การสอดหัวสวนเข้าทวารหนัก ที่มา (Craven & Hirnle, 2009, p. 1149) การสอดหัวสวนขวดสารละลายเข้าทวารหนัก ที่มา (Craven & Hirnle, 2009, p. 1150)
หลักการสวนล้าง ขนาดหัวสวน; Adult –22-30 F, Children 12-18 F, Infant – rectal tube จัดท่านอนตะแคงซ้าย หล่อลื่นหัวสวน; ผู้ใหญ่ 3-4 นิ้ว เด็ก 2-3 นิ้ว ทารก 1-1½ นิ้ว ปวดท้องมาก เลือดไหล อ่อนเพลีย ให้หยุดสวน แคะเอาอุจจาระที่แข็งออกก่อนทำการสวน แขวนหม้อสวนสูง 12-18 นิ้ว ถ้ามีแผลรอบทวารหนักต้องระวังไม่ให้แผลสกปรก ทำการสวนเมื่อจำเป็นเท่านั้น
ปริมาณสารละลาย ผู้ใหญ่ อุณหภูมิสารละลายประมาณ 35-37 °C จำนวนสารละลาย ผู้ใหญ่ 750-1,000 มล. เด็ก 240-360 มล. ทารก 50-150 มล.
หม้อนอน ชนิดธรรมดา (regular bedpan) ชนิดที่ใช้สำหรับผู้ป่วยกระดูก (fracture pan) ที่มา (Fotosearch, 2012)
จบการนำเสนอบทที่ 8 นักศึกษาสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเอกสารประกอบการสอน และหนังสือตามที่ปรากฏรายชื่ออยู่ในบรรณานุกรมท้ายบทที่ 8