Information Technology For Life อินเทอร์เน็ต Information Technology For Life
อินเทอร์เน็ต เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก ใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
ประวัติของอินเทอร์เน็ต พัฒนามาจากโครงการวิจัยทางการทหารของกระทรวงกลาโหมของประเทศ สหรัฐอเมริกา คือ Advanced Research Projects Agency (ARPA) ในปี พ.ศ. 2512 โครงการนี้เป็นการวิจัยเครือข่ายเพื่อการสื่อสารของการทหารในกองทัพอเมริกา หรืออาจเรียกสั้นๆ ได้ว่า ARPA Net 2513 ARPA Net ได้มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกา คือ มหาวิทยาลัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการใช้ อินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (1/3) เริ่มมีการใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการ IDP (The International Development Plan) เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถติดต่อสื่อสารทางอีเมลกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลียได้ ได้มีการติดตั้งระบบอีเมล์ขึ้นครั้งแรก โดยผ่านระบบโทรศัพท์ ความเร็วของโมเด็มที่ใช้ในขณะนั้นมีความเร็ว 2,400 บิต/วินาที จนกระทั่งวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2531 ได้มีการส่งอีเมลฉบับแรกที่ติดต่อระหว่างประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงเปรียบเสมือนประตูทางผ่าน (Gateway) ของไทยที่เชื่อมต่อไปยังออสเตรเลียในขณะนั้น
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (2/3) ในปี พ.ศ. 2533 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาของรัฐ โดยมีชื่อว่า เครือข่ายไทยสาร (Thai Social/Scientific Academic and Research Network : ThaiSARN) ประกอบด้วย มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ เพื่อการศึกษาและวิจัย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (3/3) ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ขึ้น เพื่อให้บริการแก่ประชาชน และภาคเอกชนต่างๆ ที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตไทยแลนด์ (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) เป็นบริษัทแรก เมื่อมีคนนิยมใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตจึงได้ก่อตั้งเพิ่มขึ้นอีกมากมาย
ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต ทันสมัยและทันเหตุการณ์ แหล่งสารสนเทศสำคัญ ค้นหาสิ่งที่ตนสนใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง การรับรู้ข่าวสารทั่วโลก ห้องสมุดขนาดใหญ่
คำศัพท์เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต (1/3) URL ย่อมาจากคำว่า Uniform Resource Locator หมายถึงที่อยู่ (Address) ของข้อมูลต่างๆในอินเทอร์เน็ต รูปแบบของ URL จะประกอบด้วย http://www.sskru.ac.th/com/index.html 1. ชื่อโปรโตคอลที่ใช้ (http ซึ่งย่อมาจาก HyperText Transfer Protocol) 2. ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และชื่อเครือข่ายย่อย (www.sskru) 3. ประเภทของเวบไซต์ (ac.th) 4. ไดเร็กทอรี่ (com) 5. ชื่อไฟล์และนามสกุล (index.html)
คำศัพท์เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต (2/3) Home Page โฮมเพจ คือเว็บเพจหน้าแรกที่เป็นหน้าดัชนีหรือรายการที่บอกรายละเอียดของเว็บไซตนั้นๆ เราอาจจะเปรียบโฮมเพจเหมือนหน้าบ้านของเว็บไซต์ก็ได้ Web Page เป็นหน้าเอกสารเว็บที่สร้างขึ้นด้วยภาษา HTML (Hypertext Markup Language)ซึ่งโปรแกรมเบราเซอร์จะทำหน้าที่แปลภาษา HTML ออกมาเป็นหน้าเอกสารทางจอภาพคอมพิวเตอร์ เว็บเพจอาจจะประกอบด้วยข้อความ ภาพกราฟิก หรือภาพเคลื่อนไหว อาจมีเสียงประกอบด้วยก็ได้ ทำให้ดึงดูดความสนใจ Proxy Server เป็น Server ที่ช่วยเก็บ Cast ของ Website ต่าง ๆ ที่เราเคยเข้าไปเยี่ยมชมมาแล้วซึ่งจะช่วยให้การเรียกดูในครั้งต่อไปให้เร็วขึ้นนั่นเอง Web Server เป็นที่รวมหรือ ที่อยู่ของ Website ต่าง ๆ ที่เข้าใจกันง่าย ๆ ว่า Web hosting ภายในประกอบด้วย Website ต่าง ๆ มากมาย
คำศัพท์เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต (3/3) Intranet คือ การใช้งานอินเตอร์เน็ตในองค์กร ใช้เหมือนอินเตอร์เน็ตทุกอย่าง แต่ไม่ได้ต่อเชื่อมกับอินเตอร์เน็ต Extranet คือ มีความคล้ายกับ Intranet เพียงแต่สามารถเปิดช่องให้สำหรับลูกค้าที่มีสิทธิ์เข้ามาใช้บริการของ Server
Internet
Intranet
การทำงานของอินเทอร์เน็ต โปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง
เทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต (1/3) DSL เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาเพื่อให้การขนส่งข้อมูลผ่านทางสายโทรศัพท์มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความเร็วในการขนส่งข้อมูลเพิ่มมากขึ้น และรับรองข้อมูลได้หลายรูปแบบ ประเภทที่นิยมมากที่สุดคือ ADSL
เทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต (2/3) ISDN เป็นเทคโนโลยีที่รวมเอาบริการต่างๆที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ เข้าไว้ด้วยกัน โดยใช้การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล ซึ่งกำหนดมาตารฐานขึ้นโดย ITU-T เพื่ออใช้ในการบริการด้านขนส่งข้อมูลและระบบโทรศัพท์แบบดิจิตอล โดยสามารถรองรับข้อมูลเสียง ภาพและวีดีโอ ผ่านทางสายโทรศัพท์ISDN เป็นเทคโนโยยีที่รวมบริการด้านดิจิตอลไว้ด้วยกันเพื่อให้ขอบเขตความสามารถของโทรศัพท์เพิ่มมากขึ้น
เทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต (3/3) Leased Line สายเช่า หรือ สายคู่เช่า ใช้คู่สายทั้งหมดสองคู่สำหรับขนส่งข้อมูลพร้อมกัน (Full-Duplex) สายเช่าเป็นระบบการส่งข้อมูลในแบบ Cir Cuit Switching คือส่งสัญญาณไปบนเส้นที่จองไว้ โดยผู้ใช้มีสิทธิ์ใช้ช่องสัญญาณนั้นเท่านั้น สามารถขอใช้ได้บริการได้ที่องค์การโทรศัพท์หรือผู้ให้บริการรายอื่น
โดเมนเนม (Domain name system : DNS) โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ .com ย่อมาจาก Commercial สำหรับธุรกิจ .edu ย่อมาจาก Education สำหรับการศึกษา .int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ .org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร .net ย่อมาจาก Network สำหรับหน่วยงานที่มีเครือข่ายของตนเองและ ทำธุรกิจด้านเครือข่าย
โดเมนเนม (.th) .ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย .co.th ย่อมาจาก Company Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย .go.th ย่อมาจาก Government Thailand สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล .net.th ย่อมาจาก Network Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย .or.th ย่อมาจาก Organization Thailand สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร .in.th ย่อมาจาก Individual Thailand สำหรับของบุคคลทั่วๆ ไป
การขอจดทะเบียนโดเมน การขอจดทะเบียนโดเมนต้องเข้าไปจะทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่เดิม เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีชื่อโดเมนนั้นๆ หรือยังได้จากหน่วยงานที่เราจะเข้าไปจดทะเบียน การขอจดทะเบียนให้เป็นโดเมนสากล (.com .edu .int .org .net ) ต้องขอจดทะเบียนกับ www.networksolution.com ซึ่งเดิม คือ www.internic.net การขอจดทะเบียนที่ลงท้ายด้วย .th (Thailand)ต้องจดทะเบียนกับ www.thnic.net
เริ่มต้นการใช้งานอินเทอร์เน็ต การใช้อินเตอร์เน็ตเราจำเป็นจะต้องรู้จักโปรแกรมที่ใช้ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตเรียกว่า “บราวเซอร์” ปัจจุบันบราวเซอร์มีให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเลือกอย่างมากมาย และได้มีการจัดอันดับที่ได้รับความนิยมในปี 2559 ดังนี้
บราวเซอร์ (Google Chrome)
ส่วนประกอบ Browser Title Bar แสดงชื่อของเอกสารบนอินเทอร์เน็ตที่กำลังเปิดชมอยู่ในขณะนั้น Menu Bar เมนูคำสั่งในการทำงาน เมื่อคลิกที่ชื่อของเมนู จะมีรายการเมนูย่อยแสดงออกมาให้เลือกใช้ Address Bar ที่อยู่ของเอกสารเว็บหรือที่อยู่ของสถานที่บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งเรียกว่า URL Link Bar ใช้เก็บลิงค์พิเศษที่เราต้องการจะเข้าถึงอย่างรวดเร็ว Tab Bar แสดงจำนวนหน้าที่เปิดไว้ใน Browser Browser Pane จอภาพที่แสดงข้อมูลของเว็บเพ็จ Status Bar เป็นแถบแสดงสถานการณ์ทำงาน
บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) บริการโอนย้ายไฟล์ (File Transfer Protocol) บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต (Instant Message) บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต (Search Engine) บริการกระดานข่าวหรือ เว็บบอร์ด (Web board) ห้องสนทนา (Chat Room) บริการสังคมออนไลน์ (Social Media หรือ Social Network)
การแนะนำบริการสังคมออนไลน์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมล วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก
เฟซบุ๊ก (Facebook) เว็บไซต์ เปิดใช้งานเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 ดำเนินงานและมีเจ้าของคือ บริษัท เฟซบุ๊ก (Facebook, Inc.) ก่อตั้งขึ้นโดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ร่วมกับเพื่อนร่วมห้องในวิทยาลัย ชื่อของเฟซบุ๊กนั้นมาจากชื่อเรียกภาษาปากของสมุดที่ให้กับนักเรียนเมื่อเริ่มเแรกเรียนในสถาบันอุดมศึกษา ที่มอบให้โดยคณะบริหารมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถรู้จักผู้อื่นได้ดีมากขึ้น
เฟซบุ๊ก (Facebook)
ทวิตเตอร์ (Twitter) บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ หรือ ทวีต (tweet - เสียงนกร้อง) ก่อตั้งขึ้นโดย แจ็ก คอร์ซีย์ ,บิซ สโตน และ อีวาน วิลเลียมส์ เจ้าของบริษัท Obvious Corp ที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2006
ทวิตเตอร์ (Twitter)
กูเกิล+ (Google+) บริการเครือข่ายสังคมให้บริการโดยกูเกิล โดยเปิดให้ใช้งานครั้ง Google+ ทำงานโดยรวมบริการหลายอย่างของทางกูเกิลเข้าไว้ที่เดียวกัน
กูเกิล+ (Google+)
การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ในอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะค้นหาข้อมูลจำนวนมากมาย จำเป็นจะต้องอาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหาที่เรียกว่า Search Engine การค้นหาในรูปแบบ Index Directory การค้นหาในรูปแบบ Search Engine
การค้นหาในรูปแบบ Index Directory ถูกคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Site ต่างๆออก เป็นประเภท สำหรับวิธีใช้งาน คุณสามารถที่จะ Click เลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้เลยใน Web Brower
การค้นหาในรูปแบบ Search Engine ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ ฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป บน Internet ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้นของความสำคัญ พิมพ์คำสำคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่คุณต้องการจะเข้าไป
Search Engine
ประเภทของ Search Engine Keyword Index Subject Directories Metasearch Engines
หลักการค้นหาข้อมูลของ Search Engine การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ใน เว็บไซต์ต่างๆ การค้นหาจากคำที่มีอยู่ใน Title (ส่วนที่ Browser ใช้แสดงชื่อของเว็บเพจอยู่ทางด้าน ซ้ายบนของหน้าต่างที่แสดง การค้นหาจากคำสำคัญหรือคำสั่ง keyword (อยู่ใน tag คำสั่งใน html ที่มีชื่อว่า meta) การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะ site ค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser โดย คำสั่ง Find in Page หรือกดปุ่ม Ctrl + F
เทคนิคที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุด ใช้คำมากกว่า 1 คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน ใส่เครื่องหมายคำพูดครอบคลุมกลุ่มคำที่ต้องการ การขึ้นต้นของตัวอักษรตัวเล็กเท่ากันหมด ใช้ตัวเชื่อมทาง Logic หรือตรรกศาสตร์เข้ามาช่วยค้นหา ใช้เครื่องหมายบวกลบคัดเลือกคำ + หน้าคำที่ต้องการจริงๆ - (ลบ)ใช้นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ () ช่วยแยกกลุ่มคำ ใช้ * เป็นตัวร่วม เช่น com*
เทคนิคที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล (ต่อ) หลีก เลี่ยงการใช้ตัวเลข หลีก เลี่ยงภาษาพูด หลีกเลี่ยงคำประเภท Natural Language อย่าละเลย Help ซึ่งในแต่ละเว็บ จะมี ปุ่ม help หรือ Site map
การสืบค้นฐานข้อมูลงานวิจัยต่างๆ ThaiLis ABI/INFORM Complete Academic Search Complete ACM Digtal Library American Chemical Society Journal Communication & Mass Media Complete Computer &Applied Science complete Education Research Complete ScienceDirect Web of Science
Google Apps for Education Google Apps For Education หรือ Google App สำหรับการศึกษา คือชุดของฟรีอีเมลล์จาก Google และเครื่องมือต่างๆ เป็นแบบระบบเปิดในการทำงานร่วมกัน เปิดกว้างสำหรับคุณครู นักเรียน นักศึกษา ชั้นเรียน และสมาชิกในครอบครัวทั่วโลก ตัวอย่างเครื่องมือที่เป็นที่นิยมใช้ที่ท่านรู้จักดี เช่น อีเมล (Gmail), เอกสาร (Docs), ปฏิทิน (Calendar) และ Groups เป็นต้น แต่เครื่องมือเหล่านี้จะใช้สำหรับในการเรียนการศึกษา
บริการต่างๆของ Google Apps Google Drive Google Mail Google Calendar Google Doc Google Sheet Google Site Google Plus Google Form Google Slide
**** สำหรับ นักศึกษาราชภัฏศรีสะเกษ *** พื้นที่ ไม่จำกัด (Unlimited) Google Drive เก็บไฟล์ทุกประเภท ไดรฟ์มีพื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ของ Google ให้คุณฟรี 15 GB เพื่อให้คุณเก็บรูปภาพ เรื่องราว การออกแบบ ภาพวาด การบันทึกเสียง วิดีโอ และทุกอย่างที่คุณต้องการ **** สำหรับ นักศึกษาราชภัฏศรีสะเกษ *** พื้นที่ ไม่จำกัด (Unlimited)
Google Doc, Sheet, Slides การใช้งานประมวลผลเอกสารบน Internet ซึ่งมีลักษณะการทำงานคล้ายคลึงกับ Word, Power Point และ Excel
Google Form แบบประเมินสร้างแบบสอบถามออนไลน์ หรือใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
การสมัครใช้บริการสำหรับนักศึกษา SSKRU
ข่าวสารและช่องทางติดต่อ SSKRU Google Apps http://gapps.sskru.ac.th https://www.facebook.com/gappsskru https://plus.google.com/u/0/communities/114194146433090691771
บริการค้นหาข้อมูล 1. ให้อธิบายพร้อมยกตัวอย่างความแตกต่างระหว่างการสืบค้นแบบ web directory, meta search, search engine 2. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการใช้คำสั่ง ดีใจจังค้นแล้วเจอแล้ว กับ การค้นหาแบบธรรมดา ใน google 3. ในการค้นหาขั้นสูง จะมีคำสั่ง AND กับ OR เพื่อใช้เสริมในการค้นหา จงอธิบายความแตกต่างพร้อมยกตัวอย่างการใช้งานพร้อมผลลัพธ์ทั้งสอง 4.Google Scholar มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานอย่างไร 5.Google Guru มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานอย่างไร 6.iGoogle คืออะไรมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใด 7.จงบอกสิทธิประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิกของ Google ว่ามีความแตกต่างกับผู้ไม่สมัครอย่างไร
เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบไร้สาย จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการส่งข้อมูลแบบ Infrared กับ Bluetooth จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการส่งข้อมูลแบบ Wi-Fi กับ Wi-Max จงอธิบายคำศัพท์ 2 คำนี้ Access Point กับ Hot Spot จงอธิบายความแตกต่างระหว่าง 1G/ 2G/ 2.5G/ 2.75G/ 3G/ 4G การโจรกรรมข้อมูลโดยใช้เทคนิค Evil Twin เป็นอย่างไร