บทที่ 1 ประวัติ ความเป็นมา

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ประวัติการถ่ายภาพ(1) วิชาการถ่ายภาพ ได้มีการพัฒนาต่อเนื่องกันมาหลายร้อยปีตามลำดับ ก่อนจะมีกล้องถ่ายภาพ จนในศตวรรษที่ 19 มนุษย์ก็ประสบความสำเร็จในการคิดค้นกระบวนการสร้างภาพ.
Advertisements

XD Card.
วิชาถ่ายภาพ.
ว เคมีพื้นฐาน พันธะเคมี
การพัฒนาระบบการเรียนทางไกลให้อยู่ในรูปแบบของเทคโนโลยีสารสนเทศ Application of Information Technology System into Distance Learning Presented by: Sunadda.
ให้นักเรียนออกแบบงานนำเสนอ เรื่อง กล้องดิจิตอล D-SLR
ครูรุจิรา ทับศรีนวล “Room service”. “Room service”
8 กล้องถ่ายรูป (Camera)
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ Input&Output เสนอ อ. อภิเดช จิตมุ่ง โดย นาย ภคินนัย ชมภูนุช ม.4/1 เลขที่ 8 นางสาว ฟ้ารุ่ง วะสาร ม.4/1 เลขที่ 27 นางสาว รัฐภัทร บุญทัน.
NOTE: To change the image on this slide, select the picture and delete it. Then click the Pictures icon in the placeholder to insert your own image. แนวทางการขับเคลื่อน.
ความก้าวหน้าการพัฒนากฎหมาย ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมอนามัย
การนำเสนอผลการจัดทำแผนและคำของบประมาณ
แผนปฏิบัติการยึดคืน พัฒนา และจัดสรรพื้นที่
อาจารย์ ทรงศักดิ์ สุริโยธิน
ประเภทของกล้องถ่ายภาพ
โครงการเด็กไทยสายตาดี
ไมโครฟิช (Microfiche)
สื่อประเภทเครื่องฉาย
องค์กรนวัตกรรม ROYAL VETERINARY COLLEGE UNIVERSITY OF LONDON
ประกาศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งกรมปศุสัตว์
Principle of Marketing
ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร FTA
Innovation and Information Technology in Education
การเขียนบทสำหรับสื่อ
การถ่ายภาพ อ.จุฑามาศ ถาวร.
รายการวัสดุอ้างอิง (RM) และตัวอย่างควบคุม (Qc sample) สำหรับห้องปฏิบัติการ NOTE: To change the image on this slide, select the picture and delete it.
กรมบัญชีกลาง กองการพัสดุภาครัฐ
กล้องและอุปกรณ์การถ่ายภาพ
งานไฟฟ้า Electricity.
ความสำคัญของการบันทึกข้อมูลที่ถูกต้อง และการนำไปใช้ประโยชน์
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคติชนวิทยา
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคติชนวิทยา
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
แนวทางการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่ม และน้ำแข็งบริโภค ในสถานประกอบการ
Effective Child Development สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่
การควบคุมและตรวจสอบภายใน รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน
สิทธิประโยชน์การเป็นสมาชิกกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ
4.8 พัฒนาการเด็กวัยเรียน
ใน PowerPoint 7 วิธีในการทำงานร่วมกัน แก้ไขกับผู้อื่น
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ อิศรญาณภาษิต By Pratchanee P. 2/2015.
รศ 211 พัฒนาการประวัติศาสตร์การปกครองไทย PO 211Thai Governance and Politics in Historical Development อาจารย์นนท์ น้าประทานสุข Office Hour: Monday-Friday.
หลักการทำงาน ส่วนประกอบของกล้องถ่ายภาพ
หลักการทำงาน ส่วนประกอบของกล้องถ่ายภาพ
ทิศทางการขับเคลื่อนแผนพัฒนากำลังคนรายจังหวัด
หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) 0405
P.J.Transpack (Thailand) Co.,Ltd
วิลเลียม ฮาร์วีย์ (William Harvey) ด.ญ.กัณฐิกา จันแย้ ม.4.3 เลขที่ 1
Digital image Processing
การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
เรื่อง ความต้านทานไฟฟ้า
สัญลักษณ์พยากรณ์อากาศ
ความสำคัญของโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย
THL3404 คติชนวิทยา Folklore
อุทธรณ์,ฎีกา.
กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์
Digital image Processing By Asst. Prof. Juthawut Chantharamalee
โครงการปรับระบบการเลี้ยงสุกรเพื่อป้องกันโรคและประเมินสถานภาพโรค PRRS ของกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยปี 2559.
แบบฟอร์มการนำเสนอหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
Digital image Processing By Asst. Prof. Juthawut Chantharamalee
การเขียนรายงานเชิงวิชาการ
เข้าใจและสามารถปฏิบัติตนตามหลักธรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับอริยสัจ 4
การดำเนินกิจการ ของสหกรณ์ออมทรัพย์.
TOT e-Conference Bridge to Talk : Simple & Clear.
Product Champion Cluster วัยเรียน : โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
狗隻的訓練 聖士提反女子中學附屬小學 孫晞庭.
จัดสวัสดิการผู้สูงอายุตามวิถีแว้ง
งานการเงินนักศึกษา ส่วนการเงินและบัญชี
การจัดทำและการบริหาร งบประมาณรายจ่ายประจำปี นางดรงค์รัตน์ กล้าหาญ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 1 ประวัติ ความเป็นมา

วิวัฒนาการของกล้องถ่ายภาพ แต่เดิมนั้นมาจากผู้สังเกตุเห็นภาพในลักษณะกลับหัว บนผนังภายในห้องที่ทึบและอับแสง ภาพดังกล่าวเกิดจากแสงของภาพวิวภายนอกลอดผ่านรูเล็ก ๆ ที่ผนังห้อง ก่อให้เกิดภาพ เสมือนบนผนังอีกด้านที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของห้อง

ต่อมาได้มีการนำหลักการดังกล่าวมาประดิษฐ์เป็นกล้องออบสคิวรา (Camera Obscura) คำว่า "camera" มีความหมายว่า "ห้อง" ส่วน "Obscura" มีความหมายว่า "ความมืด"

ในปีค.ศ.1558 นาย Giovanni Battista della Porta ได้เขียนบทความแนะนำให้ใช้กล้องออบสคิวรา เป็นเครื่องมือในการวาดภาพ

Johannes Zahn (1641–1707) ได้ออกแบบกล้องออบสคิวราแบบพกพาไว้หลายแบบและยังมีการใช้กระจกติดไว้ด้านหลังของกล้องให้สะท้อนแสงขึ้นไปปรากฏภาพที่ด้านบนของกล้อง ทำให้ภาพที่ได้ไม่กลับหัวอีกต่อไป ประจวบกับในช่วงคริสตวรรษที่ 16 ได้มีการประดิษฐ์กล้องส่องทางไกล จึงมีการนำเลนส์มาใส่ที่ช่องรับแสงแทนรูเข็มทำให้ได้ภาพที่สว่างและคมชัดขึ้น

  ในปี ค.ศ. 1814 ชาวฝรั่งเศสชื่อ Joseph Nicéphore Niépce ได้ทดลองนำสาร silver chloride เคลือบลงบนกระดาษมารับภาพในกล้องออบสคิวรา โดยเปิดรับแสงอยู่นานถึง 8 ชั่วโมง กระดาษดังกล่าวมีภาพปรากฏขึ้นแต่สามารถอยู่ได้สักพักแล้วก็จางหายไป แม้กระนั้นก็ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยีการถ่ายภาพ

        ในปี ค.ศ. 1837 ชาวฝรั่งเศสชื่อ Louis Jacques Mandé Daguerre ผู้เป็นหุ้นส่วนกับนาย Niépce ได้ทำการพัฒนาวิธีการสร้างภาพต่อจากนาย Niépce เขาสามารถทำการบันทึกภาพให้อยู่คงทนได้สำเร็จอีกทั้งใช้เวลาในการรับแสงน้อย กว่า 30 นาที วิธีการของนาย Daguerre เรียกว่า "Daguerreotype"

  ในปี ค.ศ. 1841 นาย William Henry Talbot ได้พัฒนาระบบที่ชื่อ Calotype โดยสร้างภาพจากการบันทึกให้เป็นภาพกลับสี (Negative Image) จากนั้นนำภาพที่ได้มาทำการสำเนาได้เป็นภาพสีเหมือน (Positive Image) ซึ่งวิธีการนี้สามารถทำสำเนาจากภาพต้นฉบับได้หลายชุด ซึ่งใช้กล้องออบสคิวราแบบติดเลนส์ด้านหน้าซึ่งสามารถเลื่อนปรับระยะได้ เพื่อหาระยะชัดของภาพ ส่วนแผ่นรับภาพจะติดไว้ด้านหลังที่ช่องมองภาพ

ในปี ค.ศ. 1843 ได้มีการนำภาพถ่ายมาใช้ในการโฆษณาครั้งแรกที่เมืองฟิลาเดลเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1851 Frederick Scott Archer ได้คิดค้นระบบที่มีชื่อเรียกว่าระบบ Collodion โดยใช้แผ่นรับภาพแบบแห้ง ซึ่งใช้เวลาเพียง 2 ถึง 3 วินาทีในการบันทึกภาพในสภาพแสงปกตินอกอาคาร ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเองก็มีการทดลองบันทึกภาพถ่ายใต้น้ำด้วย ในปี ค.ศ. 1859 มีการจดสิทธิบัตรกล้องถ่ายภาพแบบ Panorama

ในปี ค.ศ. 1871 นาย Richard Leach Maddox ได้คิดค้นแผ่นรับภาพแบบแห้งโดยใช้สารเจลาตินซึ่งมีชื่อเรียกระบบนี้ว่า ระบบ Gelatin Dry Plate Silver Bromide แผ่นรับภาพชนิดนี้ทำให้ช่างถ่ายภาพไม่จำเป็นต้องชะโลมด้วยน้ำยาเคมีเพื่อทำ การล้างภาพทันทีหลังจากบันทึกภาพเสร็จเหมือนกรรมวิธีในระบบก่อนหน้านี้ ในช่วงท้ายของทศวรรษ 1870 ความเร็วในการบันทึกภาพเหลือเพียง 1 ใน 25 วินาที ในปีค.ศ. 1880 นาย George Eastman ได้ก่อตั้งบริษัท Eastman dry plate สี่ปีให้หลังทางบริษัทได้ประดิษฐ์แผ่นรับภาพทำจากกระดาษทำให้โค้งงอได้เป็น ที่มาของคำว่า "ฟิล์มถ่ายภาพ (Photographic Film)"

       ในปีค.ศ. 1888 บริษัท Eastman ได้ประดิษฐ์ฟิล์มแบบเป็นม้วนทั้งยังประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพแบบประหยัดใช้ชื่อ ว่า "Kodak" ตัวกล้องมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมไม่มีการปรับระยะชัดและมีความเร็วในการ รับแสงตายตัวอีกทั้งได้ทำการเปลี่ยนฟิล์มแบบกระดาษเป็นแบบเซลลูลอยด์ (Celluloid)

ในปีค.ศ. 1889 ผู้ใช้กล้อง Kodak เมื่อถ่ายภาพจนหมดม้วนก็จะนำฟิล์มมาส่งให้บริษัท Kodak เพื่อเป็นผู้จัดทำขบวนการสร้างภาพ ต่อมาในปีค.ศ. 1900 บริษัทยังได้ออกกล้องรุ่นใหม่มีชื่อว่า "Brownie" เป็นกล้องราคาประหยัดและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง กล้อง Brownie ออกมาอีกหลายรุ่น บางรุ่นยังมีจำหน่ายจนสิ้นทศวรรษ 1960 ผลการประดิษฐ์ฟิล์มม้วนของ Kodak ยังเป็นก้าวสำคัญในการประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพยนต์

ในปีค.ศ. 1913 นาย Oskar Barnack จากสถาบัน Ernst Leitz Optishe Werke ได้มีการประดิษฐ์ต้นแบบกล้อง 35 มม. และผลิตออกจำหน่ายในปีค.ศ. 1925 ใช้ชื่อกล้องว่า "Leica I" กล้อง 35 มม.ได้เป็นที่นิยมเพราะขนาดกระทัดรัด และฟิล์มที่ใช้ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นผลให้ผู้ผลิตกล้องต่างก็ลงมาแข่งขันในตลาดนี้

  ในปีค.ศ. 1927 บริษัทไฟฟ้า General Electric ได้ประดิษฐ์หลอดไฟแฟลชใช้สำหรับถ่ายภาพในพื้นที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ ซึ่งก่อนหน้านี้การให้แสงสว่างทำได้โดยใช้ผงเคมีทำปฏิกริยากันจนเกิดแสงจ้า ซึ่งถูกคิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน

       ในปีค.ศ. 1928 นาย Franke & Heidecke Roleiflex ได้นำเสนอกล้อง Rolleiflex เป็นกล้องขนาดเหมาะกับการพกพาใช้ฟิล์มขนาด 120 ประกอบด้วยเลนส์สองชุด ชุดหนึ่งใช้สำหรับบันทึกภาพ อีกชุดหนึ่งใช้กระจกสะท้อนให้เกิดภาพบนกระจกฝ้าสำหรับมองภาพ เรียกว่า กล้องระบบสะท้อนภาพเลนส์คู่ (Twin-lens Reflex Cameras เรียกย่อ ๆ ว่า TLR)

ในปี ค.ศ. 1933 นาย Ihageen Exakgta ได้ออกกล้องระบบสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (Single-lens Reflex เรียกย่อว่า SLR) กล้องดังกล่าวใช้ฟิล์ม 120 ความเป็นจริงในยุคนั้นมีการผลิตกล้อง TLR และ SLR อยู่ก่อนแล้ว แต่กล้องของ Rolleiflex กับ ของ Exakgata มีขนาดกระทัดรัดพกพาสะดวก จึงเป็นที่นิยมมากกว่า และอีก 3 ปีให้หลัง Kine Exakta ได้ออกกล้อง SLR ที่ใช้ฟิล์มขนาด 35 ม.ม. ซึ่งเป็นแบบที่สามารถทำตลาดได้ดี ทำให้มีผู้ผลิตกล้องประเภทนี้ออกมาเป็นจำนวนมาก

ในปี ค.ศ. 1947 กล้อง Duflex ได้มีการใช้ปริซึมห้าเหลี่ยม (Pentaprism) ในการสะท้อนภาพทำให้มีช่องมองภาพอยู่ด้านหลังของกล้องแทนที่ดูจากด้านบน เหมือนกล้องอื่นๆ ในยุคนั้นช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง ได้กำเนิดกล้อง Hasselblad 1600F ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสำหรับกล้อง SLR ขนาดกลางซึ่งใช้ฟิล์ม 120

ในปี ค.ศ. 1935 บริษัท Eastman Kodak ได้วางจำหน่ายฟิล์มสไลด์สี "Kodachrome" ซึ่งให้สีสรรที่สวยสดเป็นที่นิยมของช่างภาพมืออาชีพ เนื่องจากขบวนการสร้างภาพที่ซับซ้อน ฟิล์มรุ่นนี้ขายในราคาที่รวมค่าล้างและต้องส่งไปเข้าสู่ขบวนการล้างที่ศูนย์ ของ Kodak เท่านั้น ต่อมาในปีค.ศ. 1941 บริษัท ยังได้แนะนำฟิล์ม negative สี "Kodacolor" เข้าสู่ตลาดอีกด้วย

ในปี ค.ศ. 1948 นาย Edwin Land ได้นำสิ่งประดิษฐ์ใหม่ออกสู่ตลาด เป็นกล้องถ่ายภาพแบบสร้างภาพทันทีหลังการบันทึกภาพ (Instant-picture camera) ซึ่งมักเรียกกันว่า "Land Camera" รุ่นของกล้องที่ออกตลาด ในตอนนั้นเรียกว่า "Polaroid Model 95" เนื่องจากราคากล้องยังค่อนข้างสูง จึงมีการออกรุ่นใหม่ๆ อีกหลายรุ่น ในปี ค.ศ. 1963 Polaroid ได้เริ่มจำหน่ายฟิล์มสีสร้างภาพทันทีหลังการบันทึกภาพ (Instant Colour Film) ในปี ค.ศ. 1965 Polaroid ได้ออกกล้องรุ่น "Model 20 Swinger" ซึ่งถือแป็นรุ่นที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง มียอดขายสูงสุดตลอดกาลรุ่นหนึ่งของบริษัท

ในปี ค.ศ. 1953 นาย Harold Eugene Edgerton จากบริษัท EG&G ได้ร่วมมือกับนาย Jaques Yves Cousteau นักสำรวจใต้น้ำชาวฝรั่งเศสเริ่มใช้กล้องถ่ายภาพท้องมหาสมุทรโดยใช้คลื่น โซนาร์ในการวัดระยะระหว่างกล้องกับพื้นมหาสมุทร ในปี ค.ศ. 1968 ยาน Apollo 8 ได้ทำการบันทึกภาพของโลกจากดวงจันทร์เป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1978 บริษัทผลิตกล้อง Konica ได้ประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพแบบหาระยะชัดโดยอัตโนมัติ (Automatic Focus Camera) ในปี ค.ศ. 1980 บริษัท Sony เริ่มแสดงต้นแบบกล้องถ่ายวีดิโอ ในปีถัดมา ได้ออกกล้องถ่ายภาพนิ่งแบบอีเลคทรอนิคซึ่งใช้หลักการเดียวกับการบันทึกวีดีโอและใช้แผ่น เก็บข้อมูลขนาดเล็ก ระบบดังกล่าวคล้ายกับระบบที่บริษัท Texas Instruments คิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1972

ในปี ค.ศ. 1985 บริษัท Pixar ได้นำเสนอเทคโนโลยีการสร้างและประมวลภาพด้วยระบบดิจิตอล ในปี ค.ศ. 1986 บริษัท Fuji ได้ริเริ่มผลิตกล้องแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ในปี ค.ศ. 1988 บริษัท Fuji ได้ออกกล้อง Fuji DS-1P ซึ่งถือเป็นกล้องดิจิตอลแรกที่สร้างไฟล์ภาพนำมาใช้ในคอมพิวเตอร์ได้ ตัวกล้องมีการ์ดความจำ 16 MB และต้องใช้พลังงานจากแบตเตอรี่รักษาข้อมูลตลอดเวลา กล้องดังกล่าวไม่ได้มีการวางจำหน่ายมากนัก ในปี ค.ศ. 1990 กล้องที่มีการวางจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ คือกล้อง Dycam Model 1 ใช้หน่วยบันทึกภาพแบบ CCD (Charge Couple Device) และเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์โดยตรงในการส่งข้อมูลภาพ

ในปี ค.ศ. 1991 บริษัท Kodak ได้นำกล้อง Kodak DCS-100 ออกจำหน่ายโดยใช้ตัวกล้องแบบใช้ฟิล์มของยี่ห้ออื่นมาดัดแปลง (ใช้กล้องของ Nikon) Kodak ได้ให้การนิยามในการเรียกเม็ดสีแต่ละเม็ดของภาพดิจิตอลว่า “พิกเซล” (Pixel) ขนาดของไฟล์ภาพสำหรับกล้องรุ่นนี้อยู่ที่ 1.3 เมกกะพิกเซล กล้องดังกล่าวมีราคาค่อนข้างสูงและมีเป้าหมายในการจำหน่ายแก่ช่างภาพมือ อาชีพและนักข่าว ในปี ค.ศ. 1995 กล้อง Ricoh RDC-1 ได้ถูกวางจำหน่าย ถือเป็นกล้องรุ่นแรกที่สามารถอัดคลิบวีดีโอได้

   ในปี ค.ศ. 1995 นาย Phillipe Kahn ได้ประดิษฐ์ระบบบันทึกภาพสำหรับโทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องแรก และ ในปีค.ศ. 2000 บริษัท J-Phone ได้ออกโทรศัพท์มือถือรุ่น J-SH04 ที่สามารถบันทึกภาพได้จำหน่ายในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก มากยิ่งขึ้น

การถ่ายภาพ ได้มีการพัฒนาต่อเนื่องกันมาหลายร้อยปีตามลำดับ ก่อนจะมีกล้องถ่ายภาพ จนในศตวรรษที่ 19 มนุษย์ก็ประสบความสำเร็จในการคิดค้นกระบวนการสร้างภาพ จากผลการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ที่ได้พัฒนาความรู้จากศาสตร์ 2 สาขา คือ สาขาฟิสิกส์ ได้แก่ เรื่องของแสงและกล้องถ่ายภาพ และสาขาเคมี ในส่วนที่เกี่ยวกับฟิล์มสารไวแสงและน้ำยาสร้างภาพ

การถ่ายภาพเป็นการรวมหลักการที่สำคัญ 2 ประการเข้าด้วยกัน คือ การทำให้เกิดภาพจำลองของวัตถุสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ปรากฎบนฉากรองรับ การใช้สื่อกลาง ในการบันทึกภาพจำลองของวัตถุนั้น ให้ปรากฎอยู่ได้อย่างคงทนถาวร

อัครศิลปิน ด้านภาพถ่าย

การถ่ายภาพเป็นศิลปะอีกสาขาหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงสนพระหฤทัยอย่างจริงจังมาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าในสมัยก่อนนั้นอุปกรณ์การถ่ายภาพยังไม่ทันสมัยอย่างในปัจจุบันนี้แต่พระองค์ก็ทรงศึกษา และทรงฝึกด้วยพระองค์เอง จนทรงเป็นนักถ่ายรูปที่มีพระปรีชาสามารถยิ่งไม่ว่าจะเป็นกล้องธรรมดาหรือกล้องถ่ายภาพยนตร์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเชี่ยวชาญแม้กระทั่งการล้างฟิล์มการอัดขยายภาพทั้งภาพขาวดำและภาพสี (Dark Room) ขึ้นในบริเวณชั้นล่างของตึกที่ทำการ สถานีวิทยุ อ.ส. ด้วยพระราชประสงค์ ที่จะทรง "สร้างภาพ" ให้เป็นศิลปะ ถูกต้องและรวดเร็วด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ทรงคิดค้นหาเทคนิคใหม่ ๆ มาใช้ในการถ่ายภาพอยู่เสมอ ๆ จนทำให้ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของ พระองค์เป็นผลงานศิลปะที่ล้ำยุค

ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ในหลวงรัชกาลที่ 9 “ในอ้อมพระกร” ณ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย Royal Thai Consulate-General Sydney, Australia ถ่ายเมื่อปีค.ศ.1962 (พ.ศ.๒๕๐๕) ภาพจาก:: OHM (Office of His Majesty′s Principal Private Secretary), Thailand

ด้วยความที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดการถ่ายภาพ และทรงถ่ายภาพต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เคยไปปรากฏตามหน้านิตยสาร เมื่อราวปีพุทธศักราช ๒๔๘๓ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระองค์ได้ปรากฏอยู่ในนิตยสารแสตนดาร์ดของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ทรงมีพระราชดำรัสด้วยพระอารมณ์ขันแก่ผู้ใกล้ชิดผู้หนึ่งถึงการเป็นช่างภาพอาชีพของพระองค์ว่า "ฉันเป็นกษัตริย์ก็จริง แต่ฉันก็ยังมีอาชีพเป็นช่างภาพของหนังสือพิมพ์แสตนดาร์ด ได้เงินเดือน ๆ ละ ๑๐๐ บาท ตั้งหลายปีมาแล้วจนบัดนี้ก็ยังไม่เห็นเขาขึ้นเงินเดือนให้สักที เขาก็คงถวายเดือนละ ๑๐๐ บาท เรื่อยมา"

เมื่อครั้งที่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติใหม่ ๆ ทรงโปรดที่จะถ่ายภาพสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมพระราชโอรสและพระราชธิดา โดยเฉพาะเมื่อได้ทรงเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตำหนักภูพิงราชนิเวศน์ ซึ่งมีภูมิประเทศที่สวยงามเหมาะแก่การถ่ายภาพ

ในปัจจุบันเมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหฤทัยเต็มเปี่ยมไปด้วยความห่วงใย และความเสียสละเพื่อพสกนิกร จึงทำให้ทรงมีพระราชภารกิจอันมากมายมหาศาลเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ราษฎร ไม่มีเวลาสำหรับคิดค้นเทคนิคใหม่ ๆ ในการถ่ายภาพได้อีก จะทรงถ่ายภาพก็ได้แต่เฉพาะในคราวที่เสด็จฯ ไปราชการตามสถานที่ต่าง ๆ เท่านั้น ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เหล่านี้ทรงใช้เพื่อประกอบการทรงงานของพระองค์

จะสังเกตได้ว่า ไม่ว่าพระองค์จะเสด็จฯ ไป ทรงเยี่ยมราษฎร ณ จังหวัดใด ก็จะทรงมีกล้องถ่ายรูปติดพระองค์ไปด้วยเสมอ โปรดถ่ายภาพสถานที่ทุกแห่งเพื่อทรงเก็บไว้เป็นหลักฐานประกอบงานที่ได้ทรงปฏิบัติ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เหล่านี้ จึงมักเป็นภาพถ่ายแบบฉับพลันทันเหตุการณ์

ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ในระยะหลัง ทรงใช้เป็นหลักฐานในการวางแผนปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วทันใจและสามารถแก้ไขเหตุการณ์ของบ้านเมืองได้ทันท่วงที เช่น เมื่อคราวน้ำท่วมกรุงเทพฯ หลายครั้ง ได้ทรงถ่ายภาพจุดสำคัญ ๆ ไว้เป็นหลักฐานการวางแผนป้องกันน้ำท่วมทางเฮลิคอปเตอร์

ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ทั้งหลายล้วนแสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงถ่ายภาพเพื่อศิลปะแต่เพียงอย่างเดียว เพราะแต่ละภาพทรงไว้ซึ่งคุณค่าทางศิลปะและวิชาการ สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศชาติบ้านเมือง และนำความผาสุกร่มเย็นมาสู่ประชาชนชาวไทยได้อย่างดีอีกด้วย

END

ความรู้ แฟลช และเทคนิคการถ่ายภาพด้วยแสงแฟลช ช่องว่างกับมุมกล้อง กฎสามส่วน (Rule of Third) ขนาดของหน่วยความจำและขนาดของภาพเมื่อนำไปอัด

ความรู้ - แฟลช และเทคนิคการถ่ายภาพด้วยแสงแฟลช การใช้แฟลชช่วยในการถ่ายภาพได้ดังนี้ ช่วยให้สามารถถ่ายภาพในที่มืด หรือแสงสว่างไม่เพียงพอ แต่ต้องทำใจกับแสงสีที่ไม่เป็นธรรมชาติ เมื่อถ่ายภาพกลางแจ้งซึ่งแสงอาทิตย์ส่องมาด้านหลัง ทำให้วัตถุเกิดเงาดำ หรือการถ่ายย้อนแสง เราสามารถเปิดแฟลช ทำให้ได้รายละเอียดสวยงาม ช่วยให้ได้ภาพคมชัด ไม่พร่ามัว

ความรู้ - แฟลช และเทคนิคการถ่ายภาพด้วยแสงแฟลช การถ่ายภาพด้วยแสงสะท้อนจากแฟลช (Bounce Flash) ด้วยการปล่อยแสงแฟลชให้ตกกระทบกับวัตถุ แล้วจึงสะท้อนกลับมาที่ตัวแบบ อาจใช้ร่มสะท้อนแสง ฝาผนัง หรือเพดานเตี้ยๆ

ความรู้ - ช่องว่างกับมุมกล้อง ตัวอย่าง การเว้นช่องว่างเพื่อให้เกิดความรู้สึกเคลื่อนไหวไปข้างหน้า

ความรู้ - มุมกล้องกับช่องว่าง มุมกล้อง การถ่ายภาพในมุมที่ต่างกัน มีผลต่อความคิดความรู้สึก แบ่งมุมกล้องได้เป็น 3 ระดับ ภาพระดับสายตา ภาพที่ได้จะให้ความรู้สึกเป็นปรกติธรรมดา ภาพตัวอย่าง การถ่ายภาพในมุมมองปรกติ

ความรู้ - มุมกล้องกับช่องว่าง มุมกล้อง การถ่ายภาพในมุมที่ต่างกัน มีผลต่อความคิดความรู้สึก แบ่งมุมกล้องได้เป็น 3 ระดับ ภาพมุมต่ำ ภาพที่ได้จะให้ความรู้สึกถึงความสูงใหญ่ ยิ่งใหญ่กว่าความเป็นจริง แสดงถึงความสง่า ภาพตัวอย่าง การถ่ายภาพในมุมต่ำ

ความรู้ - มุมกล้องกับช่องว่าง มุมกล้อง การถ่ายภาพในมุมที่ต่างกัน มีผลต่อความคิดความรู้สึก แบ่งมุมกล้องได้เป็น 3 ระดับ ภาพมุมสูง ภาพที่ได้จะให้ความรู้สึกถึงความเล็กความต้อยต่ำ ไม่มีความสำคัญ ภาพตัวอย่าง การถ่ายภาพในมุมสูง

ความรู้ – กฎสามส่วน (Rule of Third) กฎสามส่วนกล่าวไว้ว่า ไม่ว่าภาพจะอยู่แนวตั้งหรือแนวนอนก็ตาม หากเราแบ่งภาพนั้นออกเป็นสามส่วน ทั้งตามแนวตั้งและแนวนอน แล้วลากเส้นแบ่งภาพทั้งสามเส้น จะเกิดจุดตัดกันทั้งหมด 4 จุด ซึ่งจุดตัดของเส้นทั้งสี่นี้ เป็นตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการจัดวางวัตถุที่ต้องการเน้นให้เป็นจุดเด่นหลัก ส่วนรายละเอียดอื่นๆนั้น เป็นส่วนสำคัญที่รองลงมา

ความรู้ – กฎสามส่วน (Rule of Third)

ความรู้ – กฎสามส่วน (Rule of Third)

ความรู้ – กฎสามส่วน (Rule of Third) นอกจากนี้ยังสามารถใช้แนวเส้นแบ่ง 3 เส้นนี้ เป็นแนวในการจัดสัดส่วนของภาพได้ อย่างเช่นการจัดวางเส้นขอบฟ้าให้อยู่ในแนวเส้นแบ่ง โดยให้ส่วนพื้นดินและท้องฟ้าอยู่ในอัตราส่วน 3:1 หรือ 1:3 แต่ไม่ควรแบ่ง 1:1

ความรู้ – ขนาดของหน่วยความจำและขนาดของภาพเมื่อนำไปอัด

ตัวอย่างการถ่ายภาพ Portrait/People

ตัวอย่างการถ่ายภาพ Portrait/People

ตัวอย่างการถ่ายภาพ Landscape/Cityscape

ตัวอย่างการถ่ายภาพ Landscape/Cityscape

ตัวอย่างการถ่ายภาพ Macro/Close up

ตัวอย่างการถ่ายภาพ Animal

ตัวอย่างการถ่ายภาพ Food

ตัวอย่างการถ่ายภาพ Food

ตัวอย่างการถ่ายภาพ Food

ตัวอย่างการถ่ายภาพ Food

อ่านใจ...จากการถ่ายภาพ เอามือกอดอก นั่งไขว่ห้าง ชอบทำหน้าตาทะเล้น วางมือไว้หลังศีรษะ ชอบหันใบหน้าด้านข้างเข้าหากล้อง ยิ้มเห็นฟันนิดหน่อย ถ่ายรูปทีไร ยิ้มกว้างทุกที เอามือจับที่คาง

Thank You Presented by Nitima