งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การถ่ายภาพ อ.จุฑามาศ ถาวร.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การถ่ายภาพ อ.จุฑามาศ ถาวร."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การถ่ายภาพ อ.จุฑามาศ ถาวร

2 ประโยชน์ทางการศึกษาของภาพถ่าย
ปัจจุบันภาพถ่ายเข้ามาเกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันของมนุษย์เรามากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะ ภาพถ่ายเป็นสื่อ (Media) ที่สำคัญในการถ่ายทอดเรื่องราว เหตุการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนแนวคิดความรู้สึกเผยแพร่ไปยังบุคคลอื่น ให้เกิดความเข้าใจระหว่างกันง่ายขึ้น และ ภาพถ่ายยังเป็นสื่อสากล ดังคำกล่าวที่ว่า “ภาพหนึ่งภาพมีความหมายมากกว่าคำพูด หรือ การเขียนนับพันคำ”

3 ประโยชน์ทางการศึกษาของการถ่ายภาพ
1. สร้างและดึงดูด ความสนใจผู้เรียน 2. แสดงข้อเท็จจริงสิ่งที่อยู่ภายใน ลี้ลับ ให้มองเห็นและเข้าใจสิ่งนั้นได้ดีและรวดเร็ว 3. เปลี่ยนแปลงทัศนคติได้เป็นอย่างดี 4. เป็นสื่อนำเข้าสู่บทเรียนได้ 5. นำภาพที่อยู่ห่างไกลมาสอนในชั้นเรียนได้ 6. นำภาพในอดีตมาศึกษาในปัจจุบัน และอนาคตได้ 7. บันทึกภาพสิ่งที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วให้หยุดนิ่ง แล้วนำมาศึกษาอย่างระเอียดได้ 8. นำมาเป็นสื่อรายบุคคลได้และช่วยให้เกิดการจดจำได้คงทนถาวร

4 ระบบการทำงานของกล้องถ่ายภาพ
หลักการทำงานพื้นฐานของกล้องถ่ายภาพคือการที่แสงสะท้อนจากวัตถุ เดินทางเป็น เส้นตรงผ่านรูเล็ก ๆ ของกล่องสี่เหลี่ยมเกิดภาพวัตถุบนฉากรองรับด้านตรงกันข้ามเป็นภาพหัวกลับอันเป็นหลักการของการสร้างกล้องรูเข็มในสมัยโบราณ กล้องถ่ายภาพมีการพัฒนามาโดยลำดับเช่น การนำเอาเลนส์นูนมาติดตั้งเป็นรูรับแสงที่มีขนาดเล็ก เพื่อช่วยรวมแสงให้เข้าไปในตัวกล้องได้มากขึ้น ด้านตรงกันข้ามของเลนส์เป็นตำแหน่งที่ตั้งวัสดุไวแสงหรือฟิล์มสามารถปรับเลนส์เพื่อให้เกิดภาพถ่ายที่ชัดเจนบนฟิล์มได้ มีการติดตั้งไดอะแฟรมปรับให้เกิดรูรับแสงต่าง ๆ รวมทั้งมีส่วนที่เรียกว่าชัตเตอร์ทำหน้าที่ควบคุมเวลาในการ เปิด - ปิด ม่าน เพื่อให้ปริมาณแสงตกกระทบกับฟิล์มตามความต้องการ และยังมีที่มองภาพ เพื่อช่วยในการจัดองค์ประกอบภาพให้เหมาะสม

5 ส่วนประกอบของกล้องถ่ายภาพ

6 หลักการทำงานของกล้องถ่ายภาพ
การที่แสงสะท้อนจากวัตถุ เดินทางเป็นเส้นตรงผ่านช่องเล็ก ๆ ของกล่องสี่เหลี่ยม เกิดภาพของวัตถุบนฉากรองรับด้านตรงกันข้าม เป็นภาพหัวกลับ อันเป็นหลักการของการสร้างกล้องรูเข็มในสมัยโบราณ กล้องถ่ายภาพได้พัฒนามาโดยลำดับ เช่น มีการนำเอาเลนส์นูนไปติดตั้งที่ช่องรับแสง ที่มีขนาดเล็ก เพื่อช่วยรวมแสงให้เข้าไปในตัวกล้องให้มากขึ้น

7 หลักการทำงานของ ไดอะเฟรม และชัตเตอร์
ทางด้านตรงข้ามของเลนส์เป็นตำแหน่งที่ตั้งวัสดุไวแสงหรือฟิล์ม สามารถปรับตัวเลนส์เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจนบนฟิล์มได้ มีการติดตั้ง ไดอะเฟรม ปรับให้เกิดช่องรับแสงขนาดต่าง ๆ รวมทั้งมีส่วนที่เรียกว่าชัตเตอร์ ทำหน้าที่ควบคุมเวลาในการเปิด - ปิดม่าน เพื่อให้ปริมาณแสงตกกระทบกับฟิล์มตามความ เหมาะสม และยังมีช่องเล็งภาพ เพื่อช่วย ในการจัดองค์ประกอบของภาพถ่ายให้เกิดความสวยงาม

8 ดวงตามนุษย์กับกล้องถ่ายภาพ
มีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยมีส่วนสำคัญแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. ส่วนที่ทำให้เกิดภาพ 2. ส่วนที่ไวแสง ดวงตาของมนุษย์ ก่อนที่แสงจะตกกระทบเลนส์ต้องผ่านชั้นของเยื่อโปร่งใสเรียกว่า คอร์เนีย(Cornea) ทำหน้าที่ช่วยเลนส์ ในการหักเหแสงให้ภาพตกลงบนจอตาพอดีเลนส์ ของกล้องถ่ายภาพมีระบบเปิด-ปิด ให้แสงผ่านเข้าไปยังฉากหลังควบคุมเวลาด้วย ชัตเตอร์ (Shutter)

9 ดวงตามนุษย์กับกล้องถ่ายภาพ
ดวงตาควบคุมด้วยหนังตา (Eyelid) ในส่วนหนึ่งของเลนส์ถ่ายภาพจะมีไดอะเฟรม(Diaphragm) สามารถปรับให้เกิดช่องรับแสง (Aperture) ขนาดต่าง ๆ เช่นเดียวกับดวงตาจะมีส่วนที่เรียกว่าม่านตา (Iris) ซึ่งจะมีสีต่าง ๆ ตรงกลางของม่านตาจะมีช่องกลมเรียกรูม่านตา หรือพิวพิล(Pupil) เป็นทางให้แสงผ่าน สามารถปรับให้มีขนาดต่าง ๆ กัน โดยอัตโนมัติ เช่นในที่ ๆ มีแสงสว่าง มากรูม่านตาจะปรับให้มีขนาดเล็ก

10 1.แสดงภาพส่วนประกอบ ของดวงตามนุษย์ 2. แสดงภาพส่วนประกอบ
ของกล้องถ่ายภาพ

11

12 เลนส์ (Lens) เลนส์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายภาพ เป็นวัสดุโปร่งใส ทำด้วยแก้วหรือพลาสติก ทำหน้าที่หักเหแสงสะท้อนจากวัตถุ เกิดภาพจริงหัวกลับบนระนาดของฟิล์ม เลนส์มีคุณภาพในการรับแสง และช่วยลดแสงสะท้อนให้น้อยลง

13 ความยาวโฟกัสของเลนส์(Focal length)
ความยาวโฟกัสของเลนส์ เลนส์ของกล้องถ่ายภาพจะมีความยาวโฟกัส (Focal Length) แตกต่างกัน คำว่า "ความยาวโฟกัสของเลนส์" หมายถึง "ระยะทางจากจุดศูนย์กลางโฟกัสของเลนส์ (Optical center of lens) ถึงระนาบโฟกัสของภาพหรือฟิล์ม เมื่อเลนส์ตั้งระยะความชัดไว้ไกลสุด (Infinity)"

14 มุมการรับภาพ(Angle of view)
ความยาวโฟกัสของเลนส์ที่แตกต่างกัน จะทำให้มุมในการรับภาพแตกต่างกันไปด้วย เช่น เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้น F = 28 มม. จะรับภาพได้เป็นมุมกว้างกว่าเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสเลนส์ F = 50 มม. เป็นต้น และนอกจากนั้น ความยาวโฟกัสของเลนส์ยังมีผลต่อช่วงความชัดของภาพ มากกว่าเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสยาว เช่น เลนเทเลโฟโต้ เป็นต้น

15 ประเภทของเลนส์ เลนส์ ถ่ายภาพโดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ตามขนาดความยาวโฟกัส คือ - เลนส์ธรรมดาหรือเลนส์มาตราฐาน (Normal lens or Standard lens) - เลนส์มุมกว้าง (Wide - angle lens) - เลนส์ถ่ายไกล (Telephoto lens) - เลนส์ซูม (Zoom lens) - เลนส์ถ่ายใกล้หรือเลนส์แมโคร (Macro lens)

16 เลนส์ธรรมดาหรือเลนส์มาตราฐาน (Normal lens or Standard lens)
ความยาวโฟกัสของเลนส์มาตราฐานจะมีความยาวโฟกัสประมาณ มม. ส่วนกล้อง 35 มม. สะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (SLR) ที่ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ เลนส์มาตราฐานจะมีความยาวโฟกัสประมาณ มม. ซึ่งมีมุมในการรับภาพประมาณ 53 องศา ซึ่งใกล้เคียงกับการมองเห็นของสายตาคน

17 เลนส์ธรรมดาหรือเลนส์มาตราฐาน (Normal lens or Standard lens)

18 เลนส์มุมกว้าง (Wide - angle lens)
เลนส์มุมกว้างได้แก่เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้นกว่าเลนส์มาตรฐาน เลนส์ที่มีความยาวโฟกัส 35มม., 28 มม., 24 มม., 16 มม. - เลนส์มุมกว้างธรรมดา (Modurate Wide – angle) ได้แก่เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสระหว่าง 25 – 40 มม. - เลนส์มุมกว้างมาก รับภาพได้ตรง (Rectilinear super wide)ได้แก่เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสระหว่าง 15 – 24 มม. - เลนส์มุมกว้างมาก รับภาพบิดโค้ง (Semifish eye super wide) ได้แก่เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสระหว่าง 15 – 24 มม. แต่ภาพที่ได้จะบิดโค้ง - เลนส์มุมกว้างพิเศษ รับภาพได้โค้งกลม เช่น เลนส์ตาปลา (Fish eye lens) เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้นมาก เช่น 6 มม. หรือ 8 มม.

19

20 เลนส์ถ่ายไกล (Telephoto lens)
เลนส์ถ่ายไกลเป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสยาวกว่าเลนส์มาตราฐาน เช่น เลนส์ที่มีความยาวโฟกัส 135 มม., 500 มม., 1000 มม., 2000 มม เลนส์ถ่ายไกลที่มีความยาวโฟกัสยาวมากจะมีมุมในการรับภาพแคบลง เช่น เลนส์ถ่ายไกล 500 มม. มีมุมในการรับภาพ 5 องศา และเลนส์ถ่ายไกล 1000 มม. มีมุมในการรับภาพเพียง 2.5 องศา เป็นต้น

21 เลนส์ถ่ายไกล (Telephoto lens)

22 เลนส์ซูม (Zoom lens) เลนส์ซูม (Zoom lens) หมายถึงเลนส์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความยาวโฟกัสได้ (Varies focal lens) ภาพที่เกิดขึ้นจะมีขนาดเปลี่ยนแปลง เมื่อเปลี่ยนทางยาวโฟกัส ปัจจุบันเลนส์ซูมแต่ละตัวจะมีความยาวโฟกัสต่างระยะกันประมาณ 2-6 เท่า เช่น เลนส์ซูมขนาด 43 – 86 มม., 70 – 250 มม., 85 – 300 มม., 800 – 1200 มม. เป็นต้น

23 เลนส์ซูม (Zoom lens)

24 เลนส์ถ่ายใกล้หรือเลนส์แมโคร (Macro lens)
เลนส์ถ่ายใกล้หรือเลนส์แมโคร (Macro lens) คำว่า “Macro” เป็นคำที่ใช้สำหรับการถ่ายภาพวัตถุที่อยู่ใกล้เลนส์มาก ๆ (Close – up photography) เป็นเลนส์ที่สามารถถ่ายภาพ โดยให้กล้องเข้าใกล้วัตถุที่ต้องการถ่ายได้เกิน 1 – 1 ½ ฟุต สามารถปรับระยะชัดได้ ช่วยขยายวัตถุที่เล็กให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เลนส์ชนิดนี้บางทีเรียกชื่อว่า เลนส์ไมโคร (Micro lens)

25 เลนส์ถ่ายใกล้หรือเลนส์แมโคร (Macro lens)

26 ความไวเลนส์ (Lens speed)
ความกว้างของขนาดช่องรับแสงของเลนส์ แต่ละตัวเมื่อเปิดกว้างสุด ซึ่งมีผลทำให้สามารถรับแสงขณะถ่ายภาพได้มากน้อย ช้าหรือเร็วต่างกัน ขนาดความกว้างสุดของช่องรับแสงของเลนส์แต่ละตัวจะมีตัวเลขบอกขนาดค่าของ f/value กำกับไว้ที่วงแหวนหน้าเลนส์ เช่น F/1.4, F/2.8, หรือ F/3.5 เป็นต้น

27 ไดอะเฟรม (Diaphragm) เลนส์ของกล้องถ่ายภาพ จะมีที่ควบคุมปริมาณของแสง ให้แสงผ่านเลนส์ไปยังฟิล์มได้มากหรือน้อย ตามความต้องการเรียกว่าไดอะเฟรม ซึ่งมีลักษณะเป็นโลหะสีดำบาง ๆ หลาย ๆ แผ่น เรียงซ้อนกันเป็นกลีบ มีช้องตรงกลาง สามารถปรับให้กว้างหรือแคบได้ เรียกว่าช่องรับแสง (Aperture)

28 ไดอะเฟรม (Diaphragm) การปรับขนาดช่องรับแสงให้หมุนวงแหวนที่ขอบนอกของเลนส์ซึ่งจะมีตัวเลขแสดงค่าความกว้างหรือแคบ ได้แก่ เป็นต้น เรียกตัวเลขเหล่านี้ว่าเลขเอฟ (F-number) หรือเอฟสต็อป (F-stop)

29 ชัตเตอร์ (Shutter) ชัตเตอร์ (shutter)
ชัตเตอร์หรือความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed) เป็นกลไกอัตโนมัติที่ใช้สำหรับเปิดและปิดทางที่แสงจะผ่านเข้าไปทำปฏิกิริยากับฟิล์มตามเวลาที่กำหนด ความเร็วในการเปิดและปิดชัตเตอร์คือเวลา ที่ฉายแสง (Exposure time) นั่นเอง คิดเป็นเศษส่วนของวินาที ดังนี้ 1/1 1/2 1/8 1/15 1/30 1/60 1/ / / / /2000

30 ลักษณะของชัตเตอร์ ลักษณะของชัตเตอร์จะมีอยู่ 2 แบบ
- ชัตเตอร์แผ่น (Leaf shutter) - ชัตเตอร์ระนาบโฟกัส (Focal-plane shutter)

31 ช่องเล็งภาพ (Viewfinder)
ช่องเล็งภาพใช้เป็นที่สำหรับมองวัตถุที่จะถ่ายภาพให้ผู้ถ่ายภาพสามารถเลือกและจัดองค์ประกอบของภาพให้เป็นไปตามความต้องการ ช่องเล็งภาพจะทำหน้าที่ควบคู่ไปกับเลนส์ถ่ายภาพ กล้องถ่ายภาพที่ดีนั้น เมื่อเลนส์รับภาพของวัตถุไปตกลงบนฟิล์มมีขนาดและองค์ประกอบอย่างไร ลักษณะของภาพอย่างนั้นจะต้องปรากฏในช่องเล็งภาพ ให้ผู้ถ่ายภาพสามารถมองเห็นได้เที่ยงตรง หรือใกล้เคียงให้มากที่สุด

32 ช่องเล็งภาพ (Viewfinder)
ปัจจุบันจะมี 4 แบบ ช่องเล็งภาพแบบเล็งระดับตา (Eye level Viewfinder) ช่องเล็งภาพแบบปรับระยะชัดได้ (Eye level Rangefinder) ช่องเล็งภาพแบบจอปรับชัด (Focusing Screen) ช่องเล็งภาพแบบปริซึมห้าเหลี่ยม (The Pentaprism)

33 วงแหวนปรับชัด (Focusing ring)
การปรับระยะชัดระบบให้ภาพซ้อนกัน วงแหวนปรับชัด (Focusing ring) เลนส์ถ่ายภาพจะมีอุปกรณ์ส่วนที่ใช้ เพื่อการปรับระยะชัดของภาพถ่าย คือวงแหวนปรับชัด โดยปกติที่เลนส์ จะมีตัวเลขบอกระยะทางความชัด ของภาพเป็นฟุต (ft)และเป็นเมตร (m) จนถึงระยะไกลที่สุด (Infinity) ใช้สัญลักษณ์  การปรับระยะชัดระบบภาพแยก

34 ข้อมูลจาก


ดาวน์โหลด ppt การถ่ายภาพ อ.จุฑามาศ ถาวร.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google