งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 2 พุทธธรรมกับสังคม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 2 พุทธธรรมกับสังคม."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 2 พุทธธรรมกับสังคม

2 มนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ คุณสมบัติของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ หรือหลักธรรมของคนดี หรือคนที่แท้จริง เรียกว่า สัปปุริสธรรม เป็นบุคคลในอุดมคติตามทัศนะของพระพุทธศาสนา มี 7 ประการ คือ

3 มนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ • รู้หลักและรู้จักเหตุ (ธัมมัญญุตา)
• รู้หลักและรู้จักเหตุ (ธัมมัญญุตา) • รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล (อัตถัญญุตา) • รู้ตน (อัตตัญญุตา)

4 มนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ รู้ประมาณ (มัตตัญญุตา) รู้กาล (กาลัญญุตา) รู้ชุมชน (ปริสัญญุตา) รู้บุคคล (ปุคคลัญญุตา)

5 ห้ามรบกวนเด็ดขาด !

6 สมาชิกที่ดีของสังคม • 1) มีพรหมวิหาร 4 ประการ คือ
• สมาชิกที่ดีผู้ช่วยสร้างสรรค์สังคม มีธรรมหรือมีหลักความประพฤติ ดังนี้ • 1) มีพรหมวิหาร 4 ประการ คือ • มีความปรารถนาดี (เมตตา) • มีความสงสาร (กรุณา) • มีความเบิกบานพลอยยินดี (มุทิตา) มีความมีใจเป็นกลาง (อุเบกขา)

7 สมาชิกที่ดีของสังคม 2) บำเพ็ญการสงเคราะห์ คือ ปฏิบัติตามหลักการสงเคราะห์หรือหลักเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคน และประสานหมู่ชนไว้ด้วยความสามัคคี เรียกว่า สังคหวัตถุ 4 ประการ คือ ช่วยด้วยทุน สิ่งของ และความรู้ (ทาน) ช่วยด้วยถ้อยคำ (ปิยวาจา) ช่วยด้วยกำลังงาน (อัตถจริยา) ช่วยร่วมเผชิญและแก้ปัญหา (สมานัตตตา)

8 อย่างนี้ใช่คนดีของสังคมหรือไม่

9 สมาชิกที่ดีของชุมชน คนที่เป็นส่วนร่วมที่ดีของชุมชน ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนอยู่ร่วมกันด้วยดี ต้องมีธรรมหรือหลักประพฤติ ดังนี้ 1. พึ่งตนเองได้ ทำตนให้เป็นที่พึ่งของตน พร้อมที่จะรับผิดชอบตนเอง ไม่ทำตัวให้เป็นปัญหาหรือเป็นภาระของหมู่คณะหรือครอบครัว ด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรมสำหรับสร้างที่พึ่งแก่ตนเอง เรียกว่า นาถกรณธรรม 10 ประการ คือ

10 ประพฤติดี มีวินัย เลี้ยงชีวิตด้วยความสุจริต
ศึกษาเล่าเรียนมาก รู้จักคบคนดี เป็นคนที่พูดกันง่าย เอาใจใส่ช่วยเหลือธุระหรือกิจการของหมู่คณะ เป็นผู้ใคร่ธรรม มีความเพียรขยัน รู้สันโดษ รู้พอดี มีสติคงมั่น มีปัญญาเหนืออารมณ์

11 สมาชิกที่ดีของชุมชน 2. ปฏิบัติตามหลักการอยู่ร่วมกัน ที่เรียกว่า สาราณียธรรม (ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน) 6 ประการ คือ

12 ชีวิตย่อมมีอุปสรรค

13 แสดงไมตรีและความหวังดีต่อเพื่อนร่วมงาน ร่วมกิจการ ร่วมชุมชน (เมตตากายกรรม)
กล่าววาจาสุภาพ บอกสิ่งที่เป็นประโยชน์ (เมตตาวจีกรรม) ตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อกัน (เมตตามโนกรรม) ได้มาแบ่งกันกินแบ่งกันใช้ (สาธารณโภคี) ประพฤติดีให้เหมือนเขา รักษาระเบียบวินัยของส่วนรวม ไม่ทำตนให้เป็นที่รังเกียจหรือเสื่อมเสียแก่หมู่คณะ (สีลสามัญญตา) ปรับความเห็นเข้ากันได้ เคารพรับฟังความเห็นของกันและกัน ยึดถือหลักความดีงามหรือจุดหมายสูงสุดอันเดียวกัน (ทิฏฐิสามัญญตา)

14 แบบอย่างที่ดีงาม

15 ฝากให้คิด ยามเบื่อหน่ายไม่อยากเรียน ให้นึกถึงคนที่เขาไม่มีโอกาสที่จะเรียนแบบเรา ยามที่รู้สึกว่าเงินที่เราได้ไม่คุ้มกับงานที่เราทำ ให้นึกถึงคนที่เขาไม่มีงานจะทำ ยามที่รู้สึกว่าอาหารที่เรากินมันไม่อร่อยเลย ให้ นึกถึงคนที่เขาไม่มีจะกิน ชีวิตเมื่อคิดในเชิงบวก ก็จะบวก

16 ขอให้ท่านโชคดี เจริญพร


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 2 พุทธธรรมกับสังคม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google