การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บ จากการเล่นกีฬา พว.แสงจันทร์ กลิ่นชิด กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
การบาดเจ็บจากการกีฬา หมายถึง การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นระหว่างการเล่นกีฬา อาจเกิดจาก - อุบัติเหตุ - การฝึกที่ผิด - การขาดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เหมาะสม - ขาดการอุ่นเครื่องหรือยืดกล้ามเนื้อ
สาเหตุ สาเหตุการบาดเจ็บทางกีฬา มาจากปัจจัย 2 อย่าง - ตัวผู้เล่นเอง - สิ่งแวดล้อมภายนอก
การจำแนกการบาดเจ็บ จากการเล่นกีฬา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1. การบาดเจ็บที่เกิดจากภยันตราย (Traumatic injury) เช่น กระดูกหัก ข้อเคลื่อน หลุด กล้ามเนื้อช้ำ ฉีกขาด เอ็นยึดข้อฉีก ข้อเท้าพลิก ฯลฯ
การจำแนกการบาดเจ็บ จากการเล่นกีฬา 2. การบาดเจ็บจากการใช้งานมากเกินไป (Overuse injury) เช่น เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ ภาวะกล้ามเนื้อปวดตึง Stress fracture ฯลฯ
ประเภทกีฬา ระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับประเภทกีฬา แบ่งเป็น 4 กลุ่ม 1. กีฬาประเภทใช้ความเร็ว (Augmented speed sport) เช่น กรีฑา ว่ายน้ำ จักรยาน จ๊อกกิ้ง
ประเภทกีฬา 2. กีฬาประเภทชน (Collision sport) เช่น รักบี้ฟุตบอล
ประเภทกีฬา 3. กีฬาประเภทปะทะ (Contact sport) เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล ยูโด มวย ซอฟท์บอล เทควันโด
ประเภทกีฬา 4. กีฬาประเภทไม่ปะทะ (Non contact sport) เช่น แบดมินตัน เทนนิส ปิงปอง ยกน้ำหนัก กอล์ฟ ฯลฯ
การบาดเจ็บจากการกีฬา ประเภทกีฬาที่มีการบาดเจ็บมากที่สุด คือ กีฬาประเภทปะทะ เช่น ฟุตบอล รองลงมาคือ กีฬาประเภทไม่ปะทะ เช่น แบดมินตัน
การบาดเจ็บจากการกีฬา อวัยวะที่มีการบาดเจ็บมากที่สุดคือ ข้อต่อและเอ็นยึดข้อต่อ ร้อยละ 47.6 รองลงมาคือ กล้ามเนื้อ ร้อยละ 23.8
การบาดเจ็บจากการกีฬา ชนิดของการบาดเจ็บพบได้บ่อยคือ ข้อเคล็ด ข้อแพลง (sprain) ร้อยละ 33.8 การอักเสบ ร้อยละ 25.4 กล้ามเนื้อฉีกขาด (strain) ร้อยละ 24.2
การบาดเจ็บจากการกีฬา ส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด คือ ขา ร้อยละ 62.1 รองลงมาคือ แขน ร้อยละ 20.7
การบาดเจ็บที่ต้องนำส่งโรงพยาบาล 1. การบาดเจ็บที่ศีรษะ 2. กระดูกหักและข้อเคลื่อน 3. การบาดเจ็บต่ออวัยวะภายในและมีการตก เลือด 4. การบาดเจ็บบริเวณตา 5. แผลฉีกขาดที่มีเลือดออกมาก อาจมีเส้น เลือดฉีกขาด 6. สิ่งแปลกปลอมเข้าตา หู จมูกและช่องปาก
การประเมินสภาพการบาดเจ็บ ข้อควรคำนึงในการประเมินสภาพการบาดเจ็บ 1. บาดเจ็บเมื่อไร ประเมินให้เร็วที่สุด 2. สถานที่ได้รับบาดเจ็บที่ไหน 3. มีสติ ไม่ตื่นเต้น รีบด่วนเกินไปอาจ ผิดพลาดได้ 4. ทักษะในการประเมินสภาพการบาดเจ็บ
ขั้นตอนการประเมินสภาพการบาดเจ็บ แบ่งเป็น 2 ส่วน 1. Primary survey : ABCs of life support 2. Secondary survey เพื่อประเมิน ธรรมชาติ (nature) ตำแหน่ง (site) และความรุนแรง (severity) ของการ บาดเจ็บ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ตามลำดับ ก่อน หลัง ดังนี้
ขั้นตอนการประเมินสภาพการบาดเจ็บ 2.1 ซักถามอาการ : ตำแหน่งที่บาดเจ็บซ้ำที่ เดิมหรือไม่ ระดับความรู้สึกตัว 2.2 สังเกต : สิ่งแวดล้อมที่เกิดบาดเจ็บ โดยรวม สังเกตอาการ การทรงตัว 2.3 ตรวจร่างกาย : ตำแหน่งที่เจ็บ กดเจ็บ การบวม การเสียรูป ควรปฏิบัติด้วยความรวดเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ และให้ถูกต้อง สมบูรณ์มากที่สุด เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยที่สุด
หลักการปฐมพยาบาลบาดเจ็บ จากการเล่นกีฬา แนวทางในการรักษาเบื้องต้น ภายใน 24-48 ชม. ใช้หลัก - 4 ย. คือ หยุด, เย็น, ยึด และยก หรือ - RICE คือ Rest , Ice, Compression และ Elevation หรือ - PRICED เพิ่ม Protection และ Diagnosis/Disposal
P=Protection ความหมาย ทำอย่างไร(How) ทำทำไม (Why) ป้องกันการบาดเจ็บที่จะตามมาอีก (Prevent further injury) ให้หยุดการเล่นกีฬาทันที นำนักกีฬาออกจากสถานที่ที่ได้รับบาดเจ็บ เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่จะตามมาอีก
R=Rest ความหมาย ทำอย่างไร(How) ทำทำไม (Why) การพัก พักส่วนที่ได้รับบาดเจ็บทันที เพราะการเคลื่อนไหวส่วนที่บาดเจ็บจะทำให้เลือดออกมากขึ้น
I=Ice ความหมาย ทำอย่างไร(How) ทำทำไม (Why) การใช้ความเย็น ประคบเย็นบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บด้วยน้ำแข็ง น้ำเย็น ผ้าเย็น หรือน้ำเย็นจากน้ำก๊อก เพื่อลดอาการบวม การเจ็บปวด กล้ามเนื้อเกร็งตัวและการอักเสบ
การใช้ความเย็นประคบ ใช้เวลาในการประคบครั้งละ 15-20 นาที วันละ 3-4 ครั้ง ใช้ภายใน 24-48 ชม.แรก
C=Compression (compression bandage) ความหมาย ทำอย่างไร(How) ทำทำไม (Why) การพันผ้ายืด (compression bandage) พันกระชับส่วนที่ได้รับบาดเจ็บด้วยผ้ายืดหรือใช้ผ้าสำลีผืนใหญ่รองไว้หนาๆ โดยรอบก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดออกมาก ลดบวมและเป็นการประคองส่วนที่ได้รับบาดเจ็บด้วย
หลักการพันผ้ายืดที่ถูกต้อง 1. ผ้าที่พันต้องอยู่ในลักษณะเป็นม้วน แน่น และสะอาด เพื่อให้มีน้ำหนักในการพันทุกครั้ง 2. การพันต้องหงายผ้าพันขึ้นเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าหล่นจากมือ 3. ควรใช้ส่วนที่เจ็บเป็นจุดกึ่งกลางและแบ่งพื้นที่ที่จะพันออกไปแต่ละข้าง 4. การพันให้เริ่มจากส่วนปลายของอวัยวะไปยังส่วนโคน เพื่อรีดเลือดที่คั่งกลับสู่หัวใจ เป็นการลดบวม
หลักการพันผ้ายืดที่ถูกต้อง 5. การพันที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพ ควรพันแบบเลข 8 หรือแบบไขว้ อวัยวะถูกยึดแน่น
E=Elevation ความหมาย ทำอย่างไร(How) ทำทำไม (Why) การยก ยกส่วนที่ได้รับบาดเจ็บนั้นให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อให้เลือดไหลเวียนกลับได้สะดวก ลดเลือดออก ลดบวม และลดอาการเจ็บปวด
D=Diagnosis/Disposal ความหมาย ทำอย่างไร(How) ทำทำไม (Why) การวินิจฉัย/การจัดการ ส่งพบแพทย์หรือสถาน พยาบาล เพื่อให้การรักษาพยาบาลที่ถูกต้องต่อไป
ข้อระวังในช่วงแรกของการบาดเจ็บ (24-48 ชม.แรก) .ใช้หลักการ (No HARM Factor) คือ H (heat) การใช้ความร้อนประคบ ทำให้ บวมและปวดมากขึ้น A (alcohol) การทายาที่มีฤทธิ์ร้อน R (running/exercise) การเล่นกีฬาอย่าง หนักต่อไปอีก ทำให้บาดเจ็บมากขึ้น M (massage) การนวดจะยิ่งทำให้ เลือดออกและบวมมากขึ้น
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเร็วทันเวลา และถูกต้องตามลักษณะการบาดเจ็บ ทำให้ผู้ป่วยถึงมือแพทย์ได้โดยปลอดภัย
วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
การบาดเจ็บกล้ามเนื้อ ตะคริว (muscle cramp) การหดเกร็งมัดกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการเจ็บปวด สาเหตุ : ขาดน้ำ เกลือแร่ กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง วิ่งหรือใช้งานมากเกินไป การรักษา : หยุดพักทันที ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 5-10 นาที นวดด้วยน้ำมันร้อนเบาๆ ห้ามบีบหรือขยำ
กล้ามเนื้อบวม (muscle swelling) การบวมของกล้ามเนื้อในช่องว่างจำกัด ปวดมาก ปวดตลอดเวลา สาเหตุ : เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมัดนั้นน้อย พบในนักวิ่งที่เริ่มฝึกซ้อมหนักเกินไป มักพบในกล้ามเนื้อขา การรักษา : หยุดออกกำลังทันที พักผ่อนวางอวัยวะส่วนที่ปวดในแนวราบ ถ้าไม่ดีขึ้นต้องได้รับการผ่าตัด
กล้ามเนื้อชอกช้ำ (Contusion) สาเหตุ : กล้ามเนื้อถูกกระแทกด้วยของแข็ง เลือดคั่ง การรักษา : หยุดพักทันที ประคบเย็น 15-20 นาที จากนั้นพันผ้ายืด : 1-2 วัน ให้ประคบร้อน หรือนวดด้วยน้ำมันร้อนเบาๆ
กล้ามเนื้อฉีกขาด (muscular strain) สาเหตุ : จากแรงกระแทกภายนอก : จากตัวกล้ามเนื้อเอง แบ่งเป็น 3 ระดับ ระดับ 1 ฉีกขาดน้อยกว่า 10 % บวมและปวดไม่มาก วิ่งต่อไปได้ ระดับ 2 ฉีกขาด 10-15 % บวม ปวดมาก วิ่งไม่ได้ พอเดินได้
กล้ามเนื้อฉีกขาด (muscular strain) ระดับ 3 ฉีกขาด 50-100 % บวมมาก ถ้าฉีกขาดสมบูรณ์ เล่นกีฬาหรือเดินไม่ได้ การรักษา : หยุดพักทันที ประคบเย็น 15-20 นาที จากนั้นพันผ้ายืด ยกส่วนปลายสูง : 1-2 วัน ให้ประคบร้อน ระดับ 1 ประมาณ 3 วัน ระดับ 2 ใส่เฝือกอ่อน 3 สัปดาห์ ระดับ 3 ผ่าตัดต่อกล้ามเนื้อและใส่เฝือก
การบาดเจ็บบริเวณข้อต่อ ข้อเคล็ด ข้อแพลง (Sprain) เกิดจากการฉีกขาดของเอ็นที่ยึดข้อต่อ พบบ่อย คือ ข้อเท้า ข้อเข่า แบ่งเป็น 3 ระดับ ระดับ 1 เอ็นฉีกขาดเล็กน้อยหรือเอ็นมีการยืด บวมหรือปวดน้อยมาก เดินไม่กระเผลก การรักษา : พักข้อต่อ ยกสูงและประคบเย็นทันที และพันผ้ายืดไว้ ประมาณ 3 วันจะหาย
ข้อเคล็ด ข้อแพลง (Sprain) ระดับ 2 จะมีความรู้สึกเจ็บปวด เสียวที่ข้อต่อ เดินกระเผลก การรักษา : การพักและยกสูง : ประคบเย็นหลายครั้งติดต่อกัน : ใส่เฝือกอ่อน 3 สัปดาห์ : หลังเอาเฝือกออก ค่อยๆ บริหารข้อต่อ
ข้อเคล็ด ข้อแพลง (Sprain) ระดับ 3 มีการฉีกขาดเยื่อหุ้มข้อร่วมด้วยเสมอ เจ็บปวด บวมมาก จนผิวหนังเขียวหรือ ม่วงคล้ำ การรักษา : ระยะแรกเหมือนระดับ 2 : ใส่เฝือกปูนพลาสเตอร์ อย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ : ถอดเฝือกออกแล้ว พันผ้า สวมสนับข้อเท้า ข้อเข่า
ข้อเคลื่อน ข้อหลุด (subluxation, dislocation) หัวกระดูกหลุดออกจากเบ้า อาจหลุดบางส่วนหรือหลุดออกหมด มีการฉีกขาดของเอ็น พังผืดและเนื้อเยื่อหุ้มรอบข้อ ปวด บวม เคลื่อนไหวไม่ได้ ข้อผิดรูป การรักษา : ให้ข้อนั้นอยู่นิ่งๆ ในท่าที่เป็นอยู่ : ประคบเย็น : รีบนำส่งพบแพทย์
ข้อบวม (joint swelling) เกิดขึ้นขณะวิ่งหรือเล่นกีฬาและภายหลังการวิ่งหรือเล่นกีฬา พบบ่อยคือ ข้อเข่า การรักษา : ตรวจให้ทราบว่าเป็นเอ็นฉีกขาดหรือ เยื้อหุ้มที่อักเสบเรื้อรัง เอ็นฉีกขาด อาจต้องผ่าตัด การอักเสบ ต้องพักและบริหารกล้ามเนื้อ
ข้อติดขัด (Lock joint) เกิดจากเศษของกระดูก หรือกระดูกอ่อนที่เกิดจากการทำลายหรือเสื่อมของข้อเอง การรักษา : การผ่าตัดเอากระดูก หรือกระดูกอ่อนออก
การบาดเจ็บบริเวณกระดูก เกิดจากแรงกระแทกโดยตรงและโดยทางอ้อม ทำให้มีการแตก หัก หรือร้าว อาการ : บวม กดเจ็บ ผิดรูป : ขยับมีเสียงกรอบแกรบ การรักษา : ให้ส่วนที่หักอยู่นิ่งๆ : Splinting ใช้หลัก “เหนือหนึ่งข้อต่อ ต่ำหนึ่งข้อต่อ”(One joint above, on joint below) รีบนำส่งพบแพทย์
Stress fracture คือ ภาวะกระดูกหักที่เกิดจากการล้า การใช้งานมากเกินไปซ้ำๆ และมีการกระแทกบ่อยๆ อาการ : ปวดซ้ำๆ ทุกครั้ง เมื่อใช้งาน อาการ ดีขึ้นเมื่อหยุดพัก : อาจปวดตลอดเวลาหรือช่วงกลางคืน : อาจพบบวมและจุดกดเจ็บชัดเจน
Stress fracture การรักษา : เจ็บปวดขณะเล่นกีฬา ให้หยุดพัก ประคบเย็น ให้ยาแก้ปวด : ถ้ายังมีการเจ็บตรงกระดูก ต้องพัก 6 สัปดาห์ จนถึง 3 เดือน : งดลงน้ำหนัก ใช้ไม้เท้าพยุงเดินใน 3 สัปดาห์แรก : กลับมาเล่นกีฬาได้ ใช้เวลา 3-6 เดือน
การป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา 1. มีทักษะที่ดีในการเล่นกีฬา 2. สมรรถภาพทางกายต้องพร้อม 3. การรับประทานอาหารที่เพียงพอ ถูกต้อง ตามหลักโภชนาการ 4. การอบอุ่นร่างกาย (Warm up) 5. การตรวจดูสภาพแวดล้อม อุปกรณ์ 6. มีวิธีการจัดการไม่ให้การบาดเจ็บรุนแรง ขึ้น
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย ใช้หลักการ HEAT ขั้นตอน ประโยชน์ H=Heat เป็นการใช้ความร้อนในการรักษา เพิ่มการไหลเวียนเลือดนำสารอาหารไปซ่อมแซมบริเวณบาดเจ็บ ช่วยลดการบาดเจ็บและผ่อนคลาย ช่วยในการดูดซึมสารอาหารของเซลล์
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย ใช้หลักการ HEAT ขั้นตอน ประโยชน์ E=Exercise เป็นการออกกำลังกาย ขั้นพื้นฐาน เช่น การบริหารส่วนต่างๆและค่อยเพิ่มความหนักของการออกกำลังกายขึ้นเรื่อยๆ ทั้งแบบ Isometric , isotonic ช่วยให้อวัยวะที่เกิดการบาดเจ็บได้เคลื่อนไหวและเสริมสร้างความแข็งแรง ทนทานขึ้นอย่างเป็นลำดับ
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย ใช้หลักการ HEAT ขั้นตอน ประโยชน์ A=Advance exercise เป็นการออกกำลังกาย ที่มีระดับความหนักมากขึ้นเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย เป็นการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายด้านต่างๆ ที่จำเป็นและต้องใช้ก่อนการฝึกซ้อมกีฬาต่อไป
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย ใช้หลักการ HEAT ขั้นตอน ประโยชน์ T=Training การฝึกเพื่อสร้างสมรรถภาพทางกายขั้นสุดท้ายก่อนเข้าสู่การฝึกจริง ซึ่งควรเริ่มโปรแกรมการฝึกจากเบาไปหาหนักก่อนเสมอ เข้าสู่โปรมแกรมการฝึกซ้อมเพื่อการแข่งขันต่อไป
ขั้นตอนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย 6 เข้าสู่โปรแกรมการแข่งขันได้ตามปกติ 5 เข้าสู่โปรแกรมการฝึกซ้อมได้ตามปกติ 4 เริ่มฝึกทักษะง่าย พื้นฐานความหนักน้อยๆ เริ่มวิ่งและกระโดดเบาๆและค่อยๆเพิ่มความหนัก 3 ออกกำลังกายแบบหดเกร็ง ค่อยๆเพิ่มความหนักการออกกำลังกาย หยุดเมื่อรู้สึกเจ็บ 2 ยืดเหยียด ไม่กระโดด ค่อยๆเพิ่มช่วงการเคลื่อน ไหว 1 P.R.I.C.E 24-48ชม.