งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การใช้ประโยชน์ข้อมูลสภาพ และปัญหาด้านทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การใช้ประโยชน์ข้อมูลสภาพ และปัญหาด้านทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การใช้ประโยชน์ข้อมูลสภาพ และปัญหาด้านทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำ
โดย นายประสิทธิ์ พัวทวี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านบริหาร จัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ

2 สภาพและปัญหาด้านทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำ
ลักษณะพื้นที่โครงการ 1.1 สภาพภูมิประเทศ ที่ตั้งของลุ่มน้ำอยู่ภาคไหน, พื้นที่ลุ่มน้ำรวมกี่ ตร.กม. พิกัดที่ตั้งอยู่ระหว่าง N ถึง N และ E ถึง E อาณาเขตติดต่อ เหนือติดลุ่มน้ำใด, ใต้ติด, ตะวันออกติด... เทือกเขาสูงทอดจากทิศไหนไปไหน ระดับพื้นที่สูงสุดที่...ม.รทก. ลำน้ำต้นน้ำจากไหน ปลายถึงไหน

3 รูปที่ 1 สภาพภูมิประเทศของลุ่มน้ำปิง

4 1.2 สภาพลุ่มน้ำและการแบ่งลุ่มน้ำสาขา
ลุ่มน้ำหลักประกอบด้วยลุ่มน้ำสาขากี่ลุ่ม ลุ่มน้ำสาขามีความยาวเท่าไร มีพื้นที่ลุ่มน้ำเท่าไร และอยู่ในเขตอำเภอ, จังหวัดอะไร ใช้เป็นฐานข้อมูลในการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ด้านต่างๆ ได้แก่ อุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา อุทกธรณีวิทยา ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน

5 รูปที่ 2 ขอบเขตลุ่มน้ำสาขาในลุ่มน้ำปิง

6 1.3 ระบบคมนาคม การคมนาคม ในพื้นที่ลุ่มน้ำหลัก มีอะไรบ้าง ทางรถยนต์ ทางหลวงจากกรุงเทพมหานครถึงลุ่มน้ำ ใช้สายไหน ทางรถไฟ สายไหน ทางอากาศ ท่าอากาศยานใกล้เคียงอยู่ไหน 1.4 ขอบเขตการปกครอง รายละเอียด รายชื่อจังหวัด อำเภอ และตำบล ที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำหลัก แต่ละอำเภออยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำกี่ ตร.กม.

7 รูปที่ 3 ระบบคมนาคมของลุ่มน้ำปิง

8 2. ทรัพยากรน้ำ 2.1 อุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยา ข้อมูล สภาพภูมิอากาศ ปริมาณฝน ปริมาณน้ำท่า ปริมาณน้ำหลาก และปริมาณตะกอน เป็นข้อมูลสำคัญ ใช้วิเคราะห์ปริมาณน้ำต้นทุน ความต้องการใช้น้ำ สมดุลน้ำ สภาพการเกิดน้ำท่วม และการวางแผนการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมของโครงการ

9 2.1.1 สภาพภูมิอากาศ ลุ่มน้ำหลัก อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมอะไร เกิดช่วงเดือนไหน ลุ่มน้ำหลักอยู่ภายใต้อิทธิพลพายุจรอะไร ดีเปรสชั่น พายุใต้ฝุ่นพัดจากทิศทางไหน ช่วงเดือนใด ช่วงพิสัยของค่าเฉลี่ยรายเดือน และรายปี ของตัวแปรภูมิอากาศต่างๆ ได้แก่ อุณหภูมิ, ความชื้นสัมพันธ์, ความครึ้มเมฆ, ความเร็วลม และปริมาณการระเหย

10 รูปที่ 4 ทิศทางและช่วงเวลาของการเกิดลมมรสุมและลมพายุจรที่พัดเข้าสู่ประเทศไทยและลุ่มน้ำปิง

11 2.1.2 ปริมาณฝน เส้นชั้นน้ำฝนรายปีเฉลี่ยของลุ่มน้ำหลัก ตำแหน่งไหนฝนชุกฝนเบาบาง ใช้วิเคราะห์ปริมาณน้ำท่า โดยใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์และการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมของโครงการ 2.1.3 ปริมาณน้ำท่า ข้อมูลปริมาณน้ำท่ารายวันจากสถานีวัดน้ำท่าใน ลุ่มน้ำหลัก ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ย และขนาดพื้นที่รับน้ำฝนของลุ่มน้ำ

12 รูปที่ 5 ที่ตั้งของสถานีอุตุนิยมวิทยาและสถานีวัดน้ำฝนในลุ่มน้ำปิง

13 2.1.4 ปริมาณน้ำหลาก ข้อมูลอัตราการไหลสูงสุดรายปี จากสถานีวัดน้ำท่าในลุ่มน้ำหลัก ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการไหลสูงสุดรายปีเฉลี่ยและพื้นที่รับน้ำฝน 2.1.5 ปริมาณตะกอน ข้อมูลปริมาณตะกอนแขวนลอยรายเดือนจากสถานีวัด ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณตะกอนแขวนลอยรายปีเฉลี่ยและพื้นที่รับน้ำฝน ใช้ประกอบการบริหารจัดการพื้นที่โครงการที่เหมาะสม

14 รูปที่ 6 ที่ตั้งของสถานีวัดน้ำท่าในลุ่มน้ำปิง

15 2.2 สภาพอุทกธรณีวิทยาลุ่มน้ำ
2.2.1 สภาพอุทกธรณีวิทยาลุ่มน้ำ คุณสมบัติของการกักเก็บน้ำบาดาลของหินชนิดต่างๆ ลักษณะของชั้นน้ำบาดาล การเก็บน้ำของหินแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน ลักษณะและคุณสมบัติของหินในลุ่มน้ำหลัก มีอะไรบ้าง ปริมาณการให้น้ำของชั้นหินประเภทต่างๆ พื้นที่ชั้นหินกี่ ตร.กม. ปริมาณน้ำบาดาล และคุณภาพน้ำในแต่ละพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา แนะนำการใช้ประโยชน์น้ำบาดาล เพื่ออุปโภคบริโภค, เกษตรกรรม

16 รูปที่ 7 คุณภาพและปริมาณน้ำบาดาล

17 2.2.2 คุณภาพน้ำ (1) คุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน แม่น้ำในลุ่มน้ำมีความยาวเท่าไร ต้นน้ำเริ่ม-สิ้นสุดปลายน้ำที่ไหน คุณภาพน้ำผิวดินในลุ่มน้ำหลัก เกณฑ์ดี, พอใช้, เสื่อมโทรม สถานีตรวจสอบคุณภาพน้ำ อยู่ที่ไหนมีกี่สถานีในแต่ละลำน้ำ (2) การจัดการน้ำเสียชุมชน ในลุ่มน้ำมีระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนอยู่กี่แห่ง ตั้งอยู่ที่ไหน ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียของระบบบำบัดน้ำแต่ละแห่ง ลักษณะของระบบบำบัดน้ำเสีย สถานะภาพการทำงานของระบบ (ปิด-เปิด)

18 3 ทรัพยากรป่าไม้ ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ และพื้นที่ชุ่มน้ำ
3.1 ทรัพยากรป่าไม้ พื้นที่ป้าไม้ตามกฎหมายแยกเป็น 4 ประเภท พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ลุ่มน้ำสาขาแต่ละลุ่มมีพื้นที่เขตป่าเพื่อการอนุรักษ์ (Zone C) หรือเขตป่าเพื่อเศรษฐกิจ (Zone E) หรือป่าที่เหมาะสมต่อการเกษตร (Zone A) แต่ละป่ามีเนื้อที่กี่ ตร.กม. 2) อุทยานแห่งชาติ พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแต่ละสาขาอยู่ในเขตอุทยานใด เป็นพื้นที่เท่าไร 3) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแต่ละสาขาอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าใด เป็นพื้นที่เท่าไร 4) เขตห้ามล่าสัตว์ป่า - พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแต่ละสาขาอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าใด เป็นพื้นที่เท่าไร

19 รูปที่ 8 แสดงพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่น้ำปิง

20 รูปที่ 9 แสดงการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ลุ่มน้ำปิง

21 3.2 ชั้นคุณภาพน้ำ ลุ่มน้ำสาขาแต่ละสาขาอยู่ในพื้นที่ชั้นคุณภาพใด (1A, 1B, ช2, ช3, ช4 และ ช5) คิดเป็นพื้นที่เท่าไร 3.3 พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมปัจจุบัน แต่ละลุ่มน้ำสาขา มีพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายรวมทั้งหมดเท่าไร เป็นป่าเสื่อมโทรมเท่าไร เป็นพื้นที่ป่าชุมชนเท่าไร 3.4 พื้นที่ชุ่มน้ำ ในลุ่มน้ำมีพื้นที่ชุ่มน้ำประเภทใด พื้นที่เท่าใด มีกี่แห่ง พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ พื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติ พื้นที่ชุ่มน้ำระดับชาติ พื้นที่ชุ่มน้ำระดับท้องถิ่น

22 รูปที่ 10 แสดงรายละเอียดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำในลุ่มน้ำปิง

23 4 ทรัพยากรดิน การใช้ประโยชน์ที่ดินและการเกษตร
4.1 ทรัพยากรดิน ลักษณะและคุณสมบัติของกลุ่มชุดดินที่พบในพื้นที่ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำประกอบด้วยกลุ่มชุดดิน กี่กลุ่ม อะไรบ้าง แต่ละกลุ่มชุดดิน ครอบคลุมพื้นที่ กี่ไร่ของลุ่มน้ำ 4.2 การใช้ประโยชน์ที่ดิน การแบ่งกลุ่มการใช้ที่ดินในลุ่มน้ำ เป็น 5 ประเภท ได้แก่ พื้นที่อยู่อาศัย, พื้นที่เกษตรกรรม, พื้นที่ป่าไม้, พื้นที่แหล่งน้ำ, พื้นที่เบ็ดเตล็ด พื้นที่แต่ละประเภทมีเนื้อที่เท่าไร การใช้ประโยชน์ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินระหว่าง ปี พ.ศ กับ พ.ศ เพื่อศึกษาด้านการเกษตรของแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri Map)

24 รูปที่ 11 กลุ่มชุดดิน รายลุ่มน้ำสาขาในลุ่มน้ำปิง

25 4.3 การเกษตร พื้นที่ลุ่มน้ำเพาะปลูกพืชชนิดใดมากที่สุด พืชรองลงมาเป็นพื้นที่เท่าไรแต่ละชนิด ปฏิทินการปลูกพืชในลุ่มน้ำสาขาแต่ละสาขาที่เป็นปัจจุบัน 4.4 ปัญหาดินเค็มและดินพรุ ในแต่ละลุ่มน้ำสาขามีปัญหาดินเค็ม/ดินพรุ หรือไม่ พื้นที่ดินเค็ม/พรุ มีเนื้อที่เท่าไร อยู่ในเขตลุ่มน้ำใด 4.5 แผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri map) - พื้นที่ที่เหมาะสมปลูกพืชเศรษฐกิจปัจจุบัน ได้แก่ ข้าว, ข้าวโพด, มัน ในลุ่มน้ำสาขาต่างๆ - พื้นที่มีความเหมาะสมระดับใด (มาก, ปานกลาง, เหมาะสมน้อย และไม่เหมาะสม)

26 5 ประชากร เศรษฐกิจสังคม
5.1 ประชากร อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำ จำนวนประชากรในลุ่มน้ำสาขาแต่ละลุ่ม ขนาดสมาชิกในครัวเรือน/ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ 5.2 สภาพเศรษฐกิจสังคม ค่าผลิตภัณฑ์ มวลรวม จำแนกรายจังหวัดในพื้นที่ลุ่มน้ำ รายได้ – รายจ่าย และหนี้สินในครัวเรือนของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำ ความยากจนของครัวเรือนในพื้นที่ลุ่มน้ำ/จำนวนคนจน จำนวนและสัดส่วนของประชาชนจำแนกตามกลุ่มวัย และอัตราการพึ่งพาในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา จำนวนโรงเรียน ครู นักเรียน รายจังหวัด ในพื้นที่ลุ่มน้ำหลัก ผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถม 6 จำนวนสถานพยาบาล และจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ รายจังหวัดในพื้นที่ลุ่มน้ำ

27 6 โครงการพัฒนาแหล่งน้ำในปัจจุบัน
6.1 โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ความจุตั้งแต่ 100 ล้าน ลบ.ม. หรือ มีพื้นที่ผิวน้ำตั้งแต่ 15 ตร.กม. ขึ้นไป หรือมีพื้นที่โครงการมากกว่า 80,000 ไร่ ในลุ่มน้ำมีกี่โครงการ ที่ตั้งโครงการ ความจุเก็บกัก ประเภท หน่วยงานรับผิดชอบ/ก่อสร้างเสร็จปีไหน 6.2 โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง ความจุน้อยกว่า 100 ล้าน ลบ.ม. หรือมีพื้นที่ผิวน้ำน้อยกว่า 15 ตร.กม. หรือมีพื้นที่โครงการน้อยกว่า 80,000 ไร่ 6.3 โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก จำนวนโครงการขนาดเล็ก/ที่ตั้งโครงการ (พิกัด) แหล่งเก็บกักน้ำธรรมชาติ พื้นที่เก็บกักมากว่า 50 ไร่ 6.4 โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า - จำนวนและที่ตั้งของสถานีสูบน้ำ

28 รูปที่ 12 โครงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง

29 7 ความต้องการใช้น้ำ 7.1 ความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตร ปริมาณการใช้น้ำของพืชแต่ละชนิด ความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำหลัก 7.2 ความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและท่องเที่ยว อัตราการใช้น้ำของประชากรตามลักษณะชุมชน คือ เทศบาลเมือง, ตำบล, นอกเขต ความต้องการใช้น้ำในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแต่ละสาขา ความต้องการใช้น้ำเพื่อการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา ความต้องการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและท่องเที่ยวในลุ่มน้ำหลัก

30 7.3 ความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม
อัตราการใช้น้ำของโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ (ลบ.ม./วัน-แรงม้า) ปริมาณความต้องการใช้น้ำเพื่ออุตสาหกรรมในลุ่มน้ำหลักและลุ่มน้ำสาขา 7.4 ความต้องการใช้น้ำเพื่อการผลิตพลังงานไฟฟ้า แหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้า พลังงานน้ำ ในลุ่มน้ำหลักมีกี่แห่งอยู่ที่ไหน แต่ละแห่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้ากี่เมกกะวัตต์ 7.5 ความต้องการใช้น้ำเพื่อการรักษาสมดุลของระบบนิเวศวิทยาท้ายน้ำ - ค่าปริมาณน้ำต่ำสุด เพื่อรักษาระบบนิเวศของลุ่มน้ำ

31 7.6 ความต้องการใช้น้ำพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ
ปริมาณน้ำที่ต้องใช้ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษที่อยู่ในลุ่มน้ำ เขตเศรษฐกิจพิเศษตราด อำเภอคลองใหญ่ เชื่อม เกาะกง กัมพูชา เขตเศรษฐกิจพิเศษตาก อำเภอแม่สอด เชื่อม เมียวดี เมียนมา เขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร เชื่อมต่อแขวงสะหวันเขต ลาว เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว อำเภออรัญประเทศ เชื่อมจังหวัดนันเตียเมียนเจย กัมพูชา เขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา อำเภอสะเดา เชื่อม รัฐเคดาห์ มาเลเซีย 7.7 สรุปความต้องการน้ำทั้งหมด - ปริมาณความต้องการใช้น้ำ รวมทั้ง 6 ประเภท ในพื้นที่ลุ่มน้ำหลัก

32 8 แผนงาน/โครงการด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ
ผลการรวบรวมแผนงาน/โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ที่มีศักยภาพจากหน่วยงานกรมทรัพยากรน้ำ และกรมชลประทาน ภาพรวมจำนวนโครงการแต่ละประเภท ได้แก่ ก่อสร้าง อ่าง สระ และโครงการแก้มลิง ก่อสร้างฝาย ประตูระบาย สถานีสูบน้ำ ปรับปรุงซ่อมแซม งานอนุรักษ์ฟื้นฟูและบำรุงแหล่งน้ำเดิม อื่นๆ

33 9 การศึกษาด้านองค์กรและกฎหมาย
9.1 การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำปัจจุบัน อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) คณะกรรมการลุ่มน้ำมีอำนาจหน้าที่และองค์ประกอบอย่างไร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มี 10 กระทรวง 1 หน่วยงานอิสระ และมากกว่า 30 หน่วยงาน ร่าง พ.ร.บ. น้ำ พ.ศ. อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ 9.2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ มีทั้งหมด 36 พ.ร.บ. 9.3 สถานภาพและปัญหาการดำเนินงานในพื้นที่ลุ่มน้ำ ปัญหาด้านโครงสร้างองค์กรการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ปัญหาด้านการจัดการระบบฐานข้อมูล ปัญหาด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำ

34 10 สภาพปัญหาด้านทรัพยากรน้ำ
- บริเวณพื้นที่ประสบปัญหาในด้านต่างๆ ได้แก่ น้ำท่วม, น้ำแล้ง, น้ำเสีย และปัญหาด้านบริหารจัดการ 10.1 ปัญหาน้ำท่วม แผนที่น้ำท่วมของพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยแบ่งความถี่เป็น 3 ระดับ ระดับที่ 1 คือ น้ำท่วมทุก 3 ปี ระดับที่ 2 คือ น้ำท่วมทุก 2 ปี ระดับที่ 3 คือ เกิดน้ำท่วมทุกปี พื้นที่น้ำท่วมในลุ่มน้ำสาขาเกิดกี่ ตร.กม. อยู่ในระดับใด

35 รูปที่ 13 แสดงพื้นที่น้ำท่วมในลุ่มน้ำปิง

36 10.2 ปัญหาน้ำแล้ง แผนที่น้ำแล้งของพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยแบ่งความถี่เป็น 3 ระดับ ระดับที่ 1 คือ แล้งทุก 3 ปี ระดับที่ 2 คือ แล้งทุก 2 ปี ระดับที่ 3 คือ แล้งทุกปี พื้นที่น้ำแล้งในลุ่มน้ำสาขามีกี่ ตร.กม. อยู่ในระดับใด 10.3 ปัญหาด้านน้ำเสีย จำนวนสถานีตรวจวัดคุณภาพในลุ่มน้ำ มีกี่สถานี/พิกัดที่ตั้ง ปัญหาคุณภาพน้ำในแต่ละลุ่มน้ำสาขา มีปัญหาอยู่ระดับใด เสื่อมโทรม พอใช้ ดี และสาเหตุปัญหา 10.4 ปัญหาด้านการบริหารจัดการ ขาดน้ำที่จะบริหารจัดการให้พอเพียงต่อความต้องการ แก้ไขโดยเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำในแต่ละลุ่มน้ำสาขาที่เกิดปัญหาและมีศักยภาพพัฒนาเพียงพอ

37 รูปที่ 14 แสดงพื้นที่ภัยแล้งในลุ่มน้ำปิง

38 จบการนำเสนอ “สวัสดี”


ดาวน์โหลด ppt การใช้ประโยชน์ข้อมูลสภาพ และปัญหาด้านทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google