ENE3419 การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษสำหรับครูภาษาอังกฤษ 3(1-4-3) หลักการ เทคนิคการอ่านเพื่อสรุปสาระสำคัญ รูปแบบ โครงสร้างอนุเฉท สุนทรียศาสตร์ หลักการและเทคนิคการเขียนเพื่อจุดประสงค์ต่ หลักการเบื้องต้นในการนำเสนองานทางวิชาการ ภาคการศึกษา 2/2558
เกณฑ์การให้คะแนน การนำเสนองานกลุ่ม / คู่ 10% ชิ้นงาน (เขียน / อ่าน) 20% แบบฝึกหัด 20% สอบกลางภาค 20% สอบปลายภาค 20 % งานตามมอบหมาย 5% การเข้าเรียน (ขาด/ลามีจดหมาย) 5%
การอ่านในระดับประโยค มกราคม กุมภาพันธ์ หัวข้อ (การอ่าน) การอ่าน การอ่านกับกระบวนการถอดรหัส กระบวนการอ่าน ประเภทการอ่าน การอ่านในระดับประโยค ประโยคและองค์ประกอบ ประเภทและโครงสร้างพื้นฐานของประโยค สอบกลางภาค การอ่านประโยคที่มีส่วนขยาย
การอ่านในระดับย่อหน้า การอ่านบทความขนาดสั้น มกราคม กุมภาพันธ์ หัวข้อ (การอ่าน) การอ่านในระดับย่อหน้า โครงสร้างของย่อหน้า: ความหมาย ประเภท รูปแบบการเรียบเรียงความคิด คำชี้แนะ (cues) จับใจความหลัก - การอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ - การอนุมานความ - ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง และจินตนาการ การอ่านบทความขนาดสั้น - ความหมาย ประเภทของบทความ องค์ประกอบ วิธีการนำเสนอ - หลักการอ่านเพื่อจับสาระสำคัญ - การวิเคราะห์ชื่อเรื่อง - การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชื่อเรื่องและสาระสำคัญ
มีนาคม เมษายน หัวข้อ (การเขียน) การเขียน การเขียนกับกระบวนการเข้ารหัส กระบวนการเขียน ประเภทงานเขียน การเขียนประโยค ประโยคและส่วนประกอบ ประเภทของประโยคพื้นฐาน โครงสร้างประโยคพื้นฐาน: หัว คอ ลำตัว การขยายความภาคประธาน: หัว การขยายความภาคแสดง: คำและลำตัว
การเขียนบทความวิชาการขนาดสั้น มีนาคม เมษายน หัวข้อ (การเขียน) การเขียนย่อหน้า โครงสร้างของย่อหน้า: รูปแบบ ความยาว องค์ประกอบ ความเป็นเอกภาพของย่อหน้า - Cohesion และ Coherence - รายการคำเชื่อมเอกภาพ (cohesion markers) และหลักการใช้ การเขียนบทความวิชาการขนาดสั้น ความหมาย องค์ประกอบ จุดประสงค์ การเขียนแบบต่าง ๆ - การเขียนแบบบรรยาย และอธิบายยกตัวอย่าง - การเขียนแบบแสดงเหตุและผล ปัญหาและการแก้ไข หลักการอ้างอิง ( references) และการการคัดลอกผลงาน (plagiarism)
ปัญหาการอ่านของผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ.. มี บทที่ 1 การอ่าน ปัญหาการอ่านของผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ.. มี แปลศัพท์ (ทุกตัวและทุกประโยค) เป็นภาษาไทย... แต่ก็ยังไม่แน่ใจ ประโยคยาวมากไม่รู้จะเริ่มแปลตรงไหนก่อน สับสน ไม่แน่ใจ ไม่สามารถสรุปสาระจากเรื่องที่อ่านให้ออกมาเป็นคำพูดหรือตัวอักษรตามความเข้าใจของตนได้ ฯลฯ ....
การอ่านกับกระบวนการถอดรหัส - การอ่าน เป็นการสื่อความหมายระหว่างผู้เขียน กับ ผู้อ่าน ที่ผู้อ่านมีการปฎิบัติการทางสมอง ตาจะรับเครื่องหมายต่าง ๆที่ปรากฎอยู่บนหน้ากระดาษก่อน ต่อจากนั้นก็จะส่งต่อไปยังสมองเพื่อเรียบเรียงหรือจัดระเบียบเครื่องหมายเหล่านั้นเสียใหม่ จนเกิดเป็นหน่วยความคิดที่เป็นความเข้าใจของผู้อ่านเอง
หลักการทางวิทยาศาสตร์: แสงตกกระทบที่สื่อ แล้วสะท้อนจากตัวอักษรผ่านทางเลนส์นัยน์ตา-ประสาทตา-สู่เซลล์สมอง-ความคิด-เกิดความรับรู้ในความหมาย เปรียบว่าเป็นการถอดรหัส “คำพูดที่ได้ถูกบันทึกไว้” พูด: เราใช้คำศัพท์สื่อความความคิด ในเวลาเดียวกันเราเรียบเรียงคำพูดตามจุดมุ่งหมาย ผู้ฟังใช้หูเป็นสื่อนำเครื่องหมายนั้นไปสู่สมอง อ่าน: ผู้เขียนเขียนเครื่องหมาย (ตัวอักษร) ลงบนหน้ากระดาษ (encode) เพื่อสื่อความ ผู้อ่านใช้ตาเป็นสื่อนำเครื่องหมายสู่สมอง ผู้อ่านเรียนรู้การใช้สัญลักษณ์และเรียบเรียง(คำพูด) ในรูปของตัวอักษร ตัวอักษรแต่ละตัว = รหัสที่ได้ถูกจัดเรียงไว้ตามระบบภาษานั้น ๆ
ในระดับขั้นเริ่มต้น: เรียนรู้การเรียบเรียงและถอดรหัสเหล่านั้น (decode) และเมื่อรู้จักและเข้าใจรหัสมากขึ้น ถอดรหัสทำได้เร็วขึ้น ต่อไปจะไปสนใจประเด็นความคิด เกิดปฎิกิริยาโต้ตอบจากการอ่าน เกิดเป็นความคิดควบคู่กัน การอ่านเป็นการสื่อความคิด รู้จักแค่คำแต่ละคำในบทอ่านเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่จะต้องเข้าใจและสามารถถ่ายโอนมาเป็นความเข้าใจของแต่บุคคลด้วย
ความหมาย “การอ่าน” คือ การไขรหัสโดยอาศัยกฎเกณฑ์ทางด้านเสียง ศัพท์ ไวยากรณ์ เน้นกระบวนการอ่านในระดับพื้นฐานไปสู่กระบวนการอ่านในระดับสูง นักเรียนจะได้รับการฝึกทักษะอ่านสะกดคำ (พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างเสียงและตัวอักษร) จดจำความหมายของคำ ทักษะการอ่านถูกนำมาแบ่งแยกเรียงจากง่ายไปหายาก ผู้อ่านฝึกทักษะเรียงไปตามลำดับ คือ กระบวนการที่ผู้อ่านใช้ประสบการณ์เดิมชองผู้อ่าน (ความรู้เดิมด้านวัฒนธรรม สังคม) และตัวชี้แนะจากผู้เขียน (ภาพ ตัวอักษร วลี ประโยค คำสัมพันธ์ข้อความ โครงสร้างย่อหน้า หัวข้อเรื่อง)
การอ่าน... คืออะไร? Mary heard the ice cream man coming down the street. She remembered her birthday money and rushed into the house … …. and locked the door.
ประโยคใดผิด...ช่วยแก้ให้ด้วยคะ All animals are sleep. As the animals go back to sleep. Do you want to do you homework? (sleeping) (All) (your)
การอ่าน... คืออะไร? Text Transaction Reader Broader sociolinguistic contexts Immediate situational contexts Text Transaction Reader
พูดได้อย่างว่า การอ่านเปรียบเหมือนการพูดคุยกันระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน ผู้อ่านจะคัดเลือก ตีความ และหาความสัมพันธ์ของข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจ มากกว่าต้องเข้าใจทุกคำ หรือทุกตัวอักษร ภาษา ความคิด
กระบวนการอ่านเป็นกระบวนการปฎิสัมพันธ์ของทักษะการอ่านในระดับพื้นฐานและระดับสูง Bottom-up Model of Reading ทักษะระดับพื้นฐาน - ความรู้ในการสะกดคำ ความสัมพันธ์ระหว่างเสียงและตัวอักษร คำศัพท์และความหมายของคำศัพท์ กฏเกณฑ์ทางไวยากรณ์ในระดับประโยค/ข้อความต่อเนื่อง หรือพูดอีกอย่างว่า เป็นการอ่านที่เน้นทักษะจุลภาค (subskill) ผู้อ่านไขรหัสโดยอาศัยกฎเกณฑ์ทางเสียง ศัพท์ และไวยากรณ์
Top-Down Model of Reading ทักษะการอ่านระดับสูง - ใช้บริบทของสถานการณ์ ความรู้เดิมมาใช้ในการหาความหมาย เดาหรือคาดคะเนเรื่องที่อ่าน ตั้งสมมติฐานเรื่องที่อ่านว่าสิ่งที่คาดคะเนไว้ถูกต้องหรือไม่โดยการหาคำชี้แนะ (cues) ทางไวยากรณ์มาประกอบการตีความหมายของประโยค หรือพูดอีกอย่างว่า การอ่านเปรียบเหมือนการพูดคุยกันระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน ผู้อ่านจะคัดเลือก ตีความ และหาความสัมพันธ์ของข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจ มากกว่าต้องเข้าใจทุกคำ หรือทุกตัวอักษร
Top-Down Model of Reading ให้นักศึกษาคาดคะเนเรื่องที่จะอ่านต่อไปนี้ล่วงหน้า จากหัวข้อเรื่อง ฯลฯ เนื้อเรื่องเกี่ยวกับอะไร Mr. Smith’s House
กระบวนการอ่านโดย ใช้ทักษะการอ่านระดับสูง ตรวจสอบความหมายจากตัวชี้แนะ (cues) ใช้ความรู้หลาย ๆ ด้านเพื่อสร้างความหมาย – ไวยากรณ์ ความหมาย สัญญลักษณ์ หน่วยเสียง ความรู้เดิม สมมติฐานได้รับการยืนยันว่าถูกต้อง สมมติฐานไม่ได้รับการยืนยันว่าถูกต้อง สุ่มอ่านเนื้อเรื่อง (sampling) เพื่อตั้งสมมติฐาน (predicting)
กระบวนการอ่านเป็นการปฎิสัมพันธ์ของทักษะอ่านในระดับพื้นฐานและระดับสูง Mary heard the ice cream man coming down the street. She remembered her birthday money and rushed into the house … …. and locked the door.
Visual Information Store เก็บตัวอักษร / คำศัพท์ Feature knowledge ความรู้เกี่ยวกับภาพที่เห็น Letter-cluster knowledge ความรู้ในการลำดับตัวอักษรเพื่อรวมเป็นคำ Lexical knowledge ความรู้ที่ใช้อ่านตัวอักษร ผสมตัวอักษรออกมาเป็นคำ ใช้พิจารณาว่าคำนั้น ๆ ใกล้เคียงกับศัพท์ใด Orthographic knowledge ความรู้ในระดับตัวอักษร จับคู่ภาพกับเข้ากับความรู้เกี่ยวกับตัวอักษร Syntactical knowledge ความรู้โครงสร้างภาษา Semantic knowledge ความรู้ในความหมาย ใช้ประกอบการตัดสินใจ กับแหล่งความรู้อื่น ๆ Visual Information Store เก็บตัวอักษร / คำศัพท์ Pattern Synthesizer สังเคราะห์โครงสร้างต่าง ๆ โดยใช้แหล่งความรู้ต่าง ๆ
การอ่านเป็นกระบวนการแบบปฎิสัมพันธ์ (Interactive Model of Reading) ผู้อ่านไม่ได้ใช้ทักษะเดียว นั่นคือ ไม่ได้ใช้เพียงความรู้ในระบบภาษา เสียง คำ และไวยากรณ์ แต่ใช้การประมวลความสัมพันธ์ของข้อมูลต่าง ๆ คัดเลือก ตีความ เพื่อหาข้อสรุปเป็นความเข้าใจของตนเอง ภาษา ความคิด ผู้อ่านจะใช้ทักษะในทุกระดับ – ระดับภาพ ตัวอักษร วลี ประโยค คำสัมพันธ์ความ โครงสร้างย่อหน้า หัวข้อเรื่อง การอนุมานความ และความรู้ทั่วไปเพื่อการประมวลความจากเรื่องที่อ่าน
จอนห์อาจเป็นพนักงานขายรถยนตร์ (หรือเจ้าของร้าน) ที่กำลังพยายามขายรถ ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงธุรกิจตกต่ำจากวิกฤติการณ์น้ำมัน กระบวนการอ่านใช้แหล่งความรู้ระดับคำศัพท์ (Lexical-Level Knowledge) หาความหมายคำศัพท์ (เช่น “slow”, “oil crisis”, “showroom”) กระบวนการอ่านระดับสูงใช้แหล่งความรู้เดิมของผู้อ่าน (ในที่นี้ คือ สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ) ทำความเข้าใจว่ารถยนตร์ไม่ใช่สินค้าจำเป็น อาจขายได้จำนวนน้อย (จอนห์)ผู้ขายจึงต้องใช้ความพยายามขายให้ได้ John เป็นใคร?
ผู้อ่านที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ อาจจากขาดความรู้ความชำนาญด้านไวยากรณ์ คำศัพท์ โครงสร้างภาษาที่มากพอ ประสบการณ์ส่วนตัวด้านวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ไม่มีความคิดรวบยอดตามสังคมของชนชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่
ประสบการณ์เดิม โครงสร้างความรู้เดิม (schema) - ประสบการณ์เดิมของผู้อ่านในเรื่องนั้น ๆ เป็นความคิดรวบยอดทั่วไปที่เก็บไว้ในความทรงจำเกี่ยวกับด้านต่าง ๆ วัตถุ สถานการณ์ เหตุการณ์ ลำดับของเหตุการณ์ การกระทำ ลำดับของการกระทำ มีอิทธิพลต่อการรับรู้ข้อมูลใหม่ โครงสร้างความรู้เดิมไม่คงที่ เปลียนแปลงผสมกลมกลืนกับข้อมูลใหม่ได้ โครงสร้างความรู้เดิม เป็นเครือข่ายที่เรียงจากสูงมาต่ำเป็นระดับขั้น โครงสร้างคในระดับสูงประกอบด้วยโครงสร้างความรู้เดิมในระดับต่ำไล่เรียงลงมา แต่ละหน่วยของงของความรู้ในโครงสร้างความรู้เดิม เรียกว่า schemata ทุกกคนมีโครงสร้างความรู้เดิมที่แตกต่างกันไปตามพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม เชื่อชาติ การศึกษา
ภัตตาคารชั้นหนึ่ง ภัตตาคารชั้นหนึ่ง มีอาหารให้เลือกหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นอาหารยุโรป สั่งอาหารกับบริกร จ่ายเงินหลังรับประทานอาหารเสร็จ รับประทานช้า ๆ ใช้ผ้าเช็ดปาก ภาชนะกระเบื้อง ช้อน ซ่อมเงิน
ให้ นักศึกษา เลือกตีความข้อความต่อไปนี้ นักศึกษาจะเลือกข้อใด เป็นข้อความเกี่ยวกับนักโทษที่วางแผนจะแหกคุก เป็นข้อความเกี่ยวกับนักมวยปล้ำที่กำหลังจะดึงตัวออกจากคู่ต่อสู้ ถ้า ข้อ 1 และ 2 ไม่ตรงกับความคิดของคุณ ให้เขียนเติมได้ในข้อ 3 เป็นข้อความเกี่ยวกับ .............................................................
Rocky slowly got up from the mat, planning his escape Rocky slowly got up from the mat, planning his escape. He established a moment and thought. Things were not going well. What bothered him most was being held, especially since the charges against him had been weak. He considered his present situation. The lock that held him was strong but he thought he could break it. He knew, however, that his timing would have to be perfect. Rocky was aware that it was because of his early roughness that he had been penalized so severely –much too severely from his point of view. The situation was becoming frustrating: the pressure had been grinding on him for too long. He was being ridden unmercifully. Rocky was getting angry now. He felt he was ready to make his move. He knew that his success or failure would depend on what he did in the next few seconds.
โครงสร้างความรู้เดิมที่ผุ้อ่านใช้ในการทำความเข้าใจเรื่องที่อ่าน มี 2 ชนิด โครงสร้างความรู้เดิมด้านเนื้อหา (content schema) โครงสร้างความรู้เดิมเกี่ยวกับเนื้อหาของเรื่องที่อ่าน ถ้าผู้อ่านคุ้นเคยกับเนื้อหาที่อ่านมาก่อนย่อมเข้าใจเนื้อเรื่องได้ดี โครงสร้างความรู้เดิมด้านเนื้อหามีผลต่อการตีความเรื่องที่อ่าน
โครงสร้างความรู้เดิมที่ผุ้อ่านใช้ในการทำความเข้าใจเรื่องที่อ่าน มี 2 ชนิด โครงสร้างความรู้เดิมด้านรูปแบบ (Formal schema) โครงสร้างเรื่องแบบบรรยาย (Collection of Description) โครงสร้างเรื่องแบบเป็นเหตุเป็นผล (Causation) โครงสร้างเรื่องแบบปัญหาและการแก้ไข (Problem / Solving) โครงสร้างเรื่องแบบเปรียบเทียบ (Comparison)
สรุป ในระหว่างการอ่านมีกระบวนการต่าง ๆ เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน อย่างน้อย 5 กระบวนการ มี กระบวนการอ่านในระดับจุลภาค (Microprocess) ผู้อ่านกวาดสายตาแล้วจับกลุ่มคำให้เป็นวลีที่มีความหมาย (chunking) คัดเลือกหน่วยความคิดใด ในการจัดกลุ่มคำจำเป็นต้องอาศัยความรู้เดิมในเรื่องโครงสร้างภาษา เช่น นามวลี (noun phrase) ประกอบด้วย คำบ่งชี้ (determiner) คำคุณศัพท์ และคำนาม กระบวนการอ่านแบบบูรณาการ (Integrative process) ผู้อ่านทำความเข้าใจและอนุมานหาความหมาย โดยการหาความสัมพันธ์ระหว่างอนุประโยค หรือประโยคต่าง ๆ ในเรื่องที่อ่าน เช่น คำสรรพนามนั้น ๆ แทนคำใดที่มาก่อนหน้า คำเชื่อมประโยคต่าง ๆ คำใดเชื่อมข้อความที่แสดงเหต คำใดเชื่อมข้อความที่แสดงผล
กระบวนการอ่านในระดับมหภาค (Macroprocesses) ผู้อ่านจัดเรียงหน่วยความคิดจากบทที่อ่าน ว่าหน่วยความคิดใดเป็นใจความสำคัญ หน่วยความคิดใดเป็นรายละเอียด สรุปใจความสำคัญ โดยการวิเคราะห์โครงสร้างย่อหน้า ว่าเป็นย่อหน้าแสดงการเปรียบเทียบ แสดงเหตุ/ผล แสดงการจำแนกประเภท
กระบวนการอ่านขยายความ (Elaborative process) เป็นกระบวนการใช้ความคิดในการอนุมานความ ขยายความ หรือตีความนอกเหนือไปจากความตั้งใจของผุ้เขียน (หลังจากที่ผู้อ่านจับกลุ่มคำให้เป็นวลีที่มีความหมาย หาความสัมพันธ์ระหว่างอนุประโยค หรือประโยคต่าง ๆ แล้ว) เป็นกระบวนการอ่านระดับสูง การทำนายความ (prediction) การสร้างมโนภาพ (mental image) การสนองตอบอารมณ์ (affective response) การสนองตอบโดยใช้ความคิดระดับสูง กระบวนการอภิปัญญา (Metacognitive process) ผู้อ่านมีความรู้เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจตนเอง และสามารถควบคุมกระบวนการสร้างความรู้ ทำความเข้าใขของตนเองได้ เช่น รู้ว่าควรใช้กลวิธีใดช่วยการอ่านของตน
กระบวนการอ่านในระดับจุลภาค (Microprocess) จับกลุ่มคำให้เป็นวลีที่มีความหมาย (chunking) จำเป็นต้องอาศัยความรู้เดิมในเรื่องโครงสร้างภาษา
ผู้อ่านได้ความจากการประมวลข้อมูลจากทักษะการอ่านระดับสูง แต่ผู้อ่านปรับการตีความใหม่ทันทีเมื่อข้อมูลใหม่ที่ได้จากการประมวลข้อมูลจากทักษะขั้นพื้นฐานขัดแย้งกัน กระบวนการใช้ความคิดในการอนุมานความ ขยายความ หรือตีความ
งานวิจัยพบว่า ความรู้ด้านรูปแบบ (ทักษะการอ่านขั้นพื้นฐาน) มีอิทธิพลต่อการอ่าน ความรู้นี้ช่วยให้ผู้อ่านสามารถเล่าเรื่องที่อ่านได้อย่างดี (Mandler and Johnson, 1977) งานวิจัยพบเพิ่มกว่า ผู้อ่านสามารถเล่าเรื่องที่อ่านไปแล้วในปริมาณมากถ้าเรื่องนั้นมีโครงสร้างตรงกับความรู้เดิมด้านด้านรูปแบบของผู้อ่าน เมยอร์ (Meyer, 1975) ความรู้เดิมด้านด้านรูปแบบออกเป็นแบบต่าง ๆ
หัวข้อ 25the high school reunion โครงสร้างเรื่องแบบบรรยาย (Collection of Description) Our 25the high school reunion was held last year. We saw many old friends, danced until dawn, and agreed to meet again in five years. หัวข้อ 25the high school reunion saw old friends danced until dawn agreed to meet again
Example of Descriptive Text: The City of Rome
Cause-Effect Paragraph Headaches Headaches can have several causes. Many people think that the major cause of headache is nervous tension, but there is strong evidence that suggests diet and environment as possible factors. Some people get headaches because they are dependent on caffeine. Other people may be allergic to salt, or they may have low blood sugar. Still other people are allergic to household chemicals including polishes, waxes, bug killers, and paint. If they can manage to avoid these substances, their headaches tend to go away. When a person has recurring headaches, it is worthwhile to look for the underlying cause, especially if the result of that search is freedom from pain.
Sample Paragraph with clear support sentences Headaches Headaches can have several causes. One obvious cause is stress. People have hectic lives and frequently have multiple stressors everyday, like work, family and money. Another reason for headaches in some people has to do with diet. Some get headaches because they are dependent on caffeine. Other people may be allergic to salt, or they may have low blood sugar. The environment can also cause this uncomfortable condition. Allergens such as household chemicals including polishes, waxes, bug killers, and paint can lead to headaches. Lowering stress, controlling your diet and avoiding allergens can help avoid headaches.
Example of Case-Effect Text: Courage At A Cost Many people believe that the act of courage lies within each individual, and these acts of courage can be brought out by three possible causes. The first cause, and the most obvious, is provocation. Often times this is seen in movies where the villain kidnaps and threatens to kill the hero's family. More often that not, the hero finds it within himself to put aside his fears and overcome near impossible odds to save the day. The majority of the time it is direct threats such as this one that provoke human nature to acts of courage. The second cause is a purpose. In 2001, the Twin Towers fell to terrorist attacks. Military enlistments reached all time highs as many men and women joined the armed forces. For many of these people, the prospect of serving their country, and gaining revenge for the cowardice acts of the terrorists were the only reasons necessary for their courage. The third cause is a belief in a higher power. The presence of God gives many people the courage to do things they would not be able to do otherwise. His words play clearly in their minds," Be strong and of good courage", because: "the lord thy god is with thee whithersoever thou goest"(bible reference). According to God and his followers, his presence is enough cause for courage. For these people, their courage knows no boundaries. Whatever your inspiration for courage may be, you can just about bet it was brought on by one of these three underlying circumstances.
ปัญหา Pollution is a problem แก้ปัญหา Bar dumping of industrial waste โครงสร้างเรื่องแบบแก้ปัญหาและการแก้ไข (Problem/Solution) โครงสร้างเรื่องแบบนี้เป็นลักษณะของเหตุและผล ผสมกับการแก้ไขปัญหา Pollution is a problem: polluted rivers are health hazards and eyesore. One solution is to bar the damping of industrial waste. หัวข้อ Pollution ปัญหา Pollution is a problem แก้ปัญหา Bar dumping of industrial waste
ความคิดเห็นแบบหนึ่ง Smoking harmful, related to lung and heart disease โครงสร้างเรื่องแบบเปรียบเทียบ (Comparison) บทอ่านจะมีเนื้อหาแบบเปรียบเทียบสิ่งที่เหมือนกัน หรือต่างกัน หัวข้อ Smoking ความคิดเห็นแบบหนึ่ง Smoking harmful, related to lung and heart disease ความคิดเห็นตรงกันข้าม Smoking may relieve tension
Comparison Text
จับกลุ่ม ๆ ละไม่เกิน xxx คน ชิ้นงาน จับกลุ่ม ๆ ละไม่เกิน xxx คน เลือก 1 หัวข้อ: Descriptive text, Narrative text, Persuasive Text, Argumentative text, Comparison Text, Cause-Effect Text, Informative text ค้นคว้าห้องสมุด - ศึกษาลักษณะของประเภทงานเขียนที่กำหนด จาก 3 นักการศึกษา - ตัวอย่างงานเขียนที่เป็นย่อหน้า และเป็นบทความ (เช่น 5-paragraph writing) อย่างละ 2 ชิ้น - ทำ PPT นำเสนอหน้าห้องพร้อม hand-out ให้อาจารย์ 1 ฉบับ - มี references แสดงใน PPT ด้วย นำเสนอวันที่ xxxxxxxx
ประเภทการอ่าน การอ่านเป็นกิจวัตรประจำวันที่จำเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตในปัจจุบันนี้ แม้ว่าขณะปัจจุบันนี้จะมีสื่อใหม่ ๆ ที่ทำให้ผู้อ่านได้รับข่าวสารได้โดยไม่ต้องต้องอ่านก็ตาม เช่น Youtube, Facebook, online radio, MP3 มนุษย์ก็ยังต้องพึ่งพาการอ่านอยู่ดี ความรู้ในเรื่องวิธีอ่านแบบต่าง ๆ มีส่วนช่วยให้ผู้อ่านบรรลุจุดมุ่งหมายในการอ่านได้มากยิ่งขึ้น เพราะทำให้สามารถเลือกวิธีอ่านได้อย่างเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายที่วางไว้
วิธีอ่านโดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 4 แบบ คือ 1. การอ่านแบบสกิมมิ่ง (Skimming Reading) เป็นเทคนิคการอ่านเร็วที่ผู้อ่านกวาดสายตาไปยังข้อความโดยมีจุดประสงค์เพื่อทราบใจความทั่วไปและภาพรวมของสาระนั้น ๆ ผู้อ่านสามารถอ่านได้หลายหน้าในเวลาที่จำกัด การอ่านแค่เปิดผ่าน (หรือแบบ looking over) ไม่ใช่ทางการอ่านแบบสกิมมิ่ง
การอ่านแบบนี้สามารถใช้ a) ก่อนการเริ่มอ่าน (Pre-reading) ช่วยให้เห็นภาพรวมกว้า ๆ ของเรื่องราว b) ทบทวนเนื้อเรื่องที่อ่านไปแล้ว (Reviewing) c) ระหว่างอ่าน (Reading) ชิ้นงานเขียนที่ไม่ต้องการทราบรายละเอียด ขั้นตอนการสกิมมิ่ง ประกอบด้วย - อ่านหัวเรื่อง เพราะหัวเรื่องเป็นคำสำคัญที่สรุปความของเนื้อเรื่อง - อ่านบทนำหรือย่อหน้าเกริ่นนำเข้าสู่เนื้อเรื่อง - อ่านย่อหน้าแรกทั้งหมด - อ่านหัวเรื่องย่อยทั้งหมดเพื่อประมวลภาพรวมของเนื้อเรื่อง - อ่านประโยคแรกของแต่ละย่อหน้า เพราะประโยคแรกมักจะเป็นประโยคใจความหลักของประเด็นย่อยในย่อหน้า แต่หากประโยคแรกเป็นประโยคคำถาม ประโยคสุดท้ายของย่อหน้ามักจะเป็นประโยคใจความหลักของย่อหน้านั้น
- กวาดสายตาหาคำชี้แนะ (cues) ทางภาษา - ที่ตอบคำถาม who, what, when, why, how - ที่เป็นชื่อเฉพาะ (proper nouns) - คำที่ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ต่าง ๆ - หัวข้อที่จำแนกออกเป็นรายการ (enumerations) ตัวอย่างเช่น ผุ้อ่านมี จุดมุ่งหมายที่ต้องการทราบกระบวนการ หรือขั้นตอนในการสมัครงาน ผู้อ่านก็ ควรเลือกอ่านเฉพาะคำที่แสดงขั้นตอน เช่น 1, 2, 3, 4… - คำคุณศัพท์แสดงสภาพ (เช่น best, most, worst, etc.) - ตัวชี้นำทางการพิมพ์ (typographical cues) เช่น ตัวพิมพ์หนา, ตัวเอียง, คำที่ขีดเส้นใต้, เครื่องหมายต่าง ๆ (เช่น asterisks) - อ่านย่อหน้าสุดท้าย
แบบฝึก การอ่าน Skimming People are talkative animals. We do lots of talk – asking, answering, telling, saying. But we do much of our talking without words. We often use a kind of “body language” to show that we think or feel. This body language is the language of gesture. We point a finger, raise an eyebrow, wave an arm – or move another of the body -- to show what we want to say. In other words, we “talk” with these gestures. And we make hundreds these gestures in a day. Tell three things to show that you can talk without words by using the body language
Exercise 1: Read the first sentence of each paragraph in the following text. Notice how reading these sentences gives you a good idea about the meaning of the text: six qualities of a teacher. If you need more details, read the text again.
"ไทยรัฐออนไลน์" รวมภาพครูสวยหล่อจากโซเชียลเน็ตเวิร์ก มาให้บรรดาเด็กนักเรียนได้กระชุ่มกระชวยใจ จนไม่อยากโดดเรียนเลยสักครั้ง มีทั้งจากแฟนเพจ สมาคมครูหน้าตาดี แห่งประเทศไทย และจากแฮชแท็กจากทวิตเตอร์ #ครูหล่อบอกด้วย http://www.thairath.co.th/content/474564
THE PERSONAL QUALITIES OF A TEACHER Here I want to try to give you an answer to the question: What personal qualities are desirable in a teacher? Probably no two people would draw up exactly similar lists, but I think the following would be generally accepted. First, the teacher's personality should be pleasantly live and attractive. This does not rule out people who are physically plain, or even ugly, because many such have great personal charm. But it does rule out such types as the over-excitable, melancholy, frigid, sarcastic, cynical, frustrated, and over-bearing : I would say too, that it excludes all of dull or purely negative personality. I still stick to what I said in my earlier book: that school children probably 'suffer more from bores than from brutes'.
Secondly, it is not merely desirable but essential for a teacher to have a genuine capacity for sympathy - in the literal meaning of that word; a capacity to tune in to the minds and feelings of other people, especially, since most teachers are school teachers, to the minds and feelings of children. Closely related with this is the capacity to be tolerant - not, indeed, of what is wrong, but of the frailty and immaturity of human nature which induce people, and again especially children, to make mistakes.
Thirdly, I hold it essential for a teacher to be both intellectually and morally honest. This does not mean being a plaster saint. It means that he will be aware of his intellectual strengths, and limitations, and will have thought about and decided upon the moral principles by which his life shall be guided. There is no contradiction in my going on to say that a teacher should be a bit of an actor. That is part of the technique of teaching, which demands that every now and then a teacher should be able to put on an act - to enliven a lesson, correct a fault, or award praise. Children, especially young children, live in a world that is rather larger than life.
A teacher must remain mentally alert A teacher must remain mentally alert. He will not get into the profession if of low intelligence, but it is all too easy, even for people of above-average intelligence, to stagnate intellectually - and that means to deteriorate intellectually. A teacher must be quick to adapt himself to any situation, however improbable and able to improvise, if necessary at less than a moment's notice. (Here I should stress that I use 'he' and 'his' throughout the book simply as a matter of convention and convenience.) On the other hand, a teacher must be capable of infinite patience. This, I may say, is largely a matter of self-discipline and self-training; we are none of us born like that. He must be pretty resilient; teaching makes great demands on nervous energy. And he should be able to take in his stride the innumerable petty irritations any adult dealing with children has to endure.
Finally, I think a teacher should have the kind of mind which always wants to go on learning. Teaching is a job at which one will never be perfect; there is always something more to learn about it. There are three principal objects of study: the subject, or subjects, which the teacher is teaching; the methods by which they can best be taught to the particular pupils in the classes he is teaching; and - by far the most important - the children, young people, or adults to whom they are to be taught. The two cardinal principles of British education today are that education is education of the whole person, and that it is best acquired through full and active co-operation between two persons, the teacher and the learner.
2. การอ่านแบบสแกนนิ่ง (Scanning Reading) - อ่านเร็วที่ผู้อ่านมีจุดมุ่งหมายในใจ ที่เฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น การหาเบอร์โทรศัพท์ การหาความหมายคำศัพท์ในพจนานุกรม การอ่านสารบัญของนิตยสาร - ไม่จำเป็นที่ต้องอ่านข้อความโดยตลอด ไม่จำเป็นต้องเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดกวาดสายตาหาข้อความ หรือคำที่ระบุข้อมูลที่ต้องการ - (หากพบข้อมูลที่ต้องการแล้ว) อาจสกิมนิ่งบทอ่านนั้นต่อไปเพื่อเห็นภาพรวมที่กว้างขึ้น
3. การอ่านแบบวิเคราะห์ความโดยละเอียด (Throughout Reading) - พิจารณารายละเอียด สังเกตคำชี้แนะ (cues) มาประกอบการตีความหมายของประโยค (เช่น ภาพ คำสัมพันธ์ข้อความ -- conjunctive adverbs ที่แสดง additions, contrast, alternatives ประเภทต่าง ๆ -- โครงสร้างย่อหน้า หัวข้อเรื่อง เป็นต้น) - มีการทำบันทึกข้อมูลเอาไว้ด้วย เพื่อประโยชน์ในการทบทวนความจำ และนำมาวิเคราะห์ในภายหลัง เช่น การอ่านงานวิจัย ตำรา เอกสารวิชาการ
3. การอ่านแบบตีความหรืออ่านเชิงวิจารณ์ - ใช้ทักษะการอ่านระดับสูง เพื่อพยายามเข้าใจความมุ่งหมายหรือเจตนาของผู้เขียนตามวิธีของตนเอง - อาศัยความรู้เดิมความสนใจ ระดับสติปัญญา วัย ประสบการณ์เดิมหรือความรู้ด้านด้านวัฒนธรรม สังคม มาใช้ประกอบในการพิจารณาหาข้อดี-เสีย ความถูก-ผิด หรือนำมาใช้สนับสนุน และโต้แย้งงานเขียนอ่านได้ ลักษณะการอ่านสำคัญที่แสดงว่าผู้อ่านสามารถอ่านเชิงวิจารณ์ได้
Read the passage, and identify each sentence as fact (F), opinion (O), or fact and opinion (F/O). 1Alexander III, more commonly known as Alexander the Great, was one of the greatest military leaders in world history. 2He was born in Pella, Macedonia. 3The exact date of his birth was probably July 20 or 26, 356 B.C. 4Shortly before his 33rd birthday, Alexander the Great died. 5The cause of his death remains unknown. 1. ____ 2. ____ 3. ____ 4. ____ 5. ____
การอ่านในระดับประโยค เป็นการทำความเข้าใจสาระในระดับข้อความ ผู้อ่านจัดกลุ่มคำที่มีความหมายเข้าด้วยกันตามหลักไวยากรณ์แล้วเลือกจำความคิดสำคัญ ๆ จากประโยค ใช้ความรู้กฎเกณฑ์ไวยากรณ์มารวมกลุ่มตัวอักษร กลุ่มคำ หรือวลี เกิดเป็นหน่วยที่มีความหมายทางไวยากรณ์ (chunking) ทำให้ผู้อ่านสามารถแบ่งแยกประโยคที่เขียนอย่างสลับซับซ้อนออกมาเป็นส่วนย่อย ๆ ช่วยให้เข้าใจข้อความ และความเชื่อมโยงระหว่างข้อความที่อ่าน
แต่ไม่เสมอไป เช่นในประโยคต่อไปนี้ (คำที่ขีดเส้นใต้เป็นประธาน) “On Saturdays I never get up before 9 o'clock.” “Sitting in a tree at the bottom of the garden was a huge black bird with long blue tail feathers.” “Before giving a test the teacher should make sure that the students are well-prepared.” “Lying on the sofa watching old films is my favorite hobby.”
แต่ไม่เสมอไป เช่นในประโยคต่อไปนี้ (คำที่ขีดเส้นใต้เป็นประธาน) “On Saturdays I never get up before 9 o'clock.” “Sitting in a tree at the bottom of the garden was a huge black bird with long blue tail feathers.” “Before giving a test the teacher should make sure that the students are well-prepared.” “Lying on the sofa watching old films is my favorite hobby.”
A subject can be… noun / noun phrase / pronoun Maria is at especial risk, traveling to the country collecting stories of Muslims killed. She is our reliable news reporter. Prime Minister Junishiro Koizumi told the parliament that corporate profits were improving and capital expenditure was growing. The story on the new interest in early Christian Gospels noted the discovery of Scriptures that were unearthed in1945.
สรุป ความหมายของประโยคภาษาอังกฤษมาจากสองแหล่งหลัก - โครงสร้างประโยค - ความหมายจากคำแต่ละคำในประโยค (ค้นได้จากพจนานุกรม) ผู้อ่านควรยึดเอาโครงสร้างประโยคเป็นหลักในการแปลและทำความเข้าใจบทอ่าน เพราะกฎไวยากรณ์เป็นบรรทัดฐานที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนซึ่งวิธีการเรียงคำต่อ ๆ กันไปให้เกิดความหมายตามที่ผู้เขียน/พูดตั้งใจไว้ ฉะนั้นผู้อ่านจำเป็นต้องอิงหหลักไวยากรณ์ในการพิจารณาทำความเข้าใจความคิดที่สื่อในชิ้นงานที่อ่าน (แน่นอนว่าความหมายของประโยคยังขึ้นอยู่กับ บริบทหรือประโยคข้างเคียงด้วย)
ประเภทและโครงสร้างพื้นฐานของประโยค
ประเภทและโครงสร้างพื้นฐานของประโยค มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่สามารถใช้ภาษาสื่อความเพื่อการอยู่รอดและแบ่งงานกันทำกันระหว่างสมาชิกในสังคม เช่น ส่งเสียงให้แม่ หรือภรรยา หรือพ่อครัวในร้านอาหารเพื่อให้ได้มาซึ่งอาหารที่ตนต้องการ สิ่งที่มนุษย์คาดหวังเมื่อสื่อความเป็นตัวกำหนดจุดมุ่งหมายในการสื่อความ และเป็นตัวบ่งชี้ประเภทของประโยคที่ใช้ คาดหวังให้ผู้ฟังรับฟัง ต้องการให้เข้าใจสิ่งที่พูดออกไป - ประโยคบอกเล่า (declaratives หรือ statements) ความคาดหวังให้ผู้ฟังบอกข้อมูลที่ต้องการ - ประโยคคำถาม (interrogatives หรือ questions) คาดหวัง ต้องการให้ผู้ฟังกระทำอะไรบางอย่างหรือหยุดไม่กระทำอะไรบางอย่าง ขอร้องวิงวอน - ประโยคคำสั่งหรือวิงวอน (Imperatives หรือ command) ต้องการเพียงเพื่อต้องการระบายอารมณ์ออกมา เราเรียกประโยคประเภทนี้ว่า ประโยคอุทาน (Exclamatory)
โครงสร้างพื้นฐานของประโยคตามจุดมุ่งหมายการสื่อสาร ได้เป็น 4 ประเภท 1. ประโยคบอกเล่า (Declaratives หรือ Statements) ใช้ในการสื่อเรื่องราว ข่าวสาร ข้อคิดเห็นต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เอกลักษณ์ - ตำแหน่งของคำนามที่เป็นประธานจะอยู่ข้างหน้าคำกริยา ฉะนั้นในบทอ่านไม่ว่าประโยคจะยาวแค่ไหน ให้สังเกตที่ตำแหน่งของคำนามที่เป็นประธาน และคำกริยา(finite verb หรือกริยาผันตามประธาน) กรณีที่คำกริยานั้นต้องมีกรรมมารับ (กริยาเป็น transitive verb: vt) คำนามที่อยู่หลังคำกริยาเป็นกรรม หรือผู้รับการกระทำของคำกริยาดังกล่าว บางประโยคบอกเล่ากริยาไม่ต้องมีกรรมารับ
ขอให้นักศึกจับคู่แต่งประโยคบอกเล่าเกี่ยวกับความลับของตนเองที่เพื่อนร่วมชั้นเรียนไม่ทราบ
3. ประโยคคำสั่ง (Imperatives หรือ Commands) เป็นประโยคที่บอกให้ทำหรือขอร้องให้ทำตามที่บอก ผู้พูด (I หรือ we) ส่วนคนที่ถูกสั่งจะเป็นบุรุษที่ 2 (You) ประโยคคำสั่งจะตัด ประธาน (You) ออก ประโยคคำสั่งขึ้นต้นด้วยคำกริยาช่องที่ 1 เสมอ ซึ่งอาจจะเป็นรูปบอกเล่าหรือปฏิเสธก็ได้ เอกลักษณ์ของโครงสร้างรูปแบบประโยคคำสั่งหรือวิงวอน คือการมีคำกริยาหลักในรูปแบบพจนานุกรม (กริยาช่องที่หนึ่ง infinitive) หรืออาจเริ่มด้วยคำนามที่เป็นประธานของประโยคก็ได้แต่ไม่จำเป็น แล้วตามด้วยคำนามที่เป็นกรรมของกริยา
ขอให้นักศึกจับคู่แต่งประโยคคำสั่งขอเพื่อนร่วมชั้นเรียนทำหรือไม่ทำเกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบ
4. ประโยคอุทาน (Exclamatory) ใช้แสดงความรู้สึกและอารมณ์ ขึ้นต้นด้วยคำที่เป็นคำถาม (Question word) how (อย่างไร) และ what (อะไร) ถ้าขึ้นต้นด้วย how จะตามด้วยคำคุณศัพท์ (adjective) หรือคำกริยาวิเศษณ์ (adverb) แล้วตามด้วยประธาน (subject) และกริยา (verb) ซึ่งอาจจะมีส่วนขยาย (Complement) ด้วยก็ได้ เช่น How fluently he can speak English! เขาช่างพูดภาษาอังกฤษคล่องอะไรเช่นนี้ What a healthy man he is! เขาช่างเป็นคนแข็งแรงอะไรเช่นนี้
สรุป ภาษาอังกฤษใช้กลไกทางไวยากรณ์ในการสร้างเอกลักษณ์ของประเภทประโยค ด้วยตำแหน่งของคำนามที่เป็นประธานประโยคและคำกริยาของประธาน และรูปแบบของคำนามและคำกริยา ตำแหน่งและโครงสร้างของประโยคที่แตกต่างกันสื่อความมุ่งหมายหรือความต้องการของผู้พูด และความคาดหวังจากผู้อ่านที่แตกต่างกัน นักศึกษาไทยในฐานะผู้อ่านภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศไม่ค่อยคุ้นเคยกับการตีความจากรูปแบบและโครงสร้างของคำและประโยคอย่างที่ผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ใช้อยู่ ต้องต้องสร้างนิสัยพฤติกรรมทางภาษาให้ความสำคัญกับรูปแบบและโครงสร้างของประโยคภาษาอังกฤษ
7. He kissed his wife proudly. 8. He headed to work. 1. ประโยคความเดี่ยว หรือ เอกัตถประโยค (Simple Sentence) สื่อความคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่บ่งบอกความสัมพันธ์ระหว่างความคิด โครงสร้างพื้นฐานประโยคความเดี่ยวประกอบด้วยประโยคอิสระ (Independent Clause) เพียงประโยคเดียว 1. He woke up. 2. He brushed his teeth. 3. He rinsed his face. 4. He took a bath. 5. He dressed himself up. 6. He had breakfast. 7. He kissed his wife proudly. 8. He headed to work.
7. He kissed his wife proudly. 8. He headed to work. 2. ประโยคความรวม (Compound sentence) ประกอบด้วย - ประโยคความเดี่ยว 2 ประโยคมารวมกันโดยใช้ตัวเชื่อม (conjunctives) เชื่อมเนื้อหาหรือความคิดหลาย ๆ อย่างให้เป็นประโยคใหญ่ประโยคเดียว - เรียงความหมายในรูปแบบ a+b+c+d+c+f+… โดยใช้ตัวเชื่อมแสดงความสัมพันธ์ของความคิด After he woke up, he brushed his teeth, rinsed his face, took a bath, dressed himself up and had breakfast, then kissed his wife goodbye and headed to work. (หลังจากที่เขาตื่นนอน เขาแปรงฟัน ล้าง หน้า อาบน้ำ แต่งตัวและทานอาหารเช้า แล้วจูบลาภรรยาของเขาและไปทำงาน) 1. He woke up. 2. He brushed his teeth. 3. He rinsed his face. 4. He took a bath. 5. He dressed himself up. 6. He had breakfast. 7. He kissed his wife proudly. 8. He headed to work.
3. ประโยคความซ้อน หรือสังกรประโยค (Complex sentence) ประกอบด้วย 2 ประโยคเป็นอย่างน้อยที่มีความสำคัญไม่เท่ากัน ประโยคหนึ่งเรียกว่า Main Clause (มุขยประโยค) ทำหน้าที่เป็นประโยคหลัก ส่วนอีกประโยคหนึ่งเรียกว่า Subordinate Clause (อนุประโยค) เป็นประโยคที่ต้องอาศัยประโยคหลักจึงจะได้เนื้อความสมบูรณ์ ทั้งสองอาศัยตัวเชื่อมที่เรียกว่า “ Subordinator ” ประโยคความซ้อนเป็นการฝังความหมายหนึ่งลงไปในอีกความหมายหนึ่ง ทำให้เกิดความหมายซ้อนเป็นชั้น ๆ