เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ส 31101 สาระการเรียนรู้สังศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยนางสาวประภัสสร จันทร์แดง 0647026
จุดประสงค์การเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในความหมาย ประเภท และประโยชน์ของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ สามารถนำความรู้ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนบอกความหมายของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ได้ 2. นักเรียนบอกชื่อของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ได้อย่างน้อย 3 ชื่อ 3. นักเรียนระบุบอกประเภทของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ได้ 4. นักเรียนจำแนกประเภทของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ได้ 5. นักเรียนวิเคราะห์ประโยชน์ของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ได้อย่างน้อย 3 ข้อ
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ หมายถึง สื่อที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้ง การกระจาย ขอบเขต ความหนาแน่นของข้อมูลหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ของข้อมูลบางประเภทต้องอาศัยการวัดด้วยอุปกรณ์ ส่วนข้อมูลบางประเภทต้องออกไปเก็บยังพื้นที่นั้น ๆ แล้วนำมาสรุปวิเคราะห์
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์จึงแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์จึงแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1. เครื่องมือประเภทที่ให้ข้อมูล เครื่องมือประเภทที่ให้ข้อมูลนี้ได้แก่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ และภาพจากดาวเทียม รวมทั้งอินเทอร์เน็ต 2. เครื่องมือประเภทที่เป็นอุปกรณ์ เครื่องมือประเภทที่ให้ข้อมูล หมายถึงอุปกรณ์ ที่ใช้วัดข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์ เช่น มุม ระยะทาง ความสูง ภูมิอากาศ ตำแหน่งที่ตั้ง เป็นต้น
เครื่องมือประเภทที่ให้ข้อมูล
แผนที่ (Map) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแสดงลักษณะและที่ตั้งของสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนผิวโลก โดยการย่อส่วนกับใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆ นั้นลงในวัสดุพื้นแบนราบ
ประเภทของแผนที่ ได้แก่ 1.แผนที่ภูมิประเทศ เป็นแผนที่แสดงข้อมูลทั่วไปบนผิวโลก มีจุดเด่นคือ แสดงสภาพภูมิประเทศ โดยใช้ชั้นความสูง (Contour line) ที่มีชั้นความสูงเท่า จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร แผนที่ที่ใช้กัน มี 2 มาตราส่วน คือมาตราส่วนเล็ก หรือ มาตราส่วน 1: 250000 และมาตราส่วนใหญ่ คือ มาตราส่วน 1: 50000 แผนที่ภูมิประเทศทั้งสองมาตราส่วน ใช้เป็นแผนที่ต้นร่างหรือใช้ปรับแก้ไข ข้อมูลจากดาวเทียมได้อย่างดี เนื่องจากมีจุดพิกัดอ้างอิงได้ 2.แผนที่เฉพาะเรื่อง (thematic map) เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงข้อมูลหลักใดอย่างหนึ่ง โดยอาจจะซ้อนอยู่บนแผนที่พื้นฐาน เช่น แผนที่ภูมิประเทศหรือบางส่วนของข้อมูลบนแผนที่ ภูมิประเทศ มีการใช้พิกัดทางภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะละติจูดและลองติจูดเป็นหลัก
ตัวอย่างแผนที่ แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่เฉพาะเรื่อง
ประโยชน์ของแผนที่ 1. แผนที่มีส่วนช่วยในการวางแผนทางเศรษฐกิจ 2. แผนที่จะทำให้รู้ถึงสภาพทางภูมิศาสตร์การเมือง ทำให้สามารถวางแผนดำเนิน การเพื่อเตรียมรับหรือแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง 3. แผนที่เป็นอุปกรณ์สำคัญในการวางแผนยุทธศาสตร์ทางทหาร ทำให้ทราบข้อ มูลเกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์และตำแหน่งของสิ่งแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ต่างๆ 4. แผนที่เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทาง ภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้น มีส่วนช่วยในการวางมาตรการในการป้องกันหรือดำเนินการในการวางแผนพัฒนาสังคมให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง
ลูกโลก เป็นวัสดุสามมิติประเภทหุ่นจำลองแบบย่อส่วน โดยย่อส่วนหรือลดขนาดของโลก อาศัยมาตราส่วนกำหนดขนาด และระยะทางที่ใกล้เคียงข้อเท็จจริงมากที่สุดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ทำให้เห็นภาพรวมว่าโลกมีรูปร่างลักษณะอย่างไร ลูกโลกส่วนมากจะหมุนได้ จึงแสดงให้เห็นช่วงเวลากลางวันและกลางคืนได้
ภาพถ่ายทางอากาศ (Aerial photography) เป็นรูปภาพแสดงภูมิประเทศที่ปรากฏบนพื้นผิวโลกถ่ายโดยใช้กล้องถ่ายรูปติดไว้กับเครื่องบิน เป็นเครื่องมือที่ควรศึกษาควบคู่กับแผนที่ด้วยจะทำให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น การนำไปใช้ประโยชน์ (1) ทำให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงในลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ต่างๆ โดยเปรียบเทียบจากรูปถ่ายในระยะเวลาแตกต่างกัน เช่น การสูญเสียพื้นที่ป่าชายเลน การขยายตัวของชุมชนเมืองเข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น (2) การวางแผนพัฒนาการใช้ที่ดิน โดยนำรูปถ่ายทางอากาศไปใช้เพื่อจัดทำแผนที่และจำแนกประเภทการใช้ที่ดินของประเทศ โดยกำหนดโซนหรือแบ่งพื้นที่เป็นเขตอุตสาหกรรม และเขตชุมชนที่อาศัย เป็นต้น (3) การอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ รูปถ่ายทางอากาศทำให้ทราบถึงสภาพความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ในพื้นที่ต่างๆ เพื่อกำหนดแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาต่อไป
ภาพถ่ายทางอากาศเมืองเพชรบูรณ์
ภาพถ่ายจากดาวเทียม (Satellite imagery) เป็นรูปหรือภาพถ่ายที่ได้จากการสะท้อนคลื่นแสงของดวงอาทิตย์ขึ้นไปสู่เครื่องบันทึกที่ติดอยู่บนเครื่องบินหรือดาวเทียม การบันทึกข้อมูลจากการถ่ายภาพอาจทำโดยใช้ฟิล์ม สี หรือ สีขาว-ดำ การบันทึกข้อมูลจากดาวเทียมจะใช้สัญญาณเป็นตัวเลขแล้วจึงแปลงค่าตัวเลขเป็นภาพ
ภาพถ่ายจากดาวเทียม
ประโยชน์ของภาพถ่ายดาวเทียม ด้านการเกษตร นำไปใช้การศึกษาหาพื้นที่เพาะปลูก การคาดการณ์ผลผลิตและการวางแผนกำหนดเขตเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ด้านการใช้ที่ดิน เป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม ด้านธรณีวิทยาและธรณีสัณฐาน นำข้อมูลมาใช้ในการทำแผนที่ที่บอกถึงแหล่งแร่ แหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ แหล่งน้ำบาดาล และการวางแผนการสร้างเขื่อน ด้านอุทกวิทยา การวางแผนการชลประทาน ด้านสมุทรศาสตร์ นำไปใช้ในการศึกษาการแพร่กระจายของตะกอนในทะเล และคุณภาพน้ำบริเวณชายฝั่ง การติดตามและประเมินพื้นที่เพาะเลี้ยงชายฝั่ง รวมทั้งอุณหภูมิพื้นผิวทะเล ด้านการทำแผนที่ ด้านป่าไม้ ใช้ข้อมูลในการศึกษาหาพื้นที่ป่าไม้และติดตามการเปลี่ยนแปลง ด้านภัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำมาใช้ในการศึกษาประเมินความเสียหายและวางแผนป้องกันภัยธรรมชาติ
อินเตอร์เนต ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS ( Geographic Information System ) หมายถึง การเก็บ รวบรวม และบันทึกข้อมูลทางภูมิศาสตร์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์โดยข้อมูลเหล่านี้สามารถ ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง ทันสมัย สามารถแสดงผลและเผยแพร่เป็นตัวเลข สถิติ ตาราง แผนที่ พิมพ์ออกมาเป็นเอกสารได้
ระบบกำหนดตำแหน่งพื้นผิวโลก หรือ GPS ( Global Positioning System ) ใช้กำหนดจุดพิกัดตำแหน่งวัตถุต่าง ๆ บนผิวโลก
ประโยชน์ของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ใช้ประกอบการเก็บข้อมูล เพื่อการบรรยายเชิงปริมาณและคุณภาพ ใช้ประกอบการเรียนและการสอนในห้องเรียนหรือในห้องปฏิบัติการ ใช้เพื่อศึกษาเส้นทางการเดินทาง หมายเหตุ เครื่องมือบางชนิดใช้ประกอบการศึกษาและเก็บข้อมูลเฉพาะในสนามเท่านั้น
ข้อมูลอ้างอิง ดร.กระมล ทองธรรมชาติ และคณะ. สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 . สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, 2550 อภิศักดิ์ โสมอินทร์. แผนที่และการแปลความหมายจากแผนที่. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช,พิมพ์ครั้งที่ 4 ,2529. เอกสารสรุปการสัมมนาประกอบการเรียนรายวิชาสัมมนาสังคมศึกษา 467448 ภาควิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร เครื่องมือทางภูมิศาสตร์. เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 จาก http://www.arts.chula.ac.th/~geography/Geo_Know.htm เครื่องมือทางภูมิศาสตร์. เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 จากhttp://ebook.nfe.go.th/ebook/html/011/113.htm