ณ. ห้องประชุมอาคาร NEWMASIP สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรม ชลประทาน ( ปากเกร็ด ) จังหวัดนนทบุรี
โดย นายอาทร สุทธิกาญจน์ หัวหน้ากลุ่มมาตรฐาน วางโครงการ 24 มีนาคม น.
มาตรฐาน หมายถึง สิ่งที่ถือเอามาเป็น เกณฑ์ที่รองรับกันทั่วไป เช่น กฎ ระเบียบ แนวทางปฏิบัติ เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้กัน ทั่วไปจนเป็น ปกติวิสัย โดยมุ่งให้บรรลุถึง ความสำเร็จสูงสุดตามความข้อกำหนดที่วาง ไว้ ( จากคู่มือ การปฏิบัติตามข้อบังคับกรมชลประทาน ว่า ด้วย จรรยาข้าราชการ กรมชลประทาน พ. ศ.2553)
โครงการ หมายถึง : 1. กิจกรรมหรืองานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากร 2. เป็นกิจกรรมที่ทำขึ้นเพื่อหวังผลประโยชน์ตอบ แทนทั้งทางตรงและทางอ้อม 3. เป็นกิจกรรมที่สามารถจะวิเคราะห์ – วางแผน และนำไปปฏิบัติได้ 4. เป็นกิจกรรมที่สามารถดำเนินการบริหารได้โดย อิสระ 5. เป็นกิจกรรมที่มีการกำหนดจุดเริ่มต้นและ จุดสิ้นสุดไว้ 6. เป็นกิจกรรมที่จัดทำขึ้นเพื่อให้บรรลุถึง วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
โครงการต่างๆ โดยทั่วไปอาจจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ 1. โครงการประเภทหวังผลกำไร (Profit making project) 2. โครงการประเภทไม่หวังผลกำไร (Non – Profit masking project)
การวางโครงการ หมายถึง การนำทรัพยากรธรรมชาติที่มี อยู่อย่างจำกัดมาใช้อย่างฉลาด ระมัดระวัง โดยมีการวางแผน ไว้ล่วงหน้า และมีการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง การวางโครงการ เป็น ขั้นตอน ที่สำคัญที่สุดในการ ทำงานเพราะเป็นขั้นที่ต้องกำหนดนโยบายวัตถุประสงค์และ วิธีการปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรวมตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การวางโครงการ จะช่วยให้การทำงานดำเนินไปอย่างมี ระบบ (Systematic) สามารถควบคุมการดำเนินงานได้ทุก ขั้นตอน ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ได้โดย รวดเร็ว
การวางโครงการ เป็นการวางแผน เพื่อผลประโยชน์ ในอนาคตเพื่อให้ผู้ตัดสินใจสามารถจะตัดสินใจได้ใน ปัจจุบันว่าโครงการใดควรดำเนินการ โครงการใดควร ชะลอไว้ก่อน หรือ โครงการใดควรระงับ กล่าวโดยสรุป การวางโครงการก็คือการศึกษา รายละเอียดและการจัดทำรายงานความเหมาะสม (Feasibility Study) ของโครงการนั้นเอง
การศึกษาพัฒนาแหล่งน้ำเบื้องต้น (Desk Study)- เป็น การศึกษาพิจารณาเบื้องต้น เพื่อตอบสนองแผนการพัฒนา ประเทศอย่างบูรณาการ และ แผนการใช้ที่ดิน โดยจะพิจารณาชี้ ประเด็นปัญหาของพื้นที่ พิจารณากิจกรรมที่เป็นความต้องการ น้ำ การตรวจสอบขั้นต้นของศักยภาพแหล่งน้ำ พิจารณาสร้าง ทางเลือกที่ไม่เหมาะสมออก การศึกษาโครงการเบื้องต้น (Reconnaissance Study)- การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณา ตรวจสอบความเป็นไป ได้เบื้องต้นทางวิศวกรรมของโครงการที่ได้จากการศึกษา แผนพัฒนาลุ่มน้ำในขั้นต้น (Desk Study) หากโครงการมีความ เป็นไปได้ จะใช้ผลจากการศึกษานี้ในการกำหนดขอบเขตของ การสำรวจด้านต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการศึกษา แผนพัฒนาลุ่มน้ำในระดับต่อไป
การศึกษาแนวทางพัฒนาลุ่มน้ำ (Preliminary Study) - เป็น การวางแผนพัฒนาลุ่มน้ำที่มีรายละเอียดเพิ่มขึ้นจากการศึกษา ในระดับ Desk Study โดยมีผลการสำรวจที่ได้รับการศึกษา Reconnaissance Study เพิ่มเติม ส่งผลให้การตรวจสอบและ คัดเลือกโครงการสามารถทำได้ละเอียดขึ้น ในขั้นตอนนี้ควรมี การดำเนินการในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ประชาชน เข้าใจโครงการ หากประสบความสำเร็จ จะมีผลทำให้ดำเนินการ ในขั้นตอนต่อไปราบรื่น การศึกษาวางโครงการ (Pre-feasibility Study)- เป็น การศึกษาวางแผนพัฒนาโครงการ โดยมีรายละเอียดใน การศึกษาเพิ่มขึ้นจากระดับ Reconnaissance Study การศึกษาในขั้นตอนนี้ จะเน้นรายละเอียดทางวิศวกรรม และการ วิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์
การศึกษาแผนพัฒนาลุ่มน้ำ (Comprehensive Study)- เป็น การศึกษาแผนพัฒนาลุ่มน้ำเต็มรูปแบบอย่างบูรณาการ โดยมี ความต้องการน้ำที่ชัดเจนทั้งในเชิงปริมาณ สถานที่ และเวลา รวมทั้ง มีเป้าหมายการบรรเทาอุทกภัยที่ชัดเจน การศึกษาความเหมาะสม (Feasibility Study)- เป็นการศึกษา วางแผนพัฒนาโครงการเต็มรูปแบบ ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม วิศวกรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐศาสตร์ การติดตามประเมินผล การติดตามประเมินผล - เป็นการศึกษาเพื่อติดตามประเมินผล โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ แต่ละโครงการ ว่าได้บรรลุผลตาม วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
คำอธิบาย : ในภาพเป็น แนวนอน