"...โครงการปราบยุงลายคั่งค้างมานานแล้ว และอันตรายยังมีอยู่มาก

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ประเด็นในการพัฒนา DHS-PCA
Advertisements

นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
แนวทางการบริหารงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2558
ความก้าวหน้าในการจัดทำแผนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย
เกณฑ์การประเมินผลตัวชี้วัด มิติการประเมินประสิทธิผล
ผลการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ กรมอนามัย ปีงบประมาณ พ
เป็นเจ้าภาพหลัก 2 ประเด็น เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558
การบูรณาการยุทธศาสตร์สุขภาพฯ กลุ่มเด็กวัยเรียน มาตรการ เป้าหมาย วิธีการวัด เป้าหมาย/KPI 1.นโยบายร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แผนพัฒนาสุขภาพเด็กวัยเรียนแห่งชาติ/วาระสุขภาพแห่งชาติ
และองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรีสาขาระดับอำเภอ 6 สาขา
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ของเทศบาลตำบลหนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี
อำเภอควบคุมยาสูบและเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์เข้มแข็ง ปี 2556
นโยบายด้านโรคติดต่อ ศ. คลินิกเกียรติคุณ นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
โดย นายแพทย์ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข “เรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สร้างสรรค์” นโยบายการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
แผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ )
สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก จากต้นทาง กลางทาง จนถึงปลายทาง
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
แนวทาง การดำเนินงาน ป้องกันการจมน้ำ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
100 ตำบลต้นแบบในการบูรณาการ ด้านส่งเสริมสุขภาพ 5 กลุ่มวัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม โดย กรมอนามัย.
การประเมินมาตรฐาน งานระบาดวิทยา ปี 2549
แนวทางการปฏิบัติงานตามข้อสั่งการ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
แพทย์หญิงวันทนีย์ วัฒนะ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย
โดย นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการงบประมาณ
ตัวชี้วัดที่ 1 : อัตราส่วนการตายมารดาไทย ค่าเป้าหมายไม่เกิน 20 ต่อการเกิดมีชีพแสนราย เปรียบเทียบอัตราส่วนการตายมารดารายเขต ปี 2560 กับ 2561ในช่วงเวลาเดียวกัน.
อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
นโยบายการขับเคลื่อน การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย ยุค 4.0
แนวทาง/เกณฑ์การประเมินโครงการฯ
ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จขององค์กรปกครอง
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
ข้อเสนอต่อการพัฒนา ระบบการสร้างเสริมสุขภาพ ของประเทศไทย
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ
ข้อเสนอ การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ
ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน Product Champion Cluster วัยรุ่น
ความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำ
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
อัตราส่วนการตายมารดาไทย
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
มุ่งเน้น การประเมินระดับการดำเนินงาน “หน่วยงานคุณธรรม”
ทิศทางการดำเนินงานลดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)
การดำเนินงานเขตเศรษฐกิจพิเศษและแรงงานต่างด้าว
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
โครงการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดเชียงใหม่
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี
การขับเคลื่อน การจัดทำแผนการพัฒนากำลังคน รายจังหวัด
นพ.อภิศักดิ์ วิทยานุกูลลักษณ์ รพ.ธัญญารักษ์เชียงใหม่ กรมการแพทย์
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
ใบสำเนางานนำเสนอ:

"...โครงการปราบยุงลายคั่งค้างมานานแล้ว และอันตรายยังมีอยู่มาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงแสดง ถึงความห่วงใยพสกนิกรเกี่ยวกับ ปัญหาไข้เลือดออก ทรงมีพระราชดำรัสพระราชทานแก่ข้าราชการ กระทรวงสาธารณสุขที่เข้าเฝ้า ความว่า พระราชทาน ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๒ "...โครงการปราบยุงลายคั่งค้างมานานแล้ว และอันตรายยังมีอยู่มาก อยากให้ปราบปรามอย่างจริงจัง อันตรายจากโรคไข้เลือดออกจะได้ทุเลาลง...”

สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน www.thaivbd.org

๑. คำจำกัดความ สานพลัง หรือ ประสานกำลัง หมายถึง การร่วมมือ ร่วมความคิด ร่วมแรง ร่วมใจกันทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ ในเอกสารนี้ มีความหมายถึงการสานพลังภาครัฐ/การเมือง ภาควิชาการ/วิชาชีพ และภาคประชาชน/เอกชน ปราบยุงลาย (ปราบ แปลว่า ทำให้อยู่ในอำนาจ) หมายถึง การปราบยุงลายไม่ให้แพร่พันธุ์ และไม่ให้นำเชื้อโรคมาสู่คน ยุงลาย หมายถึง ยุงชนิดหนึ่งที่มีลายสีดำสลับขาวทั้งตัว หัวและขา แบ่งเป็น ยุงลายบ้านและยุงลายสวน นำโรคสู่คนหลายชนิด ได้แก่ ไข้เดงกี ไข้เลือดออกเดงกี (หรือที่เรียกกันว่า ไข้เลือดออก) ไข้เดงกีช็อก ไข้ปวดข้อยุงลาย (หรือไข้ชิคุนกุนยา) โรคติดเชื้อไวรัสซิกา โดยที่ยุงลายบ้านนำโรคได้มากกว่ายุงลายสวน พื้นที่เป็นฐาน หมายถึง ตรงกับความต้องการ และสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ทุกภาคส่วนในพื้นที่ร่วมกันคิด ร่วมวางแผนร่วมปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงในพื้นที่ รวมถึงการประเมินผล พาหะนำโรค หมายถึง ตัวนำเชื้อโรค หรือตัวนำโรค ซึ่งอาจเป็นสัตว์หรือคนก็ได้ เช่น ยุงลาย ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย หมายถึง การประเมินความชุกลูกน้ำยุงลาย ประกอบด้วย - HI (House Index) หมายถึง ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายที่พบในหมู่บ้าน - CI (Container Index) หมายถึง ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายที่พบในภาชนะในอาคารสถานที่และโรงเรียน

๒. ความสำคัญของปัญหาสถานการณ์และแนวโน้ม กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาของโรคติดต่อ ที่มียุงลายเป็นพาหะมาเป็นลำดับ แต่ก็ยังไม่เป็น ผลสำเร็จเท่าที่ควร ปัญหาดังกล่าวยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ สำคัญที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการ รักษาพยาบาลและความสูญเสียด้านเศรษฐกิจของประเทศ ๒.๑ สถานการณ์โรคติดต่อที่นำโดยยุงลายในประเทศไทย โรคติดต่อที่นำโดยยุงลายในประเทศไทย ได้แก่ - ไวรัสเดงกี ได้แก่ ไข้เลือดออก ไข้เดงกี - ไวรัสชิคุนกุนยา ได้แก่ ไข้ปวดข้อยุงลาย หรือไข้ชิคุน กุนยา - ไวรัสซิกา ได้แก่ โรคไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสดังกล่าวอาจจะไม่มีอาการแต่เป็นแหล่งแพร่ เชื้อโดยยุงลายเป็นพาหะได้

๒.๑.๑ โรคไข้เลือดออกเดงกี (Dengue illness, รวมโรคจาก ไวรัสเดงกีทุกอย่าง) เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) เป็นโรคประจำถิ่นของ ประเทศไทยและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานานกว่า ๕๘ ปี องค์การอนามัยโลกจัดประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการ ระบาดของโรคไข้เลือดออกสูงเป็นอันดับ ๖ ใน ๓๐ ประเทศทั่วโลกที่มี รายงานจำนวนผู้ป่วยสูง และเป็นอันดับ ๓ ในภูมิภาคเอเชีย ในประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในทุกกลุ่มอายุ เมื่อจำแนกผู้ป่วยโดยเฉลี่ยในปี พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๕๘ พบว่า กลุ่มอายุ ที่ได้รับรายงานมากที่สุดคือ กลุ่มอายุ ๕-๑๔ ปี (ร้อยละ ๔๒.๓๘) รองลงมาคือกลุ่มอายุ ๑๕-๒๔ ปี (ร้อยละ ๒๖.๕๕) และกลุ่มอายุ ๒๕-๓๔ ปี (ร้อยละ ๑๑.๔๕) โดยในปีที่มีการระบาดน้อยจะมีรายงานจำนวนผู้ป่วย ประมาณ ๖๐,๐๐๐-๗๐,๐๐๐ ราย ส่วนในปีที่มีการระบาดมากจะมี รายงานจำนวนผู้ป่วยสูงถึง ๑๒๐,๐๐๐-๑๕๐,๐๐๐ ราย พบผู้ป่วยเฉลี่ย ๘๖,๐๐๐ รายในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมา

๒.๑.๒ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ ไข้ชิคุนกุนย่า (Chikungunya Fever) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนย่า ผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีอาการไข้สูง และปวดข้อ อาการจะไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่อาการปวดข้อจัดเป็น ความทุกข์ทรมานแก่ร่างกายของผู้ที่ได้รับเชื้อนานหลายเดือน มี รายงานผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายในประเทศไทยโดยเฉลี่ยปีละ ประมาณ ๑๐๐-๒๐๐ ราย โดยส่วนใหญ่มีรายงานการพบผู้ป่วยทาง ภาคใต้ และเกิดการระบาดครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งมีรายงานผู้ป่วย จำนวน ๔๗,๗๙๗ ราย

๒.๑.๓ โรคติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika fever) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกา มีอาการไข้ ปวดศีรษะ อ่อยเพลีย ตาแดง มีผื่นขึ้น และปวดข้อและกล้ามเนื้อ นานเวลา ๒-๗ วัน เมื่อ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙องค์การอนามัยโลกได้ประกาศแจ้งเตือน ให้ทุกประเทศทั่วโลกต้องติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังโรคนี้ สืบเนื่องจากการระบาดในแถบลาตินอเมริกาซึ่งอาจทำให้เกิดการ ระบาดต่อเนื่องไปยังประเทศอื่น ๆ ถึงแม้ว่าประเทศไทยพบผู้ป่วยโรค ไข้ซิกาครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อมูลเมื่อสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๕๘ มีผู้ป่วย ยืนยันเฉลี่ยปีละ ๕ ราย โดยพบการติดเชื้อกระจายทุกภาค ผู้ป่วยส่วน ใหญ่มีอาการไม่รุนแรง ยกเว้นในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ ทารกในครรภ์ทำให้มีสมองพิการและเกิดภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด (Microcephaly) นอกจากนี้คนที่ติดเชื้อไวรัสซิกาจากยุงลาย ยังสามารถแพร่เชื้อ ให้ผู้อื่นได้ทางช่องทางอื่น ๆ เช่น ผ่านทางเลือด แพร่จากมารดาที่ติด เชื้อสู่ทารกในครรภ์ ความเสี่ยงในการแพร่เชื้อในประเทศไทยมีความ เป็นไปได้เล็กน้อยถึงปานกลาง โดยอาจมีผู้ติดเชื้อทั้งในประเทศและ จากต่างประเทศ รวมถึงอาจมีผู้ติดเชื้อจากประเทศไทยเดินทางไป ต่างประเทศ เนื่องจากมีชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางเข้าออกพื้นที่ ที่มีการระบาดของโรคในหลายรูปแบบ อย่างไรก็ตามสถานการณ์โรค ติดเชื้อไวรัสซิกามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน

๒.๑.๔ โรคติดต่ออื่น ๆ ที่นำโดยยุงลาย ยังไม่พบผู้ป่วยในประเทศไทย เช่น ไข้เหลือง ไข้เวสต์ไนล์ เป็น ต้น หากไม่มีการปราบยุงลายที่ได้ผล โรคดังกล่าวอาจเป็นปัญหาใน ประเทศไทยได้ในระยะต่อไป จากการเดินทางติดต่อระหว่างประชาชน ของประเทศต่าง ๆ ที่มีความสะดวกสบายมากขึ้นอย่างมาก

๒.๒ สถานการณ์ของยุงลายในประเทศไทย ประเทศไทยมียุงลายมากกว่า ๑๐๐ ชนิด พบได้ทั้งในครัวเรือนและใน ชุมชนทั่วไป แต่ที่เป็นพาหะนำโรคมีอยู่ ๒ ชนิด คือ ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) จะเป็นพาหะหลัก แหล่งเพาะพันธุ์ของ ยุงลายบ้านส่วนใหญ่อยู่ภายในบ้านและบริเวณรอบ ๆ ใกล้บ้าน จากการ สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายบ้านพบว่าร้อยละ ๖๔.๕๒เป็นภาชนะเก็บขัง น้ำที่อยู่ภายในบ้านและร้อยละ ๓๕.๕๓ เป็นภาชนะเก็บขังน้ำที่อยู่นอกบ้าน ยุงลายสวน (Aedes albopictus) เป็นพาหะรอง ยุงลายสวน จะพบใน บริเวณนอกบ้านที่ไกลออกไปจากตัวบ้าน ซึ่งบริเวณที่พบจะสัมพันธ์กับ บริเวณที่มีต้นไม้มีร่มเงา ไม่มีแสงแดดส่อง และมีความชื้น เช่น บริเวณสวน ยุงลายสวนสามารถวางไข่ได้ดีในบริเวณที่มีน้ำขังเพียงเล็กน้อย โดยทั่วไปยุงลายออกหากินในเวลากลางวัน ชีวนิสัยหรือพฤติกรรมของยุงยังเป็นปัจจัยสำคัญในการระบาดของโรค

การเฝ้าระวังความชุกของยุงลายพาหะนำโรค ใช้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ทั้งในชุมชน (House Index : HI) ในอาคารสถานที่ต่าง ๆ (Container Index : CI) ได้แก่ โรงพยาบาล โรงเรียน ศาสนสถาน ผลการสุ่มสำรวจในแต่ละพื้นที่ยังคงพบว่าค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายยังคง สูงในอัตราเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด (House Index ไม่เกินร้อยละ ๑๐ และ Container Index เท่ากับ ๐) การสุ่มสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนพักอาศัยใน ๓๙ จังหวัด (รายงานของสำนักงานป้องกันควบคุมโรค กรมควบคุมโรค) ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๘ พบว่า ค่ามัธยฐานของบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายสูง กว่าเกณฑ์มาตรฐาน และสามารถตรวจพบลูกน้ำยุงลายได้ตลอดทั้ง ปี โดยจะพบมากในช่วงฤดูฝน (พฤษภาคม-กันยายน)

๓. ปัจจัยสนับสนุนการระบาดของโรคที่นำโดยยุงลาย ๓.๑ โรคติดต่อที่นำโดยยุงลาย ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน และยังไม่มียาที่ใช้กำจัดเชื้อไวรัสที่ นำโดยยุงลาย ซึ่งใช้รักษาการติดเชื้อเหล่านี้ได้ ๓.๒ ยุงลายมีชีวนิสัยและศักยภาพในการขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วและมีปริมาณมาก ยุงลายไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ แต่พบอยู่ทั่วไปทุกเมืองรวมทั้งในชนบทตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ยุงลายเพศเมียผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวหลังจากการผสมพันธุ์ ก็จะกัดคนเพื่อหา เลือด เพื่อนำเอาโปรตีนและแร่ธาตุไปใช้ สำหรับการเจริญเติบโตของไข่ในรังไข่หลังจากกินเลือดแล้ว ๒-๓ วันก็จะหาที่วางไข่ โดยวางไข่ครั้งละประมาณ๑๐๐ ฟองและ สามารถวางไข่ได้ตลอดชีวิตที่มีช่วงอายุขัยประมาณ ๓๐-๔๕ วัน ซึ่งเท่ากับว่ายุงลาย เพศเมียมีศักยภาพในการแพร่พันธุ์ได้สูงถึง ประมาณ ๓๐๐-๕๐๐ ฟองตลอดช่วงอายุขัย โดยที่แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอยู่ในบริเวณที่คนอาศัยอยู่และบริเวณใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาชนะขังน้ำชนิดต่าง ๆ ที่สร้างขึ้น และแหล่งที่มีน้ำขังตามธรรมชาติ เช่น โพรงไม้ กาบใบของพืชหลายชนิด ยุงลายชอบวางไข่ในภาชนะที่มีน้ำสะอาด ใส นิ่ง โดยวางไข่ฟองเดี่ยว ๆ อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เหนือระดับน้ำประมาณ ๑ เซนติเมตร เพื่อให้ไข่ที่อยู่ในระยะที่มีการพัฒนาความ สมบูรณ์อย่างสมบรูณ์เต็มที่จึงพร้อมที่จะฟักได้ทันทีเมื่อมีน้ำท่วมถึง และที่สำคัญคือไข่ ยุงลายจะสามารถทนอยู่ได้นานถึง๒-๘ เดือน ในอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม (๒๔+๒ องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ร้อย ละ ๗๐+๑๐)

๓.๓ ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หมายถึง การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น จากแบบจำลองการ คาดคะเนภูมิอากาศพบว่าในปี พ.ศ. ๒๕๔๔–๒๖๔๓ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้น ถึง ๑.๑ถึง ๖.๔ องศาเซลเซียส ผลกระทบของภาวะโลกร้อนนั้นจะทำให้สภาพลมฟ้า อากาศที่ผิดแปลกไปจากเดิม ภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุที่รุนแรง อากาศที่ร้อนผิดปกติจนมีคนเสียชีวิต รวมไปถึงโรคระบาดชนิดใหม่ ๆ หรือโรคระบาดที่เคยหายไปจากโลกนี้แล้วก็ กลับมาให้เราได้เห็นใหม่ และ“พาหะนำโรค” เพิ่มจำนวนมากขึ้น ในภาวะโลกร้อนที่ มีอุณหภูมิสูงขึ้นจะมีผลให้ยุงลายมีพลังมากขึ้น หาอาหารและเข้ากัดกินเลือดบ่อย ขึ้นทำให้มีโอกาสเกิดการระบาดของโรคติดต่อที่นำโดยยุงได้มากขึ้น ๓.๔ ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคมและความเป็นเมือง ๓.๔.๑ การเจริญเติบโตของความเป็นเมือง (Urbanization) การขยายตัวของ ชุมชนและประชากรหนาแน่นทำให้มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และการระบาดของโรคที่นำโดยยุง ๓.๔.๒ การเคลื่อนย้ายของประชากร (Population Movement) มักพบ ความสัมพันธ์ของการเกิดโรคกับการเคลื่อนย้ายประชากร และการย้ายถิ่นฐานใน การประกอบอาชีพ หรือการท่องเที่ยว เนื่องจากมีเส้นทางการคมนาคมที่สะดวก รวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับฤดูกาลระบาดโรค จึงเป็น การเพิ่มโอกาสการกระจายของผู้ป่วยโรคติดต่อต่าง ๆ และการไหลเวียนของเชื้อ โรคหลายชนิดได้ในเวลาอันรวดเร็ว ๓.๔.๓ การเกิดโรคเชิงวัฒนธรรม วัฒนธรรมของประเทศไทยเกี่ยวข้องกับภาค เกษตรกรรม มีการกักเก็บน้ำดื่ม น้ำใช้ เป็นประเด็นที่ต้องเฝ้าระวังการเกิดแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเกิดและการแพร่กระจายของโรคติดต่อที่นำโดย ยุงในเขตชนบท

๓.๕ นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ด้านการป้องกันและควบคุมโรคติด เชื้อที่นำโดยยุงลาย เช่น การพัฒนายาต้านไวรัสเดงกีในคน การทำหมันยุงลายด้วยเทคนิควิธีต่าง ๆ การพัฒนาวัคซีนเดงกี ที่มีการทดลองใช้ในบางประเทศ เช่น บราซิล เม็กซิโก และฟิลิปปินส์ การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและการควบคุมยุงลาย อย่างต่อเนื่อง เป็นวิธีที่เป็นธรรมชาติซึ่งทุกคนสามารถปฏิบัติได้เอง และมีประสิทธิผลสูง

๔. มาตรการดำเนินการในการเฝ้าระวัง/ป้องกัน/ควบคุมโรคที่ผ่านมา ๔.๑ กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญและเป็นนโยบายที่ต้องดำเนินการในทุกพื้นที่ โดยผ่าน กลไก “อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน” ซึ่งกลวิธีที่เป็นมาตรการสำคัญ คือ กระบวนการจัดการพาหะแบบ ผสมผสาน (Integrated Vector Management, IVM) ที่กำหนด ให้พื้นที่ระดับอำเภอดำเนินการโดยกระบวนการมีส่วน ร่วมของชุมชนทั้งในการวิเคราะห์ปัญหา วางแผน ดำเนินการด้านการควบคุมพาหะนำโรคและการประเมินผลมาตรการสำคัญ ที่ดำเนินการ ๔.๑.๑ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยจัดทำบันทึกความเข้าใจ เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกร่วมกับหน่วยงาน ๘ หน่วยงาน ๔.๑.๒ การสื่อสารความเสี่ยง เพื่อแจ้งเตือนประชาชน ๔.๑.๓ การเปิดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (War room) ในพื้นที่ ระบาด ๔.๑.๔ การควบคุมการระบาดของโรคในพื้นที่ โดยทีมเฝ้าระวังสอบสวน เคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ระดับตำบล ๔.๑.๔.๑ พ่นเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย ๔.๑.๔.๒ กำจัดลูกน้ำยุงลาย

๔.๑.๕ การเตรียมความพร้อม ของบุคลากรทางการแพทย์ การจัดระบบ แพทย์ที่ปรึกษา เพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยและ ป้องกันการเสียชีวิต ๔.๑.๖ การผลักดันมาตรการทางกฎหมาย โดยมีพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง กับการปราบปรามยุงลาย ได้แก่ ๔.๑.๖.๑ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นกฎหมายที่ คุ้มครองด้านสุขลักษณะและการอนามัย สิ่งแวดล้อม หรือการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมซึ่งครอบคลุมทั้ง กิจกรรม การกระทำทุกอย่าง และกิจการ ประเภทต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ อนามัยของประชาชน ตั้งแต่ระดับ ชาวบ้าน ครัวเรือน ชุมชน ตลอดจนกิจการขนาดเล็ก ขนาด ใหญ่ ๔.๑.๖.๒ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งโรคที่มียุงลายเป็น พาหะเป็นโรคติดต่อที่ต้องควบคุมตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว คณะกรรมการโรคติดต่อระดับจังหวัดตาม หมวด ๓ มาตรา ๒๐ มีผู้ว่าราชการ จังหวัด เป็นประธานกรรมการ และกรรมการประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐเท่านั้น มีหน้าที่กำหนด แผนนโยบาย ระบบ แนวทางปฏิบัติ แผนปฏิบัติในการควบคุม และป้องกันโรคติดต่อ และดำเนินงาน

๔.๒ การดำเนินงานโดยพื้นที่เป็นฐาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในบางพื้นที่รวมตัว กันเป็นแกนในการปราบยุงลายป้องกันไข้เลือดออก โดยการประสาน ผู้เกี่ยวข้องในชุมชน หมู่บ้าน ให้เกิดข้อตกลงในพื้นที่ในการปราบ ยุงลาย หรือกำหนดมาตรการลดลูกน้ำยุงลายในธรรมนูญสุขภาพ ตำบล เช่น ธรรมนูญประชาคมคนตำบลหนองหิน อำเภอเมืองสรวง ร้อยเอ็ด ธรรมนูญสุขภาพตำบลคนบ้านเหล่า โดยเครือข่ายชุมชนคนบ้าน เหล่าอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ทั้งนี้การดำเนินการทำข้อตกลงต่าง ๆ นั้น ผลสำเร็จอยู่ที่การปฏิบัติได้ จริง และมีความยั่งยืน

๕. สภาพปัญหา ข้อจำกัด โอกาสพัฒนา และแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการควบคุมโรค ๕.๑ สภาพปัญหา ปัญหาของโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนั้น เป็นปัญหา สาธารณสุขที่สำคัญที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการ รักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับ ความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ยังขาด การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และบางส่วนขาดความรู้ในการนำไป ปฏิบัติให้ถูกต้อง จึงทำให้ปัญหาก็ยังไม่ได้ลดลงมากนัก และยังคงเป็น ปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา

๕.๒ ข้อจำกัด ที่ผ่านมา พบว่า การสานพลังเพื่อปราบยุงลายยังทำได้ไม่ต่อเนื่อง ไม่สม่ำเสมอ ไม่ยั่งยืน ส่วนหนึ่งมีเหตุปัจจัยมาจากกฎหมาย ถึงแม้จะมี พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจด้าน ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ ในทางปฏิบัติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังมีข้อจำกัดในการดำเนินการ ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ในพื้นที่ รวมถึงงบประมาณในการดำเนินงาน นอกจากนั้นจากการเก็บข้อมูลในพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินงาน โรคไข้เลือดออกในปีงบประมาณ ๒๕๕๗-๒๕๕๙ ที่มุ่งเน้นมาตรการด้าน การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พบว่า ๕.๒.๑ ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และการปฏิบัติที่ถูกต้อง ส่งผลต่อความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายใน ครัวเรือนและส่วนใหญ่ยังมีทัศนคติว่าเป็นหน้าที่ของหน่วยงาน สาธารณสุข ๕.๒.๒ การที่ผู้ป่วยจำนวนมากซื้อยากินเอง หรือไปรับการรักษาที่ สถานบริการเอกชนหรือกรณีที่ผู้ป่วยไปรับการรักษาที่คลินิก แต่ไม่ได้รับ การรายงานจากคลินิกว่ามีผู้ป่วยสงสัยอาการโรคไข้เลือดออก ทำให้ไม่มี การรายงานโรค ส่งผลให้การควบคุมโรคไม่ทันเวลา และเกิดการระบาด ต่อเนื่อง

๕.๒ ข้อจำกัด (ต่อ) ๕.๒.๓ ประชาชนในเขตชุมชนเมือง มักจะไม่อนุญาตให้ เจ้าหน้าที่ทีมควบคุมโรคเข้าไปตรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายหรือฉีดพ่น สารเคมีในบ้าน ๕.๒.๔ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนที่มีหน้าที่ในการควบคุมและ ระงับโรคติดต่อบางแห่ง ยังขาดบุคลากรและองค์ความรู้ทางด้านระบาด วิทยาของโรคติดต่อที่นำโดยยุงลาย ทำให้ขาดประสิทธิภาพการควบคุมโรค ๕.๒.๕ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีข้อจำกัดในการตราข้อบัญญัติ หรือเทศบัญญัติในเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจไว้ เช่นตามพระราชบัญญัติการ สาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๒๕ กำหนดว่าห้ามไม่ให้ผู้ใดก่อเหตุ รำคาญ และประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้กำหนดให้แหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลายเป็นเหตุรำคาญ ๕.๒.๖ หน่วยงานเครือข่ายภายใต้บันทึกความเข้าใจ มีข้อจำกัดด้าน ภารกิจหลักของหน่วยงานและงบประมาณที่จะนำมาใช้ในการดำเนินการ

๕.๓ โอกาสพัฒนา ปัญหาของโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับ พฤติกรรมของคนและสิ่งแวดล้อมโดยที่ยุงลายเป็นยุงที่อยู่ในบ้าน บริเวณบ้าน ชุมชน ดังนั้น การปราบยุงลาย จึงต้องเน้นให้ประชาชนเห็น ความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่าง จริงจังและต่อเนื่อง กระบวนการจัดการเพื่อให้เกิดการมีการสานพลัง จากทุกภาคส่วนจึงมีความจำเป็น ได้แก่ ๕.๓.๑ กระบวนการสมัชชาสุขภาพ ๕.๓.๒ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๕.๓.๓ สุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ๕.๓.๔ ระบบสุขภาพอำเภอ (District health system, DHS) ๕.๓.๕ เขตสุขภาพเพื่อประชาชน

๑. ๒. ๓. มติ “การสานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” มติ “การสานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” ๑. - ร่วมกันพัฒนามาตรการและดำเนินการปราบยุงลายครบวงจร อย่างทั่วถึงและยั่งยืน - สนับสนุนการใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบของทุกภาคส่วนจนถึงระดับบุคคล ภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ (สนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) ๒. - กำหนดให้การปราบยุงลายเป็นเป้าหมายการดำเนินการ - เชื่อมโยงกลไกการปราบยุงลายชองจังหวัดต่างๆในพื้นที่เขตสุขภาพนั้นๆ - ติดตามและประเมินผล เขตสุขภาพเพื่อประชาชน (ในเขตพื้นที่ที่มีสถานการณ์ปัญหายุงลาย) ๓. - สนับสนุนความรู้ทางด้านวิชาการในการปราบยุงลายให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

๔. ๕. มติ “การสานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” (ต่อ) มติ “การสานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” (ต่อ) ๔. - ร่วมกันพิจารณาดำเนินการโดยกระบวนการสมัชชาสุขภาพพื้นที่ ให้เกิดนโยบายสาธารณะระดับจังหวัด - กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในบ้านและสถานที่ของตนเอง อย่างเป็นรูปธรรม จริงจัง และต่อเนื่อง - ปฏิบัติตามข้อกำหนดท้องถิ่นหรือเทศบัญญัติ - เข้าร่วมในระบบสุขภาพอำเภอในการประสาน ติดตาม สนับสนุนการขับเคลื่อนในระดับตำบล หมู่บ้าน และชุมชน - สนับสนุนให้นำมาตรการปราบยุงลายโดยชุมชน กำหนดไว้ในธรรมนูญสุขภาพในพื้นที่ที่มีสถานการณ์และปัญหายุงลาย สมาชิกเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด ๕. กระทรวงสาธารณสุข (กรมควบคุมโรค)กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร และสำนักพระพุทธศาสนา - จัดทำแผนปฏิบัติงานและแนวทางการดำเนินงานในการปราบยุงลายอย่างจริงจัง ทั่วถึงและยั่งยืน โดยการการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนและภาคประชาสังคมโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน - ประสานและสนับสนุนการปราบยุงลายและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ในพื้นที่รับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม - ติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆอย่างน้อยปีละครั้ง

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มติ “การสานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” (ต่อ) ๖. - ดำเนินการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ออกข้อกำหนดท้องถิ่นหรือเทศบัญญัติ โดยอำนาจตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ หมวดเหตุรำคาญ ในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งรวมถึงสถานประกอบการ สถานที่ก่อสร้าง แค้มป์คนงานก่อสร้าง ที่พักชั่วคราว - สนับสนุนให้บังคับใช้อย่างเหมาะสม คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข ๗. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - สนับสนุนการดำเนินงานวิจัยและพัฒนา “สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” ๘. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ - ส่งเสริม สนับสนุนให้ การสานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน โดยกลไกและเครื่องมือที่มีอยู่ โดยให้ความสำคัญของทุกภาคส่วนด้วย ๙. เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ - รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐

เส้นทางเดินของ“การสานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” เส้นทางเดินของ“การสานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลลัพธ์/ตัวชี้วัด ผลกระทบ - ทุกภาคส่วนร่วมกันดำเนินการปราบยุงลาย อย่างครบวงจร ทั่วถึง และยั่งยืน ตัวชี้วัด : : จำนวนเครือข่ายสมัชชาสุขภาพทุกระดับ ที่มีการขับเคลื่อนในการปราบยุงลายอย่างจริงจัง ทั่วถึง อย่างยั่งยืน - ร่วมกันพัฒนามาตรการและดำเนินการปราบยุงลายครบวงจร อย่างทั่วถึงและยั่งยืน - สนับสนุนการใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบของทุก ภาคส่วนจนถึงระดับบุคคล ภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ (สนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) เขตสุขภาพเพื่อประชาชน (ในเขตพื้นที่ที่มีสถานการณ์ปัญหายุงลาย) - กำหนดให้การปราบยุงลายเป็นเป้าหมายการดำเนินการ โดยเชื่อมโยงกลไกการปราบยุงลายชองจังหวัดต่างๆ ในพื้นที่เขตสุขภาพนั้นๆ รวมถึงการติดตามและประเมินผล - มีการเชื่อมโยง กลไกการขับเคลื่อนในการปราบยุงลายอย่างจริงจัง ทั่วถึง อย่างยั่งยืน ตัวชี้วัด : จำนวนเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ ที่มีการเชื่อมโยงการขับเคลื่อนในการปราบยุงลายอย่างจริงจัง ทั่วถึง อย่างยั่งยืน - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการพัฒนาให้มีความรู้เกี่ยวกับยุงลายและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ ตัวชี้วัด : ร้อยละของ อปท.ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด - สนับสนุนความรู้ทางด้านวิชาการในการปราบยุงลายให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ - ร่วมกันพิจารณาดำเนินการโดยกระบวนการสมัชชาสุขภาพพื้นที่ ให้เกิดนโยบายสาธารณะระดับจังหวัด - กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในบ้านและสถานที่ของตนเอง อย่างเป็นรูปธรรม จริงจัง และต่อเนื่อง - ปฏิบัติตามข้อกำหนดท้องถิ่นหรือเทศบัญญัติ - เข้าร่วมในระบบสุขภาพอำเภอในการประสาน ติดตาม สนับสนุนการขับเคลื่อนในระดับตำบล หมู่บ้าน และชุมชน - สนับสนุนให้นำมาตรการปราบยุงลายโดยชุมชน กำหนดไว้ในธรรมนูญสุขภาพในพื้นที่ที่มีสถานการณ์และปัญหายุงลาย - นโยบายสาธารณะระดับจังหวัดใน “สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” ตัวชี้วัด : ร้อยละของพื้นที่ที่มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายไม่เกินมาตรฐาน สมาชิกเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด เป้าประสงค์ สานพลังปราบยุงลาย ให้ลดลง ตัวชี้วัด อุบัติการณ์ของปัญหาโรคติดต่อ ที่มียุงลายเป็นพาหะลดลง กระทรวงสาธารณสุข (กรมควบคุมโรค)กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร และสำนักพระพุทธศาสนา - จัดทำแผนปฏิบัติงานและแนวทางการดำเนินงานในการปราบยุงลายอย่างจริงจัง ทั่วถึงและยั่งยืน โดยการการมี ส่วนร่วมจากภาคเอกชนและภาคประชาสังคมโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน - ประสานและสนับสนุนการปราบยุงลายและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ในพื้นที่รับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม และมีการติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆอย่างน้อยปีละครั้ง - มีแผนปฏิบัติการ และแนวทางการดำเนินงาน ในการปราบยุงลายอย่างจริงจัง ทั่วถึง และยั่งยืน ตัวชี้วัด : จำนวนแผนฯ และแนวทางการดำเนินงาน ในการปราบยุงลายอย่างจริงจัง ทั่วถึง และยั่งยืน คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข - ดำเนินการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ออกข้อกำหนดท้องถิ่นหรือเทศบัญญัติ โดยอำนาจตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ หมวดเหตุรำคาญ ในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งรวมถึงสถานประกอบการ สถานที่ก่อสร้าง แค้มป์คนงานก่อสร้าง ที่พักชั่วคราว และสนับสนุนให้บังคับใช้อย่างเหมาะสม - การใช้ข้อกำหนดท้องถิ่นหรือเทศบัญญัติ โดยอำนาจตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ หมวดเหตุรำคาญ ในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ตัวชี้วัด : ร้อยละของพื้นที่มีการบังคับใช้ข้อกำหนดท้องถิ่นหรือเทศบัญญัติอย่างเหมาะสม สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาการสานพลังปราบยุงลายโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ตัวชี้วัด : จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน - สนับสนุนการดำเนินงานวิจัยและพัฒนา “สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ - ส่งเสริม สนับสนุนให้ การสานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน โดยกลไกและเครื่องมือที่มีอยู่ โดยให้ความสำคัญของทุกภาคส่วนด้วย - ข้อกำหนดในธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ระดับต่างๆ และมติในสมัชชาสุขภาพจังหวัด รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการตามฉันทามติของพื้นที่ ตัวชี้วัด : จำนวนพื้นที่ที่มีธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ - รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐