งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้ด้อยโอกาส (สทอ.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้ด้อยโอกาส (สทอ.)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้ด้อยโอกาส (สทอ.)
สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.)

2 ผู้ด้อยโอกาสอาจมีความหลากหลาย และแตกต่างกัน
คำนิยาม ผู้ด้อยโอกาส หมายถึง “ผู้ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน และได้รับผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข การเมือง กฎหมาย วัฒนธรรม ภัยธรรมชาติและภัยสงคราม รวมถึงผู้ที่ขาดโอกาสที่จะเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐ ตลอดจนผู้ประสบปัญหาที่ยังไม่มีองค์กรหลักรับผิดชอบ อันจะส่งผลให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้เท่าเทียมกับผู้อื่น” สท. จึงได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้ด้อยโอกาสในการดำเนินการ ๕ กลุ่ม ดังต่อไปนี้ ผู้ด้อยโอกาส ของ สทอ.

3 สถานการณ์ผู้ด้อยโอกาส
คนยากจน คนที่มีรายได้หรือค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคต่ำกว่าเส้นความยากจน ซึ่งปี ๒๕๕๕ เส้นความยากจนกำหนดไว้ที่ ๒,๔๙๒ บาท/คน/เดือน คนยากจนจำนวน ๘.๔ ล้านคน ชายจำนวน ๔.๒๐๕ ล้านคน หญิงจำนวน ๔.๑๙๗ ล้านคน (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ๒๕๕๕)

4 บุคคลที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง กินอยู่หลับนอนในที่สาธารณะ จึงมักหมายรวมถึงคนไร้ที่พึ่ง ขอทาน โดยมีผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเขตกรุงเทพมหานครจำนวน ๓,๑๔๐ คน ชาย ๑,๙๔๔ คน หญิง ๑,๑๙๖ คน คนเร่ร่อน (มูลนิธิอิสรชน, ๒๕๕๖)

5 คนไม่มีสถานทางทะเบียนราษฎร วัน เดือน ปีเกิด และถิ่นที่อยู่
ผู้ที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นที่มีเลข ๑๓ หลัก หรือเอกสารหลักฐานทางทะเบียนที่แสดงถึงชื่อ นามสกุล สัญชาติ วัน เดือน ปีเกิด และถิ่นที่อยู่ ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านจำนวน ๓๔๒,๗๐๘ คน ชาย ๑๘๓,๐๗๔ คน หญิง ๑๕๙,๖๓๔ คน (กรมการปกครอง, กระทรวงมหาดไทย. ๒๕๕๖)

6 ผู้พ้นโทษ ผู้ที่ได้รับการปลดปล่อยจากเรือนจำหรือทัณฑสถาน ได้รับการพักการลงโทษ ลดวันต้องโทษจำคุก อภัยโทษ และได้รับการปลดปล่อยเมื่อจำคุกครบกำหนดตามคำพิพากษาของศาล รวมทั้งผู้พ้นจากการคุมประพฤติ ผู้พ้นการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๕๔ ผู้ถูกคุมประพฤติ จำนวน ๑๑๑,๒๖๐ คน ชาย ๑๐๑,๔๘๒ คน หญิง ๙,๗๗๘ คน (กรมคุมประพฤติ, มีนาคม ๒๕๕๖) ผู้ต้องราชทัณฑ์ จำนวน ๒๑๕,๙๖๑ คน ชาย ๑๘๒,๑๙๔ คน หญิง ๓๓,๗๖๗ คน (กรมราชทัณฑ์, มกราคม ๒๕๕๘) ผู้พ้นโทษที่ถูกปล่อยตัวตามหมายศาล จำนวน ๗,๒๘๘ คน (กรมราชทัณฑ์, ๓๑ มกราคม ๒๕๕๔)

7 ผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัวและผู้ได้รับผลกระทบ
 ผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัวและผู้ได้รับผลกระทบ ผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี บุคคลที่มีกลุ่มอาการของโรคที่เกิดขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมหรือบกพร่อง ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ที่ได้รับเชื้อเอดส์แล้วและเมื่อร่างกายอ่อนแอ ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อม หรือไม่มีภูมิคุ้มกันของร่างกาย เกิดการติดเชื้อโรคอื่นๆ ได้ง่าย เช่น วัณโรค ปอดบวม เชื้อรา มะเร็งบางชนิด เป็นต้น ผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อที่มีอาการในประเทศไทยสะสมทั้งสิ้น จำนวน ๓๘๘,๖๒๑ ราย (สำนักระบาดวิทยา, กรมควบคุมโรค. ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗) ครอบครัวและผู้ได้รับผลกระทบ ครอบครัว บิดามารดา บุตร ญาติพี่น้องของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ ผู้ได้รับผลกระทบจากผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยเอดส์ จำนวนประมาณ ๓๘๐,๐๐๐ คน (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, มหาวิทยาลัยมหิดล)

8 ปัญหาผู้ด้อยโอกาส กีดกัน เลือกปฏิบัติ ไม่ยอมรับ ไม่มีตัวตน
ละเมิดสิทธิมนุษยชน ผู้ด้อยโอกาส ไม่เห็นคุณค่า ของตนเอง ขาดโอกาส มีส่วนร่วม และพัฒนา สังคมมี ทัศนคติเชิงลบ กม.บางฉบับ กีดกันสิทธิ


ดาวน์โหลด ppt สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้ด้อยโอกาส (สทอ.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google