งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การลาประเภทต่างๆ ของข้าราชการ และสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การลาประเภทต่างๆ ของข้าราชการ และสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การลาประเภทต่างๆ ของข้าราชการ และสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
โดย นางสาวภัทริยา ไชยมณี ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการส่วนบริหารงานบุคคล KM กพร. + สห. : ๓ เมษายน ๒๕๕๗

2 การลาประเภทต่างๆ ของข้าราชการ กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕ - ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้และมีอำนาจตีความ และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินอื่น ในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินอื่น ในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙ พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินอื่น ในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๕

3 การลาประเภทต่าง ๆ ๑. การลาป่วย
แบ่งการลา ออกเป็น ๑๑ ประเภท ดังนี้ ๑. การลาป่วย ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ในปีหนึ่งไม่เกิน ๖๐ วันทำการ ยกเว้น กรณี ที่ผู้บังคับบัญชาระดับอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไปเห็นสมควร ให้จ่าย เงินเดือนต่อไปได้อีกแต่ไม่เกิน ๖๐ วันทำการ ให้ส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนหรือในวันที่ลา เว้นแต่กรณีจำเป็นให้ส่ง ใบลาในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ หากไม่สามารถลงชื่อในใบลาได้ ให้ ผู้อื่นลาแทนได้ แต่หากสามารถลงชื่อได้แล้ว ให้ส่งใบลาโดยเร็ว กรณีลาป่วยตั้งแต่ ๓๐ วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์ กรณีลาป่วยไม่ถึง ๓๐ วัน ผู้มีอำนาจอนุญาตจะสั่งให้มีใบรับรองแพทย์หรือ สั่งให้ผู้ลาไปรับการตรวจจากแพทย์ก็ได้

4 การลาประเภทต่าง ๆ (ต่อ)
๒. การลาพักผ่อน มีสิทธิลาพักผ่อน ในปีงบประมาณหนึ่งได้ ๑๐ วันทำการ ยกเว้นข้าราชการ ดังต่อไปนี้ ๑. ข้าราชการบรรจุใหม่ไม่ถึง ๖ เดือน ๒. ข้าราชการที่ลาออกเพราะเหตุส่วนตัว หรือเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง หรืออื่นๆ บรรจุกลับเข้ารับราชการไม่ถึง ๖ เดือน ยกเว้นกรณีไปรับราชการทหารตามกฎหมาย และ ไปปฏิบัติงานตามความประสงค์ของทางราชการ หากปีใดลาไม่ครบ ๑๐ วันทำการ ให้สะสมรวมกับปี ต่อไปได้ไม่เกิน ๒๐ วันทำการ ยกเว้นผู้ที่รับราชการ ติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี ให้สะสมรวมกับปีต่อไปได้ ไม่เกิน ๓๐ วันทำการ ให้ส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึง หยุดราชการได้

5 การลาประเภทต่าง ๆ (ต่อ)
๓. การลากิจส่วนตัว ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาในปีหนึ่งไม่เกิน ๔๕ วันทำการ ยกเว้น ข้าราชการบรรจุใหม่ในปีแรก ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกิน ๑๕ วันทำการ ให้จัดส่งใบลาพร้อมเหตุผลความจำเป็นต่อผู้บังคับบัญชา เมื่อได้รับ อนุญาตแล้วจึงหยุดราชการได้ ยกเว้นมีเหตุจำเป็นไม่สามารถรอรับ อนุญาตได้ ให้หยุดราชการไปก่อนได้แต่ต้องชี้แจงเหตุผลให้ผู้มีอำนาจ อนุญาตทราบโดยเร็ว กรณีลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอด บุตรได้ไม่เกิน ๑๕๐ วันทำการ แต่ไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา

6 การลาประเภทต่าง ๆ (ต่อ)
๔. การลาคลอดบุตร ลาในวันที่คลอด ก่อน หรือหลังวันที่คลอดบุตรก็ได้ รวมแล้วไม่เกิน ๙๐ วัน โดยให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ ให้ส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนหรือในวันที่ลา ยกเว้นกรณีไม่สามารถ ลงชื่อในใบลาได้ ให้ผู้อื่นลาแทนได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้ว ให้ส่งใบลาโดยเร็ว โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ กรณีที่ไม่ได้คลอดบุตรตามกำหนด หากประสงค์จะขอยกเลิกวันลา ที่หยุดไป ให้ผู้มีอำนาจอนุญาตให้ยกเลิกวันลาได้ โดยให้ถือว่าวันที่ หยุดไปแล้วเป็นวันลากิจส่วนตัว กรณีลาคลอดบุตรคาบเกี่ยวกับการลาประเภทใดที่ยังไม่ครบ กำหนดวันลาของการลาประเภทนั้นให้ถือว่าการลาประเภทนั้น สิ้นสุดลง และให้นับเป็นการลาคลอดบุตรตั้งแต่วันเริ่มลาคลอดบุตร

7 การลาประเภทต่าง ๆ (ต่อ) ๕. การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
ให้มีสิทธิลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรได้ภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ ภริยาคลอดบุตร และครั้งหนึ่งติดต่อกันได้ไม่เกิน ๑๕ วันทำการ หากลาเมื่อพ้น ๓๐ วัน นับแต่วันที่ภริยาคลอดบุตร ไม่ให้ได้รับเงินเดือน ระหว่างลา ยกเว้นผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ระดับอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไป เห็นสมควรให้จ่ายเงินเดือนระหว่างลาก็ได้ แต่ไม่เกิน ๑๕ วันทำการ ให้จัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อน หรือในวันที่ลา ภายใน ๙๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ภริยาคลอดบุตร

8 การลาประเภทต่าง ๆ (ต่อ) ๖. การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
ให้มีสิทธิลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ โดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกิน ๑๒๐ วัน ทั้งนี้ต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๒ เดือน และยังไม่เคยอุปสมบทหรือ ประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ยกเว้นกรณีเคยอุปสมบทโดยมี มติคณะรัฐมนตรีไม่ให้ถือเป็นวันลา ให้จัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันอุปสมบทหรือก่อนวันเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน หากไม่สามารถจัดส่งได้ก่อนตามที่กำหนด ให้ชี้แจงเหตุผลความ จำเป็นและอยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตให้ ลาหรือไม่ก็ได้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตอุปสมบทหรือออกเดินทางภายใน ๑๐ วันนับตั้งแต่วันเริ่มลาและ ต้องกลับมารายงานตัวเข้าปฏิบัติราชการภายใน ๕ วัน นับแต่วันที่ลาสิกขาหรือ วันเดินทางกลับถึงประเทศไทย ทั้งนี้ ต้องนับรวมอยู่ในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต กรณีมีปัญหาอุปสรรคทำให้ไม่สามารถอุปสมบทหรือ ไปประกอบพิธีฮัจย์ได้ตามที่ขอลาไว้ ให้รายงานตัว กลับเข้าปฏิบัติราชการตามปกติและขอยกเลิกวันลา โดยให้ถือว่าวันที่ได้หยุดไปแล้วเป็นวันลากิจส่วนตัว

9 การลาประเภทต่าง ๆ (ต่อ)
๗. การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ แต่หากพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วไม่รายงาน ตัวเพื่อเข้าปฏิบัติราชการภายใน ๗ วัน ให้งดจ่ายเงินเดือนหลังจากนั้นจนถึง วันเข้าปฏิบัติราชการ ยกเว้นกรณีมีเหตุจำเป็น ให้ผู้บังคับบัญชาระดับอธิบดี หรือเทียบเท่าขึ้นไปให้จ่ายเงินเดือนต่อไปได้ แต่ไม่เกิน ๑๕ วัน ให้ข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการตรวจเลือก ให้รายงานลาต่อ ผู้บังคับบัญชาก่อนวันเข้ารับการตรวจเลือกไม่น้อยกว่า ๔๘ ชั่วโมง หรือ ข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการเตรียมพลให้รายงานลาต่อ ผู้บังคับบัญชาภายใน ๔๘ ชั่วโมง นับแต่เวลารับหมายเรียก และให้ไปเข้ารับ การตรวจเลือก หรือเตรียมพลโดยไม่ต้องรอรับคำสั่งอนุญาต

10 การลาประเภทต่าง ๆ (ต่อ)
๘. การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัยหรือดูงาน ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาไม่เกิน ๔ ปี นับแต่วันไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติการวิจัย จนถึงวันก่อนวันมารายงานตัว เพื่อเข้าปฏิบัติราชการ ยกเว้นกรณีที่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจ อนุญาตเห็นสมควรให้ลาเกิน ๔ ปี ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ ทั้งนี้ รวมทั้งสิ้นต้องไม่เกิน ๖ ปี ๙. การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา ยกเว้นอัตราเงินเดือนที่ได้รับจากองค์การระหว่างประเทศ ต่ำกว่าเงินเดือนของราชการที่ผู้นั้นได้รับในขณะนั้น ให้ได้รับเงินเดือนจากราชการสมทบ ซึ่งเมื่อรวมกับองค์การระหว่างประเทศแล้วต้องไม่เกินอัตราเงินเดือนที่ข้าราชการผู้นั้น ได้รับอยู่ กรณีลาไปเกิน ๑ ปี เมื่อปฏิบัติงานแล้วเสร็จ ให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการภายใน ๑๕ วัน นับแต่วนครบกำหนดเวลา แล้วให้รายงานผลเกี่ยวกับการลาไปปฏิบัติงานให้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบตามแบบรายงานที่กำหนดภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่กลับมาปฏิบัติ หน้าที่ราชการ

11 การลาประเภทต่าง ๆ (ต่อ)
๑๐. การลาติดตามคู่สมรส ไม่ได้ให้รับเงินเดือนระหว่างลา ให้จัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาเพื่ออนุญาตให้ลาได้ไม่เกิน ๒ ปี โดยให้ ลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็ได้ และคู่สมรสอยู่ปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลา ติดต่อกันไม่ว่าจะในประเทศเดียวกันหรือไม่ กรณีจำเป็นอาจให้ลาต่อได้อีก ๒ ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน ๔ ปี ถ้าเกิน ๔ ปี ให้ ลาออกจากราชการ กรณีลาต่อตามคู่สมรสครบระยะเวลาที่กำหนด ที่คู่สมรสปฏิบัติหน้าที่ติดต่อกันคราวหนึ่งแล้ว ไม่มีสิทธิขอลาติดตามคู่สมรสอีก เว้นแต่คู่สมรส ได้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยแล้วต่อมา ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศอีก จึงจะมีสิทธิขอลาติดตามคู่สมรสได้ใหม่

12 การลาประเภทต่าง ๆ (ต่อ) ๑๑. การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
ให้ข้าราชการที่ได้รับอันตรายหรือป่วยเจ็บเพราะปฏิบัติหน้าที่จนเป็นผู้ ทุพพลภาพหรือพิการลาเพื่อไปเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการ ฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อการปฏิบัติราชการหรือต่อการประกอบอาชีพ โดยให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร แต่ ไม่เกิน ๑๒ เดือน ทั้งนี้หลักสูตรดังกล่าวต้องเป็นหลักสูตรที่ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรการกุศลอันเป็นสาธารณะหรือสถาบันที่ได้รับการ รับรองจากหน่วยงานของรัฐเป็นผู้จัดหรือร่วมจัด ให้ส่งใบลาพร้อมแสดงหลักฐานเกี่ยวกับหลักสูตรที่ประสงค์จะลา และ เอกสารที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ต่อผู้บังคับบัญชา และได้รับอนุญาตแล้วจึงหยุด ราชการได้

13 การลาประเภทต่าง ๆ (ต่อ)
นอกจากนี้ ยังได้กำหนดรายละเอียดอื่นๆไว้ดังนี้ การลาในช่วงก่อนและหลังวันหยุดราชการ ประจำสัปดาห์หรือประจำปีเพื่อให้ มีวันหยุดต่อเนื่องกัน ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาตามความเหมาะสมและจำเป็น โดยให้นับวันหยุดราชการที่อยู่ในระหว่างวันลาประเภทเดียวกันรวมเป็นวันลา ด้วย ยกเว้น การลาพักผ่อน การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร การลากิจ ส่วนตัว ให้นับเฉพาะวันทำการ ข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร การลากิจ ส่วนตัว หรือลาพักผ่อน ซึ่งได้หยุดราชการไปยังไม่ครบกำหนด ถ้ามีราชการ จำเป็นผู้บังคับบัญชาจะเรียกตัวมาปฏิบัติราชการระหว่างลาก็ได้ ผู้ที่ได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการ ณ หน่วยงานอื่น หากประสงค์จะลาป่วย ลา คลอดบุตร ลากิจส่วนตัว ลาพักผ่อน หรือลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเตรียม พล ให้ขออนุญาตลาต่อผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานที่ไปช่วยราชการ แล้ว ให้หน่วยงานนั้นรายงานจำนวนวันลาให้หน่วยงานต้นสังกัดของผู้นั้นทราบ อย่างน้อยปีละครั้ง

14 ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาต
การลาของข้าราชการพลเรือน ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาต ผู้ลา ประเภทการลา วันอนุญาตครั้งหนึ่ง ไม่เกิน ลาคลอดบุตร ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร ลาพักผ่อน ลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ลาศึกษา ฝึกอบรม ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ลาติดตามคู่สมรส ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ ลาป่วย ลากิจส่วนตัว ต่างประเทศ ในประเทศ นายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ข้าราชการทุกตำแหน่งในสังกัด (ตามที่เห็นสมควร) (๑๒ เดือน) ปลัดกระทรวง - หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง ผู้อำนวยการสำนัก/กอง หัวหน้าสำนัก/กอง เลขานุการกรม หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าสำนัก/กอง หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ข้าราชการทุกตำแหน่งในสำนัก/กอง หรือเทียบเท่าสำนัก/กอง ส่วนราชการประจำจังหวัด อำเภอ หรือกิ่งอำเภอ (๖๐ วัน) (๓๐ วัน)

15 สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๕๔

16 การลาประเภทต่างๆ แบ่งการลาออกเป็น ๖ ประเภท ดังนี้ ลาป่วย
มีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง โดยนับวันทำการและมีสิทธิได้รับ ค่าตอบแทนระหว่างลาได้ปีงบประมาณหนึ่งไม่เกิน ๓๐ วัน ส่วนที่เกิน ๓๐ วัน มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จากกองทุนประกันสังคม (ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม) การ ลาป่วยตั้งแต่ ๓ วันทำการขึ้นไป ผู้มีอำนาจอนุญาตอาจสั่งให้มีใบรับรอง แพทย์จากสถานพยาบาลที่ทางราชการรับรองประกอบการลา หรือ ประกอบการพิจารณาอนุญาตก็ได้

17 การลาประเภทต่างๆ (ต่อ)
๒. ลาคลอดบุตร มีสิทธิลาคลอดบุตรได้ ๙๐ วัน ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ ไม่เกิน ๔๕ วัน และมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการ คลอดบุตรจากกองทุนฯ ลากิจส่วนตัว มีสิทธิลากิจส่วนตัวได้ปีงบประมาณหนึ่งไม่เกิน ๑๐ วันทำการ ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาปีหนึ่งไม่เกิน ๑๐ วัน

18 การลาประเภทต่างๆ (ต่อ)
๔. ลาพักผ่อน มีสิทธิลาพักผ่อนปีงบประมาณละ ๑๐ วันทำการ และให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ปีหนึ่งไม่เกิน ๑๐ วัน สำหรับในปีแรกที่ได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการยังไม่ครบ ๖ เดือน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อน (ไม่ได้รับสิทธิวันลาพักผ่อนสะสม) เว้นแต่ผู้ที่เคยได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ เดือน และได้พ้นจากพนักงานราชการไปแล้ว แต่ต่อมาได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการในส่วนราชการเดิมอีก

19 การลาประเภทต่างๆ (ต่อ)
๕. ลาเพื่อรับราชการทหาร ในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบเพื่อฝึกวิชาทหารเข้ารับการระดมพล หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ปีงบประมาณหนึ่งไม่เกิน ๖๐ วัน ทั้งนี้ เมื่อพ้นจากการเข้ารับการตรวจเลือกหรือเตรียมพลให้รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติงานภายใน ๗ วัน

20 การลาประเภทต่างๆ (ต่อ)
๖. ลาเพื่ออุปสมบท หรือประกอบพิธีฮัจญ์ พนักงานราชการที่ได้รับจ้างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า ๔ ปี มีสิทธิลาเพื่อไปอุปสมบท หรือประกอบพิธีฮัจญ์ได้จำนวน ๑ ครั้ง ตลอดช่วงเวลาของการมีสถานภาพเป็นพนักงานราชการ โดยการลาอุปสมบท หรือประกอบพิธีฮัจญ์ มีสิทธิลาได้ไม่เกิน ๑๒๐ วัน และให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาไม่เกิน ๑๒๐ วัน หมายเหตุ : ในกรณีที่พนักงานราชการเข้าทำงานไม่ถึง ๑ ปี ให้ทอนสิทธิที่ จะได้รับค่าตอบแทนการลากิจส่วนตัว และการลาพักผ่อนลง ตามส่วนของจำนวนวันที่จ้าง

21 สิทธิประโยชน์อื่นๆ ๑) ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลา
พนักงานราชการที่ได้รับอนุมัติให้อยู่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการปกติหรืออยู่ปฏิบัติงานในวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือในวันหยุดพิเศษ ให้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของข้าราชการโดยอนุโลม

22 สิทธิประโยชน์อื่นๆ (ต่อ)
๒) ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พนักงานราชการที่ได้รับคำสั่งผู้มีอำนาจอนุญาตให้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ มีสิทธิค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามกฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของข้าราชการโดยอนุโลม ๓) ค่าเบี้ยประชุม พนักงานราชการที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการหรือเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการแล้วแต่กรณี มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมตามกฎหมายว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการโดยอนุโลม

23 สิทธิประโยชน์อื่นๆ (ต่อ)
๔) ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม กรณีที่ส่วนราชการมีความประสงค์ที่จะให้พนักงานราชการเข้ารับการฝึกอบรม สัมมนาทางวิชาการ เพื่อพัฒนาหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ให้มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของส่วนราชการโดยอนุโลม

24 สิทธิประโยชน์อื่นๆ (ต่อ)
๕) ค่าตอบแทนการออกจากจากราชการโดยไม่มีความผิด ในกรณีที่ส่วนราชการบอกเลิกสัญญาจ้างพนักงานราชการผู้ใดก่อนครบกำหนดเวลาจ้าง โดยมิใช่ความผิดของพนักงานราชการดังกล่าว ให้พนักงานราชการผู้นั้นได้รับค่าตอบแทนการออกจากราชการโดยไม่มีความผิด ดังนี้ (ก) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ ๔ เดือน แต่ไม่ครบ ๑ ปี ให้จ่ายค่าตอบแทนเท่ากับอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ (ข) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ ๑ ปี แต่ไม่ครบ ๓ ปี ให้จ่ายค่าตอบแทนจำนวนสามเท่าของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ

25 สิทธิประโยชน์อื่นๆ (ต่อ)
(ค) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ ๓ ปี แต่ไม่ครบ ๖ ปี ให้จ่ายค่าตอบแทนจำนวนหกเท่าของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออก จากราชการ (ง) พนักราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ ๖ ปี แต่ไม่ครบ ๑๐ ปี ให้ จ่ายค่าตอบแทนจำนวนแปดเท่าของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออก ราชการ (จ) พนักงานราชการที่ได้รับปฏิบัติงานติดต่อกันครบ ๑๐ ปีขึ้นไป ให้จ่ายค่าตอบแทนจำนวนสิบเท่าของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออก จากราชการ

26 กรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย เนื่องจากการทำงานให้ราชการ
เงินทดแทน กรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย เนื่องจากการทำงานให้ราชการ การยื่นขอเงินค่าทดแทน ให้ยื่นคำร้องต่อส่วนราชการที่สังกัดภายใน ๑๘๐ วัน นับจากวันที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย แล้วแต่กรณี เว้นแต่พนักงานราชการที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย เนื่องจากการ ทำงานให้ราชการ ทั้งนี้ การยื่นคำร้องขอใช้สิทธิให้กรอกข้อความในแบบ คพร./สป.๑ และ คพร./สป.๒ และทางราชการอาจส่งตัวพนักงานราชการเข้า รับการรักษาพยาบาลได้ตามความจำเป็น


ดาวน์โหลด ppt การลาประเภทต่างๆ ของข้าราชการ และสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google