งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา
การออกกำลังกาย ที่เหมาะสมกับวัย น.ส.สุธิดา เจริญผล นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา

2 การออกกำลังกายสำหรับเด็ก (ต่ำกว่า 18 ปี)
ความสูง การออกกำลังกายในวัยเด็กเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต มีส่วนช่วยในเรื่องพัฒนาการของเด็ก เพราะจะเพิ่มการสร้างมวลกระดูก ทำให้กระดูกเจริญเติบโต ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ พัฒนาระบบประสาทสั่งการที่เกี่ยวกับการทำงานของกล้ามเนื้อ

3 กิจกรรมที่เหมาะสม มุ่งเน้นที่ความสนุกสนาน ปลูกฝังให้มีน้ำใจนักกีฬา เพิ่มความคล่องแคล่วและให้มีการเคลื่อนไหวที่ แสดงออกถึงความสามารถเฉพาะตัว มีการพัฒนาร่างกายทุกส่วน เช่น การปีนป่าย ห้อยโหน วิ่ง กระโดด จักรยาน การเล่นกีฬาประเภทต่างๆ ได้แก่ ฟุตบอล วอลเลย์บอล บาสเกตบอล ว่ายน้ำ ยิมนาสติก ฯลฯ ควรให้เด็กมีกิจกรรมทางกายวันละ 2 ชั่วโมง สลับกับการพักเป็นระยะ

4 หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการปะทะหรือการกระทบกระแทกมากเกินไป
หลีกเลี่ยงกิจกรรมการยกน้ำหนักในปริมาณมากๆ ข้อควรระวัง งดออกกำลังกายในภาวะที่เด็กเป็นไข้ มีอาการตัวร้อน งดออกกำลังกายในภาวะขาดน้ำในร่างกาย มีอาการถ่ายเหลวหรืออาเจียนมากๆ มีอาการอ่อนเพลีย หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในขณะที่อากาศร้อนจัด มีแสงแดดมากๆ ถ้ามีการออกกำลังกายควรจัดหาน้ำดื่มให้เพียงพอต่อความต้องการของเด็ก

5 การออกกำลังกายสำหรับวัยหนุ่ม สาว (18-35 ปี)
มีประโยชน์ในด้านการพัฒนาสมรรถภาพทางกาย ช่วยเสริมสร้างรูปร่างทรวดทรง ทำให้มีบุคลิกภาพที่ดี ผ่อนคลายความเครียดในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมการเข้าสังคม พบปะกลุ่มคนที่เล่นกีฬาเหมือนกัน ตลอดจนพัฒนาทักษะทางความคิด การวางแผนและการแก้ปัญหาในเกมการแข่งขันได้เป็นอย่างดี

6 กิจกรรมที่เหมาะสม เป็นระยะที่สมรรถภาพทางกายดีที่สุด การออกกำลังกายจะใช้กิจกรรมใดก็ได้ทั้งนั้น เพราะกระดูกและกล้ามเนื้อเจริญเติบโตเต็มที่ การวิ่ง ฟุตบอล วอลเลย์บอล เทนนิส แบดมินตัน บาสเกตบอล ว่ายน้ำ และการฝึกกล้ามเนื้อ (Weight Training) ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บ

7 ข้อควรระวัง ช่วงอายุนี้ต้องระวังการออกกำลังกายกลางแจ้ง เพราะผิวของคนวัยนี้เริ่มที่จะไวต่อรังสี UV ดังนั้นถ้าออกกำลังกายกลางแจ้ง จำเป็นต้องทาครีมปกป้องผิวจากแสงแดดเสมอ การตั้งเป้าหมายในการออกกำลังกาย (เช่น การลดน้ำหนัก, การสร้างกล้ามเนื้อ) ต้องมีความเป็นไปได้ สามารถทำได้จริง ไม่ควรตั้งเป้าหมายที่สูงเกินไป เพราะหากทำไม่ได้จะเกิดความท้อแท้ แต่หากเป้าหมายต่ำเกินไป ก็จะทำให้ขาดแรงกระตุ้น

8 การออกกำลังกายสำหรับวัย กลางคน (35-55 ปี)
ผลการสำรวจมากมายที่รับรองผลว่าการออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคต่างๆของวัยกลางคน ทั้งโรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน และอื่นๆ รวมทั้งช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลายจากความเครียด หรือกระทั่งผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าก็สามารถแก้ไขได้

9 กิจกรรมที่เหมาะสม กิจกรรมที่เคลื่อนไหวช้า เน้นความเพลิดเพลิน สบายใจ และปฏิบัติได้สม่ำเสมอ การออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวแบบต่อเนื่อง อย่างวิ่งเหยาะ เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ และกายบริหารต่างๆ ในวัยนี้ กำลังกายและสมรรถภาพทางกายลดลงเรื่อยๆ กล้ามเนื้อและเอ็นเริ่มเสื่อม สูญเสียมวลกระดูกลงไปเรื่อยๆทุกปี การออกกำลังกายเพื่อรักษาหรือเสริมสร้างกล้ามเนื้อจึงมีความสำคัญมากขึ้น

10 ข้อควรระวัง ควรอบอุ่นร่างกายและยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนเริ่มออกกำลังกายทุกครั้ง ควรออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาให้เหมาะสมตามกำลังและความสามารถของตน ไม่หักโหมจนเกินไป ผู้มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนออกกำลังกาย

11 การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ (56 ปีขึ้นไป)
การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ (56 ปีขึ้นไป) การออกกำลังกายนั้นจำเป็นต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ เนื่องจากช่วยให้ระบบหายใจและไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดี ป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน ความดัน เบาหวาน ข้อเสื่อม ช่วยลดความเครียดและทำให้การนอนหลับพักผ่อนดีขึ้น

12 กิจกรรมที่เหมาะสม จัดให้งานอดิเรกเป็นการออกกำลังกาย เช่น ทำสวน ทำอาหาร งานหัตถกรรม เย็บปักถักร้อย การฝึกกายบริหาร เช่น รำไม้ พลอง รำมวยจีน ฝึกโยคะ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ได้แก่ การเดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ การเต้นรำในบางจังหวะ

13 กิจกรรมที่เหมาะสม การเล่นกีฬา โดยเลือกชนิดกีฬาที่เหมาะสม ดังนี้ -กีฬาที่ไม่มีการปะทะ / มีการเคลื่อนไหวที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมาก ไม่มีการออกแรงสูงสุดในช่วงเวลาสั้นๆ / สามารถควบคุมความหนักเบาได้ด้วยตนเอง -กีฬาที่ให้ผลต่อสมรรถภาพความทนทานของปอดและหัวใจ -ไม่ควรถือการแข่งขันเป็นสำคัญ ควรเล่นแบบสนุกสนานมากกว่า เล่นกับผู้ที่อยู่ในวัยเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน / ไม่ฝืนเมื่อเกิดอาการผิดปกติ

14 ข้อควรระวัง ผู้ที่มีอาการแน่นหน้าอกขณะออกกำลังกาย ในกลุ่มผู้สูงอายุควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนออกกำลังกาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูง ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือโรคอ้วน ผู้ที่มีโรคข้อเสื่อมหรือข้ออักเสบ ผู้ที่มีโรคข้อเสื่อมหรือข้ออักเสบ


ดาวน์โหลด ppt นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google