ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไม่เลือกศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียน ชื่องานวิจัย ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไม่เลือกศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนประเภทขยายโอกาส ที่ตั้งอยู่ในเขตจังหัดเชียงใหม่ ผู้วิจัย นางสาวเตือนใจ อารีโรจนนุกูล ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทั่วไป วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ PAYAPTECHNOLOGICAL AND BUSINESS COLLEGE
ที่มาและความสำคัญของปัญหา ปัญหาการขาดแคลนแรงงานระดับกลางของประเทศไทย (แรงงานผู้ที่จบการศึกษาจากสายอาชีพ) ผลการศึกษาของสำนักเลขาธิการสภาการศึกษาซึ่งก็พบว่าสัดส่วนการเลือกเรียนปีการศึกษา 2557 ต่อ 2558 นี้มีสัดส่วนการเลือกเรียนสามัญและสายอาชีพ ในอัตราที่น้อยลง 71:29 นโยบายของรัฐบาลด้านการศึกษาที่มอบนโยบายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เพิ่มสัดส่วนนักเรียนสายอาชีวศึกษาต่อสายสามัญในปีการศึกษา 2558 จะต้องเพิ่มสัดส่วนเป็น 40:60 การตัดสินใจเลือกเรียนต่อของนักเรียนและผู้ปกครองในปัจจุบันที่ไม่สอดคล้องกับความถนัดของผู้เรียนทำให้ผู้เรียนไม่ประสบความสำเร็จในการเรียนและการทำงาน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาจำนวน สภาพทั่วไป ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ไม่เลือกเรียนต่อสายอาชีพ ประจำปีการศึกษา 2558 ในโรงเรียนที่อยู่ในเขต จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไม่เลือกศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2558 ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ กรอบแนวคิดงานวิจัย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไม่เลือกศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2558 ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ความรู้ความสามารถของผู้เรียน อุปนิสัยส่วนตัวของผู้เรียน ค่านิยมความเข้าใจในสายอาชีพ ด้านผู้ปกครอง การตัดสินใจไม่เลือกศึกษา ต่อสายอาชีพของนักเรียนที่ จบการศึกษาระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปี การศึกษา 2558 ในโรงเรียน ที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัด เชียงใหม่
ขอบเขตการวิจัย ขอบเขตเนื้อหา ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไม่เลือกศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2558 ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ 4 ด้าน ได้แก่ ความรู้ความสามารถของผู้เรียน ด้าน อุปนิสัยส่วนตัวของผู้เรียน ด้าน ค่านิยมความเข้าใจในสายอาชีพและด้านผู้ปกครอง ขอบเขตประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ จำนวนนักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2558 จากโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอสันทราย ดอยสะเก็ด สันกำแพง แม่แตง และ อำเภอเมือง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้มาโดยการสุ่มแบบแยกชั้น (Stratified Random Sampling) ซึ่งใช้ตารางมาตรฐานว่าด้วยขนาดประชากรและกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan (อ้างถึง ธานินนท์ ศิลป์จารุ.2548:51) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งที่จำนวน 100 คน กลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ตอน คือ 1.1 ตอนที่ 1 เป็นการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไป ซึ่งเป็นแบบตรวจสอบรายการ ( Cheek list ) 1.2 ตอนที่ 2 สอบถามความคิดเห็นถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกศึกษาต่อสายอาชีพโดยลักษณะการตอบเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าที่มี 5 ระดับ ( Rating Scale) 1.3 ตอนที่ 3 และข้อเสนอแนะปัจจัยอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกศึกษาต่อ สายอาชีพเป็นแบบปลายเปิด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 อย่าง ได้แก่ การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเพื่อหาค่าความเที่ยงตรง ของเนื้อหาในแบบสอบถาม ซึ่งผลการหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง (IOC) อยู่ที่ระดับ 0.96 ผู้วิจัยนำแบบสอบถามทดลองกับกลุ่มนักเรียนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ได้ค่าความเชื่อมั่น สัมประสิทธิ์แอลฟา ระดับ 0.98
ผลการวิเคราะห์ตารางที่สำคัญ ตารางที่ 1 แสดงความถี่และร้อยละของสถานภาพโดยทั่วไปของนักเรียน (เลือกมาเฉพาะที่สำคัญ) สถานภาพ จำนวน ร้อยละ 1. เพศ ชาย 35 หญิง 65 รวม 100 เกรดเฉลี่ยสะสม ต่ำกว่า 2.00 6 2.01-2.50 11 2.51-3.00 27 3.01-3.50 36 3.51-4.00 20 3. รายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 15,000 61 15,001 – 30,000 31 30,001 – 45,000 45,001 – 60,000 60,000 ขึ้นไป 2
ตารางที่ 1 แสดงความถี่และร้อยละของสถานภาพโดยทั่วไปของนักเรียนในโรงเรียนที่แยกผู้เรียนตามอำเภอ จำนวน ร้อยละ 4. ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ประถมศึกษาปีที่ 1-4 18 ประถมศึกษาปีที่ 5-6 20 มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 8 มัธยมศึกษาปีที่ 4-5 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 2 ประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปริญญาตรี 15 สูงกว่าปริญญาตรี 6 ไม่ได้เรียน 9 รวม 100
ผลการวิเคราะห์ตารางที่สำคัญ ตารางที่ 2 แสดงผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไม่เลือกเรียนต่อสายอาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 5 ด้าน รายการปฎิบัติ S.D. การแปลความหมาย ด้านที่ 1 ปัจจัยด้านความสามารถของตัวผู้เรียน 1. มีผลการเรียนอยู่ในระดับดีมาก จึงคิดว่าตนเองควรจะเรียนต่อสายสามัญ 3.17 0.83 ปานกลาง 2. มีผลการเรียนดีในวิชาสามัญ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คิดว่าควรเรียนต่อสายสามัญ 3.05 0.77 รวมปัจจัยด้านตัวผู้เรียน 3.11 0.69 ปัจจัยด้านอุปนิสัยส่วนตัวของผู้เรียน 3. ตนเองมีความชอบทางด้านการเรียนภาคทฤษฎีจึงเลือกเรียนต่อสายสามัญ 3.32 0.82 4. ตนเองไม่ชอบเรียนภาคปฏิบัติ จึงไม่เลือกเรียนต่อสายอาชีพ 2.67 0.78 รวม ปัจจัยด้านอุปนิสัยส่วนตัวของผู้เรียน
ตารางที่ 2 แสดงผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไม่เลือกเรียนต่อสายอาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 5 ด้าน รายการปฎิบัติ S.D. การแปลความหมาย ปัจจัยด้านค่านิยม ความเข้าใจด้านสายอาชีพ 5. กลัวจะไม่ได้เรียนในระบบมหาวิทยาลัย 2.75 0.94 ปานกลาง 6. ต้องการเรียนจบปริญญาตรี 3.91 1.00 มาก 7. มีความคิดเห็นว่าจบสายอาชีพเงินเดือนต่ำ 2.61 0.87 8. สังคมของเด็กอาชีวะไม่ดี อันตราย มีการทะเลาะวิวาท 2.35 0.95 น้อย 9. เรียนจบมาแล้วมีความรู้ความสามารถ สู้เด็กปริญญาตรีไม่ได้ 2.44 0.83 10. การเรียนการสอนไม่จริงจังเหมือนสายสามัญ 2.43 0.90 11. คนที่เลือกเรียนสายอาชีพคือคนที่เรียนไม่เก่ง 2.11 0.89 12. เรียนจบสายอาชีพต้องไปทำงานเป็นลูกน้อง 2.20 0.86 รวมปัจจัยด้านค่านิยม ความเข้าใจสายอาชีพ 2.60 0.59
ตารางที่ 2 แสดงผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไม่เลือกเรียนต่อสายอาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 5 ด้าน รายการปฎิบัติ S.D. การแปลความหมาย ปัจจัยด้านผู้ปกครอง 13. ผู้ปกครองบังคับให้เรียนสายสามัญ 2.45 1.15 น้อย 14. ผู้ปกครองมีความคิดเห็นว่าสายอาชีพเป็นสังคมที่มีดี เด็กทะเลาะวิวาท เกเร จึงไม่ให้เรียน 2.33 0.94 15. ผู้ปกครองเห็นตัวอย่างที่ไม่ดีจากสื่อทำให้ไม่ให้เรียน 1.00 16. ผู้ปกครองกลัวลูกไม่จบปริญญาตรี 2.50 1.09 ปานกลาง 17. ผู้ปกครองกลัวลูกได้เงินเดือนน้อย 2.49 0.95 18. ผู้ปกครองมีความคิดว่าจบสายอาชีพต้องเป็นลูกน้องไม่ใช่หัวหน้า 2.39 รวมปัจจัยด้านผู้ปกครอง 2.41 0.79
สรุปผลการวิจัย 1. สภาพทั่วไปที่สำคัญ ของนักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ไม่เลือกเรียนต่อสายอาชีพ พบว่า นักเรียนที่เลือกเรียนต่อสายสามัญส่วนใหญ่มีเกรดเฉลี่ยมากที่สุดอยู่ในระดับ 3.01 – 3.50 รายได้เฉลี่ยของผู้ปกครอง มากที่สุด อยู่ในระดับ ไม่เกิน 15,000 บาท ต่อเดือน ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง โดยเฉลี่ย อยู่ในระดับ ประถมศึกษาปีที่ 5-6 และ มัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า นักศึกษากลุ่มที่มีผลการเรียนดี ยังมีค่านิยมที่จะเรียนต่อในสายสามัญมากกว่าสายอาชีพ 2. ระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไม่เลือกศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียน 5 ด้าน เรียงระดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 2.1 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจไม่เลือกเรียนต่อสายอาชีพของนักเรียนที่จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้ง 4 ด้าน พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ ด้าน ด้านอุปนิสัยส่วนตัว (=3.17) รองลงมาคือ ความรู้ความสามารถของตัวผู้เรียน (= 3.11) ด้านค่านิยม ความเข้าใจสายอาชีพ (= 2.60) และน้อยที่สุดคือด้านตัวผู้ปกครอง (= 2.41) 2.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียน มากที่สุดคือ ด้านอุปนิสัยส่วนตัวของผู้เรียน โดยปัจจัยหลักคือ ผู้เรียนคิดว่าตนเองมีความถนัดมีความชอบทางด้านการเรียนภาคทฤษฎีมากกว่าภาคปฏิบัติ จึงเลือกที่จะเรียนต่อสายสามัญ 2.3 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจไม่เลือกศึกษาต่อสายอาชีพ รองลงมาอันดับที่ 2 อยู่ในระดับ ปานกลาง คือ ด้านความรู้ความสามารถของผู้เรียน โดยเหตุผลที่มีผลมากที่สุดคือ ผู้เรียนคิดว่าตนเองมีผลการเรียนที่ดี จึงคิดว่าควรจะเรียนต่อทางด้านสายสามัญ และ ตนเองมีผลการเรียนที่ดีในการเรียนวิชาสามัญ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จึงคิดว่าตนเองควรจะเหมาะกับการเรียนต่อสายสามัญ ตามลำดับ 2.4 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจไม่เลือกศึกษาต่อสายอาชีพ รองลงมาอันดับที่ 3 อยู่ในระดับ ปานกลาง คือ ด้านค่าความนิยม ความเข้าใจสายอาชีพ โดยเหตุผลที่มีผลมากที่สุด คือ นักศึกษาต้องการเรียนจบปริญญาตรี ข้อนี้มีอิทธิพลกับนักศึกษาอยู่ในระดับ มาก รองลงมาคือ มีความคิดเห็นว่า จบสายอาชีพเงินเดือนต่ำกว่าสายสามัญ และ กลัวว่าเรียนต่อสายอาชีพแล้วจะไม่ได้เรียนต่อระบบมหาวิทยาลัย อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ 2.5 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจไม่เลือกศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียน รองลงมาอันดับที่ 4 อยู่ในระดับ ปานกลาง คือ ด้านผู้ปกครอง โดยเหตุผลที่มีผลมากที่สุด คือ ผู้ปกครองกลัวว่าลูกจะไม่จบปริญญาตรี และผู้ปกครองบังคับให้นักเรียนเรียนในสายสามัญทั้งที่นักเรียนไม่ชอบเรียน ตามลำดับ
จากการวิจัยสามารถนำไปเป็นข้อมูลเพื่อพัฒนาสถานศึกษาได้ดังนี้ 1. จากข้อมูลที่พบคือ ปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด คือ ผู้ปกครองและตัวผู้เรียนต้องการจบปริญญาตรี แสดงให้เห็นถึงว่า ผู้ปกครองและผู้เรียนยังขากความเข้าใจในเรื่องการเรียนปริญญาตรีอยู่มาก ทำให้ผู้วิจัยจะได้นำไปหาข้อมูล วิธีการเพิ่มเติมที่จะทำให้ผู้เรียนและผู้ปกครองมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเรียนปริญญาตรีมากยิ่งขึ้น 2. สถานศึกษาควรมีการจัดแนะแนวให้กับกลุ่มผู้ปกครอง เพราะจะเห็นได้ว่า ปัจจัยด้านผู้ปกครองในเรื่อง ความเข้าใจของผู้ปกครองในเรื่องการจัดการศึกษาสายสามัญและสายอาชีพ มีส่วนในการช่วยนักเรียนในการตัดสินใจเลือกเรียนต่อ ดังนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปกครองต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ในเรื่องข้อมูลทางการศึกษา เพื่อที่จะช่วยแยะแนวทางที่ถูกต้องให้กับบุตรหลานของตนเอง 3. สถานศึกษาในสายวิชาชีพควรมีการประสานงานกับโรงเรียนกลุ่มที่เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อทำความร่วมมือในการจัดกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ค้นพบความถนัดของตนเอง เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อทั้งในด้านสายอาชีพและสายสามัญ 4. วิทยาลัยควรมีการปรับวิธีการแนะแนวโดยให้นักเรียนได้เห็นถึงคุณลักษณะและความสามารถที่แท้จริงของตนเอง เพื่อที่นักเรียนจะได้ตัดสินใจเลือกการศึกษาต่อได้ตรงตามความสามารถของตนเอง เพราะจากการวิจัยจะเห็นได้ว่า ปัจจัยด้านตัวผู้เรียน มีอิทธิพลอยู่ในระดับมาก กว่าปัจจัยด้านอื่น ๆ ดังนั้นครูแนะแนวจึงต้องมีการแนะแนวทางให้นักเรียนประเมินตนเองได้ถูกต้อง
ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการศึกษามูลเหตุจูงใจการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อสายอาชีพระหว่างสถาบันการศึกษาของรัฐกับของเอกชน ควรมีการศึกษาข้อมูลเชิงลึกถึงคุณลักษณะของผู้เรียนที่เลือกเรียนในสายอาชีวศึกษาและสายสามัญ
บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ ครุสภา ลาดพร้าว, 2542. กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว, 2551. กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว, 2552. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์. 2548. นางสาวศิริลักษณ์ เรืองสารี.(2553). มูลเหตุจูงใจในการเข้าศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 ใน สถานศึกษา โรงเรียนสายมิตรเทคโนโลยี. แผนกช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากาลัง โรงเรียนสายมิตรเทคโนโลยี. บรรยงค์ โตจินดา. 2548. องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร: รวมสาส์น (1997) ปราณี กองจินดา. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และทักษะการ คิดเลขในใจของนักเรียนที่ได้รับการสอน ตาม รูปแบบซิปปาโดยใช้ แบบฝึกหัดที่เน้นทักษะการคิดเลขในใจกับนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้คู่มือ ครู. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตร และการสอน). พระนครศรีอยุธยา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. ถ่ายเอกสาร. ศักดิ์ สุนทรเสณี ( 2531) เจตคติ กรุงเทพมหานคร: รุ่งวัฒนา ศิริพร พงศ์ศรีโรจน์. 2540. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. หน้า 239 - 254. สมคิด บางโม. 2548. “การจัดการองค์การ” ในองค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 4 ปรับปรุงใหม่. สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา.(2557). การตัดสินใจเลือกศึกษาต่อสายวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การ อาชีวศึกษา. สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา.