งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพัฒนางานสุขภาพจิต วัยทำงาน - สูงอายุ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพัฒนางานสุขภาพจิต วัยทำงาน - สูงอายุ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพัฒนางานสุขภาพจิต วัยทำงาน - สูงอายุ
พันธ์ทิพย์ โกศัลวัฒน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานจิตเวชชุมชน

2 การพัฒนางานสุขภาพจิตในกลุ่มวัยทำงาน
พัฒนาความสามารถในการปรับตัว/ยืดหยุ่นในการทำงาน (Resilience) สร้างความสุขในการทำงาน ป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในที่ทำงาน (การติดสุรา/ยาเสพติด/ ความเครียด) สร้างและรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว เน้น

3 การพัฒนางานสุขภาพจิตในกลุ่มวัยสูงอายุ
สร้างคุณค่าและความภาคภูมิใจในชีวิต ป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง เน้น

4 กลยุทธ์ การดูแลทางสังคมจิตใจใน Psychosocial Clinic
บูรณาการงานการดูแลทางสังคมและจิตใจให้เข้าไปอยู่ในงานประจำของงานบริการทุกส่วนของโรงพยาบาล บริการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุใน NCD Clinic / คลินิกสูงอายุ

5 การดูแลทางสังคมจิตใจ (Psychosocial Care)
การดูแลทางจิตใจ อารมณ์สังคม และจิตวิญญาณของผู้ป่วย / ผู้รับบริการ ครอบครัวและผู้ดูแล โดยคำนึงถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้ป่วย / ผู้รับบริการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในปัญหาหรือภาวะโรคและมีแนวทางการปรับตัวต่อปัญหาหรือความเจ็บป่วย รวมทั้งให้การส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตแก่บุคคลทั่วไป โดยใช้การสื่อสาร การสนับสนุนทางสังคมและการสร้างสัมพันธภาพเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินการ

6 คลินิกให้คำปรึกษา (Psychosocial Clinic)
คลินิกที่ให้การดูแลช่วยเหลือทางสังคมจิตใจ ที่มีโครงสร้าง ประกอบไปด้วยสถานที่ให้บริการ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ในการดูแลทางสังคมจิตใจด้วยการให้ความรู้ ให้คำปรึกษากับบุคคล ทุกกลุ่มวัย ทั้งในและนอกโรงพยาบาล โดยครอบคลุมถึง การส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต  แต่ละแห่งอาจใช้ชื่อแตกต่างกัน เช่น คลินิกวัยใส คลินิก OSCC คลินิก YFHS คลินิกฟ้าใส LOVE Clinic ฯลฯ

7 วัตถุประสงค์ เพื่อให้กลุ่มที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตในทุกวัย ได้แก่ ปัญหาท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น / ความรุนแรงในวัยรุ่น / ปัญหาครอบครัว / ปัญหาการติดสารเสพติด / สุรา ปัญหาโรคซึมเศร้าในวัยต่างๆ ได้รับการบำบัดทางจิตใจและดูแลช่วยเหลือแบบองค์รวม

8 วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ป่วย/ผู้รับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง และคลินิกพิเศษต่างๆ ได้รับการดูแลแบบองค์รวม เพื่อให้บุคคลทั่วไป ได้รับการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข

9 ขอบเขตบริการทางสังคมจิตใจ
การให้บริการดูแลทางสังคมจิตใจในคลินิกให้คำปรึกษา การบริการดูแลทางสังคมจิตใจที่ผสมผสานไปกับคลินิกหรือบริการอื่นๆ ในโรงพยาบาล การให้บริการดูแลทางสังคมจิตใจในชุมชน เช่น การออกหน่วยให้คำปรึกษาในยามวิกฤต / ภัยพิบัติ การเยี่ยมบ้าน การจัดกิจกรรมรณรงค์สร้างความตระหนัก

10 การจัดระบบบริการดูแลทางสังคมจิตใจ
ระยะเตรียมการ มีการสื่อสารกับผู้บริหารของหน่วยงานเพื่อกำหนดผู้รับผิดชอบ และหรือแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อบริหารการดำเนินงาน จัดระบบบริการการดูแลทางสังคมจิตใจที่ประกอบด้วย ด้านบุคลากร ด้านสถานที่และขีดความสามารถของระบบบริการ

11 จัดระบบบริการการดูแลทางสังคมจิตใจ
บุคลากร สถานที่บริการ ขีดความสามารถระบบบริการ การประเมินทางสังคมจิตใจ การให้การดูแลทางสังคมจิตใจ การส่งเสริมป้องกัน (เชิงรุก) การส่งต่อ การติดตามดูแล

12 การจัดระบบบริการดูแลทางสังคมจิตใจ
ระยะเตรียมการ จัดทำแผนงาน/โครงการ การดูแลทางสังคมจิตใจ มีการสื่อสารภายในโรงพยาบาลเพื่อความร่วมมือในการดำเนินงาน มีการพัฒนาเครือข่ายและการพัฒนาระบบส่งต่อระหว่างเครือข่าย ที่เกี่ยวข้อง

13 การจัดระบบบริการดูแลทางสังคมจิตใจ
ระยะดำเนินการ เป็นการจัดบริการดูแลทางสังคมจิตใจให้แก่ผู้ป่วย/ผู้รับบริการ ทั้งที่ได้รับการส่งต่อจากคลินิกต่างๆ ของโรงพยาบาล โรงเรียน สถานประกอบการ และผู้ที่เข้ามารับบริการโดยตรง โดย กำหนดวันเวลาการให้บริการและประชาสัมพันธ์ การให้บริการ ให้บริการทางโทรศัพท์

14 การจัดระบบบริการดูแลทางสังคมจิตใจ
ระยะดำเนินการ ให้บริการดูแลทางสังคมจิตใจเชิงรุก ได้แก่ การจัดกิจกรรมการส่งเสริมป้องกันในชุมชน ขยายเครือข่ายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการบริการให้ครอบคลุม และติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง เช่น จับคู่ โรงเรียน-โรงพยาบาล โรงพยาบาล-สถานประกอบการ

15 การจัดระบบบริการดูแลทางสังคมจิตใจ
ระยะดำเนินการ จัดระบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ ผู้ป่วย/ ผู้รับบริการเพื่อให้เกิดการดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่

16 KPI เขตสุขภาพ/จังหวัด ที่เกี่ยวข้อง
ร้อยละของศูนย์ให้คำปรึกษาคุณภาพ (Psychosocial Clinic) และเชื่อมโยงกับระบบช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน เช่น ยาเสพติด บุหรี่ OSCC คลินิกวัยรุ่น ฯลฯ (ไม่น้อยกว่า 70) ร้อยละของคลินิกผู้สูงอายุ ผู้พิการคุณภาพ (ไม่น้อยกว่า 70) ร้อยละของคลินิก NCD คุณภาพ (ไม่น้อยกว่า 70)

17 KPI เขตสุขภาพ/จังหวัด ที่เกี่ยวข้อง
ร้อยละของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการ (มากกว่าหรือเท่ากับ 31) ร้อยละของผู้สูงอายุ ผู้พิการที่ได้รับการพัฒนาทักษะ ทางกายและใจ (ไม่น้อยกว่า 80) จำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ (ลดลงร้อยละ 67)

18 Thank you for your attention


ดาวน์โหลด ppt การพัฒนางานสุขภาพจิต วัยทำงาน - สูงอายุ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google