งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

องค์ประกอบการบริหารจัดการโรงงาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "องค์ประกอบการบริหารจัดการโรงงาน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 องค์ประกอบการบริหารจัดการโรงงาน
โดย นิพนธ์ เผ่านิ่มมงคล

2 Organization Chart ลำดับขั้นการบริหารในโรงงาน
กรรมการผู้จัดการ ผู้อำนวยการ ฝ่าย ฝ่าย ฝ่าย แผนก แผนก แผนก หน่วย หน่วย หน่วย พนักงาน พนักงาน พนักงาน

3 Link Communication การสั่งงาน ไม่ควรสั่งงานข้ามฝ่าย,แผนก,หน่วย ต้องประสานไปที่หัวหน้า ให้หัวหน้าประสานกันแล้วสั่งงานลงไป การประสานงาน สามารถสื่อสารข้ามฝ่ายได้ตามกำหนดงานที่จัดไว้แล้ว

4 หน้าที่และความรับผิดชอบ
ผู้อำนวยการโรงงาน ผลิตสินค้าให้ได้ตามเป้าหมายและทันต่อเวลา ผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในต้นทุนที่ต่ำ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติงาน จัดเครื่องจักรและอุปกรณ์ให้พร้อมและเพียงพอ จัดสรรงบประมาณตามความต้องการ จัดบุคลากรที่มีคุณภาพและเพียงพอแก่ทุกหน่วยงาน

5 หน้าที่และความรับผิดชอบ
ผู้อำนวยการโรงงาน (ต่อ) สร้างประสิทธิภาพงาน พัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าตลอดเวลา รวมถึงการสร้างนวัตกรรมของสินค้าและการจัดการ กำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน มีแผนงานรายปี วิเคราะห์รายงานจากทุกฝ่ายและร่วมแก้ไขปัญหา

6 หน้าที่และความรับผิดชอบ
ผู้จัดการฝ่าย รับมอบเป้าหมายและดำเนินการให้ได้ตามกำหนด ประสานงานกับฝ่ายและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ประสานงานลงในระดับแผนกและหน่วย ควบคุมกำกับดูแลให้หน่วยงานใต้สังกัดทำได้ตามเป้าหมาย ทำแผนงานรายปี รายเดือน รายสัปดาห์ แก้ปัญหาภายในฝ่าย

7 หน้าที่และความรับผิดชอบ
หัวหน้าแผนก รับมอบเป้าหมายจากฝ่าย ประสานงานระหว่างแผนกในขอบเขตที่มีเป้าหมายชัดเจน กำกับดูแลและประชุมภายในแผนกและหน่วยให้ได้ตามเป้าหมาย ทำแผนงานรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน แก้ปัญหาภายในแผนก สรุปผลการทำงานในแผนก รวมถึงข้อเสนอแนะในแต่ละเดือน, สัปดาห์ให้ผู้จัดการฝ่าย

8 หน้าที่และความรับผิดชอบ
หัวหน้าหน่วย รับมอบเป้าหมายจากหัวหน้าแผนก ประสานงานระหว่างหน่วยในขอบเขตที่มีเป้าหมายชัดเจน กำกับดูแลและประชุมภายในหน่วยงานให้ได้ตามเป้าหมาย ทำแผนงานราย รายสัปดาห์ รายวัน และรายชั่วโมง แก้ปัญหาภายในหน่วย สรุปผลการทำงานในหน่วย รวมถึงข้อเสนอแนะในแต่ละสัปดาห์ให้หัวหน้าแผนก

9 Organization Chart ผังองค์กรฝ่ายในโรงงาน
กรรมการผู้จัดการ ผู้อำนวยการ ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายผลิต ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบุคคล ฝ่ายพัฒนาเทคนิคและคุณภาพ ฝ่ายวางแผนการผลิต ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายวิศวกรรม ฝ่ายธุรการ QC R&D QA

10 ฝ่ายจัดซื้อ ตรวจสอบ Lead Time การสั่งซื้อ
หาจุดปริมาณสั่งซื้อที่เหมาะสม สั่งซื้อสินค้าจาก Supplier ที่ Qualified ราคาที่ดีที่สุด ส่งมอบสินค้าครบตามเวลาที่กำหนด สินค้ามีคุณภาพตาม Specification

11 ฝ่ายทรัพยากรบุคคล จัดและสรรหาบุคลากรที่เหมาะสมให้ทุกฝ่ายตามความต้องการ
พัฒนาคุณภาพของบุคลากรของบริษัทในทุกด้าน จัด Training ในบริษัท ส่งอบรมนอกสถานที่ สร้างสวัสดิการที่เหมาะสมให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข รักษาพนักงานที่มีคุณภาพให้อยู่กับบริษัทได้นาน ไม่สามารถให้คุณ/ให้โทษต่อพนักงานนอกจากต้นสังกัดงานส่งเรื่องมาให้ดำเนินการ

12 ฝ่ายวิศวกรรม จัดทำโปรแกรมซ่อมบำรุง (Preventive Maintenance) ระบบเครื่องจักรทุกเครื่องในโรงงาน พร้อมทำประวัติบันทึก ซ่อมแซมเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหาย ปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งาน ติดตั้ง/ประกอบอุปกรณ์ตามการเปลี่ยนแปลงของสายงาน ร่วมวางแผนการเลือกสรรเครื่องจักรในโครงการใหม่ของบริษัท

13 ฝ่ายพัฒนาเทคนิค วิจัยพัฒนาตำรับสูตรใหม่ ตรวจสอบคุณภาพ QC
วัตถุดิบ สินค้าระหว่างการผลิต สินค้าสำเร็จรูป ปรับปรุงสูตรและพัฒนาเทคนิคการผลิต ปรับปรุงขบวนการผลิตให้เร็วขึ้น / ง่ายขึ้น ปรับปรุงสูตรให้มีคุณภาพสินค้าดีขึ้น ลดต้นทุนการผลิตสินค้า

14 ฝ่ายพัฒนาเทคนิค (ต่อ)
ตรวจสอบคุณภาพตลอดทุกขั้นตอน (Quality Assurance) รายงานตรงถึงผู้อำนวยการโรงงาน ตรวจสอบวัตถุดิบสำรอง (Second Source Approval) ทำ Scale up Production ร่วมกับฝ่ายผลิต ประชุมกับฝ่ายการตลาด/ฝ่ายขายเพื่อหาจุดเด่นของสินค้าในการทำการตลาด

15 ฝ่ายบัญชีและการเงิน จัดสรรงบประมาณตามความจำเป็น มากที่สุดไปหาน้อยที่สุด สรุปงบประมาณรายรับรายจ่าย ทำแผนการเงินบริษัท สรุปรายงานประสิทธิภาพด้านต้นทุนของทุกหน่วยงาน ต้นทุนการผลิตรวม/ต่อหน่วย ต้นทุนการผลิตแยกแต่ละฝ่าย/แผนก สรุปรายงานสถานภาพของบริษัทให้ผู้บริหาร

16 ระบบการควบคุม (Control)
เพิ่มประสิทธิภาพงาน ลดความสูญเสียโดยไม่จำเป็น ป้องกันการทุจริต

17 ระบบการควบคุม (Control) (ต่อ)
หาจุดอ่อนที่เป็นปัญหาได้ทันต่อเหตุการณ์ เครื่องมือที่ใช้ในระบบควบคุมที่ดีที่สุดคือระบบรายงาน Monthly Report จากฝ่ายบัญชีและการเงิน Monthly Report จากฝ่ายต่างๆในโรงงาน Weekly Report ใช้ในแต่ละแผนก Daily Report ใช้ในแต่ละหน่วย

18 ระบบการควบคุม (Control) (ต่อ)
Monthly Report จากฝ่ายบัญชีรายงานถึงผู้อำนวยการโรงงาน บัญชีรายรับรายจ่าย บัญชีกระแสเงินสด รายงานต้นทุนต่อหน่วย รายงานรายจ่ายของแต่ละฝ่าย

19 ระบบการควบคุม (Control) (ต่อ)
Monthly Report จากฝ่ายต่างๆ รายงานถึงผู้อำนวยการโรงงาน สำเนาถึงฝ่ายบัญชี รายงานกิจกรรมที่ทำในช่วงเดือน รายงานผลผลิตของฝ่ายตามเป้าหมาย ผลผลิตรวม ผลผลิตเฉลี่ย รายงานปัญหาและการแก้ไข ข้อเสนอแนะ

20 ระบบการควบคุม (Control) (ต่อ)
Weekly Report จากแผนกต่างๆ ถึงฝ่ายต้นสังกัด รายงานผลผลิตตามเป้าหมาย ผลผลิตรวมในสัปดาห์ ผลผลิตต่อวัน รายงานปัญหาและการแก้ไข ข้อเสนอแนะ

21 ระบบการควบคุม (Control) (ต่อ)
Daily Report จากแผนกต่างๆ ถึงฝ่ายต้นสังกัด รายงานผลผลิตตามเป้าหมายรายวัน บันทึกผลผลิตและค่าเฉลี่ยต่อชั่วโมงในใบรายงาน ประเมินการปรับ Production รายงานปัญหาและการแก้ไข ข้อเสนอแนะ

22 กิจกรรมภายในโรงงาน การประชุมก่อนปฏิบัติงาน 5 นาที สรุปเป้าหมายรายวัน
สรุปผลการทำงานพร้อมอุปสรรคและการแก้ปัญหา ที่ผ่านมาเพื่อนำมาแก้ไข 5 ส. (สะสาง, สะดวก, สะอาด, สุขลักษณะ , สร้างเสริมนิสัย) ช่วยให้ประสิทธิภาพงานดีขึ้น ทำงานได้เร็วขึ้น ช่วยลดอุบัติเหตุในที่ทำงาน ช่วยลดความสูญเสียจากการปนเปื้อน

23 กิจกรรมภายในโรงงาน (ต่อ)
Total Quality Management (TQM) การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง PDCA วางแผน ระบุแนวทางปรับปรุงพัฒนา (Plan) ปฏิบัติ ทดลองทำ (Do) ตรวจสอบ ตรวจดูผลที่เกิดขึ้น (Check) ปรับปรุงแก้ไข ปรับปรุงและนำไปใช้ปฏิบัติ (Act)

24 กิจกรรมภายในโรงงาน (ต่อ)
Total Quality Management (TQM) (ต่อ) การปรับปรุงคุณภาพทุกครั้งจำเป็นต้องใช้เครื่องมือช่วยวิเคราะห์ปัญหา Check sheets เก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ Diagram ผังกราฟช่วยให้เห็นภาพของปัญหา Fish Bone Chart ผังก้างปลา พิจารณาสาเหตุจาก Material, Man, Machine, Method Flow Diagram ผังการไหลของงานทำให้เห็นจุดปัญหา TQM จะทำสำเร็จได้ ผู้บริหารต้องให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานและต้องให้ความสำคัญ รับฟังทุกความเห็น

25 กิจกรรมภายในโรงงาน (ต่อ)
กายบริหาร Warm up ร่างกาย ช่วยลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อในระหว่างปฏิบัติงาน

26 สถานที่ผลิต ควรเป็นไปตามที่ระบุใน GMP หากไม่สามารถทำได้ทุกข้อ อย่างน้อยต้องเป็นสัดส่วน โดยมีห้องชั่งสาร, ห้องผสม, ห้องบรรจุที่สะอาด และปลอดจากการปนเปื้อน โดยเป็นระบบปิดและมีผิวเรียบไม่สะสมเชื้อโรค

27 อุปกรณ์การผลิต ถังผสมแบบมาตรฐานทั่วไป H G D D = เส้นผ่าศูนย์กลางของถัง
P G D D = เส้นผ่าศูนย์กลางของถัง P = เส้นผ่าศูนย์กลางของใบกวน H = ความสูงของระดับที่จะผสม G = ระยะห่างของใบกวนจากก้นถัง P = 0.25 – 0.5เท่าของD D = H G = เท่าของD

28 อุปกรณ์การผลิต รูปแบบใบกวน

29 อุปกรณ์การผลิต ประเภทของปั๊ม Centrifugal Diaphragm

30 อุปกรณ์การผลิต ประเภทของปั๊ม Gear pump Screw pump

31 อุปกรณ์การผลิต ประเภทของเครื่องบรรจุ Level Fill บรรจุแบบตั้งระดับ
2. Volumetric Fill บรรจุแบบตั้งปริมาณ

32 Thank you


ดาวน์โหลด ppt องค์ประกอบการบริหารจัดการโรงงาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google