งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์
สัตว์เลี้ยงไทย ไก่แจ้ กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์

2 ความสำคัญของไก่แจ้ ไก่แจ้มีวิวัฒนาการและปรับตัวมาจากไก่ป่าขนสีแดง (red jungle fowl) เช่นเดียวกับไก่ชนิดอื่น ๆ เกือบทั่วโลก ไก่แจ้มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับไก่เลี้ยงทั่วไปคือ Gallus domesticus จัดอยู่ใน Tribe Phasianini, Subfamily Phasianinae, Family Phasianidae, Suborder Galli, Order Galliforms และ Class Aves ไก่แจ้มีแข้งสั้น มองแทบไม่เห็นขา ลักษณะแข้งสั้นดังกล่าวถูกควบคุม ด้วยยีน Cp สามารถพบเห็นไก่แข้งสั้นได้ในหลายพื้นที่ของโลก การเรียกขานไก่แข้งสั้นชนิดนี้ในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันไป เช่น ประเทศไทยเรียก ไก่แจ้ ประเทศญี่ปุ่นเรียก Chabo และ Jitokko ประเทศฝรั่งเศสเรียก Courtes Pattes ประเทศอังกฤษเรียก Scots Dumpy ส่วนอเมริกาเรียก Creeper และ Japanese bantams ซึ่งเป็นพันธุ์ไก่แข้งสั้นที่นำมาจากประเทศญี่ปุ่น ไก่ขาสั้นจะมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวคือแข้งสั้นแตกต่าง จากไก่ Bantams ทั่วไปที่หมายถึงไก่ที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักไม่มาก แต่ความยาวขาปกติ

3 ความสำคัญของไก่แจ้ ไก่แจ้ เป็นไก่พื้นเมืองชนิดหนึ่ง (Domestic Fowl) จัดอยู่ในประเภทสัตว์สวยงาม อยู่คู่สังคมไทยมาเป็นเวลานาน วัตถุประสงค์ของการเลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน ความสวยงาม และความสุขใจของผู้เลี้ยง เดิมเป็นไก่ป่าที่มีความปราดเปรียว ขี้ระแวง เข้าใกล้ไม่ได้ แต่เพราะมีขนสวยงาม ลักษณะที่น่ารัก และการเลี้ยงไม่ยุ่งยาก ทำให้เกิดการพัฒนาสายพันธุ์ให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้เลี้ยงได้ จับต้องได้ และอุ้มได้ โดยมีการพัฒนาต่อเนื่องมาไม่ต่ำกว่า 30 ปี จนสามารถพัฒนาไก่แจ้ไทยได้ถึง 12 สี โดยมีความสวยงามตามมาตรฐานสากล

4 ลักษณะประจำพันธุ์ - เพศผู้มีขนาดใหญ่ กว้างกลม หงอนใหญ่ หน้า มีสีแดง ผิวหงอนหยาบ เหนียงใหญ่ ปากสั้น ตากลมโต เป็นประกาย ลำตัวเล็กกลม อกใหญ่กลม ขนสะอาด นุ่ม หนา แน่น เป็นเงา เพศเมีย มีลักษณะเดียวกันกับเพศผู้

5 ลักษณะสำคัญทางเศรษฐกิจ
เพศผู้  มีน้ำหนักตัวประมาณ 730 กรัม  ถ้าน้ำหนักตัวสูงกว่ามาตรฐานเกิน 120 กรัม ถือว่าไม่ได้มาตรฐาน เพศเมีย  น้ำหนักตัวประมาณ  610 กรัม  ถ้าน้ำหนักตัวสูงกว่ามาตรฐานเกิน 120 กรัม  ถือว่าไม่ได้มาตรฐาน


ดาวน์โหลด ppt กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google