แนวทางการดำเนินงานตามภารกิจของสำนักบำรุงทาง กรมทางหลวงชนบท สำนักบำรุงทาง
วาระการประชุม แนวทางการติดตามประเมินผลการดำเนินงานเอกลักษณ์ทาง ทช. ประจำปีงบประมาณ 2559 การติดตามผลการดำเนินงานบำรุงปกติ งบประมาณ 2559 หลักเกณฑ์การคัดเลือกโครงข่ายทางสายหลัก แนวทางในการควบคุมงานก่อสร้างผิวทางปรับปรุงคุณภาพด้วยยางพาราธรรมชาติ
การติดตามผลการดำเนินการบำรุงปกติ งปม.2559 กรมทางหลวงชนบท สำนักบำรุงทาง
การส่งรายงานบำรุงปกติ ประจำปี 2559 ประจำเดือน แบบฟอร์ม M1,M2,M3 และ Y6 ส่ง ภายใน วันที่ 25 ของทุกเดือน ประจำไตรมาส แบบฟอร์ม M1,M2,M3 และ Y6 แบบฟอร์ม Q1,Q2,Q3 ส่ง ภายใน วันที่ 25 ของเดือน ธ.ค., มี.ค., มิ.ย.,ก.ย.
ขั้นตอนการทำงานแบบฟอร์มต่างๆ S1-S5 แบบฟอร์ม M1-M2 ส่งประจำเดือน แบบฟอร์ม D1-D2 แบบฟอร์ม Q1-Q2 ส่งประจำไตรมาส
สรุปการจัดสรรงบประมาณบำรุงปกติ ประจำปี 2559 ยังไม่เข้าแผนจัดสรร ไตรมาส 2, 3 และ 4 หน่วยที่แบบสำรวจและประมาณราคาไม่ถูกต้อง 1 หน่วย ได้แก่ ขทช.สระบุรี ยังไม่เข้าแผนจัดสรร ไตรมาส 4 หน่วยที่แบบสำรวจและประมาณราคาไม่ถูกต้อง 6 หน่วย ได้แก่ ขทช.อุตรดิตถ์ ขทช.พังงา ขทช.กาญจนบุรี ขทช.นครปฐม บทช.พิบูลย์รักษ์ บทช.น้ำโสม
หลักเกณฑ์การคัดเลือกโครงข่ายทางสายหลัก กรมทางหลวงชนบท สำนักบำรุงทาง
หลักเกณฑ์การคัดเลือกโครงข่ายทางสายหลัก 1. เป็นสายทางที่มีปริมาณจราจรตั้งแต่ 2,000 PCU/วัน หรือเป็นสายทางที่มีรถบรรทุกหนักมากกว่า 500 คัน/วัน (6 ล้อขึ้นไป) 2. มีสถานที่ท่องเที่ยว, แหล่งชุมชน, สถานที่ ราชการ, โรงเรียน, วัด, โรงพยาบาล, โรงงาน อุตสาหกรรม จำนวนมากอยู่ในสายทาง
เกณฑ์แนะนำการออกแบบงานบำรุงทางสายหลัก 1. ปรับปรุงรูปทรงทางเรขาคณิตและบริเวณจุดเสี่ยงอันตราย ได้แก่ 1.1 ปรับปรุงทางแยกและจุดเชื่อมต่อ เช่น สามแยก สี่แยก คอขวด (ขยายไหล่ทาง) ปรับปรุงโค้งด้วยการขยาย/ยกโค้ง เพื่อให้ มีความปลอดภัย 1.2 ปรับปรุงบริเวณย่านชุมชนให้มีความสมบูรณ์ เช่น ขยายช่องจอดรถเพิ่มเติม ปรับปรุงให้มีทางเดินเท้า ระบบระบายน้ำข้างทาง ไฟฟ้าแสงสว่าง 1.3 ปรับปรุงบริเวณหน้าโรงเรียนหรือสถานที่สำคัญ เช่น ขยายพื้นที่เพื่อจอดรถ ทางเท้า ไฟกระพริบ ทางม้าลาย และติดตั้งเครื่องหมายจราจรพร้อมอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยต่างๆ
เกณฑ์แนะนำการออกแบบงานบำรุงทางสายหลัก (ต่อ) 2. ปรับปรุงโครงสร้างทาง โดยให้มีการสำรวจปริมาณจราจรและค่าการแอ่นตัว เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการคำนวณและออกแบบโครงสร้างทาง 3. ปรับปรุงระบบระบายน้ำ 3.1 ปรับปรุงระบบระบายน้ำตามขวางของทาง เพื่อรองรับปริมาณน้ำให้เพียงพอ เช่น เปลี่ยนจากท่อลอดกลมเป็นท่อลอดเหลี่ยม 3.2 ปรับปรุงระบบระบายน้ำข้างทางตามแนวลาดคันทาง โดยเฉพาะลาดไหล่เขา
เกณฑ์แนะนำการออกแบบงานบำรุงทางสายหลัก (ต่อ) 4. งานจราจรสงเคราะห์ ปรับปรุงเครื่องหมายจราจร อุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย สัญญาณไฟจราจร ให้เพียงพอและสอดคล้องกับรูปแบบที่ปรับปรุงใหม่ 5. ปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่เกาะกลาง/สองข้างทาง (ถ้า มี) ให้สวยงาม รวมทั้งการรื้อถอนป้าย สิ่งก่อสร้าง อุปกรณ์เดิม ที่ไม่ใช้ในการอำนวยการจราจรออกจาก เขตทาง ให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ขับขี่
เกณฑ์แนะนำการออกแบบงานบำรุงรักษาทางต่ำ 10 ล้านบาท 1. สำรวจสายทางเพื่อออกแบบและกำหนดกิจกรรมซ่อมบำรุงตามคุณสมบัติ ดังนี้ 1.1 กิจกรรมฉาบผิวทางสเลอรี่ซีล 1.1.1 สายทางที่มีโครงสร้างทางอยู่ในสภาพที่แข็งแรง พื้นที่เสียหายหนักน้อยกว่า 5 % และมีอายุการใช้งานมากกว่า 4 ปี 1.1.2 หรือมีค่า IRI น้อยกว่า 4 หรือค่าการแอ่นตัวน้อยกว่า 0.5 มม. 1.1.3 มีค่าความเสียดทานน้อยกว่า 0.35 มม. หรือสายทางที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุในลักษณะการลื่นไถลบ่อยครั้ง/ที่ลาดชัน
เกณฑ์แนะนำการออกแบบงานบำรุงรักษาทางต่ำ 10 ล้านบาท 1.2 เสริมผิวทางแอสฟัลติกคอนกรีต 1.2.1 สายทางที่มีพื้นที่เสียหายหนักมากกว่า 5 % และไม่เกิน 10 % 1.2.2 หรือมีค่า IRI น้อยกว่า 4 หรือค่าการแอ่นตัวมากกว่า 0.5 มม. และไม่เกิน 0.7 มม. 1.3 กิจกรรมซ่อมสร้างผิวทางเคพซีล 1.3.1 ผิวทางเดิมเป็นแบบเคพซีลมีพื้นที่เสียหายหนักมากกว่า 10 % และมีปริมาณจราจร น้อยกว่า 1,000 PCU/วัน 1.3.2 หรือมีค่า IRI มากกว่า 6.5 หรือค่าการแอ่นตัวมากกว่า 0.7 มม.
เกณฑ์แนะนำการออกแบบงานบำรุงรักษาทางต่ำ 10 ล้านบาท 1.4 กิจกรรมซ่อมสร้างผิวทางแอสฟัลติกคอนกรีต 1.4.1 มีพื้นที่เสียหายหนักเกิน 10 % และมีปริมาณจราจรมากกว่า 1,000 PCU/วัน 1.4.2 หรือมีค่า IRI มากกว่า 6.5 หรือค่าการแอ่นตัวมากกว่า 0.7 มม. 2. ปรับปรุงรูปทรงทางเรขาคณิตและบริเวณจุดเสี่ยงอันตราย ได้แก่ ปรับปรุงทางแยกและจุดเชื่อมต่อ เช่น สามแยก สี่ แยก คอขวด(ขยายไหล่ทาง) ปรับปรุงโค้งด้วยการขยาย/ ยกโค้ง เพื่อให้มีความปลอดภัย 3. ปรับปรุงโครงสร้างทาง โดยให้มีการสำรวจปริมาณ จราจรและค่าการแอ่นตัว เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการ คำนวณและออกแบบโครงสร้างทาง
เกณฑ์แนะนำการออกแบบงานบำรุงรักษาทางต่ำ 10 ล้านบาท 4. งานจราจรสงเคราะห์ ปรับปรุงเครื่องหมายจราจร อุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย สัญญาณไฟจราจรให้เพียงพอและสอดคล้องกับรูปแบบที่ปรับปรุงใหม่ 5. ปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่สองข้างทาง (ถ้ามี) ให้สวยงาม รวมทั้งการรื้อถอนป้ายสิ่งก่อสร้าง อุปกรณ์เดิม ที่ไม่ใช้ใน การอำนวยการจราจรออกจากเขตทาง ให้เกิดความ ปลอดภัยต่อผู้ขับขี่
โครงการซ่อมสร้างผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต โดยวิธี Pavement In – Place Recycling ขุดกัดลึก 30 ซม. ข้อแนะนำในการคัดเลือกโครงการ เป็นสายทางที่มีปริมาณจราจรมากกว่า 1,500 PCU ต่อวัน และมีรถบรรทุกหนักมากกว่า 500 คันต่อวัน ค่าการแอ่นตัวมากกว่า 0.7 มม. ผิวทางเดิมมีความเสียหายมากกว่า 10% การออกแบบ ให้มีการสำรวจปริมาณจราจรและค่าแอ่นตัว เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการคำนวณและออกแบบโครงสร้างทาง งานจราจรสงเคราะห์ปรับปรุงเครื่องหมายจราจร อุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย สัญญาณไฟจราจร ให้เพียงพอและสอดคล้องกับรูปแบบที่ปรับปรุงใหม่
การร่างประกาศประกวดราคา (ร่าง TOR) ให้มีหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. ต้องมีผลงานในการดำเนินงานซ่อมสร้างผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต โดยวิธี Pavement In – Place Recycling ขุดกัดลึก 30 ซม. วงเงินไม่เกิน 50% ของโครงการที่จะประกวดราคา 2. ผู้เสนอราคาต้องเป็นเจ้าของผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือ ผู้ ครอบครองสิทธิ์เครื่องจักรสำหรับงานบูรณะทางแบบ Pavement In – Place Recycling ที่มีประสิทธิภาพในการ ขุดกัดชั้นโครงสร้างทางที่มีความลึกไม่น้อยกว่า 30 ซม.และ ต้องมีชุดเครื่องจักรบดอัด ประกอบด้วย - รถบดล้อเหล็กสั่นสะเทือน ขนาดไม่น้อยกว่า 25 ตัน จำนวน 1 คัน - รถบดล้อเหล็กสั่นสะเทือน ขนาดไม่น้อยกว่า 17.50 ตัน จำนวน 1 คัน
การประมาณราคางาน Pavement In – Place Recycling ขุดกัดลึก 30 ซม. ใช้ตารางค่าดำเนินการ และค่าเสื่อมราคา งาน Pavement In – Place Recycling โดยให้เปลี่ยนค่างานจากขุดลึกเฉลี่ย 20 ซม. เป็นขุดลึกเฉลี่ย 30 ซม. หมายเหตุ เก็บตัวอย่างออกแบบส่วนผสม เนื่องจากการขุดกัดลึกอาจมีส่วนผสมของลูกรังหรือผิวแอสฟัลติกคอนกรีตหนามากกว่า 5 ซม. ซึ่งจะทำให้ปูนซีเมนต์ที่จะใช้สูงขึ้น
แนวทางในการควบคุมงานก่อสร้าง ผิวทางปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ กรมทางหลวงชนบท สำนักบำรุงทาง
งานก่อสร้าง / ซ่อมบำรุงผิวทางปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ การควบคุมคุณภาพ งานก่อสร้าง / ซ่อมบำรุงผิวทางปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ รัฐบาลมีนโยบายใช้ยางพาราเป็นส่วนผสมในงานก่อสร้างถนนเป็นที่รู้จักกันในชื่อ พาราแอสฟัลต์ ซึ่งกรมทางหลวงชนบทได้นำวัสดุดังกล่าวมาใช้ในงานก่อสร้างถนนมาระยะหนึ่งแล้ว และนับวันมีการใช้งานขึ้นเรื่อยๆ ได้แก่ ผิวทางแบบพาราสเลอรี่ซิล (Para Slurry Seal) และพาราแอสฟัลต์คอนกรีต (Para AC) ดังนั้นเพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ ผู้ควบคุมงานรวมไปถึงผู้รับจ้างจะต้องเพิ่มความเอาใจใส่กับวิธีการก่อสร้างมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ได้งานที่ดี มีความแข็งแรง อายุการใช้งาน ที่ยาวนาน ผู้ใช้เส้นทางสัญจรบนทางหลวงชนบทอย่างสะดวกและปลอดภัยเป็นสำคัญ
งานพาราแอสฟัลต์คอนกรีต (Para AC) การควบคุมคุณภาพงาน ผู้ควบคุมงานจะต้องให้ความสำคัญกระบวนการทำงาน โดยมีสาระสำคัญหลัก ๆ ดังนี้ ก่อนดำเนินการ 1. ตรวจสอบ ใบกำกับผลิตภัณฑ์ชนิดพาราแอสฟัลต์ที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพแล้ว 2. ตรวจสอบโรงผสมแอสฟัลต์ซึ่งจะต้องมีถังบรรจุยาง 2 ถัง โดยแยกเป็น - ถังบรรจุยางพาราแอสฟัลต์ 1 ถัง (เท่านั้น) - และบรรจุยาง AC 60/70 อีก 1 ถัง เพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้ยางทั้ง 2 ชนิดดังกล่าวข้างต้นปนกัน 3. อุณหภูมิที่ใช้ผสม ณ โรงผสมจะต้องไม่น้อยกว่า 170 ±5 0C (โดยมีการตรวจปริมาณคงเหลือเพื่อป้องกันการนำยาง AC ไปใช้ผสมด้วย)
ระหว่างดำเนินการ เนื่องจากพาราแอสฟัลต์ที่ใช้ผสมวัสดุมวลรวมให้เข้ากันได้ดีจะต้องใช้อุณหภูมิที่สูงกว่าแอสฟัลต์ (AC 60/70 ) ปกติ ในทางกลับกันเมื่อดำเนินการก่อสร้างที่หน้างาน อุณหภูมิเมื่อปูผิวทางจะลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน ดังนั้นรถที่บรรทุกพาราแอสฟัลต์คอนกรีตมาหน้างานจะต้องคลุมผ้าใบ เพื่อควบคุมอุณหภูมิทุกคัน โดยอุณหภูมิขณะปูไม่ควรต่ำกว่า 156 0C (170 - 14 0C) อุณหภูมิขณะบดทับขั้นต้นต้องไม่ต่ำกว่า 140 0C เนื่องจากอุณหภูมิขณะปูยางจะลดลงอย่างรวดเร็ว จึงต้องบดทับอย่างต่อเนื่องทันที ดังนั้นการบดอัดให้ได้คุณภาพงานจะต้องใช้จำนวนเครื่องจักรบดอัดมากขึ้นกว่าปกติ กล่าวคือ 1. จะต้องมีรถบดล้อเหล็กขนาดน้ำหนักไม่น้อยกว่า 8 ตัน และสามารถเพิ่มน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 10 ตัน อย่างน้อย 2 คัน 2. จะต้องมีรถบดล้อยางน้ำหนักไม่น้อยกว่า 10 ตัน (ล้อยางไม่น้อยกว่า 9 ล้อ) อย่างน้อย 4 คัน (มากกว่าการปูผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตปกติ) เพื่อให้ได้คุณภาพงานตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นไปตาม มทช.246 - 2557 มาตรฐานงานแอสฟัลต์คอนกรีตปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ (Natural Rubber Modified Asphalt Concrete)
งานฉาบผิวพาราสเลอรี่ซีล ชนิดที่ 3 (Para Slurry Seal Type 3) เป็นงานฉาบผิวทาง ที่ใช้แอสฟัลต์มัลชั่นปรับปรุงคุณภาพ Css – 1hP (EMA), มวลรวม (Aggregate), ปูนซีเมนต์ (Mineral Filler), สารผสมเพิ่ม (Additive) และ น้ำ (Water) เป็นส่วนผสม เพื่อเพิ่มแรงยึดเกาะ ต้านทานการลื่นไถล เพิ่มความปลอดภัย และยืดอายุการใช้งาน (มทช.243 – 2555 : งานฉาบผิวทางแบบพาราสเลอรี่ซีล) ขนาดคละของมวลรวม ปริมาณแอสฟัลต์และอัตราการฉาบ ให้เป็นไปตามตาราง ผ่านตะแกรงขนาด Para Slurry Seal Type 3 % ผ่านตะแกรงโดยรวม 9.5 มม. (3/8 นิ้ว) 100 4.75 มม. (เบอร์ 4) 70 – 90 2.36 มม. (เบอร์ 8) 45 – 70 1.18 มม. (เบอร์ 16) 28 – 50 0.600 มม. (เบอร์ 30) 19 – 34 0.300 มม. (เบอร์ 50) 12 – 25 0.150 มม. (เบอร์ 100) 7 – 18 0.075 มม. (เบอร์ 200) 5 – 15 % Residue ของแอสฟัลต์โดยมวลรวม หยาบ 6.5 – 12.0 อัตราการฉาบ (กก./ม.2) 10 - 16
การนำส่งตัวอย่างวัสดุ หนังสือนำส่ง (แนบผลการออกแบบจากบริษัทผู้ผลิตแอสฟัลต์) - มวลรวม (หินฝุ่น) > 50 กก. - มวลรวม (หิน 3/8”) > 50 กก. - ยาง Css – 1hP 5 ลิตร - สารผสมเพิ่ม 300 – 500 ซีซี - ปูนซีเมนต์ 1 ถุง (50 กก.) *** ส่งวัสดุออกแบบที่สำนักวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนา เท่านั้น ***
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน 1. ตรวจสอบสถานที่ และแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ก่อนฉาบผิว 2. ตรวจสอบมวลรวมคละของวัสดุที่นำมาใช้จริง ให้เป็นไปตามเกณฑ์ ความคาดเคลื่อนที่ยองให้สำหรับสูตรส่วนผสมเฉพาะงาน ผ่านตะแกรงขนาด ร้อยละ 2.36 มม. (เบอร์ 8) และใหญ่กว่า ± 5 1.18 มม. (เบอร์ 16) ± 4 0.600 มม. (เบอร์ 30) 0.300 มม. (เบอร์ 50) 0.150 มม. (เบอร์ 100) ± 3 0.075 มม. (เบอร์ 200) ± 2 Residue ของแอสฟัลต์ โดยน้ำหนักของ มวลรวมแห้ง ± 0.5 - มวลรวม มีค่า Sand Equivalent > 60% - แอสฟัลต์ มีค่า DIN Bowl ไม่เกินร้อยละ ±𝟓 ของ Job Mix แต่ต้องอยู่ในช่วงระหว่าง 20 – 100 วินาที
3. เครื่องจักร/เครื่องมือ จะต้องเพียงพอ และพร้อมใช้งานอยู่เสมอ - ตรวจสอบ และสอบเทียบมาตรวัดมวลรวม, แอสฟัลต์, ปูนซีเมนต์, สารเพิ่มผสม และ น้ำ 4. ทำความสะอาดด้วยเครื่องกวาดฝุ่น 5. Spray น้ำบางๆ (เป็นฝอย) สำหรับผิวทางเดิมที่เป็น Asphalt ส่วนผิวทางเดิมที่เป็น คอนกรีต จะต้อง Tack Coat ก่อน ด้วยยาง Css – 1 หรือ Css – 1h อัตรา 0.1 – 0.3 ลิตร/ม.2 6. ส่วนผสมจะต้องคงที่ ปริมาณถูกต้องตามอัตราส่วนผสมเฉพาะงาน โดยการกำหนดพื้นที่เก็บตัวอย่างขนาด 50 x 50 ซม. แล้วตักเก็บส่วนผสมไปชั่งน้ำหนักคำนวณหาอัตราการฉาบ (กก./ม.2) 7. ตรวจสอบคุณสมบัติของส่วนผสม ดังนี้ - ระยะเวลาในการผสม (Mixing time) > 120 วินาที (ถ้าไม่อยู่ในระยะเวลาที่กำหนดให้ ปรับลดสารผสมเพิ่ม) - ค่า Flow อยู่ระหว่าง 10 – 20 มม. (ถ้าไม่อยู่ในช่วงที่กำหนดให้ปรับลดน้ำ) - ค่า Initial set time < 30 นาที (หลังจากฉาบผิว 5 นาที ให้ตรวจสอบ Set Time โดยใช้กระดาษซับจนกว่าจะไม่มีแอสฟัลต์ติดที่กระดาษ หรือจนเห็นว่าแอสฟัลต์เปลี่ยนจาก (สีน้ำตาลเป็นสีดำ) - ค่าการบ่มตัว Curing time < 2 ชั่วโมง - ค่า Wet Track Abrasion loss < 500 กก./ม.2
8. หากเกิดรอยครูดของหิน หรือรอยต่อไม่เรียบร้อยต้องปรับแก้ 9. ถ้ารอยต่อตามยาว ตามขวาง มีสันนูนไม่เรียบร้อยต้องรีบแก้ไข 10. ต้องจัดทำรอยต่อตามขวางทุกครั้งเมื่อสิ้นสุด / หยุด / ส่วนผสมหมด 11. หากส่วนผสมจับตัวกันเป็นก้อน หรือยางเกิดการแยกตัวกับมวลรวมควรตัดทิ้ง 12. หากจำเป็นต้องบดทับด้วยรถบดล้อยางขาด 5 ตัน ให้ขึ้นกับดุลพินิจของผู้ควบคุมงาน 13. ปิดการจราจรอย่างน้อย 1 ชั่วโมง สามารถเปิดการจราจรได้โดยไม่เกิดความเสียหาย ภายใน 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ในสภาพอากาศปกติ และไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงครึ่ง ในสภาพความชื้นสูง หมายเหตุ หากพบว่าค่า Mixing time, Setting time และ Curing time ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด แสดงว่ายางแอสฟัลต์ที่ใช้ไม่ถูกต้อง
แบบแกนมีใบพัด/ควบคุมอัตโนมัติ แบบลากไม่มีแกน/ใบพัด ข้อแตกต่างระหว่าง Para Slurry Seal กับ Slurry seal รายการ Para Slurry Seal Type 3 Slurry Seal 1. เครื่องจักร, เครื่องมือ และอุปกรณ์ - เครื่องฉาบ (Spreader) แบบแกนมีใบพัด/ควบคุมอัตโนมัติ แบบลากไม่มีแกน/ใบพัด - ถังใส่สารผสมเพิ่ม (Additive Tank) ต้องมี ไม่มีก็ได้ 2. คุณสมบัติวัสดุ - ค่า Sand Equivalent > 60% > 50% 3. คุณสมบัติส่วนผสม - เวลาในการผสม (Mixing time) > 120 วินาที - - ค่า Flow 10 – 20 มม. 20 – 30 มม. - Initial set time < 30 นาที < 12 ชั่วโมง - เวลาในการบ่ม (Curing time) < 2 ชั่วโมง < 24 ชั่วโมง - ค่า Wet track Abrasion loss < 500 กรัม/ม.2 < 800 กรัม/ม.2 - ค่า Hubbard Field Stability > 11.8 กิโลนิวตัน
Para AC
Para Slurry Seal
กำหนดการฝึกอบรมแนวทางการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้าง/ซ่อมบำรุง ผิวทางปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ กรมทางหลวงชนบท สำนักบำรุงทาง
คณะวิทยากรในการฝึกอบรมแนวทางการควบคุมคุณภาพ งานก่อสร้าง/ซ่อมบำรุง ผิวทางปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ ระหว่างวันที่ 17 - 24 กุมภาพันธ์ 2559 คณะที่ 1 1.นายวิชัย พลอยกลม 2.นายกล้าหาญ ทารักษา 3.นายสุเมธ ชิ้นโภคทรัพย์ 4.นายกรวรงค์ สุริยา ผอ.กลุ่มมาตรฐานงานทาง ผอ.กลุ่มบำรุงทาง วิศวกรโยธาปฏิบัติการ สวว. สบร. *** ผู้ประสานงาน นายสุเมธ ชิ้นโภคทรัพย์ โทร. 086 – 781 – 3144 คณะที่ 2 1.นายจักรพงษ์ วงค์คำจันทร์ 2.นายวีระศักดิ์ จันทรา 3.นายธนิต วิทยเมธ 4.นายชาญศักดิ์ แรงสาริกรรม ผอ.กลุ่มยุทธศาสตร์ วิศวกรโยธาชำนาญการ นายช่างโยธาชำนาญงาน สวว. สบร. ***ผู้ประสานงาน นายธนิต วิทยเมธ โทร. 095 – 928 – 2639
กำหนดการฝึกอบรมแนวทางการควบคุมคุณภาพ งานก่อสร้าง/ซ่อมบำรุง ผิวทางปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ ระหว่างวันที่ 17 - 24 กุมภาพันธ์ 2559 คณะที่ 1 + 2 วันที่ สถานที่ ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม 17 กุมภาพันธ์ 2559 18 กุมภาพันธ์ 2559 ห้องคุณากูลสวัสดิ์ ห้องประชุม สทช.ที่ 3 สทช.ที่ 1, 2, 4 และ 18 สทช.ที่ 3 และ 13 คณะที่ 1 วันที่ สถานที่ ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม 19 กุมภาพันธ์ 2559 24 กุมภาพันธ์ 2559 ห้องประชุม ขทช.ขอนแก่น ห้องประชุม สทช.ที่ 7 สทช.ที่ 6, 15 และ 16 สทช.ที่ 5 และ 7 คณะที่ 2 วันที่ สถานที่ ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม 19 กุมภาพันธ์ 2559 24 กุมภาพันธ์ 2559 ห้องประชุม สทช.ที่ 10 ห้องประชุม สทช.ที่ 11 สทช.ที่ 8, 9, 10 และ 17 สทช.ที่ 11, 12 และ 14
กำหนดการฝึกอบรมแนวทางการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้าง/ซ่อมบำรุง ผิวทางปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ห้องประชุมคุณากูลสวัสดิ์ ชั้น 9 อาคาร 4 กรมทางหลวงชนบท เวลา 08.30 – 12.00 น. วัน / เวลา หัวข้อเรื่อง วิทยากร ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม 08.30 – 08.45 น. 08.45 – 09.00 น. 09.00 – 11.30 น. 11.30 – 12.00 น. 12.00 น. ลงทะเบียนเข้ารับการฝึกอบรม พิธีเปิดการฝึกอบรม แนวทางการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้าง / ซ่อมบำรุง ผิวทางปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ งานพาราแอสฟัลต์คอนกรีตปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ (Natural Rubber Modified Asphalt Concrete) งานฉาบผิวทางแบบพาราสเลอรี่ซีล (Para Slurry Seal) ตอบข้อซักถาม ปิดการอบรม เจ้าหน้าที่สำนักบำรุงทาง วศญ. (นายวิศว์ รัตนโชติ) วิทยากรจากสำนักบำรุงทางและสำนักวิเคราะห์วิจัยและพัฒนา (คณะที่ 1 และ 2) สทช.ที่ 1 และ สทช.ที่ 2
กำหนดการฝึกอบรมแนวทางการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้าง/ซ่อมบำรุง ผิวทางปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ห้องประชุมคุณากูลสวัสดิ์ ชั้น 9 อาคาร 4 กรมทางหลวงชนบท เวลา 12.45 – 16.30 น. วัน / เวลา หัวข้อเรื่อง วิทยากร ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม 12.45 – 13.00 น. 13.00 – 16.00 น. 16.00 – 16.30 น. 16.30 น. ลงทะเบียนเข้ารับการฝึกอบรม แนวทางการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้าง / ซ่อมบำรุง ผิวทางปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ งานพาราแอสฟัลต์คอนกรีตปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ (Natural Rubber Modified Asphalt Concrete) งานฉาบผิวทางแบบพาราสเลอรี่ซีล (Para Slurry Seal) ตอบข้อซักถาม ปิดการอบรม เจ้าหน้าที่สำนักบำรุงทาง วิทยากรจากสำนักบำรุงทางและสำนักวิเคราะห์วิจัยและพัฒนา (คณะที่ 1 และ 2) สทช.ที่ 4 และ สทช.ที่ 18
กำหนดการฝึกอบรมแนวทางการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้าง/ซ่อมบำรุง ผิวทางปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ห้องประชุมสำนักงานทางหลวงชนบทที่ 3 (ชลบุรี) เวลา 08.30 – 12.00 น. วัน / เวลา หัวข้อเรื่อง วิทยากร ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม 08.30 – 08.45 น. 08.45 – 09.00 น. 09.00 – 11.30 น. 11.30 – 12.00 น. 12.00 น. ลงทะเบียนเข้ารับการฝึกอบรม พิธีเปิดการฝึกอบรม แนวทางการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้าง / ซ่อมบำรุง ผิวทางปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ งานพาราแอสฟัลต์คอนกรีตปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ (Natural Rubber Modified Asphalt Concrete) งานฉาบผิวทางแบบพาราสเลอรี่ซีล (Para Slurry Seal) ตอบข้อซักถาม ปิดการอบรม เจ้าหน้าที่ สทช.ที่ 3 (ชลบุรี) ผส.ทช.ที่ 3 หรือผู้แทน วิทยากรจากสำนักบำรุงทางและสำนักวิเคราะห์วิจัยและพัฒนา (คณะที่ 1 และ 2) สทช.ที่ 3 และ สทช.ที่ 13
กำหนดการฝึกอบรมแนวทางการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้าง/ซ่อมบำรุง ผิวทางปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ห้องประชุมสำนักงานทางหลวงชนบทที่ 6 (ขอนแก่น) เวลา 08.30 – 12.00 น. วัน / เวลา หัวข้อเรื่อง วิทยากร ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม 08.30 – 08.45 น. 08.45 – 09.00 น. 09.00 – 11.30 น. 11.30 – 12.00 น. 12.00 น. ลงทะเบียนเข้ารับการฝึกอบรม พิธีเปิดการฝึกอบรม แนวทางการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้าง / ซ่อมบำรุง ผิวทางปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ งานพาราแอสฟัลต์คอนกรีตปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ (Natural Rubber Modified Asphalt Concrete) งานฉาบผิวทางแบบพาราสเลอรี่ซีล (Para Slurry Seal) ตอบข้อซักถาม ปิดการอบรม เจ้าหน้าที่ สทช.ที่ 6 (ขอนแก่น) ผส.ทช.ที่ 6 หรือผู้แทน วิทยากรจากสำนักบำรุงทางและสำนักวิเคราะห์วิจัยและพัฒนา (คณะที่ 1) สทช.ที่ 6 และ สทช.ที่ 15 – 16
กำหนดการฝึกอบรมแนวทางการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้าง/ซ่อมบำรุง ผิวทางปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ห้องประชุมสำนักงานทางหลวงชนบทที่ 7 (อุบลราชธานี) เวลา 08.30 – 12.00 น. วัน / เวลา หัวข้อเรื่อง วิทยากร ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม 08.30 – 08.45 น. 08.45 – 09.00 น. 09.00 – 11.30 น. 11.30 – 12.00 น. 12.00 น. ลงทะเบียนเข้ารับการฝึกอบรม พิธีเปิดการฝึกอบรม แนวทางการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้าง / ซ่อมบำรุง ผิวทางปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ งานพาราแอสฟัลต์คอนกรีตปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ (Natural Rubber Modified Asphalt Concrete) งานฉาบผิวทางแบบพาราสเลอรี่ซีล (Para Slurry Seal) ตอบข้อซักถาม ปิดการอบรม เจ้าหน้าที่ สทช.ที่ 7 (อุบลราชธานี) ผส.ทช.ที่ 7 หรือผู้แทน วิทยากรจากสำนักบำรุงทางและสำนักวิเคราะห์วิจัยและพัฒนา (คณะที่ 1) สทช.ที่ 5 และ สทช.ที่ 7
กำหนดการฝึกอบรมแนวทางการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้าง/ซ่อมบำรุง ผิวทางปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ห้องประชุมสำนักงานทางหลวงชนบทที่ 10 (เชียงใหม่) เวลา 10.00 – 15.00 น. วัน / เวลา หัวข้อเรื่อง วิทยากร ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม 10.00 – 10.15 น. 10.15 – 10.30 น. 10.30 – 12.00 น. 12.00 – 13.00 น. 13.00 – 14.30 น. 14.30 – 15.00 น. 15.00 น. ลงทะเบียนเข้ารับการฝึกอบรม พิธีเปิดการฝึกอบรม แนวทางการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้าง / ซ่อมบำรุง ผิวทางปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ งานพาราแอสฟัลต์คอนกรีตปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ (Natural Rubber Modified Asphalt Concrete) พักรับประทานอาหารกลางวัน งานฉาบผิวทางแบบพาราสเลอรี่ซีล (Para Slurry Seal) ตอบข้อซักถาม ปิดการอบรม เจ้าหน้าที่ สทช.ที่ 10 (เชียงใหม่) ผส.ทช.ที่ 10 หรือผู้แทน วิทยากรจากสำนักบำรุงทางและสำนักวิเคราะห์วิจัยและพัฒนา (คณะที่ 2) สทช.ที่ 8 – 9, 10 และ สทช.ที่ 17
กำหนดการฝึกอบรมแนวทางการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้าง/ซ่อมบำรุง ผิวทางปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ห้องประชุมสำนักงานทางหลวงชนบทที่ 11 (สุราษฎร์ธานี) เวลา 08.30 – 12.00 น. วัน / เวลา หัวข้อเรื่อง วิทยากร ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม 08.30 – 08.45 น. 08.45 – 09.00 น. 09.00 – 11.30 น. 11.30 – 12.00 น. 12.00 น. ลงทะเบียนเข้ารับการฝึกอบรม พิธีเปิดการฝึกอบรม แนวทางการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้าง / ซ่อมบำรุง ผิวทางปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ งานพาราแอสฟัลต์คอนกรีตปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ (Natural Rubber Modified Asphalt Concrete) งานฉาบผิวทางแบบพาราสเลอรี่ซีล (Para Slurry Seal) ตอบข้อซักถาม ปิดการอบรม เจ้าหน้าที่ สทช.ที่ 11 (สุราษฎร์ธานี) ผส.ทช.ที่ 11 หรือผู้แทน วิทยากรจากสำนักบำรุงทางและสำนักวิเคราะห์วิจัยและพัฒนา (คณะที่ 2) สทช.ที่ 11 - 12 และ สทช.ที่ 14
ขอขอบคุณ